cafe Archives - Page 2 of 9 - room

Citizen Tea Canteen of Nowhere คาเฟ่ชาไทยในโชว์รูมหัตถกรรม

ตึกแถวในตรอกเล็กซอยน้อยคือวิถีชีวิตอันคุ้นเคยและเปี่ยมเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ​ เช่นเดียวกันกับที่ “ย่านตลาดน้อย” แม้วันนี้เราจะมีร้านชาเปิดใหม่อย่าง Citizen Tea Canteen of Nowhere เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่ไม่ไกลข้างหน้านี้ แต่ก่อนเลี้ยวเข้าร้าน ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าสุดปลายตรอกนี้จะมีอะไร และทะลุไปเดินเล่นที่ไหนต่อได้อีกบ้าง ช่วงสองสามปีนี้มานี้ คนรักงานออกแบบรับรองว่าต้องคุ้นเคยกันดีกับชื่อ Citizen of Nowhere แบรนด์หัตถกรรมร่วมสมัยของ คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ดีไซเนอร์สุดป็อปแห่ง 56thStudio ผู้มุ่งมั่นปลุกวิญญาณศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาชายขอบที่ถูกลืมเลือนหรือด้อยค่า ให้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันยุคใหม่ และคอลเล็กชั่นหัตถกรรมของเขา ก็คือจุดเริ่มต้นของการเปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่นี้ Citizen Tea Canteen of Nowhere ยังมาพร้อมคาเฟ่ชาไทยสีส้มหน้าตาคุ้นเคย ที่นำเสนอในภาษาใหม่ที่ละเมียดละไมขึ้น  “หลังจากแบรนด์เข้าสู่ปีที่สาม เรามีสินค้าค่อนข้างเยอะขึ้น เลยรู้สึกว่างานหัตถกรรมมันจะน่าสนใจและน่าซื้อมากขึ้นถ้าเราสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ เลยเกิดเป็นโชว์รูมที่มีคาเฟ่ในตัว คนจะได้มอง ได้สัมผัส ได้สำรวจข้าวของได้แบบเพลิน ๆ” จากแกนหลักของแบรนด์หัตถกรรมที่ต้องการอุ้มชูวัฒนธรรมชายขอบ สวมเข้ากันพอดีกับคอนเซ็ปต์ของสภากาแฟหรือสภาชาแบบไทย ๆ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับการร่วมวงชวนคนใกล้เคียงมาสังสรรค์ แลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านเครื่องดื่มคาเฟอีนในมือ งานทั้งสองแบบแม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดการ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการ Deconstruction – รื้อ ถอด ประกอบ […]

กากกาแฟ สู่แก้วดีไซน์สวย KAFFEEFORM

จาก “กาก” สู่ “แก้ว” ใช้ซ้ำดี รีไซเคิลได้ เกิดขึ้นจากสิ่งที่รู้กันว่าในทุก ๆ เช้า ชาวโลกไม่ว่าจะชาติใดต่างก็ต้องการ “กาแฟ” แก้วแรกกันอยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดผลสืบเนื่องอันเป็นขยะปริมาณมหาศาลในทุกเช้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น หลอด และไม้คนกาแฟ KAFFEEFORM บริษัทจากประเทศเยอรมนี จึงเกิดความคิดที่จะสร้างแก้วกาแฟที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น และผลิตจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมร้านกาแฟ เพื่อให้เกิด Close Loop หรือการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ใน Circular Economy และสิ่งที่ถูกเลือกมาใช้เป็นวัสดุนั่นก็คือ “กากกาแฟ” นั่นเอง กว่า 3 ปี ที่ KAFFEEFORM ได้ทดลองสูตรลับเฉพาะในการขึ้นรูปแก้วกาแฟจากกากกาแฟให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ น่าใช้ และดูดีเป็นมิตรต่อนักดื่ม ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายมาเป็นแก้วที่มีผิวสัมผัสเรียบเนียนแต่ผสมไปด้วยเส้นใยจากกากกาแฟ สามารถฉีดขึ้นรูปได้หลากหลาย ตั้งแต่แก้วที่ล้อเลียนมาจากแก้วใช้แล้วทิ้ง แก้ว Espresso แก้ว Cappucino และ แก้ว Latte มีความทนทาน ทั้งสามารถใส่ของร้อนได้ และตกไม่แตกอีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ใช้สูตรลับที่เป็น Plant […]

