อิฐ Archives - room

ไอเดียตกแต่งร้านอาหาร ด้วย “อิฐ” หลากชนิด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการนำ “อิฐ” มาใช้ในงานออกแบบหลาย ๆ ครั้งมีส่วนช่วยส่งเสริมและสื่อสารถึงกลิ่นอายความเป็นท้องถิ่น ทั้งยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง เหมาะนำมาเป็น ไอเดียตกแต่งร้าน โดยผ่านการทดลองและค้นหาวิธีการใช้งานใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอมุมมองการใช้วัสดุที่ต่อยอดดัดแปลงได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในความหมายของ “อิฐ” หลายคนอาจนึกถึงภาพของอิฐดินเผาสี่เหลี่ยมสีส้มเป็นส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว “อิฐ” มีหลายประเภทให้เราเลือกใช้ นอกจากอิฐมอญ ยังมีอิฐบล็อก อิฐก่อโชว์แนว อิฐคอนกรีต อิฐบล็อกช่องลม อิฐดินเผาสำหรับประดับ และอิฐดินเผาช่องลม จากเสน่ห์ของอิฐแต่ละแบบที่ว่านี้ หากมองดี ๆ ด้วยรูปทรง และลวยลายที่แตกต่าง อิฐจึงถือเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่น่าสนใจในการใช้เป็น ไอเดียตกแต่งร้าน ที่สามารถพลิกแพลงได้อย่างสนุก เพื่อให้เข้ากับธีมการออกแบบที่หลากหลาย ส่วนจะมีตัวอย่างไหนน่าสนใจบ้าง room มีไอเดียมาฝาก ใครชอบแบบไหน เลือกหยิบไปปรับใช้ได้เลย อิฐบล็อกคอนกรีตผสมงานไม้ เรียบง่ายกลิ่นอายมินิมัลร้านบะหมี่ที่ไต้หวัน กับไอเดียการนำอิฐบล็อกคอนกรีตวัสดุธรรมดา ๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไป มาออกแบบพื้นที่ร้าน ด้วยการผสมเสน่ห์ของวัสดุอื่นๆ เพื่อบอกเล่าถึงความเรียบง่ายเจอสไตล์อินดัสเทรียล อาทิ คอนกรีต ไม้ เหล็ก และกระจก ร่วมกับพื้นหินขัด […]

PROUD PHU FAH MUANG CHIANGMAI โรงแรมเชียงใหม่ แนบชิดธรรมชาติ แนวโมเดิร์นคราฟต์

หลังจาก Proud Phu Fah Mae Rim Chiang mai เป็นที่รู้จักมานานกว่า 15 ปี ครั้งนี้ขอขยายสาขามายังตัวเมืองเชียงใหม่ กับชื่อ Proud Phu Fah Muang Chiang Mai ในบรรยากาศโมเดิร์นคราฟต์ กับทำเลที่สามารถเดินทางมาถึงได้สะดวก แต่ยังคงให้ความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ ช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์การพักผ่อนของกลุ่มลูกค้าได้อย่างหลากหลาย ตามคอนเซ็ปต์ “Relax with Natural Design Style Hip and Green Resort” DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Full Scale Studio บนทำเลที่เหมือนหลุดเข้าไปยังผืนป่าอันเงียบสงบ ไกลจากย่านพลุกพล่าน มีลำธารธรรมชาติ และวิวดอยสุเทพเป็นฉากหลัง Full Scale Studio จึงขอเชื่อมโยงกับบริบทธรรมชาติในพื้นที่เข้ากับการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยแบ่งอาคารที่พักหลัก ๆ เป็น 2 อาคาร มีความสูงเพียง 3 ชั้น เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพ […]

