room Archives - Page 53 of 139 - room
สายแคมป์ ต้องหยุดมองเพราะมองยังไงก็ภาพซ้อน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะนี่คือชุดแต่งรถลากของ Toyota Racing Development หรือ TRD นั่นเอง

ตัวจบของกระบะสายแคมป์ TRD SPORT TRAILER

สายแคมป์ ต้องหยุดมองเพราะมองยังไงก็ภาพซ้อน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะนี่คือชุดแต่งรถลากของ Toyota Racing Development หรือสำนักแต่งรถของโตโยต้าที่เรารู้จักกันในนาม TRD นั่นเอง อ่าน : จาก STUDIO 248 สู่ CAMP STUDIO ก้าวใหม่ที่สะท้อนความหลงใหลและประสบการณ์ในการออกแบบ TRD Sport Trailer มาด้วยรูปลักษณ์เข้าคู่กับกระบะของ Hilux USA ปี 2020 ซึ่งเอาจริง ๆ เราคิดว่า ทีมได้ตัดกระบะมาต่อเติมดื้อ ๆ นั่นแหละ แต่เอาเถอะก็มันสวยซะขนาดนี้ ของมันต้องมีแหละจริง ๆ นะ เจ้ากระบะพ่วงน้อยคันนี้ ไม่ได้เล็กอย่างหน้าตา เพราะเขาออกแบบมาให้เป็นกระบะสารพัดประโยชน์อย่างแท้จริง กับการออกแบบที่สามารถเปลี่ยนการใช้งานแบบโมดูลาร์ได้นั่นเอง ทำให้เจ้ากระบะพ่วงคันนี้เป็นทุกอย่างให้คุณแล้วตั้งแต่ห้องน้ำ ห้องส้วม ตู้เย็น รถปั่นไฟ ถังสำรองน้ำ เตาบาร์บีคิว ห้องครัวเคลื่อนที่ หรือแม้แต่เต็นท์ขนาด 4 คนนอน ก็ยัดรวมมาไว้ได้หมด จึงเรียกได้เต็มปากเลยว่าเจ้านี่ก็คือ […]

NOTE KRITSADA ศิลปินหนุ่มผู้กล้าจะล้มเหลว ล้มเลิก และเริ่มใหม่เสมอ

โน้ต – กฤษดา ภควัตสุนทร หลายคนอาจรู้จักเขาในฐานะนักออกแบบผู้ร่วมก่อตั้งครีเอทีฟสตูดิโอและโปรดักชั่นเฮ้าส์ James Dean บางคนอาจเพิ่งได้ฟังซิงเกิ้ลใหม่ ‘หอน’ (Horn) จากวง The Keylookz ที่เขาเป็นนักร้องนำ หรือบางทีก็อาจเคยใส่เสื้อเชิ้ตแบรนด์ Wolfkind ที่เขาเคยออกแบบไว้เมื่อหลายปีก่อน แต่เชื่อว่าใครก็ตามที่ได้เห็นผลงานศิลปะของเขาสักครั้ง ก็ต้องมีภาพจำของลายเส้นและสไตล์ อันเป็นเอกลักษณ์ภายใต้ลายเซ็นของ NOTE KRITSADA แน่นอน หมวกหลายใบ และบทบาทหลายด้านที่ศิลปินหนุ่มไฟแรงคนนี้สวมอยู่ได้สะท้อนตัวตน และความเชื่อของเขา ณ ขณะนั้นอย่างชัดเจน มาวันนี้บทบาทความเป็นศิลปินครอบครองพื้นที่ครึ่งหนึ่งของชีวิต และเป็นพื้นที่ที่ถ่ายทอดความหลงใหล ความทรงจำหรือประสบการณ์ส่วนตัวของ NOTE KRITSADA ให้แปรเปลี่ยนเป็นผลงานศิลปะที่ไร้กรอบจำกัด “ครึ่งหนึ่งของชีวิตทำงาน ผมมีหุ้นส่วนร่วมกันทำบริษัท มีพนักงานที่เราต้องดูแล มีงานที่เราต้องคิดให้ตอบโจทย์ลูกค้าตลอด อีกครึ่งหนึ่งคือเรื่องงานศิลปะ จริง ๆ ผมก็ไม่ได้มองว่าผมเป็นนักดนตรี เพราะเชื่อว่านักดนตรีจริง ๆ คงต้องทุ่มเทกว่าผมเยอะ แค่มีเพื่อนอีกสองคนที่ทำวงสนุก ๆ ด้วยกัน” “งานศิลปะช่วยบำบัดผมจากงานคอมเมอร์เชี่ยลที่บริษัทขณะเดียวกันงานที่บริษัทก็บำบัดผมจากงานศิลปะและงานดนตรีเองก็ช่วยบำบัดผมจากการหมกมุ่นกับศิลปะหรืองานคอมเมอร์เชี่ยล ผมว่าแต่ละอย่างที่ผมทำมันมีมิติ และเสน่ห์ที่ต่างกันไป” room เคยได้พูดคุยกับโน้ต กฤษดา ครั้งแรกในหนังสือฉบับพิเศษ […]