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

FLAT+WHITE CAFE คาเฟ่ขาวนวลมินิมัลในย่านทองหล่อ

ถ้าถามว่าเมนูกาแฟอะไรคือเอกลักษณ์ของออสเตรเลีย ประเทศต้นกำเนิดกระแสกาแฟ Thrid Wave ก็คงบอกได้ทันทีว่าคือ Flat White ประกอบกับที่เจ้าของร้าน(และบ้านที่ชั้นบน) เคยไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เมื่อกลับมาไทยเขาจึงเปิดร้านกาแฟของตัวเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Flat+White Cafe เพื่อบ่งบอกตัวตนและความผูกพันกับกาแฟที่นั่น “ความนุ่มละมุนจากครีมนม” คือคอนเซ็ปต์ที่ถูกนำมาใช้ สองส่วนหลักที่เห็นได้ชัดคือ “สีสันบรรยากาศ” และ “เส้นสายโค้งรับต่อเนื่อง” ตลอดทั้งโครงการ การเลือกใช้ “สีขาว” เป็นหลักนี้ เพื่อสื่อถึงความนวลเนียนของนมบนกาแฟที่ถูกเจือด้วยสีน้ำตาลอ่อน ๆ ผนวกกับพื้นผิวที่ใช้เทคนิคปูนปั้นสร้างความนูนต่ำเกิดเป็นแสงเงาคล้ายคลื่นบาง ๆ ทำให้รู้สึกถึงความนุ่มละมุนมากยิ่งขึ้น เปรียบได้กับการที่เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านแห่งนี้ ก็เหมือนได้เข้าไปอยู่ในครีมนมอันนวลเนียน อีกส่วนคือ “เส้นสายต่อเนื่อง” ที่ถูกใช้ตั้งแต่ฟาซาดภายนอก จนไหลเข้าสู่ภายในนั้นเปรียบเหมือนเทคนิค Latte Art ของการเทแบบ Free Pouring การสร้างลวดลายที่เกิดจากการซ้อนทับของชั้นเลเยอร์จากนม เมื่อถูกเทลงไปแล้วส่ายสะบัดจนเกิดเป็นลวดลาย ภายนอกนั้นใช้สเตนเลสแผ่นทำสีขาวด้านซ้อนเรียงกันและโค้งรับขับเน้นบริเวณทางเข้าไหลเข้าสู่ภายใน ทุกพื้นที่มีการเน้นด้วยเส้นและการซ้อนกันของฝ้าเพดาน สร้างความต่อเนืองโค้งมนช่วยลบความรู้สึกเป็นเหลี่ยมของอาคาร “เมื่อจะออกแบบร้านการแฟร้านนี้ ผมอยากให้มันร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันไปตลอดทั้งอาคาร ตั้งแต่แรกเห็นที่จากภายนอกจนเข้าสู่ภายใน ไปจนถึงทุก ๆ องค์ประกอบ เช่น ลวดลาย สีสัน […]

The Roof Cafe Roiet คาเฟ่ทรงหลังคา(เมทัลชีท) ที่ไม่ธรรมดาด้วยพื้นที่สอดแทรกธรรมชาติอย่างลงตัวในจังหวัดร้อยเอ็ด

