room Archives - Page 58 of 139 - room

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]

อิสรภาพ ดีไซน์สตูดิโอนักเล่าเรื่อง ที่เชื่อในอิสรภาพทางความคิด

ตึกแถวสองคูหาย่านเจริญนครได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้กลายเป็นบ้านหลังใหญ่ของ อิสรภาพ ดีไซน์สตูดิโอที่สนุกกับการสังเกต และตีความบริบทไทยใกล้ตัว เพื่อบอกเล่าใหม่ผ่านงานออกแบบร่วมสมัย ที่นี่เป็นทั้งสตูดิโอ เวิร์กชอป และพื้นที่จัดแสดงสำหรับการสร้างสรรค์ของพวกเขา “อิสรภาพ” คือการรวมกลุ่มของ 4 นักออกแบบจาก 3 สตูดิโอ ณิชภัค ต่อสุทธิ์กนก และวนัส โชคทวีศักดิ์ จาก ease Studio ธีรพจน์ ธีโรภาส จาก Kitt-ta-khon และรัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ จาก SATAWAT พวกเขาต่างสวมหมวกหลายใบเพื่อทำงานสร้างสรรค์ในหลายสถานะ แต่ภายใต้ชื่ออิสรภาพ ความเชื่อที่ว่าทุกคนในสังคมมีอิสระทางความคิด ที่นี่คือพื้นที่สำหรับการตั้งคำถาม ทดลองค้นหาคำตอบ และบอกเล่ากระบวนความคิดอย่างไร้กรอบ ชื่อของอิสรภาพปรากฏในโปรเจ็กต์สร้างสรรค์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลงานออกแบบทั้งที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Anonymous Chair หรือการทำงานร่วมกับ Design Plant รวมไปถึงผลงานการออกแบบนิทรรศการล่าสุด Survival of Craft – 1989 to 2020 ณ  ATT 19 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ […]

บ้าน “อิฐบล็อก” สวยโดยไม่ต้องโดนฉาบ

บ้านสีเทาที่ดูเหมือนสร้างไม่เสร็จ (ในสายตาคนอื่น) แท้จริงแล้วมีเสน่ห์อย่างไร room มีตัวอย่างบ้านต่างประเทศสวย ๆ ที่ก่อสร้างขึ้นจาก อิฐบล็อก วัสดุสุดเรียบง่ายที่เราคุ้นเคยกันอย่างดีมาฝาก โดยเฉพาะใครที่กำลังอยากสร้างบ้านสไตล์ลอฟต์โชว์ผิววัสดุดิบ ๆ การฉาบปิดผิวสุดเนี้ยบในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนงานทาสีเก็บรายละเอียดจึงแทบไม่จำเป็น เพราะแค่เผยผิวแบบไร้สิ่งปรุงแต่ง แค่นั้นก็สวยได้โดยไม่ต้องโดนฉาบเลย เพราะเสน่ห์ของบ้านที่สร้างจาก อิฐบล็อก คือการโชว์ผิวให้แพตเทิร์นที่เกิดจากการเรียงต่อกันนั้น กลายเป็นลวดลายตกแต่งอาคารไปในตัว นอกจากนั้นใน อิฐบล็อก แต่ละก้อนจะมีรูตรงกลาง จึงเป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนได้ดี และด้วยขนาดของก้อนที่ใหญ่ในขั้นตอนการก่อสร้างจึงสามารถแล้วเสร็จได้อย่างรวดเร็ว แถมเป็นวัสดุที่คุ้นมือช่าง ที่สำคัญมีราคาถูก ” อิฐบล็อก ”  จึงถือเป็นวัสดุที่น่าสนใจ หากนำมาก่อสร้างด้วยไอเดียสร้างสรรค์ รับรองว่าบ้านอิฐบล็อกก็สามารถสวยได้ ไม่แพ้บ้านที่สร้างด้วยวัสดุอื่นเลย k59 Home and Atelier   บ้านอิฐบล็อกที่อยู่สบายในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของเวียดนาม ด้วยสภาพบ้านที่เป็นตึกแถว สถาปนิกจึงเลือกปรับตัวเองเข้าหาสภาพแวดล้อม โดยใช้โครงสร้างคอนกรีตและผนังคอนกรีตบล็อก รวมกับองค์ประกอบของงานไม้ เสริมบรรยากาศภาพรวมของบ้านให้ดูสบาย พร้อม ๆ กับการออกแบบที่เน้นให้แสงและลมพัดผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้ อย่างการออกแบบช่องว่างของอาคารและเพดานสูงโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ ช่วยให้มีพื้นที่ลื่นไหลเชื่อมโยงกันอย่างอิสระ พร้อมพื้นที่สีเขียวริมระเบียงช่วยกรองฝุ่นและเสียงรบกวนได้อย่างดี Mipibu House บ้านอิฐบล็อกที่ชื่อว่า Mipibu House […]