THE SAYLA HOTEL โรงแรมเชียงใหม่ ย่านนิมมานฯ โดดเด่นด้วยอาคารอิฐตัวแทนดังขุนเขา

The Sayla Hotel “บ้านเส-ลา” โรงแรมเชียงใหม่ ย่านนิมมานเหมินท์ ที่อยู่ในความทรงจำของหลายคนเมื่อมาเยือนเชียงใหม่ วันนี้ที่นี่ได้รับการรีโนเวทผ่านงานดีไซน์ให้เปลี่ยนโฉมไปอย่างสิ้นเชิง ออกแบบโดย EKAR ซึ่งมีคอนเซ็ปต์การนำจิตวิญญาณดั้งเดิมของนิมมานเหมินท์อย่างในวันวานกลับคืนมา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: EKAR โดดเด่นด้วยฟาซาดอิฐสูงตระหง่าน ช่วยอำพรางความเป็นส่วนตัวที่เงียบสงบไว้ภายใน และปิดบังมลภาวะทางเสียงที่วุ่นวายภายนอก โดยไม่ทิ้งเสน่ห์อันน่ารัก และความเป็นกันเองของบ้านเส-ลาไว้ โดยการออกแบบ The Sayla Hotel ครั้งนี้ สถาปนิกได้ตีความจากชื่อ และบริบทแวดล้อมอันบ่งบอกถึงความเป็นบ้านเส-ลา ย่าน และเมือง ฟาซาดอิฐตัวแทนทิวเขาและกำแพงเมืองโอบล้อม โดดเด่นด้วยฟาซาดอิฐสูงตระหง่าน ช่วยอำพรางความเป็นส่วนตัวที่เงียบสงบไว้ภายใน และปิดบังมลภาวะทางเสียงที่วุ่นวายภายนอก โดยไม่ทิ้งเสน่ห์อันน่ารักและความเป็นกันเองของบ้านเส-ลาไว้ โดยการออกแบบครั้งนี้สถาปนิกได้ตีความจากชื่อ และบริบทแวดล้อมอันบ่งบอกถึงความเป็นบ้านเส-ลา ย่าน และเมือง จากความหมายของคำว่า เส-ลา ซึ่งแปลว่า ภูเขาหิน อีกทั้งจุดที่ตั้งของโรงแรมยังมองเห็นดอยสุเทพ การออกแบบฟาซาดของอาคาร จึงเปรียบได้ดังขุนเขาสูงตระหง่านมองเห็นชัดแม้ในระยะไกล สร้างสรรค์ขึ้นจากอิฐดินเผาหลากสีจากหลายแหล่งที่มาทั้งจากเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง อีกนัยหนึ่งยังสื่อสารถึงกำแพงเมืองเชียงใหม่ที่โอบล้อมเมืองไว้ ดังเช่นปราการของขุนเขา ดึงจิตวิญญาณของนิมมานเหมินท์ให้กลับมา จากวันวานของการเป็นที่พักแห่งแรก ๆ ของย่าน ก่อนซอยนิมมานเหมินห์จะคึกคักถึงขีดสุด เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การท่องเที่ยวเชียงใหม่เงียบเหงา […]

MYJ House บ้าน ฟาซาดอิฐ กลางเมือง เปิดพื้นที่ส่วนตัวจากภายใน

บ้านกลางเมืองที่มีอิฐเป็นทั้งฟาซาด และคอร์ต ออกแบบพื้นที่ ทรงอาคารจากสภาพแวดล้อม แสงแดด และบริบทโดยรอบ ในขนาดที่ดิน 50 ตารางวา  ออกแบบ : BodinChapa Architects บ้าน MYJ House ออกแบบโดยทีมสถาปนิก BodinChapa Architects เดิมเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในโครงการเก่า ที่เจ้าของซื้อไว้ใกล้กับบ้านเดิมของครอบครัว แล้วต้องการรื้อเพื่อสร้างใหม่ โจทย์ของสถาปนิก คือ การออกแบบบ้านที่มีฟังก์ชันครบตามความต้องการของเจ้าของในขนาดพื้นที่กะทัดรัด และยังคงกลิ่นอายความชื่นชอบของเจ้าของคือความเป็นบ้านอิฐ  กำหนดผังจากบริบทโดยรอบ เริ่มจากทิศของแดด เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่กำหนดการวางผังบ้านหลังนี้ โดยเริ่มจากวางฟังก์ชันบันได และห้องซักล้างไว้ฝั่งทิศใต้ที่พระอาทิตย์ส่องตลอดวัน ช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าพื้นที่พักผ่อนโดยตรง ส่วนทางเข้าบ้านหลังเดิมจะอยู่ฝั่งทิศใต้ที่เป็นด้านสั้น สถาปนิกออกแบบทางเข้าใหม่ให้มาอยู่ฝั่งทิศตะวันออกที่เป็นด้านยาวแทน เพื่อให้ฟังก์ชันต่างๆ ของบ้านถูกจัดวางอย่างลงตัว และเข้า-ออกบ้านได้สะดวกขึ้น ในส่วนของรูปทรงอาคารฝั่งทิศใต้ทางด้านซ้ายมือที่เป็นรูปเฉียงก็เกิดจากองศาการวางบันไดภายในบ้านซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ใช้งานจริง จึงเรียกได้ว่าแทบทุกจุดของบ้านเกิดจากเหตุและผล รูปทรงมีที่มาจากการตอบโจทย์การใช้งาน และมาผสานกับการออกแบบให้ออกมาสวย จนเป็นฟอร์มของบ้าน ใช้งานพื้นที่จำกัดอย่างคุ้มค่า ด้วยพื้นที่ที่จำกัด รวมกับข้อกฎหมายที่ต้องเว้นระยะห่างอาคารจากแนวที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และถ้าต้องการทำช่องเปิดต้องเว้นเข้ามาถึง 2 เมตร สถาปนิกจึงเลือกวิธีออกแบบบ้านให้ใช้งานพื้นที่ได้คุ้มค่าที่สุดด้วยการวางอาคารเกือบเต็มพื้นที่ และเว้าอาคารเข้ามาในส่วนที่ต้องการให้เป็นช่องเปิด จึงทำให้ใช้งานพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า บ้านโปร่ง และทำให้รูปทรงอาคารเกิดความน่าสนใจ […]