SoA+D เปิดแล็บเรียนรู้วัฒนธรรม สร้างนักออกแบบเพื่อสังคม

‘วัฒนธรรม’ กับ ‘การศึกษาไทย’ เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานาน เปรียบได้กับสมการที่พยายามหาคำตอบในการเชื่อมต่ออดีตสู่อนาคต คงเพราะวัฒนธรรมคือรากเหง้าความเป็นเรา และคือรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมในวันหน้า การรักษาสมดุลระหว่างการออกแบบร่วมสมัยบนพื้นฐานความเข้าใจทางวัฒนธรรมดั้งเดิมถือเป็นประเด็นสำคัญ และ SoA+D ได้เปิดห้องทดลองแห่งการเรียนรู้ เพื่อชวนคนรุ่นใหม่มาเป็นนักออกแบบเพื่อสังคมรุ่นต่อไป  SoA+D Social and Cultural Innovation Lab คือห้องทดลองแห่งการเรียนรู้ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การนำของ ผศ.นันทนา บุญละออ ที่นี่คือพื้นที่แห่งการศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ ‘บ่มเพาะ’ นักออกแบบรุ่นใหม่ ให้พรั่งพร้อมด้วยศักยภาพด้านการออกแบบ ภายใต้ความเข้าใจในเชิงสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในทุกมิติของสังคมได้อย่างยั่งยืน  “เริ่มแรกโครงการนี้เป็นนโยบายของทางคณะฯ ที่อยากจะหลอมรวมการทำงานวิจัย การเรียนการสอน และการลงพื้นที่ทำงานจริงนอกรั้วมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน ภายใต้ประเด็นทางด้านสังคมและวัฒนธรรม จึงได้จัดตั้งเป็นแล็บวิจัยเพื่อสร้างขอบเขตการทำงานที่ชัดเจน และเข้มข้นขึ้น”  อาจารย์นันทนาบอกเล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการ โดยกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดล้วนเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจทุกแง่มุมของปัญหาในบริบทชุมชน มากกว่าแค่การเรียนรู้ผ่านทฤษฎี “ในการลงพื้นที่ชุมชนในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่ชุมชนจะขอความช่วยเหลือทางด้านการออกแบบ เช่น การออกแบบโลโก้สำหรับสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์  อย่างกรณีชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่จังหวัดราชบุรี ก็เริ่มต้นจากการเข้าไปพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของเครื่องจักสานไม้ไผ่ ซึ่งตอนนั้นชาวบ้านสานแต่เข่งเพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ดีในพื้นที่นั้น เราอยากลองทำงานกับชุมชนหนึ่ง ๆ ให้นานขึ้น เพื่อเข้าใจวงจรปัญหาภายในอย่างแท้จริง […]

