room Archives - Page 39 of 139 - room

ANTIQUARIAN BOOK SHOP IN JIMBOCHO ออกแบบร้านหนังสือเก่า ที่มีดีไซน์ไม่เก่าเลย

เอาใจบรรดาหนอนหนังสือ กับการพาไปดูร้านหนังสือเก่าดีไซน์เท่ ที่ดีไซน์ไม่เก่าเลย ซึ่งตั้งอยู่ในย่านจิมโบโช (Jimbocho) ย่านรวมร้านขายหนังสือเก่าที่ใหญ่ที่สุดกลางกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น Antiquarian Book Shop in Jimbocho ดูโดดเด่นอยู่บริเวณหัวมุมของตรอกเล็ก ด้วยผนังที่ทำจากแผ่นอะลูมิเนียมมันวาว ต่างจากร้านทั่ว ๆ ไปในย่าน จุดเริ่มต้นของการออกแบบร้านหนังสือแห่งนี้ มาจากเจ้าของร้านกับหุ้นส่วนอีก 4 คน ตัดสินใจอยากปรับปรุงร้าน ซึ่งแต่ละคนต่างชื่นชอบและซื้อขายหนังสือโบราณ จึงต้องการสถานที่ที่สามารถจัดเก็บหนังสือโบราณทรงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือมือสองจากตะวันตก หนังสือญี่ปุ่นโบราณ ม้วนกระดาษแขวน และม้วนหนังสือ แต่ถึงแม้จะเป็นร้านหนังสือเก่า เจ้าของก็อยากให้มีบรรยากาศสบาย ๆ ดูทันสมัย สตูดิโอ n o t architects studio ผู้รับหน้าที่ออกแบบ จึงเลือกปิดผนังด้วยแผ่นอะลูมิเนียม วัสดุที่มีความทนทาน และสื่อถึงความสมัยใหม่ ซึ่งเป็นกิมมิกที่สร้างความคอนทราสต์กันได้อย่างดี ระหว่างหนังสือโบราณกับโลกยุคปัจจุบัน สถาปนิกเลือกใช้แผ่นอะลูมิเนียมมาห่อหุ้มผนังอาคารฝั่งที่อยู่ติดกับตรอกทางเดินเพียงด้านเดียว ก่อนจะม้วนกลับเข้ามาทำหน้าที่เป็นผนังให้แก่พื้นที่ด้านในด้วยดีไซน์ที่ดูพลิ้วไหวอิสระ เว้นตรงกลางสำหรับเป็นทางเดินดูหนังสือได้จากทั้งสองฝั่ง บนผิวผนังจะมีรูเล็ก ๆ เป็นระยะเท่ากัน สำหรับใช้ล็อกขาชั้นวางหนังสือตามความต้องการ ไม่ว่าจะเชื่อมชั้นวางให้เป็นชั้นยาวสำหรับตั้งหนังสือหลาย ๆ เล่ม หรือถอดชั้นวางออกเพื่อแขวนม้วนหนังสือบนผนังได้ […]

SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่

ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]

MESSICO&NUVOLE FLAT รีโนเวตห้องเก่าให้สดใส พร้อมฟังก์ชันใช้งาน และมุมจัดเก็บช่วยประหยัดพื้นที่