หลังคา เมทัลชีท ที่เป็นมากกว่าหลังคา เพราะนี่คือคาเฟ่ที่อาจเรียกได้ว่าแนวที่สุดในจังหวัดร้อยเอ็ดก็ว่าได้ในวันนี้ กับ The Roof Cafe Roiet เพราะด้วยโจทย์ของเจ้าของที่มาจากธุรกิจจัดจำหน่ายแผ่นหลังคาเมทัลชีท โดย Sangthai Metal Sheet ทำให้ คุณกัน-ธุวานนท์ เรืองกนกศิลป์ แห่ง YIN + D Studio ต้องตีความ “พื้นที่ที่จะแสดงตัวตนของหลังคาเมทัลชีท” ออกมาให้ได้มากกว่าแค่ภาพจำเดิม ๆ “ เมทัลชีท = หลังคา” การตีความที่ล้อเลียนภาพจำ ทำให้เกิดคำถามเมื่อผู้มาเยือนได้เริ่มเดินเข้าไปในคาเฟ่แห่งนี้ สถาปนิกตั้งใจออกแบบโดยสร้างภาพของหลังคาขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากที่ตั้งของคาเฟ่อยู่ริมถนนไฮเวย์รอบตัวเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้เป็นที่จดจำของรถราที่เดินทางผ่านเส้นทางนี้ได้โดยง่าย รูปฟอร์มที่จดจำได้ง่ายและบอกเล่าต่อกันได้ด้วยคำ ๆ เดียวถือเป็นสิ่งสำคัญ “คาเฟ่หลังคาเมทัลชีต” จึงเกิดขึ้น แต่เมทัลชีทในคาเฟ่กลับถูกใช้หลากหลายกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแนวกำแพง หรือผนัง ไปจนถึงเคาน์เตอร์กาแฟ ทั้งหมดได้รับการออกแบบขึ้นโดยใช้เมทัลชีทเป็นวัสดุหลัก สถาปนิกเลือกลอนของเมทัลชีทที่เป็นแบบลอนเรียบ และเว้นจังหวะของสัดส่วนช่องเปิดต่าง ๆ ให้พอดีกับลักษณะลอน ทำให้จังหวะแพตเทิร์นที่มาจากรูปแบบลอนนั้น กลายเป็นจังหวะและสัดส่วนที่ร้อยรัดพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นภาษาเดียวกัน ในส่วนของบรรยากาศภายใน นอกจากกำหนดพื้นที่ใช้งานหลัก ๆ เช่น […]

SAWO COFFEE & ROASTERY คาเฟ่ที่อินโดนีเซียในบรรยากาศกึ่งเอ๊าต์ดอร์

Sawo Coffee & Roastery คาเฟ่ที่อินโดนีเซีย บนถนนบราก้า กลางเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย เมืองที่มีเอกลักษณ์ทางมรดกที่แข็งแรง ซึ่งอาคารหลังนี้ดูโดดเด่นออกจากบริบทโดยรอบด้วยรูปแบบของความเป็นบล็อกอาคารสไตล์โมเดิร์นเพียงหนึ่งเดียว ที่ตั้งอยู่ริมทางเท้าเชื่อมถนนคนเดิน ผู้ออกแบบจาก Oi Architect ได้ทำการปรับช่องเปิดขนาดใหญ่ด้านหน้า ที่เดิมทีเป็นกระจกติดฟิล์มดำทั้งผืนให้เหลือเพียงครึ่งบาน เพื่อนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ในพืนที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ ทั้งยังช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ที่สัญจรผ่านไปมาให้เห็นความเคลื่อนไหวภายในอาคารได้เป็นอย่างดี พื้นที่ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 โซนหลัก ๆ คือ พื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ พื้นที่อินดอร์ และส่วนเซอร์วิส ไล่จากทางเข้าด้านหน้าเป็นลำดับ ภายในตกแต่งสไตล์มินิมัล ในโทนสีขาวสะอาดตาเข้าคู่กับเฟอร์นิเจอร์ไม้ และเพิ่มความรู้สึกอบอุ่นด้วยไฟแบบวอร์มไวท์ เลือกวางเฟอร์นิเจอร์แบบโต๊ะตัวยาวให้ลูกค้านั่งทำงาน ประชุม หรือว่าแฮ้งเอ๊าต์ในยามเย็น อีกส่วนหนึ่งสำหรับคนที่มาคนเดียวหรืออยากนั่งคุยกับบาริสต้า ในส่วนของโต๊ะบาร์ที่คุมโทนสีขาวกลืนไปกับผนังด้านหลังให้ดูเรียบง่ายที่สุด แล้วเพิ่มจุดโฟกัสไปที่โคมไฟเหนือเคาน์เตอร์แทน องค์ประกอบทั้งหมดที่อยู่รวมกันทำให้ที่นี่กลายเป็นจุดหมายของผู้ที่ต้องการความสดชื่น พักผ่อน และเชิญชวนให้ผู้คนเเวะเวียนเข้ามาทำความรู้จัก ออกแบบ: Oi Architect ภาพ: KIE เรียบเรียง: BRL OTTOMAN’S COFFEE BREWERS คาเฟ่สีหวานละมุนตาในอินโดนีเซีย CAPELLA UBUD HOTEL เต็นท์กลางป่าฝนลึกลับจากตำนานของนักเดินทางชาวดัทช์