DUJIANGYAN ZHONGSHUGE ร้านหนังสือดีไซน์สุดพิศวง

ร้านหนังสือ Dujiangyan Zhongshuge ตั้งอยู่ในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ทางภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกแบบโดยสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมจากเซี่ยงไฮ้ X+Living ได้แรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์ และประวัติศาสตร์ของระบบชลประทานอายุกว่า 2,000 ปีในเมือง Dujiangyan เมื่อก้าวเข้าไปในร้าน Dujiangyan Zhongshuge ผนังชั้นวางโค้งรูปตัวซี (C) สีไม้วอทนัทสร้างสเปซให้มีชั้นเชิงน่าค้นหา ทั้งยังเป็นไฮไลต์สำคัญของร้าน การเดินทางใต้ชั้นหนังสือเหล่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนเดินใต้ชายคาของซุ้มโค้งกลางสวน หรือท่ามกลางคลื่นทิวเขาตามธรรมชาติ สร้างประสบการณ์เลือกซื้อหนังสือที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ชั้นหนังสือเรียงรายเต็มบนซุ้มโค้ง และเสากลมสูงทะยานจรดเพดาน บรรจุหนังสือกว่า 80,000 เล่ม  ตู้หนังสือเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ และลักษณะภูมิประเทศของเมือง Dujiangyan ซึ่งมีประวัติการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำมายาวนาน ดังนั้นในพื้นที่หลักจะมีชั้นหนังสือที่สะท้อนภาพของเขื่อนกั้นน้ำ Dujiangyan สิ่งมหัศจรรย์ที่ชาวจีนสร้างตั้งแต่ 2,000 กว่าปีก่อน โดยนักออกแบบตั้งใจนำเสนอแรงบันดาลใจนี้ทั้งในเชิงนามธรรม และเชิงความงาม ในโซนหนังสือวรรณกรรมตรงกลาง กระจกบนเพดานชื่อทำให้สเปซดูสูงโปร่งไร้ที่สิ้นสุด พร้อมด้วยเงาสะท้อนของชั้นหนังสือที่ได้แรงบันดาลใจจากเขื่อนกั้นน้ำสุดยิ่งใหญ่ใน Dujiangyan ดูเหมือนเมืองย่อมๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ โต๊ะจัดวางหนังสือดูไม่ต่างเรือที่ล่องอยู่บนสายน้ำ ซึ่งแทนด้วยกระเบื้องสีดำบนพื้น ระหว่างชั้นหนังสือทั้งหลาย และเมื่อเดินผ่านช่องวงกลมบนผนังชั้นวางหนังสือเข้าไปจะพบกับโซนคาเฟ่ ที่ให้ทุกคนนั่งจิบกาแฟพร้อมๆ กับซึมซับบรรยากาศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ  ส่วนระเบียงของชั้นสองเต็มไปด้วยที่นั่ง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกหนังสือมานั่งเปิดดูก่อนซื้อ หรือนั่งพูดคุยกันได้ โดยทั้งหมดออกแบบด้วยแนวคิดแบบองค์รวม ทุกองค์ประกอบจึงต่อเนื่องลื่นไหลภายใต้แนวคิดความงามเดียวกัน […]