Messico&Nuvole Flat โปรเจ็กต์ รีโนเวตห้องเก่า ซึ่งอยู่ในชั้นใต้ดินของอาคารยุค70’s กลางเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ให้กลับมามีศักยภาพตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ แน่นอนว่าเพื่อให้เข้ากับบุคลิกที่สดใส Davide Beretta Studio จึงได้ออกแบบห้องพักนี้ ให้เต็มไปด้วยพลังที่สนุกสนานกระปรี้กระเปร่า สีสันสดใส ซุ้มโค้งน่ารัก เฟอร์นิเจอร์สั่งทำพิเศษ สลับกับไม้ และต้นไม้เขียวขจี ทั้งหมดเปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ปรุงออกมาได้อย่างกลมกลม ภายในห้องพักที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 105 ตารางเมตร โดยมีโจทย์ รีโนเวตห้องเก่า จากเจ้าของว่า อยากได้พื้นที่โล่งกว้างและใช้งานได้เต็มที่ จากแผนผังการใช้งานเดิมดีไซเนอร์แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางใด ๆ จะเน้นก็แต่เฉพาะการตกแต่งในแง่ของบรรยากาศ และการใช้งานพื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุด จากทางเข้าก่อนเลี้ยวมาตามผนังสีน้ำเงินเข้ม ฝั่งตรงข้ามทางเดินได้ออกแบบผนังตู้เก็บของ สำหรับจุของได้เพียบและเป็นสัดส่วน ก่อนเปิดมุมมองสู่โถงกลางขนาดกว้างไว้ใช้พักผ่อน ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์แต่เพียงน้อยชิ้น ก่อนแต่งแต้มความสดใสด้วยสี่เหลี่ยมสีเหลืองขอบโค้งมนบนผนังด้านหนึ่ง ดูเข้ากับขอบประตูที่วาดกรอบเส้นโค้งสีน้ำเงิน ส่วนมุมด้านหนึ่งใกล้กับชั้นหนังสือบิลอินท์ ได้แรงบันดาลใจการตกแต่งมาจากประเทศเม็กซิโก ด้วยการแขวนเปลญวนสีแดงสด ใช้นอนเล่นสบาย ๆ ด้านบนแขวนประดับด้วยเหล่าพรรณไม้สีเขียวดูสดชื่น นอกจากนี้ถ้าไม่บอกแทบไม่มีใครรู้ว่ายังมีลูกเล่นซ่อนอยู่ นั่นคือเตียงนอนพับได้ ซึ่งดูแนบเนียนไปกับผนังราวกับติดภาพวาดขนาดใหญ่ เมื่อถึงเวลาพักผ่อนก็แค่ดึงลงมา กลายเป็นเตียงนอนขนาดใหญ่น่าสบาย แถมยังมีเคาน์เตอร์บาร์เล็ก ๆ สำหรับทำอาหารง่าย ๆ อีกหนึ่งจุด ที่พลางตัวมาในรูปแบบของตู้ขนาดย่อมสีขาว […]

YAMA COFFEE.TEA.DESSERT ปลุกพลังด้วยสีเหลืองและกาแฟเวียดนาม

คาเฟ่คอนกรีต สีเทาตัดกับสีเหลืองสดใสที่เจิดจรัสทั้งบรรยากาศและรสชาติของกาแฟแห่งนี้คือ YAMA Coffee.tea.dessert คาเฟ่อีกหนึ่งสาขาของแบรนด์กาแฟสัญชาติเวียดนามที่มีชื่อว่า YAMA – You Are My Angel โดยมาเปิดสาขา ณ เมือง Tay Ninh พร้อมการปรับปรุงคุณภาพของกาแฟ เพื่อให้เข้าถึงรสนิยมและรสชาติที่คนท้องถิ่นโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะต้องประทับใจ ด่านแรกเด่นสะดุดตาด้วยกล่องกระจกบรรจุลูกบอลสีเหลืองจนเต็ม ดึงดูดลูกค้าสายคาเฟ่ฮอปปิ้ง ซึ่งเป็นความตั้งใจของสถาปนิกจาก Ksoul Studio ที่ต้องการให้ที่นี่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ ก่อนพาทุกคนเข้าสู่พื้นที่คาเฟ่ด้านในที่มีบรรยากาศดิบเท่จากปูนซีเมนต์และคอนกรีต คาเฟ่คอนกรีต สีเทาจากปูนซีเมนต์และคอนกรีตอันแสดงถึงแนวคิดของความเป็นเมือง ร่วมกับสเตนเลสเพื่อสื่อถึงความทันสมัย ตัดกับองค์ประกอบสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำแบรนด์YAMA อันเปรียบดังตัวแทนของดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงลงมายังแผ่นดิน เพื่อปลุกทุกคนให้มีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยพลัง จากวัสดุเด่น 3 อย่าง ได้แก่ ซีเมนต์ คอนกรีต และสแตนเลส สถาปนิกได้นำมาออกแบบพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของคาเฟ่ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 195 ตารางเมตร ที่เห็นเด่นชัดเมื่อก้าวเข้ามาในคาเฟ่อย่าง เคาน์เตอร์บาร์ ได้รับการออกแบบขึ้นจากซีเมนต์ แล้วหุ้มด้วยสแตนเลสพื้นผิวมันวาว เพื่อให้เกิดมุมมองที่ดูเปล่งประกายส่องสะท้อนสื่อถึงความทันสมัย ขณะที่เฟอร์นิเจอร์สำหรับนั่งพักจิบกาแฟชิล ๆ ทั้งหมดได้รับการปรับแต่งและผลิตขึ้นโดยเฉพาะสำหรับแบรนด์ YAMA เท่านั้น อาทิ โต๊ะสเตนเลส […]

