พื้นถิ่น Archives - room
local house

Mr. New’s Cabin บ้านพักตากอากาศหลังเล็ก บนเนินโล่ง ที่ เชียงใหม่ ดื่มด่ำกับธรรมชาติผ่านการตั้งอยู่ของตัวบ้าน

Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]

resort-nan

Patamma resort ฟื้นฟูป่า ริมน้ำน่าน สู่ รีสอร์ท แบบวิลล่าพื้นถิ่นร่วมสมัย

ป่าทำมา รีสอร์ท แบบวิลล่าริมแม่น้ำน่าน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตีความให้ความร่วมสมัย ในพื้นที่ที่ตั้งใจสร้างเป็นป่าของชุมชน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: IF (Integrated Field)  เริ่มจากแนวคิดตั้งต้นในการฟื้นคืนป่าให้พื้นที่ริมน้ำ โดยมีอาจารย์จุลพร นันทพานิช แห่งป่าเหนือสตูดิโอ สถาปนิกผู้ทำงานออกแบบที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติ ช่วยเข้ามาปรับสภาพที่ดินในส่วนที่ติดกับริมแม่น้ำ ทั้งการปลูกต้นไม้ทุกชนิดใหม่จากต้นกล้า ไม่ใช้วิธีล้อมต้นใหญ่มาปลูก เพื่อปล่อยให้ธรรมชาติร่วมทำงาน รอเวลาให้ต้นไม้ค่อยๆ เติบโต ให้ป่าฟื้นฟูตัวเองนานนับปี จากนั้น IF (Integrated Field) จึงเข้ามาออกแบบอาคาร รีสอร์ท ไปพร้อมกับการสร้างป่าแห่งนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น วางอาคารเปิดรับวิวแบบพานอรามา ทีมสถาปนิกจาก IF (Integrated Field) เข้ามาคิดผังการวางอาคารในพื้นที่ริมน้ำที่ถูกปรับเป็นป่า โดยวางอาคารหลัก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อาคารส่วนต้อนรับ มีห้องอาหาร “ป่ากำกิ๋น” เป็นภาษาเหนือแปลว่าป่าของกิน ทรงอาคารมีที่มาจากรูปทรงของหินที่พบได้บริเวณริมแม่น้ำ รายละเอียดแทบทุกจุดของโครงการ เกิดจากการลงพื้นที่ชุมชนของทีมออกแบบ นำไปสู่การต่อยอดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นงานร่วมสมัยที่น่าสนใจ ซ่อนอยู่ในดีไซน์ของตัวอาคาร ทรงหลังคา เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงวัสดุ เรียกได้ว่าทุกองค์ประกอบมารวมตัวกันก่อตัวเป็น “ป่าทำมา” ที่ถูกทำขึ้นมาอย่างตั้งใจ และพอดี […]

Office-rice-local-chiangmai

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Hanabitate Architect ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ […]

Cafe-Country-Chiang rai

Thingamajiggy Coffee Roaster คาเฟ่แม่ริม ถอดดีไซน์จากยุ้งข้าว

Thingamajiggy Coffee Roaster คาเฟ่พื้นถิ่นขนาดกะทัดรัด ตั้งอยู่บนเนินคันนา รูปทรงอาคารตีความดีไซน์จากยุ้งข้าวพื้นถิ่นทางเหนือ พื้นที่ส่วนกลางใช้วัสดุหาง่ายในพื้นที่อย่างไผ่ ทำเป็นโครงสร้างชั่วคราวคลุมไม้ยืนต้นที่รอวันเติบโต DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: YANGNAR STUDIO Thingamajiggy Coffee Roaster ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอาคารขนาด 3×7 เมตร ได้แรงบันดาลใจจากยุ้งข้าว หรือหลองข้าว จุดเริ่มต้นไอเดียการออกแบบมาจากการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ทางตอนเหนือของไทย และไปเยือนเชียงตุงของสถาปนิก จนออกมาเป็นร้านกาแฟภาษาเรียบง่าย มีพาวิเลียนหลังคาไผ่เป็นส่วนเชื่อมระหว่างอาคาร เน้นใช้วัสดุหาง่าย รวมถึงเทคนิควิธีที่ไม่ซับซ้อน กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไอเดียจากยุ้งข้าว รูปแบบอาคารเริ่มจากสถาปนิก คุณเท่ง-เดโชพล รัตนสัจธรรม แห่ง Yangnar Studio ออกเดินทางไปที่เมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ แล้วเกิดความสนใจในอาคารยุ้งข้าวเก่าในแถบนั้น หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าหลองข้าว เมื่อได้รับโจทย์จากเจ้าของโครงการที่ต้องการทำร้านกาแฟบนเนินคันนาของตัวเอง ด้วยความต้องการคุมงบประมาณ จึงนำรูปแบบอาคารมาถอดดีไซน์จนเกิดเป็นอาคารร้านกาแฟขนาดกะทัดรัดในไซซ์ 3×7 เมตร ที่มีฟังก์ชันบาร์กาแฟ ห้องอบเบเกอรี่ ส่วนตัวอาคารมีสองฝั่ง ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน เป็นส่วนบาร์กาแฟ ห้องอบเบเกอรี่ในทิศใต้ และอาคารห้องน้ำในทิศเหนือ […]