HOUSE BETWEEN BLOCKS หยิบคอนกรีตบล็อกสุดธรรมดา มาประกอบเป็นบ้านแบบโปร่งโล่ง

บ้านคอนกรีตบล็อก หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองบาบาโอโย ประเทศเอกวาดอร์ เมืองที่บ้านเรือนส่วนใหญ่อาศัยในรูปแบบของตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ มีลักษณะหน้าแคบตอนลึกยาว อันเป็นสาเหตุให้แสงธรรมชาติส่องไปถึงและไม่สามารถระบายอากาศได้ จึงกลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ที่ตั้งของ House Between Blocks บ้านคอนกรีตบล็อก อยู่ในที่ดินขนาด 7×10 เมตร ซึ่งเป็นของนักออกแบบสื่อสารเกี่ยวกับเสียงและวิชวล ที่เน้นทำงานอีเว้นต์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ที่ได้รับการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบายเหมาะแก่การทำงานและอยู่อาศัย สถาปนิกเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “คอนกรีตบล็อก” มาเรียงสับหว่างในส่วนของกำแพงด้านหน้า ส่วนประตูและหน้าต่างเลือกใช้วัสดุทั่วไปอย่าง ไม้ กระจก และเหล็ก ทั้งยังเลือกใช้ชายคาแบบโปร่งแสงเพื่อยอมให้แสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ หน้าต่างมีหน้าบานกว้างช่วยเสริมการระบายอากาศ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของพื้นที่ รวมไปถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดกะทัดรัดเพื่อประหยัดพื้นที่ เกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด            บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างของการการอยู่อาศัยแบบพอดีและการออกแบบที่ยั่งยืน ด้วยการใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้น้อย และสามารถก่อสร้างได้ด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่าเป็นการดึงศักยภาพของสิ่งที่มีในชุมชนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออกแบบ : Natura Futura Arquitectura ภาพ : JAG Studio เรียบเรียง : BRL

SANTULAN BED & BREAKFAST ที่พักกลางภูมิทัศน์แห้งแล้งแต่งดงามในเม็กซิโก

อาคารอิฐบล็อก ที่เสมือนว่าลอยเหนือผืนดินอันแห้งแล้งใน Valle de Guadalupe สถานที่พักผ่อนยอดนิยมในจังหวัด Baja California ของเม็กซิโก คือโรงแรมขนาดเล็กในชื่อ Santulan Bed & Breakfast ที่ออกแบบขึ้นโดย Santos Bolivar Architects สถาปนิกวางแนว อาคารอิฐบล็อก ต่อกันเป็นรูปตัววี (V) ล้อมลานกลางแจ้งเอาไว้ อาคารที่พักประกอบด้วยล็อบบี้ เลานจ์เปิดโล่งสำหรับผู้เข้าพักได้นั่งชมทิวทัศน์อันกว้างไกล มีพื้นที่นั่งเล่นส่วนกลางถัดจากห้องครัวและห้องรับประทานอาหารส่วนกลางที่สร้างขึ้นเพื่อการสร้างปฏิสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันในหมู่แขกผู้มาเข้าพัก     สำหรับก้อนอิฐ ecoblock ที่เห็นนั้นคือส่วนผสมของดินเหนียว และดินบางส่วนจากสถานที่ตั้งซึ่งถูกขุดขึ้นมาสำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะในสัดส่วนของดินในพื้นที่ร้อยละ 70, ดินเหนียวร้อยละ 25, ซีเมนต์ร้อยละ 5 และน้ำสำหรับการผสมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน มันถูกบีบอัดเป็นก้อนโดยใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกแบบแมนนวลเพื่อผลิต ecoblock ให้ได้ในจำนวนที่ต้องการสำหรับก่อสร้าง ส่วนห้องพักแต่ละห้องนั้นมีระเบียงไว้นั่งมองทิวทัศน์หรือใครจะนั่งมองผ่านประตูกระจกบานเลื่อนด้านในก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ช่องเปิดที่ตัดผ่านอาคารยังมีลานขนาดเล็กและบันไดที่สามารถเดินขึ้นไปสู่ดาดฟ้าที่ตกแต่งด้วยต้นไม้พื้นเมืองได้อีกด้วย นอกจากนี้ตัวอาคารยังได้รับการยกสูงกว่าระดับพื้นดิน นั่นเป็นความตั้งใจของทีมออกแบบที่ต้องการจะสร้างภาพลวงตาให้อาคารเสมือนว่าลอยอยู่กลางอากาศ ด้วยการหุ้มอลูมิเนียมสะท้อนแสงตรงส่วนล่างของอาคารเอาไว้ เพื่อให้มันสะท้อนภูมิทัศน์โดยรอบให้เกิดความต่อเนื่องของภูเขาและผืนดินนั่นเอง         ออกแบบสถาปัตยกรรม : Santos […]