DOUBLE S SPECIALTY COFFEE

DOUBLE S SPECIALTY COFFEE ทอนองค์ประกอบโรงคั่วกาแฟโบราณให้ทันสมัยด้วยสัจวัสดุ

พื้นที่ชั้นล่างของอาคารมิกซ์ยูสแห่งหนึ่งย่านปุณณวิถีที่ถูกแบ่งให้ผู้สนใจเข้ามาเช่าพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่นามว่า “Double S Specialty Coffee” คาเฟ่ปุณณวิถี ในกล่องใสคลีนสะอาดตา ดึงดูดความสนใจตั้งแต่แรกเห็น โดยทั้งหมดเป็นฝีมือการออกแบบของสถาปนิกจาก TOUCH ARCHITECT “เมื่อดูจากบริบทของพื้นที่ตั้ง ซึ่งเป็นห้องเเบ่งเช่าที่อยู่ในอาคาร พร้อมกับขนาดพื้นที่ที่เล็กเพียง 35 ตารางเมตร ทำให้ยากต่อการออกแบบสเปซ ดังนั้นจึงเลือกที่จะออกแบบให้ คาเฟ่ปุณณวิถี แห่งนี้ มีความโปร่งโล่งที่สุด ทั้งยังต้องการให้คนสามารถมองเห็นบรรยากาศภายในร้านเเละชักชวนให้ลูกค้าอยากเข้ามา จึงตกแต่งพื้นที่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางความรู้สึก โดยการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับพื้นที่ในเเต่ละฟังก์ชันแทน” จากข้อจำกัดของพื้นที่สถาปนิกเลือกที่จะไม่แตะโครงสร้างของอาคาร แล้วสร้างเลเยอร์ซ้อนอีกชั้นด้านในด้วยแผงฟาซาดแบบบานเกล็ดใส ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากโรงคั่วกาแฟแบบโบราณที่ผนังมักใช้ไม้ตีซ้อนเกล็ด คงกลิ่นอายแบบรัสติก พร้อมการโชว์สัจวัสดุ แต่มีข้อจำกัดเรื่องของมุมมองและความทึบตัน ผู้ออกแบบจึงนำแพตเทิร์นนี้มาใช้โดยดัดแปลงเป็นบานเกล็ดกระจกใสที่ติดตั้งแบบแรนดอม เกิดเป็นอารมณ์ที่แตกต่างออกไป ทั้งยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายราคาไม่เเพง ให้ความรู้สึกปลอดโปร่งด้านมุมมองที่ดีกว่า อีกทั้งยังสามารถมองเห็นบรรยากาศภายในร้าน จูงใจให้ลูกค้าอยากเข้ามาใช้บริการ อย่างที่ผู้ออกแบบตั้งใจไว้ด้วย ในส่วนของผนังที่กลายมาเป็นแบ็กกราวน์ของร้าน เด่นด้วยการเลือกใช้อิฐบล็อกที่คุ้นเคย โดยแพตเทิร์นในการก่อนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการจัดเรียงวัสดุชนิดนี้ในร้านขายวัสดุก่อสร้างที่มีการวางเรียงสลับกันไปมา อย่างการนำด้านสันหรือด้านข้างหันออกบ้าง เพื่อสร้างความสมดุลและการถ่ายเทน้ำหนักมาสร้างความแปลกตาให้กับผนังร้านได้เป็นอย่างดี ด้วยความชื่นชอบสไตล์มินิมัลแบบคาเฟ่เกาหลีของเจ้าของร้าน ทำให้พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งแบบเรียบง่าย คุมมู้ดแอนด์โทนสีเทา-ดำ กับเคาน์เตอร์บาร์กรุสเตนเลสเรียบเกลี้ยงเป็นพระเอกของร้าน ซึ่งเคาน์เตอร์นี้ยังเป็นตัวแบ่งสเปซภายในให้เป็นสัดส่วน และแก้ปัญหาเรื่องเสาที่อยู่ตำแหน่งกลางร้านได้เป็นอย่างดี ในส่วนของเฟอร์นิเจอร์เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความยืดหยุ่น อีกทั้งง่ายต่อการบำรุงรักษา โดยมีที่นั่งให้เลือกทั้งแบบบาร์และแบบโต๊ะเดี่ยว พร้อมรองรับลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะมาคนเดียว มาเป็นคู่ […]