6 แบบฟาซาด หลากวัสดุ เลือกถูกใจ ใช้งานถูกโจทย์

จะทำบ้าน แต่เลือกไม่ถูก? เพราะฟาซาดมีหลายแบบมากมาย หลากวัสดุ สำหรับคนที่ทำบ้าน รีโนเวทอาคาร หรือมีแผนจะทำ แล้วนึกถึงการทำฟาซาดแต่เลือกไม่ถูก room มีคำตอบ!! เพราะบทความนี้จะขอแนะนำข้อดี จุดเด่นของ 6 แบบฟาซาด แต่ละแบบมีคาแรคเตอร์อย่างไร พร้อมมีตัวอย่างดีๆ มาให้ดู  ฟาซาด เป็นเหมือนหน้ากากที่ครอบบ้านไว้จากภายนอก มีฟังก์ชันไว้ใช้บังสายตา กันฝุ่น กันแสงแดด กันฝน นอกจากฟังก์ชั่น ฟาซาด ยังเป็นหน้าตาของบ้าน เป็นส่วนแรกที่จะคนจะเห็นบ้านแต่ละหลัง เป็นส่วนที่ได้แสดงคาแรคเตอร์ ตัวตนของบ้านหลังนั้นออกไปให้คนภายนอกได้เห็น  ฟาซาดอิฐ  “กรุผนังรอบบ้านให้ได้ผิวสัมผัสที่ให้ความรู้สึกคราฟท์”  หากคุณชอบผิวสัมผัสธรรมชาติจากวัสดุที่ผลิตด้วยวิธีการคราฟท์ จากวัสดุที่มีวัตถุหลักดิบจากดิน ให้บ้านมีกลิ่นอายความทรอปิคัล นี่คือวัสดุที่คุณตามหา อิฐ คือ วัสดุก่อสร้างอาคารที่ผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ ถูกใช้งานมาตั้งแต่โบราณ คุณสมบัติ ใช้งานเป็นฟาซาดได้ทั้งแบบฟาซาดปกติ และแบบ Double Skin ฟาซาด คือฟาซาด 2 ชั้น  ระบบการติดตั้ง  ติดตั้งด้วยระบบเปียก (Wet Process) […]

