Studio Visit Archives - Page 7 of 17 - room

DUJIANGYAN ZHONGSHUGE ร้านหนังสือดีไซน์สุดพิศวง

ร้านหนังสือ Dujiangyan Zhongshuge ตั้งอยู่ในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ทางภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกแบบโดยสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมจากเซี่ยงไฮ้ X+Living ได้แรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์ และประวัติศาสตร์ของระบบชลประทานอายุกว่า 2,000 ปีในเมือง Dujiangyan เมื่อก้าวเข้าไปในร้าน Dujiangyan Zhongshuge ผนังชั้นวางโค้งรูปตัวซี (C) สีไม้วอทนัทสร้างสเปซให้มีชั้นเชิงน่าค้นหา ทั้งยังเป็นไฮไลต์สำคัญของร้าน การเดินทางใต้ชั้นหนังสือเหล่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนเดินใต้ชายคาของซุ้มโค้งกลางสวน หรือท่ามกลางคลื่นทิวเขาตามธรรมชาติ สร้างประสบการณ์เลือกซื้อหนังสือที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ชั้นหนังสือเรียงรายเต็มบนซุ้มโค้ง และเสากลมสูงทะยานจรดเพดาน บรรจุหนังสือกว่า 80,000 เล่ม  ตู้หนังสือเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ และลักษณะภูมิประเทศของเมือง Dujiangyan ซึ่งมีประวัติการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำมายาวนาน ดังนั้นในพื้นที่หลักจะมีชั้นหนังสือที่สะท้อนภาพของเขื่อนกั้นน้ำ Dujiangyan สิ่งมหัศจรรย์ที่ชาวจีนสร้างตั้งแต่ 2,000 กว่าปีก่อน โดยนักออกแบบตั้งใจนำเสนอแรงบันดาลใจนี้ทั้งในเชิงนามธรรม และเชิงความงาม ในโซนหนังสือวรรณกรรมตรงกลาง กระจกบนเพดานชื่อทำให้สเปซดูสูงโปร่งไร้ที่สิ้นสุด พร้อมด้วยเงาสะท้อนของชั้นหนังสือที่ได้แรงบันดาลใจจากเขื่อนกั้นน้ำสุดยิ่งใหญ่ใน Dujiangyan ดูเหมือนเมืองย่อมๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ โต๊ะจัดวางหนังสือดูไม่ต่างเรือที่ล่องอยู่บนสายน้ำ ซึ่งแทนด้วยกระเบื้องสีดำบนพื้น ระหว่างชั้นหนังสือทั้งหลาย และเมื่อเดินผ่านช่องวงกลมบนผนังชั้นวางหนังสือเข้าไปจะพบกับโซนคาเฟ่ ที่ให้ทุกคนนั่งจิบกาแฟพร้อมๆ กับซึมซับบรรยากาศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ  ส่วนระเบียงของชั้นสองเต็มไปด้วยที่นั่ง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกหนังสือมานั่งเปิดดูก่อนซื้อ หรือนั่งพูดคุยกันได้ โดยทั้งหมดออกแบบด้วยแนวคิดแบบองค์รวม ทุกองค์ประกอบจึงต่อเนื่องลื่นไหลภายใต้แนวคิดความงามเดียวกัน […]