MIPIBU HOUSE บ้านอิฐบล็อก ทึบนอก โปร่งใน

บ้านอิฐบล็อก หลังนี้  คือบ้านบนที่ดินที่มีพื้นที่ในลักษณะยาวและแคบ ทำให้ผู้ออกแบบต้องแก้ปัญหาพื้นที่แคบและลึกของที่ดินแปลงดังกล่าว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเบิ้ลเป็นสองเท่า บดบังสายตาจากภายนอกด้วยการออกแบบตัวอาคารด้านนอกให้ทึบแต่โปร่งใน ช่วยแก้ปัญหาเขตรั้วชิดบ้านเรือนเคียงให้เกิดความเป็นส่วนตัวอย่างชาญฉลาด ด้วยที่ตั้งของ บ้านอิฐบล็อก Mipibu House ซึ่งอยู่ในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล มีมูลค่าของที่ดินที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทีมออกแบบจาก Terra e Tuma | arquitetos associados จึงต้องเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีสำหรับเจ้าของบ้าน เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยทุกตารางนิ้วเป็นไปอย่างคุ้มค่าสูงสุด  เห็นได้จากการจัดสรรพื้นที่ใช้งานขนาดแคบแค่เพียง 5.6 x 30 เมตร ให้ยกระดับพื้นที่ด้านหน้าขึ้นเล็กน้อย เพื่อตัดการรบกวนจากอาคารรอบ ๆ ในระยะประชิด ประกอบกับความท้าทายของทีมออกแบบที่ต้องพบกับโปรแกรมมากมายสำหรับพื้นที่แห่งนี้ แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็กำหนดพื้นที่ใช้งานออกมาได้มากถึง 170 ตารางเมตรเลยทีเดียว เมื่อพิจารณาถึงบริบทในแนวดิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากที่ตั้งของที่ดินนั้นรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของเพื่อนบ้าน บ้านหลังนี้จึงออกแบบโดยตั้งต้นจากภายใน เปิดพื้นที่ให้โปร่งโล่ง แล้วปิดล้อมด้วยกำแพงอิฐบล็อกให้ทึบสนิทที่สุด สร้างคอร์ตยาร์ดสองจุดกลางบ้านเพื่อให้แสงสว่างที่จำเป็นส่องผ่านมายังพื้นที่ภายในอาคารอย่างทั่วถึง เพื่อการระบายอากาศที่ดี รวมถึงเพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วนและมีคุณภาพที่เหมาะกับการใช้งานจริง แต่การตัดสินใจของผู้อาศัยที่สถาปนิกไม่คาดคิดอีกหนึ่งสิ่ง ก็คือการเลือกวางตำแหน่งของห้องนอนไว้ที่ชั้นล่าง แทนที่จะยกขึ้นไปไว้บนชั้นสองตามปกติทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นส่วนตัวและเงียบสงบ โดยตำแหน่งของห้องนอนได้ถูกวางให้เชื่อมกับคอร์ตยาร์ดที่ออกแบบให้เกิดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ เพิ่มความเย็นให้กับบ้าน ส่วนคอร์ตยาร์ดอีกจุดหนึ่งได้วางตำแหน่งให้เชื่อมต่อกับครัว เป็นมุมพักผ่อนกลางแจ้งที่สามารถยกเก้าอี้ไปนั่งพักผ่อนได้จริง   […]