WANDERLUST COFFEE AND EATERY คาเฟ่สไตล์มินิมัล ใต้โฮสเทลสีขาวย่านซอยนานา เเหล่งนัดพบของนักเดินทาง

“ คาเฟ่สไตล์มินิมัล สำหรับผู้หลงรักการออกเดินทาง เพื่อออกไปค้นหาความหมายและเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ระหว่างทาง” นี่คือความหมายของชื่อคาเฟ่ที่คุณเมย์ – จักกพัฒน์ วงศ์โสภา เจ้าของร้านได้บอกไว้ เพื่อเชื่อมโยงกับสถานที่ตั้งที่อยู่ใต้โฮสเทล 2W ใกล้กับรถไฟฟ้า MRT สถานีหัวลำโพง และซอยนานา ย่านที่กำลังฮิตขึ้นเรื่อย ๆ ในเยาวราช เนื่องจากคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในย่านซอยนานา ย่านเก่าเเก่ดั้งเดิมที่มีเสน่ห์ การออกแบบตกแต่งร้านจึงเป็นการรีโนเวตอาคารเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ให้กลายเป็นโฮสเทลเเละ คาเฟ่สไตล์มินิมัล ที่มีความเรียบง่าย สบายตา และเข้าถึงง่าย เติมองค์ประกอบอย่างเฟอร์นิเจอร์สไตล์อินดัสเทรียลเพื่อช่วยสร้างสีสัน โดยยังคงโครงสร้างของอาคารเดิมไว้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง ฝ้า และบันได เพื่อมอบประสบการณ์ เรื่องราว กลิ่นอาย และความทรงจำที่ชวนค้นหาให้แก่ผู้นิยมความคลาสสิกและเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ในเมืองเก่า   สำหรับการบริการคาเฟ่แห่งนี้ขอเรียกตัวเองว่าเป็น Bruch Café เสิร์ฟอาหารสไตล์ Melbourne หรืออาหารสไตล์ฟิวชั่นที่คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดีจากหลากหลายแหล่งมาปรุงเป็นอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ด้วยความใส่ใจ เพื่อให้ได้รสสัมผัสที่มีเอกลักษณ์และรสชาติอร่อยถูกปากทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นจุดหมายของคนที่รักการออกไปค้นหาประสบการณ์แปลกใหม่ ทั้งในรูปแบบของบรรยากาศ กาแฟกลิ่นหอมกรุ่น และมื้ออาหารแสนอร่อย ความสุขง่าย ๆ ที่รอคอยนักเดินทางทุกคนมาเยี่ยมเยือน   ที่ตั้ง […]