THAILAND HI เที่ยวเมืองไทยในร้านอาหารประเทศยูเครน

เป็นอีกครั้งที่ ร้านอาหารไทย จะได้เฉิดฉายในต่างแดน แต่ครั้งนี้ไม่เพียงแค่เมนูและรสชาติที่อร่อยติดอันดับโลก แต่ยังส่งต่อถึงดีไซน์ร้านที่ดึงความเป็นไทยพื้นถิ่น ส่งออกไปยังสเปซที่มีความร่วมสมัยและเป็นสากล ด้วยแนวคิดที่ว่า “ท่องเที่ยวเมืองไทยแบบไม่ต้องออกจากเมือง” ในสายตาของชาวโลก ประเทศไทยมีการผสมผสานมิติเชิงวัฒนธรรมเเละวิถีชีวิตที่หลากหลายอย่างลงตัว ด้านดีไซน์ก็เช่นกัน balbek bureau สตูดิโอออกแบบจากประเทศยูเครน จึงขอถ่ายทอดความเป็นไทยในสายตาคนต่างชาติ ด้วยการออกแบบ ร้านอาหารไทย เหมือนยกเมืองไทยมาไว้กลางกรุงเคียฟ เมื่อนึกถึงความเป็นไทยมักมีแสงสว่างเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานอินทีเรียร์อยู่เสมอ การออกแบบภายในจึงเน้นบรรยากาศแบบเอ๊าต์ดอร์ผ่านคอร์ตยาร์ดขนาดเล็ก ซึ่งตกแต่งด้วยพรรณไม้สไตล์ทรอปิคัล กระทั่งถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมทางเสียง ทั้งเสียงจากการทำอาหารที่มักได้ยินกันตามสตรีทฟู้ดผ่านทางครัวแบบเปิด ไปจนเสียงจากบทสนทนาที่จะช่วยสร้างชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ ดีไซเนอร์เลือกหยิบของตกแต่งที่เห็นได้ทั่วไปในเมืองไทย โดยเลือกใช้ไม้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการตกแต่ง ธีมสีน้ำตาลของงานไม้ได้ส่งต่อไปถึงของตกแต่งเเละวัสดุคุ้นตาอื่น ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดูอบอุ่น  เช่น เครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ศิลาดล และงานหวาย ส่วนใหญ่เจ้าของเลือกสรรมาจากสวนจตุจักร และแหล่งขายเฟอร์นิเจอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเฟอร์นิเจอร์วินเทจที่หาซื้อได้จากยุโรป เเถมไม่ลืมสีสันจากลวดดัดสีแดงช่วยเติมความสนุกแบบไทย ๆ ด้วยสเปซที่ขาวคลีนและเป็นภาษาสากลจึงช่วยขับเน้นให้พื้นที่ที่เติมแต่งไปด้วยของดีไซน์ไทยสีน้ำตาล กลายเป็นงานตกแต่งสไตล์อิเคล็กติกรสอร่อยที่มีกลิ่นอายไทยเป็นเครื่องปรุงสำคัญ Idea to Steal ออกจากขีดจำกัดของการใช้โคมไฟสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ ด้วยการใช้ไฟเส้นอย่างที่มักใช้กับการดัดตัวอักษรมาดัดโค้งเป็นเกลียววงกลม เติมความสนุกด้วยเส้นสายและแสงสี ข้อมูล เจ้าของ : Misha Katsurin เเละ Dasha […]

103PAPER ของตกแต่งที่สร้างความหมายใหม่ให้เศษกระดาษไร้ค่า

คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]