Art in the PARQ พางานศิลป์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

ใครที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศฝั่งยุโรปหรือบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวันเอง ก็มักเห็นบ้านเมืองเขาเต็มไปด้วยงานศิลปะจัดวางประดับตกแต่งอยู่ทั่วเมืองให้ได้เสพและเข้าถึงกันจนเป็นเรื่องปกติ จนบางทีก็นึกอิจฉา…แต่วันนี้กรุงเทพฯของเราได้มีโปรเจ็กต์ที่หอบเอา Installation Art เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายกลางเมืองกรุงที่โครงการ The PARQ The PARQ คือโครงการไลต์สไตล์มิกซ์ยูส ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติและไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วย “งานศิลปะ” จึงชวนศิลปินชาวไทย 3 ท่าน ที่มีผลงานโดดเด่นมาสร้างงาน Installation Art ที่จะนำมาวางตามจุดต่าง ๆ ในโครงการ โดยทั้งหมดได้มีการเตรียมการและวางแผนไว้ตั้งแต่แรกพร้อม ๆ กับการก่อสร้าง ผลงานทั้งสามชิ้นจึงถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเจาะจงต่อสเปซนั้น ๆ โดยงานนี้ได้ศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” ประกอบไปด้วย 5 ผลงาน ได้แก่ศิลปินไทย 3 ผลงาน คือ “เกื้อกูล” โดยศิลปิน พงษธัช อ่วยกลาง, “The Cradle” โดยศิลปิน อ้อ สุทธิประภา, “The Cocoon” โดยศิลปิน สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ รวมไปถึงอีก 2 […]

รถขายของเคลื่อนที่ เพื่อไปหาคุณแม้ต้องข้ามเขาหรือฝ่าโควิด โดย Muji(Japan)

รถขายของเคลื่อนที่ แบบกระบะสี่ล้อเล็กแขวนของพะรุงพะรังอาจเป็นภาพชินตาของชาวไทยเรา บ้างก็เรียกรถพุ่งพวง บ้างก็เรียกรถขายผักขายหอย ตามแต่ของที่หามาขาย เมื่อไม่นานมานี้ อ่าน : บ้านมินิมัลในแบบมูจิที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเมือง Sakata ในจังหวัด Yamagata และ Muji แบรนด์มินิมัลขวัญใจคนชอบความน้อยแต่มากสัญชาติญี่ปุ่นได้กำเนิด Sakata Project ขึ้น เพื่อลดภาระการต้องเดินทางไปซื้อหาของใช้จำเป็น ตั้งแต่เดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวเมืองที่เป็นผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ประกอบกับพื้นที่ซึ่งเป็นเขตภูเขาของเมือง การนำรถสี่ล้อเล็กออกไปพบปะชาวเมืองจึงนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่น่ารัก ซึ่งแนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นมาจากการลงพื้นที่ศึกษากลุ่มผู้บริโภคในโครงการ “Lifestyle Organizing School” นั่นเอง มากกว่านั้น ด้วยภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นก็ยังไม่ใคร่ปลอดภัยนัก การมีข้าวของเครื่องใช้และสินค้าต่างๆมาจำหน่ายถึงหน้าบ้านก็เป็นสิ่งดีๆที่ทำให้ผู้คนยิ้มแย้มได้มากกว่าเดิม และมากกว่านั้น จากปากคำของพนักงานที่ขับรถพุ่มพวงเหล่านี้ “มันทำให้เราได้เชื่อมโยงเข้าหาผู้คนมากขึ้น เราได้รู้จักพวกเขา ได้เห็นบ้านเรือนและชีวิตของพวกเขา เราไม่ใช่แค่พนักงานขายอีกต่อไป” ก็เป็นมุมน่ารักที่รถคันเล็กๆเหล่านี้ทำให้เกิดขึ้น แม้ว่าจะดูเชยๆไปบ้างกับการขับรถเร่ขายของ แต่จริงๆแล้วเราสามารถเช็คได้ตลอดว่ารถเหล่านี้กำลังมุ่งหน้าไปที่ใดบ้าง ตารางการเดินทางเป็นอย่างไร หรือแม้แต่รีเควสได้เสียด้วยซ้ำกับสินค้าที่ต้องการก็เป็นสิ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานความสะดวกให้กับวิธีการเดิมๆได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างน่าสนใจ อยากให้มีรถ Muji วิ่งขายของในไทยตามต่างจังหวัดบ้างเหมือนกันนะ อาจเป็นของ OTOP ปลาเค็ม หม่ำ แหนม อะไรก็ว่าไป […]