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

HOTEL SOU โรงแรมญี่ปุ่นสไตล์ลอฟต์ เล่าความเท่ผ่านเปลือกอาคารที่(ดู)รกร้าง

รีโนเวตตึกแถวเก่า ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บนเกาะฟุกุเอะทางตะวันตกของจังหวัดนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น ให้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง พร้อมรูปลักษณ์ที่ชวนฉงนว่าที่นี่คือตึกร้างที่เพิ่งโดนทุบ! หรือโรงแรมดีไซน์เท่กันแน่? hotel sou จากบริบทของที่ตั้งของ hotel sou ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองจากการผสมผสานของวัฒนธรรมต่างชาติที่หลากหลายผ่านการค้าขายมาตั้งแต่สมัยโบราณ กระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังรายล้อมไปด้วยร้านกาแฟ ร้านอาหาร ถนนสายช้อปปิ้ง และอยู่ใกล้กับท่าเรือ ศักยภาพดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการรีโนเวตโรงแรมขนาด 3 ชั้น เพื่อเปิดบริการใหม่ โดยยกให้เป็นหน้าที่ของทีมสถาปนิกจาก SUPPOSE DESIGN OFFICE กับแนวคิดที่ไม่ได้ต้องการสร้างสิ่งใหม่ แต่ต้องการให้อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนกับสิ่งที่มีอยู่ตัวอาคารด้านนอกของ ทุกคนจะได้สะดุดตากับภาพตึกสีเทาที่ถูกทุบผนังด้านหน้าออกจนเกือบหมด เหลือเพียงขอบผนังปูนที่เป็นซุ้มโค้งเผยให้เห็นเลเยอร์แบบดิบ ๆ ก่อนจะใส่บานหน้าต่างกระจกใสขนาดใหญ่ซ้อนทับอีกชั้น ลดความดิบกระด้างของโครงสร้างคอนกรีต ด้วยสวนริมระเบียงที่บริเวณห้องพักชั้น 2 – 3 ที่เน้นปลูกพรรณไม้นานาชนิดแบบเหมือนไม่ตั้งใจ ดูผสมผสานกันราวกับขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อเข้ามาด้านใน แต่ละห้องพักของที่นี่ซึ่งมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ ห้องพักแบบสวีท ห้องพักแบบเตียงเดี่ยว และห้องพักแบบแฟมิลี่รูม โดยแขกจะสัมผัสได้กับบรรยากาศเรียบนิ่งจากคอนกรีตเปลือยไร้การปรุงแต่ง แต่อบอุ่นเป็นกันเองจากเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้โทนสีอ่อนจับคู่กับงานจักสานวัสดุธรรมชาติที่ดูสว่างละมุนตาลดความอับทึบของอาคารลักษณะตึกแถว ด้วยการออกแบบภายในให้โปร่งโล่งจากการทุบผนังออกทั้งด้านหน้าและหลัง อันเป็นการเบลอขอบเขตระหว่างภายในกับภายนอก ที่ยอมแสงและอากาศให้หมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวกอีกทั้งในแต่ละห้องพักยังจัดให้มีมุมสวนริมระเบียง ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่พบทั่วไปในพื้นที่ […]

บ้านทาวน์โฮม ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ถูกรีโนเวทอย่างตั้งใจ จัดการพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัวด้วยวิธีการที่แยบยล เติมกลิ่นอายความละเมียดแบบล้านนาด้วยงานไม้และหินขัด

บ้านทาวน์โฮมที่รีโนเวตอย่างละเมียด วางผังแบบญี่ปุ่นแต่แฝงกลิ่นอายแบบนอร์ดิก

บ้านทาวน์โฮม ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับการรีโนเวทอย่างตั้งใจ จัดการพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัวด้วยวิธีการที่แยบยล เติมกลิ่นอายความละเมียดแบบล้านนาด้วยงานไม้ และหินขัด(Terrazzo) และหัวใจสำคัญคือการเปิดรับแสงธรรมชาติให้กับบ้านที่ตามปกติแล้วยากที่จะได้รับ นี่คือบ้านของคุณนา-ชนาพร มหายศนันท์ จาก Chana Mahayosanun (fb.com/Chana.Mahayosanun) ผู้เป็นทั้งเจ้าของและสถาปนิกที่ออกแบบทุกสิ่งอย่างตั้งแต่สถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน จนถึงเฟอร์นิเจอร์ใน บ้านทาวน์โฮมหลังนี้ รีโนเวตตึกแถวเก่าให้กลายเป็นบ้านเดี่ยวทันสมัยพร้อมสวนในบ้าน บ้านหลังนี้เป็นบ้านเดิมที่คุณนาเคยอยู่กับพี่สาวตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย จนกระทั่งได้ไปเรียนต่อทางด้านสถาปัตยกรรมที่กรุงเทพฯ บ้านก็ถูกทิ้งร้างไว้ไม่ได้มีคนเข้าไปใช้การมากนัก คุณนาได้บอกกับเราว่า แต่เดิมบ้านหลังนี้เป็นบ้านขนาด 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ แต่ด้วยขนาดที่ไม่มากนัก จึงทำให้ทุกอย่างค่อนข้างคับแคบ ตอนเรียนมัธยมก็ไม่ค่อยรู้สึก แต่พอกลับมาดูอีกทีก็คิดว่าน่าจะจัดการให้ดีกว่านั้นได้ ประกอบกับที่คุณพ่อและคุณแม่ของคุณนาเองจะได้สามารถมาใช้เป็นที่พักเวลามาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลในตัวเมืองได้อีกด้วย หลังจากที่คุณนาจบการศึกษาที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก จึงถือโอกาสจัดการบ้านหลังนี้ให้เรียบร้อยลงตัวและพร้อมใช้เสียเลย พื้นที่ไม่มาก แต่ใช้ได้มากสิ่งแรกที่คุณนาได้ออกแบบลงไปใหม่ในบ้านหลังนี้ก็คือ การออกแบบให้การใช้งานทั้งหมดของบ้านไปรวมกันอยู่ด้านเดียว ไม่ว่าจะเป็นครัว หรือตู้เก็บของต่าง ๆ จากผังจะเห็นได้ว่า ส่วนใช้งานทั้งหมดนั้นจะไปกองอยู่ทางผนังด้านซ้ายของตัวบ้าน เมื่อมองจากหน้าบ้านจะมองทะลุไปยังหลังบ้านได้เลย ด้วยวิธีการนี้เอง ทำให้พื้นที่ในบ้านและดูกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้มีพื้นที่พอที่จะเพิ่มครัวแบบไอส์แลนด์ และโต๊ะรับประทานอาหารไว้กลางบ้านได้อีกด้วย ซึ่งจุดนี้เองเธอได้เล่าให้ฟังว่า เป็นความคุ้นชินจากที่เคยไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการใช้สอยพื้นที่อย่างคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาทำบ้านของตัวเอง จึงเลือกที่จะออกแบบพื้นที่ทั้งหมดให้สามารถถูกเก็บซ่อนได้โดยง่าย ทั้งประหยัดพื้นที่ และดูสะอาดตาไปพร้อม ๆ […]