YEH PUBLIC HOUSE คาเฟ่ประชาชื่น สีสันสดใสบรรยากาศเรโทฟิวเจอร์

!YEH Public House คาเฟ่ประชาชื่น น้องใหม่สุดว้าว! แห่งย่าน จุดนัดพบของคนทุกวัยที่ขอเอาใจทั้งสายกาแฟและสายแฮ้งเอ๊าต์ ภายใต้ธีมเบบี้บรันช์คลับบรรยากาศเรโทฟิวเจอร์ เพราะงานออกแบบที่ดีมีส่วนช่วยสร้างสรรค์เมือง โดยเฉพาะย่านที่เรียกว่า Local Area ให้มีบรรยากาศและสีสันช่วยกระตุ้นคุณภาพชีวิตของผู้คนในย่านให้มีความสุข แบบไม่ต้องไปแสวงหาจากที่ไหนไกล นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ FLAT12x มีไอเดียในการออกแบบ !YEH Public House เพื่อเป็นจุดนัดพบบรรยากาศดี มอบให้แก่ผู้คนที่แวะเวียนมายังตลาดบองมาร์เช่ ซึ่งมีทุกเพศทุกวัย หรือคนใน Neighborhood Area ย่านประชาชื่น ได้มี Third Place สำหรับมาพบปะ หรือใช้เวลาพักผ่อนชิล ๆ ได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ความเด่นของคาเฟ่นี้ เขาเอาใจทั้งสายกาแฟและสายแฮ้งเอ๊าต์ โดยเวลากลางวันจัดเสิร์ฟกาแฟและอาหารแบบ Babybrunch อาหารมื้อเบาที่ทานได้ตลอดวัน กลางคืนเปิดเป็นบาร์จัดเสิร์ฟเบียร์และไวน์พร้อมบู๊ธดีเจให้ผู้คนได้มาเอ็นจอย ทั้งหมดมาจากการตอบคำถามที่ว่า ทำไมบางคาเฟ่จึงมีแต่กาแฟแต่ไม่มีอาหาร หรือเสิร์ฟอาหารแต่ไม่มีกาแฟ หรือบางร้านมีกาแฟแต่ไม่มีไวน์ ที่นี่จึงรวมทุกความต้องการไว้ในที่เดียว ส่วนการตกแต่งร้านก็เต็มไปด้วยสีสันกระปรี้กระเปร่า ท่ามกลางบรรยากาศที่ถูกนิยามว่า “เรโทรฟิวเจอร์” ผู้ออกแบบจาก FLAT12X เล่าว่า การออกแบบด้วยนิยามนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้คาเฟ่ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มักมาช็อปปิ้งในตลาดบองมาร์เช่มีความรู้สึกย้อนรำลึกถึงวันวาน หรือเด็ก ๆ และวัยรุ่นก็จะรู้สึกสนุกผ่านสีสันและลูกเล่นต่าง […]

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา สถาปัตย์+กสิกรรม อาคารโมเดิร์นผสานโคกหนองนาโมเดล

งานออกแบบอาคารของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียง ที่มีโจทย์ทางด้านการเกษตรเข้ามาเป็นหลักการใช้งานได้อย่างโดดเด่น และยังเกื้อหนุนต่อบริบทโดยรอบได้อย่างน่าชื่นชมผ่านสถาปัตยกรรมแบบ Tropical Modern ที่มีอิฐมอญเป็นองค์ประกอบหลัก สถาปนิก : VIN VARAVARN ARCHITECTS Ltd. ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เป็น อาคารที่มีหลังคาทรงแปลกตา โดยอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เขาใหญ่ เพื่อรองรับกิจกรรมอบรมที่เกิดขึ้นภายในศูนย์ โดยคุณผึ้ง-พรรณราย พหลโยธิน เป็นผู้ก่อตั้ง จากแนวคิดของอ.ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร ซึ่งเมื่อสามปีกว่าก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดวิกฤตขึ้น จึงควรมีสถานที่ที่สามารถรองรับผู้คนประมาณหนึ่งพันคน โดยคุณผึ้งนั้นต้องการให้ผู้ที่เข้ามาภายในศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตรนี้ มีความสะดวกสบายมากขึ้นไม่อยู่อย่างลำบากจนเกินไป แต่ต้องอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน มีความทันสมัยได้ไม่ได้จำกัดรูปแบบจากภาพเดิม คุณวิน-ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกแห่ง Vin Varavarn Architects ผู้ออกแบบอาคารนี้เล่าถึงโจทย์ครั้งนี้ว่า คุณผึ้งต้องการอาคารที่มีความเรียบง่าย แต่ด้วยโปรแกรมการใช้งานอาคารที่ค่อนข้างมาก อาคารหลังนี้จึงต้องใหญ่พอควร และพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของโครงการก็ใหญ่มาก จึงต้องการอาคารสักหลังที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับผู้คน ส่วนแนวคิดด้านความพอเพียงก็อาจไม่ต้องตีกรอบว่าต้องอยู่บ้านไม้ไผ่ กระท่อมไม้ที่ดูลำบาก เพราะว่าการดูแลรักษาในระยะยาวก็เป็นสิ่งสำคัญ โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตผสมกับเหล็ก ปกคลุมด้วยหลังคาขนาดใหญ่ กรุด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่เรียงเป็นตับ โดยมีการศึกษาเรื่องการระบายอากาศ แสง และความโปร่งของโครงสร้างทั้งหมดก่อนก่อสร้างจริง ไม้ไผ่ที่เห็นดังกล่าวในอนาคตทางศูนย์ก็สามารถซ่อมแซมได้เองตามอายุการใช้งาน เนื่องจากมีปลูกเพื่อรองรับเอาไว้แล้ว จากการที่หลังคาเป็นหลังคาขนาดใหญ่ จึงเป็นเสมือนพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ยามฝนตกไปด้วยในตัว ช่วงแรกสถาปนิกได้คิดถึงระบบท่อและถังในการเก็บน้ำ แต่เมื่อได้มีการพูดคุยกับคุณผึ้ง […]