CASA NAKASONE บ้านอิฐเปลือยผิวในบริบทเเบบเม็กซิโก

บ้านอิฐ เปลือยผิว ขนาด 100 ตารางเมตร แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชานเมืองเม็กซิโกซิตี เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่น เเม้อิฐมอญจะเป็นวัสดุธรรมดา ๆ แต่ผลที่ได้กลับเป็นบ้านที่สื่อถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ เอื้อต่อการอยู่อาศัยอย่างเเท้จริง ในขั้นตอนการทำงานออกเเบบ บ้านอิฐ หลังนี้สถาปนิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับช่างในท้องที่ถึงวิธีการก่อสร้าง จนได้บ้านอิฐที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบคอร์ตกลางบ้านเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในแง่ของความเป็นส่วนตัว เผื่อว่าในอนาคตที่ดินรอบ ๆ บ้านอาจเกิดงานก่อสร้างอื่น ๆ หรือมีความพลุกพล่านวุ่นวายตามมาในอนาคต อย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็ยังมีพื้นที่คอร์ตยาร์ดอยู่ภายในสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของบ้านนี้นอกจากการเลือกใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ง่ายเเล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเเสงเงา เห็นได้จากบันไดหลักของบ้านที่มีสกายไลต์อยู่ด้านบน ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติค่อย ๆ ฉาบไล้ลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ผ่านผนังหินภูเขาไฟที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้ เกิดเป็นเฉดสีของเเสงเงาที่แบ่งจังหวะของพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนบานกระจกที่ใช้เป็นประตูบ้าน นอกจากจะเปิดให้แต่ละสวนสามารถมองเห็นกันได้สะดวกแล้ว ยังปล่อยให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านได้ในบางจุด ช่วยให้ภาพของอิฐที่ดูหนักเกิดจังหวะที่ดูโปร่งขึ้น ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างออกแบบเป็นส่วนรับแขก ครัว คอร์ตยาร์ด และส่วนรับประทานอาหาร ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวอาทิ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องน้ำ โดยแบ่งห้องนอนออกเป็นสองปีกล้อมคอร์ตกลางไว้ ซึ่งคอร์ตนี้ออกแบบไว้เผื่อกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เเละนี่ก็คือบ้านอิฐเปลือยที่มีการเล่นกับพื้นที่ รวมถึงการให้แสงธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในแต่ละจุดได้อย่างน่าสนใจ […]

La casa que crece บ้านชั้นเดียวจากอิฐบล็อกและเมทัลชีท

บ้านอิฐบล็อก ชั้นเดียว ในพื้นที่แถบชนบทของประเทศเม็กซิโก ออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เมทัลชีท และอิฐบล็อก ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้งานได้ดี และประหยัดงบประมาณ เพื่อให้ที่กลายเป็น บ้านอิฐบล็อก ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างได้ ทั้งยังสอดคล้องกับภูมิอากาศ และวิถีชีวิตการอยู่อาศัยของชาวเม็กซิโกได้อย่างดี โครงสร้างหลักของ บ้านอิฐบล็อก เป็นคอนกรีตสำเร็จที่ออกแบบมาจากโรงงาน หลังจากประกอบเข้าด้วยกันเเล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ของบ้านอิฐบล็อก โดยสามารถปรับเปลี่ยนต่อขยายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางและลานปูนหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวตามวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเม็กซิโก ซึ่งคล้ายคลึงกับบ้านตามต่างจังหวัดในไทยเราไม่น้อย นอกจากนี้ชานปูนยังสามารถต่อขยายพื้นที่ สำหรับรองรับสมาชิกเเบบครอบครัวขยาย ที่ยังต้องการอยู่อาศัยบนที่ดินผืนเดียวกันกับญาติพี่น้องได้ในอนาคต เกิดเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมที่สะท้อนถึงความกลมเกลียวกันของครอบครัว ที่นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในเเง่ของการสร้างความผูกพัน รวมถึงเป็นการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างบ้านเเบบง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็น “วัสดุราคาถูก” หรือ “วัสดุบ้าน ๆ” เเต่เมื่ออิฐบล็อก เเละเมทัลชีทถูกผนวกเข้ากับงานออกแบบที่ดี ก็สามารถกลายเป็นบ้านที่ใช้งานได้ดี อบอุ่น และลงตัวอย่างที่เห็น         ออกแบบ : JC Arquitectura, Kiltro Polaris Arquitectura ภาพ : […]