รีโนเวท ตึกเก่า

MAISON826 จากพื้นที่ใต้ตึกที่เคยปล่อยร้าง ถูกปลุกให้ฟื้นเป็นคอนเซ็ปต์สโตร์สุดเท่

ภายใต้โครงสร้างที่เหมือนจะยังสร้างไม่เสร็จดีนัก แท้ที่จริงแล้วนั้นเกิดจากความตั้งใจของ Nuno Ferreira Capa ผู้ออกแบบที่เข้ามา รีโนเวท ฟื้นคืนชีพพื้นที่ใต้ตึกมีอายุ ที่ครั้งหนึ่งเคยปิดเอาไว้โดยไม่ถูกใช้งาน ให้กลับมามีชีวิตใหม่เป็นพื้นที่มัลติฟังก์ชันดีไซน์เรียบเท่ ที่นี่คือ Maison826 ร้านทำผม ส่วนจัดแสดงดนตรี และคอนเซ็ปต์สโตร์ แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับของแฮร์สไตลิสต์หนุ่ม Pedro Remy ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น G ของตึกคอนกรีตอายุหลายสิบปีที่สร้างขึ้นตั้งแต่ยุค 70’s ในย่านใจกลางเมืองบราก้า ประเทศโปรตุเกส ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด 250 ตารางเมตร ที่ได้รับการ รีโนเวท ขึ้นมาใหม่ จนเรียกได้ว่าเปลี่ยนบรรยากาศไปเลยไก้อย่างไม่น่าเชื่อ บ้างถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุปิดผิวให้ดูเรียบร้อย บ้างยังคงปล่อยเปลือยให้ปรากฏร่องรอยกระด้างดิบของเนื้อคอนกรีตบนผิวผนังและโครงสร้าง อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีระดับต่างกันไป คล้ายกับชั้นหนึ่งชั้นถูกแบ่งย่อยออกเป็นชั้นเล็ก ๆ อีก 4 ระดับ จนดูซับซ้อน กลับดูน่าสนใจและมีเสน่ห์ในแบบฉบับของมันเองอย่างน่าประหลาด แม้ว่าในแต่ละสเปซจะมีฟังก์ชันที่ถูกกำหนดการใช้งานออกมาต่างกันก็ตาม เพราะด้วยช่องเปิดอาคารและหน้าต่างแต่ละบานที่มีจำนวนมากพอ ประกอบกับผู้ออกแบบจัดการรื้อผนังที่เป็นส่วนเกินรบกวนสเปซบางส่วนออกไป จึงทำให้สเปซต่างระดับเกิดความต่อเนื่องกันและมองเห็นกันได้ ผู้ออกแบบอธิบายว่า แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของ Maison826 เกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดชะงักไปในระหว่างกระบวนการปรับปรุงรื้อถอน ประกอบกับการคำนึงถึงความเหมาะสมของสเปซกับโปแกรมใหม่ที่จะถูกกำหนดลงบนสเปซเดิมทั้ง 4 ระดับ ซึ่งส่วนแรกถัดจากประตูทางเข้าถูกกำหนดฟังก์ชันเป็นส่วนเซอร์วิส จากจุดนี้สามารถก้าวขึ้นไปสู่ส่วนร้านทำผม ที่มีมุมสระผมและทำสีที่ออกแบบให้เกิดความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า เชื่อมกับห้องทรีตเมนต์ที่มีจุดสังเกตเป็นโต๊ะทำงานไม้ยาว […]

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]

CHEEVA SPA พากลับสู่แก่นแท้ของธรรมชาติในบรรยากาศแบบมินิมัล

จากสปาแบบ Traditional Lanna ที่ให้บริการมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุการณ์สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ Cheeva Spa แห่งนี้ ต้องหยุดให้บริการไป แต่ในวิกฤตนั้นมักมีโอกาสเสมอ ช่วงเวลาที่หยุดให้บริการไปนั้นจึงทำให้คุณกันติชา และคุณกัลยกร สมศักดิ์ ลงมือรีแบรนด์และปรับเปลี่ยนบรรยากาศของสปาใหม่จนหมดจดเลยทีเดียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO คุณกันติชา และคุณกัลยกร เป็นผู้ลงมือเลือกสรรและตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ในสปาใหม่ด้วยตนเอง แต่ในด้านการออกแบบพื้นที่นั้นได้ถูกรังสรรค์โดยทีมสถาปนิกจาก INLY STUDIO โดยมีคอนเซ็ปต์ของการรีแบรนด์หลัก ๆ ก็คือการนำ Cheeva Spa กลับสู่แก่นแท้ของธรรมชาติ ทั้งการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรยากาศภายในแบบมินิมัล ที่สื่อถึงความเป็นธรรมชาติและสุขภาพที่ดีอย่างเด่นชัด การออกแบบพื้นที่ให้สว่างและเปิดโปร่งเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ให้เกิดความสดใสขึ้น เพื่อให้การบริการสปานั้นถูกมองว่าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยขยายกลุ่มลูกค้าให้ไปสู่คนวัยทำงานมากขึ้นด้วย และอีกส่วนหนึ่งคือการเน้นย้ำถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิกในสปา ความสว่างและปลอดโปร่งจึงสื่อถึงสุขภาพที่ดีจากภายใน ตั้งแต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ พื้นที่ส่วนบริการมีกระจกบานใหญ่ที่เปิดวิวออกไปยังสวน เป็นการออกแบบที่ดึงเอาความเป็นสวนเข้ามาในพื้นที่ภายในโดยยังคงไว้ซึ่งความสบายอยู่ วัสดุและโทนสีของสปา เลือกใช้สีที่กลมกลืนกับความเป็นธรรมชาติ เช่น สีไม้ขัดเสี้ยนขาว วัสดุที่เป็นดินเผา และเซรามิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีขาวที่เลือกให้เป็นสีขาวที่หม่น ทั้งนี้เพื่อรับกับการเปิดช่องแสงจะทำให้แสงที่สะท้อนจากผนังยังคงนวลตาไม่เจิดจ้าจนเกินไป ในหลาย […]