SORVETE DA RESERVA ICE CREAM SHOP ออกแบบร้านไอศกรีมยุค NEW NORMAL

ร้านไอศกรีมอารมณ์ไม้ ที่ขอเน้นแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ตอบรับยุค New Normal ตอบโจทย์ความปลอดภัยด้านสุขภาพและงานบริการ อย่าง ร้านค้า และร้านอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งต่อตัวลูกค้าและผู้ให้บริการเอง ดังตัวอย่างการออกแบบร้านขายไอศกรีม ในประเทศบราซิลแห่งนี้ ดีไซเนอร์จากสตูดิโอ PORO Arquitetura ได้ออกแบบร้านไอศกรีมให้บรรจุอยู่ในอาคารขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 40 ตารางเมตร โดยได้กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน ด้านหน้าเป็นพื้นที่นั่งพักคอยเล็ก ๆ ระหว่างกำลังรอสั่งซื้อไอศกรีม ซึ่งที่นี่เน้นการซื้อกลับไปรับประทานมากกว่าการนั่งรับประทานในร้าน ขณะที่เคาน์เตอร์ของพนักงานจะถูกกั้นด้วยแผ่นโปร่งใส ที่เจาะช่องว่างเล็ก ๆ ไว้สำหรับจ่ายเงินและรับไอศกรีม ลึกเข้าไปด้านในอีกชั้นคือส่วนของพื้นที่ครัว ฐานการผลิตไอศกรีมสูตรโฮมเมดรสชาติแสนอร่อย ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของงานดีไซน์ โดยมีไม้ และธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มยุค New Normal นอกจากการวางผังพื้นที่ใช้งานเเล้ว ความโดดเด่นของที่นี่ คือการทำโครงสร้างไม้ตกแต่งไล่ลงมาจากฝ้าเพดาน ทำเป็นชั้นวางของ เรื่อยลงมาจนถึงการเป็นเคาน์เตอร์ไม้ริมผนังกระจกหน้าร้าน ไม่ลืมตกแต่งด้วยกระถางต้นไม้ที่ปลูกพรรณไม้ในร่มเขตร้อนหลายชนิด ช่วยเติมบรรยากาศความสดชื่นได้เป็นอย่างดี ก่อนเพิ่มสีสันให้ร้านด้วยกระเบื้องไฮดรอลิกสีน้ำเงิน ที่ดีไซเนอร์เลือกมาปูพื้น โดยอ้างอิงจากสีของทะเลสาบ Almécegas Lake ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเมือง Pedrinhas ซึ่งเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับกระเบื้องสีขาวด้านหน้าเคาน์เตอร์ ที่ออกแบบให้มีเส้นสีน้ำเงินตัดผ่านแบบทแยงมุม ก่อนนำมากรุลงไปแบบแรนดอมดูสนุกและสดใสมากขึ้น ออกแบบ : PORO […]