CHING CHAIR สตูลไม้ไผ่ ชูเนื้อแท้ความงามของธรรมชาติ

ในไต้หวันผู้คนมองว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิต ไม่ว่าจะใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง นั่นจึงทำให้สองดีไซเนอร์ Ta-Chih Lin และ Yi-Fan Hsieh เลือกนำไม้ไผ่มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ไม้ไผ่ ของพวกเขาในชื่อ “Ching Chair” โดยให้ความสำคัญกับความเป็นวัสดุดั้งเดิม ผ่านทางความรู้สึกทั้งการสัมผัสและการมองเห็น โดยกระบวนการออกแบบ เก้าอี้ไม้ไผ่ ครั้งนี้ ล้วนตั้งต้นมาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ และมีความยืดหยุ่นสูง   เริ่มจากการเลือกลำไม้ไผ่ที่มีความสมบูรณ์เพียงต้นเดียวมาตัดและแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามแบบที่ได้ดีไซน์ไว้ โดยดีไซเนอร์ได้สร้างแม่พิมพ์หลายชิ้นสำหรับแต่ละส่วน เพื่อให้ไม้ไผ่สามารถทำเก้าอี้ได้ง่ายและแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังได้รักษาผิวไม้ไผ่ด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อช่วยกักเก็บคลอโรฟิลล์ไว้ที่ผิวไม้ไผ่ให้ยังคงสีสันเขียวสดดูสวยงามแบบไม่มีวันซีดจาง ขณะที่ส่วนที่ยากที่สุดของการผลิตเก้าอี้ก็คือการดัดชิ้นไม้ไผ่ด้วยความร้อน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเวลาหลายปี จนได้เคล็บลับที่ไม่ทำให้ผิวไม้ไหม้ ก่อนจะเชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วย Joint ไม้ไผ่ ตรงส่วนขาของเก้าอี้แต่ละข้างซึ่งถูกคิดมาอย่างดี โดยไม่มีวัสดุใดเข้ามาช่วยผสานเลย อีกทั้งยังได้ประกอบชิ้นส่วนไปตามทิศทางของเส้นใยไม้ไผ่ในแนวตั้ง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เก้าอี้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงมากเพียงพอ สำหรับรองรับน้ำหนักของคนนั่งได้ นอกจากข้อดีในแง่ของการหยิบวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี มาใช้เป็นวัตถุดิบในงานออกแบบแล้ว ในอีกแง่หนึ่งไม้ไผ่ยังถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการย่อยสลาย เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายชิ้นนี้จึงสามารถบอกเล่าคุณสมบัติของไม้ไผ่ออกมาได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวของมันเอง ออกแบบ : Ta-Chih Lin & Yi-Fan Hsieh  ภาพ : […]

TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย

TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย Best of Residential Design “Twisted House “ by Architect 49 House Design (A49HD) บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา […]