RARE

ร้านอาหารขนาดเล็ก นามว่า RARE กับบรรยากาศสบาย ๆ แต่ละมุนในกลาสเฮ้าส์สไตล์ FINE DINNING

ร้านอาหารขนาดเล็ก จุดเด่นอยู่ที่ความพิถีพิถันในการปรุงอาหาร บรรยากาศร้านกึ่งลำลองแต่แฝงไว้ด้วยความหรูหราร่วมสมัย เหมาะกับจัดปาร์ตี้ในหมู่เพื่อนฝูง พร้อมสนามหญ้าให้ออกไปสูดอากาศเล่นภายนอก ร้าน RARE หรือ RARE BKK บนถนนนครไชยศรี ย่านดุสิต โดยเชฟแบม-ธนโชติ ดลชลัยย์กร ซึ่งจบการทำอาหารจาก Le Cordon Bleu เป็น ร้านอาหารขนาดเล็ก สไตล์ Casual Fine Dinning ที่แยกตัวออกมาเป็นส่วนตัว ไม่ได้อยู่ในโซนธุรกิจอย่างสีลม ทองหล่อ หรือในโรงแรมหรูกลางเมือง แต่ที่นี่เป็นเสมือนบ้านขนาดเล็กที่อบอุ่นและเป็นกันเองในมาตราฐานโรงแรม ตั้งแต่การจัดโต๊ะ การจัดจาน วิธีการเสิร์ฟ วัตถุดิบ และเมนู โครงสร้างการตกแต่งที่ร้าน RARE โครงกาสเฮ้าส์เพดานสูง เน้นสีสะอาดตา ครัวเป็นแบบโอเพ่นคิทเช่นที่สามารถเห็นกิจกรรมในครัวได้ตั้งแต่แรกเข้ามาในร้าน เชฟสามารถสื่อสารกับแขกที่มาได้อย่างใกล้ชิดเป็นกันเอง เมนูของทางร้านจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ เมนูตามสั่ง เน้นไปที่สเต็กและเนื้อรมควันคัดสรรเนื้อคุณภาพดี เกรดลายหินอ่อน เมนูส่วนที่สองเป็นคอร์สซึ่งเชฟจะเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 3 เดือน เป็นเมนูฟิวชั่นนานาชาติ ตามเทศกาลและความคิดสร้างสรรค์เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในรับประทานอาหาร ซึ่งจุดเด่นของทุกเมนูคือการใช้วัตถุดิบที่ดี ผ่านการปรุงอันพอเหมาะจากขั้นตอนการทำที่ผสมผสานความหลากหลายได้อย่างน่าประทับใจ ด้วยร้านที่มีขนาดกะทัดรัด ร้าน […]