WEATHER HOUSE บ้านสีขาวดีไซน์จากลวดตาข่ายถัก อยู่กับธรรมชาติได้ทุกฤดูกาล

บ้านที่ห่อหุ้มด้วยแผง ลวดตาข่ายถัก นี้  ใครได้เห็นแล้ว อาจต้องแอบงงว่า นี่คือ “บ้าน” หรือ “สวนสาธารณะ” กันแน่! เพราะถูกตกแต่งด้วยต้นไม้ พร้อมกับมีสนามหญ้าเล็ก ๆ ให้นั่งชมวิวบนชั้นดาดฟ้า ซึ่งมีแนวคิดมาจากบริบทของเมือง ที่เต็มไปด้วยสวนสาธารณะน้อยใหญ่ ร่วมถึงการอยากหยิบยกธรรมชาติให้เข้ามาใกล้ตัวมากที่สุด โดยที่นี่ตั้งอยู่ในเขตที่พักอาศัยในย่านชินากาวะ ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่เต็มไปด้วยบ้านเรือน อาคารสำนักงาน และตึกสูงระฟ้า แต่ถ้าหากเราซูมเอ๊าต์ออกมาดู จะเห็นว่าพื้นที่เมืองถูกสอดแทรกด้วยสวนสาธารณะทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เชื่อมโยงกันด้วยทางเท้า สถาปนิกเจ้าถิ่นอย่าง n o t architects studio จึงเกิดไอเดียในการออกแบบบ้านที่มี ลวดตาข่ายถัก ทำหน้าที่เป็นผนังบ้านแบบโปร่ง โดยให้ชื่อว่า “Weather House” เพื่อช่วยเปิดมุมมอง ไปพร้อมกับแรงบันดาลใจที่มาจากบริบทของเมือง ทำให้การอยู่อาศัยไม่ต่างจากการเดินเล่นในสวนสาธารณะ โดยสามารถใช้ชีวิตในบ้าน ที่ปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวัน ฤดูกาล และสภาพแวดล้อม ตัวบ้านถูกห่อหุ้มด้วยแผงลวดตาข่ายโปร่ง เป็นเหมือนผนังบางเบาที่สร้างขอบเขตให้กับบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็เปิดรับให้บริบทโดยรอบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับสภาพแวดล้อมภายใน และเนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ เมื่อปลูกไม้เลื้อยปกคลุมพื้นที่บางส่วนของผนังลวดตาข่ายด้านติดถนน ยิ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่าง “บ้าน” กับ “พื้นที่สาธารณะ” ดูคลุมเครือ […]

Domestic Loom รีดีไซน์กี่ทอผ้าสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอ

ในขณะเราพยายามนำพางานหัตถกรรมดั้งเดิมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือไปจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ยุคสมัย ทั้งแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และกระบวนการเบื้องหลังงานฝีมือก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงต้องการการพัฒนาไม่แพ้กัน Domestic Loom คือกี่ทอผ้าดีไซน์ใหม่ ที่ชวนให้เราหันกลับมามองต้นทางของงานหัตถกรรมสิ่งทออีกครั้ง Domestic Loom กี่ทอผ้าฝีมือการออกแบบของ คุณพิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบจาก Plural Designs ถือเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ในการ “รีดีไซน์” เครื่องไม้เครื่องมือเบื้องหลังงานหัตถกรรมสิ่งทอ ให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของช่างผีมือยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์นี้มาจากประสบการณ์ของคุณพิบูลย์ ที่ได้มีโอกาสเดินทางพบปะ ทำงานร่วมกับช่างทอ และนักออกแบบสิ่งทอในหลากหลายชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจะพบว่าเครื่องมือหลักของช่างทอทั่วประเทศ ล้วนเป็นกี่ไม้เรียบง่าย ที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น และแน่นอนว่าคนทอไม่ได้เป็นผู้สร้าง และคนสร้างไม่เคยได้ลองใช้ทอ คุณพิบูลย์: “ในชุมชนช่างทอ เราจะเห็นกี่ทำจากโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ คล้ายกันแทบทุกหมู่บ้าน อาจเป็นเพราะทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้เลย แต่ก็ยังไม่เห็นกี่ที่มีการพัฒนาให้ดูสวยขึ้น ช่วยให้นั่งใช้งานได้สบายขึ้น กี่แบบดั้งเดิมมีเสา 4 ด้าน ดูเกะกะ มักใช้งานไม่สะดวกสำหรับช่างทอผู้เฒ่าผู้แก่ จริง ๆ ผมเคยคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองทำ คราวนี้ได้คุยกับอาจารย์นุสรา เตียงเกตุ ที่ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า บ้านไร่ใจสุข จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ก็บอกให้ลองทำดู เพราะส่วนใหญ่ช่างทอกับช่างทำกี่ […]

SCOTTS TAIKOO LI ไอเดียออกแบบ ร้านฟาสต์ฟู้ด ขนาดเล็ก กับการเปลี่ยนประตูเป็นที่นั่ง