ALESSI Plissé คอลเล็กชั่นเครื่องครัวร่วมสมัย ดีไซน์กลิ่นอายยุค 60s

พลีตครบเซ็ต! ALESSI Plissé คอลเล็กชั่นเครื่องครัวที่นำเสนอสุนทรียภาพแห่งการใช้ชีวิตร่วมสมัย ผ่านดีไซน์กลิ่นอายยุค 60s ALESSI แบรนด์อุปกรณ์ครัวและเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในตำนานของอิตาลี เปิดตัวคอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุด Fall/Winter 2020 สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี โดยร่วมงานกับหลากหลายนักออกแบบชื่อดัง อาทิ Patricia Urquiola, Michel Boucquillon และ Mariam Mirri และ Plissé คือหนึ่งในคอลเล็กชั่นเด่น ผลงานการออกแบบของ Michele de Lucchi สถาปนิก และนักออกแบบอิตาเลียนระดับไอคอนิก ซึ่งทำงานร่วมกับแบรนด์ดังของยุโรปมาตลอดหลายทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็น Artemide, Olivetti, Hermès, Philips, Siemens, Vitra ฯลฯ  “งานออกแบบคือการบันทึกช่วงเวลา ณ ขณะที่ชิ้นงานนั้นได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของรสนิยม และนิยามของความร่วมสมัย เมื่อคุณมองไปที่งานออกแบบสักชิ้น ย่อมรับรู้ได้ถึงจิตวิญญาณแห่งช่วงเวลาในอดีต ผ่านสีสัน เส้นสายหรือวัสดุ แน่นอนว่างานออกแบบนั้นคือหลักฐานการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคหนึ่ง ๆ  ทั้งลักษณะนิสัย และรสนิยม และนี่คือจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้ ซึ่งมิใช่เพียงอุปกรณ์เครื่องครัว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมร่วมสมัย ชิ้นงานเหล่านี้มิได้สวยงามด้วยคุณค่าของประโยชน์ใช้สอยเพียงเท่านั้น […]

3 GREEN SPACES HOUSE บ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก แต่แอบซ่อนมุมพักผ่อนสีเขียวไว้ถึง 3 จุด

บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็กหลังนี้ ซ่อนความเซอร์ไพร้ส์ไว้ด้านในกับการออกแบบพื้นที่ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า แม้จะมีพื้นที่ใช้งานที่ค่อนข้างแคบและเล็ก แต่เชื่อไหมว่าที่นี่มีสวนสีเขียวอยู่ถึง 3 จุด ไม่ใช่แค่เพียงส่วนตรงหน้าบ้านเท่านั้น จะมีมุมไหนน่าตามไปเก็บไอเดียบ้าง เปิดบ้าน 3 GREEN SPACES HOUSE แล้วตามไปสำรวจด้านในพร้อมกันได้เลย 3 GREEN SPACES HOUSE เป็น บ้านชั้นเดียว ที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชีวิตได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองที่มีความพลุกพล่านอย่างเมืองไซง่อนไปราว 20 กิโลเมตร ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของคู่รักหนุ่มสาวเจ้าของบ้าน ที่อยากให้บ้านของพวกเขามีความเป็นส่วนตัว ขณะเดียวกันก็อยากมีสวนไว้พักผ่อนภายในบ้านได้อย่างเต็มที่ สวนขนาดเล็กจึงถูกแทรกให้อยู่แทบทุกมุมของการใช้ชีวิต    ด้วยพื้นที่ของบ้านที่กว้างเพียง 4.4 เมตร และมีความยาวของบ้านทั้งสองด้านไม่เท่ากันคือ 19 เมตร และ 23 เมตร สถาปนิกจึงได้แบ่งพื้นที่ใช้งานอย่างยืดหยุ่น เริ่มตั้งแต่ด้านหน้าบ้าน เมื่อมองภายนอกหลายคนอาจเห็นว่านี่คือบ้านอิฐที่มีดีไซน์ดูน่ารัก พร้อมสวนหน้าบ้านบริเวณลานจอดรถขนาดเล็ก แต่เมื่อก้าวเข้ามาด้านในพื้นที่แรกที่รอทักทายอยู่คือพื้นที่ห้องครัว ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางไปในตัว พิเศษด้วยมุมสวนที่จัดขนานไปตามความยาวของบ้าน เพื่อให้ได้รับแสงแดด ลม และสัมผัสกับต้นไม้ได้ตลอดเวลาที่พักผ่อนอยู่ด้านใน นอกจากสวนบริเวณพื้นที่ห้องครัวแล้ว หลังบ้านยังออกแบบสวนที่มีสระน้ำ เชื่อมพื้นที่ระหว่างห้องนอนกับห้องน้ำโดยมีฝักบัวอาบน้ำกลางแจ้ง เรียกว่าเมื่อตื่นนอนยามเช้า เจ้าของสามารถสัมผัสกับความสดชื่นของสวนที่มองเห็นวิวท้องฟ้าด้านบนได้ทันทีที่เปิดประตูกระจกบานสไลด์ออก จะนั่งห้อยขาสัมผัสน้ำเย็น […]