Scotts Taikoo Li ร้านฟาสต์ฟู้ด เสิร์ฟอาหารฟิชแอนด์ชิปส์สไตล์อังกฤษ ที่เดินทางข้ามทวีปมายังเมืองเฉิงตู ประเทศจีน โดดเด่นและเห็นชัดเจนจากบริเวณหัวมุมถนนด้วยประตูที่เป็นทั้งฟาซาดและที่นั่ง ใช้งานได้แบบมัลติฟังก์ชัน ก่อนนำมาสู่การออกแบบ ร้านฟาสต์ฟู้ด โดย Unknown Works สตูดิโอออกแบบจากอังกฤษ ที่เน้นจัดเสิร์ฟอาหารจานด่วนที่มีคอนเซ็ปต์ตั้งต้นมาจากร้าน Scotts สาขาแรกที่ Yorkshire ประเทศอังกฤษ ก่อนขยายมาสู่สาขาใหม่ในจีน ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนในย่าน Taikoo Li  ที่มีขนาดเพียง 33 ตารางเมตร พร้อมแนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้งานอย่างคุ้มค่าและสวยงาม ฟาซาดของร้านทำหน้าที่เป็นทั้งประตูที่โอบล้อมร้านในช่วงปิดบริการ และสร้างฟังก์ชันสำหรับขยายการใช้งานพื้นที่ในช่วงเปิดบริการ หัวใจสำคัญคือวัสดุที่ใช้ทำฟาซาดอย่าง พลาสติกใยแก้วเสริมแรง (GRP) สีขาวอะลาบาสเตอร์ทำเป็นบานประตูขนาด 1.1 x 3 เมตร โดยด้านนอกสลักเป็นแพตเทิร์นลวดลายกราฟิกที่เกี่ยวกับร้านฟิชแอนด์ชิปส์ บางพื้นที่สามารถพลิกกลายเป็นโต๊ะ หรือเปิดออกเป็นกันสาด พร้อมให้บริการที่นั่งเเบบเอ๊าต์ดอร์ เเถมยังเป็นกรอบหน้าบานสุดเท่สำหรับที่นั่งภายในร้านได้อีกด้วย  เส้นสายของงานกราฟิกเชื่อมต่อจากบานประตูภายนอกเข้าสู่ภายในทุกส่วนเป็นกริดเส้นตรงเรขาคณิต ตั้งแต่พื้นที่ขนาดใหญ่อย่าง ครัว และเคาน์เตอร์บาร์ ไปจนถึงกริดขนาดเล็กที่สุดของร้านอย่าง พื้นผิวกระเบื้อง ทั้งนี้ยังไม่ลืมการเล่นกับไฟนีออน โดยนำมาใช้ทำเป็นชื่อร้านสีเเดงสด ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราคุ้นชินตา นับเป็นการจับมือกันระหว่างรูปลักษณ์โมเดิร์นแบบอังกฤษกับไลฟ์สไตล์สตรีทสบาย ๆ แบบจีนได้อย่างลงตัว […]

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

ผนังดินอัด La Terre (ลาแตร์) วัสดุธรรมชาติจากเทคโนโลยีโบราณสู่วัสดุสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

ผนังดินอัด หนึ่งในวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ด้วยความสนใจในความเป็นธรรมชาติทั้งความงามและในแง่ของวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา แห่ง บริษัท ลาแตร์ จำกัด ได้เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท ณ สถาบันวิจัยดินเพื่อการก่อสร้างนานาชาติ CRA-Terre ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์การ Unesco และดูแลหลักสูตร Post Master in Earth Architecture ณ โรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นสูง เมืองGrenoble ประเทศฝรั่งเศส (Ecole Nationale Superieure D’architecture De Grenoble, France) และในวันนี้ room Magazine ก็ได้ขอมาเยี่ยมเยือนออฟฟิศของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในทาง “ดิน” ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทยคนนี้กันเลยทีเดียว เริ่มต้นกับดิน “ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงปี 2542 เป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ซึ่งงานหายากมาก พอจบออกมาก็ไปทำงานอยู่บริษัทรับเหมา ทำได้อยู่ช่วงหนึ่งก็ย้ายไปทำงานสถาปนิกที่ภูเก็ต ช่วงนั้นก็ทำหลายอย่าง เป็นดีเจบ้าง รับวาดภาพบ้าง สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนอยู่ 4 ใบ เรียนจบก็ลงเรียนใหม่ต่อวีซ่าไปเรื่อย ๆ […]

งานทดลองวัสดุ ใหม่จากดอกไม้ใบหญ้าเหลือทิ้ง LUKYANG MATERIAL TESTING NO.1

งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]