15 ไอเดียเพิ่มลูกเล่นตกแต่งผนัง

ผนังผืนกว้าง ๆ ถ้าจะให้เปลือยเปล่า ทาแค่สีพื้นธรรมดา ๆ คงไม่ชวนให้น่าสนใจ โดยเฉพาะใครที่กำลังคิดจะตกแต่งมุมเล็ก ๆ ทั้งในบ้าน คาเฟ่ ร้านอาหาร หรือแม้แต่โฮสเทลให้เป็นมุมไฮไลต์ดูสะดุดตาอยู่ละก็ room มีไอเดีย ตกแต่งผนัง ภายใน ด้วยลูกเล่นมีดีไซน์ และทำจากวัสดุหลากหลายมาฝาก ใครชอบสไตล์ไหน หยิบไปปรับใช้กันได้เลย ตกแต่งผนัง เสื่อพลาสติกกรุผนังแทนวอลล์เปเปอร์ ลองเปลี่ยนจากวอลล์เปเปอร์ที่ต้องมีขั้นตอนการกรุผนังที่ยุ่งยาก มาใช้เสื่อพลาสติกที่เห็นกันจนคุ้นตา กรุลงบนผนังแทนวอลล์เปเปอร์ จะเป็นผืนใหญ่ ๆ ผืนเดียว หรือซ้อนทับกันให้เกิดเลเยอร์ที่ดูโดดเด่นมีมิติก็ได้ สถานที่ : Charm Gang , Bangkok ภาพ : แฟ้มภาพนิตยสาร room แพตเทิร์นผนังคอนกรีตเปลือย ไอเดียผนังคอนกรีตนี้ เหมาะกับการตกแต่งพื้นที่สไตล์อินดัสเทรียล เจือกลิ่นอายมินิมัล ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความดิบเท่ เรียบง่าย ไม่ต้องดูแลรักษาเยอะ สถานที่ : Changan Noodle Bar , Taiwan ภาพ : […]

THE WHITE RABBIT บาร์ลับในคูเมืองเชียงใหม่ที่ได้แรงบันดาลใจภาพยนตร์ The Matrix

ถ้าใครเคยดูหนังไซไฟต์สุดล้ำอย่าง The Matrix เมื่อหลายปีก่อน แล้วยังจำได้ว่าเคยหลงเพลิดเพลินไปกับการไล่ล่าตามกระต่ายที่จะพาตัวละครจากโลกใบหนึ่งไปสู่โลกอีกใบ ด้วยประโยคที่ว่า “Follow the white rabbit” นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบบาร์  THE WHITE RABBIT  แห่งนี้ โดยฝีมือของนักออกแบบจาก pommballstudio DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ตัวบาร์แห่งนี้ตั้งอยู่บนชั้น 3 ด้านในสุดของตึก โดยพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ยังคงสภาพเดิมไว้ ไม่วาจะเป็นร่องรอยบนผนัง ประตู หน้าต่าง และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งระหว่างทางการไล่ล่าตามกระต่ายจะมีเพียงแสงไฟสลัว ๆ ดูขมุกขมัวเพิ่มความลึกลับ ก่อนที่คุณจะเปิดประตูบานสุดท้ายเพื่อก้าวข้ามไปยังโลกอีกใบ เมื่อผ่านประตูเข้ามาคุณจะได้เจอกับความเซอร์ไพร้ส์ที่บรรยากาศเปลี่ยนไปจากภายนอกอย่างสิ้นเชิง พื้นที่ถูดจัดสรรเป็นส่วนของเคาน์เตอร์บาร์รูปตัวแอล (L) สำหรับใครที่อยากนั่งจิบพร้อมพูดคุยกับบาร์เทนเดอร์ หรือใครอยากได้ความเป็นส่วนตัวก็มีมุมโซฟาขนาดเล็กไว้รองรับ ด้านหลังเคาน์เตอร์บาร์ออกแบบชั้นวางเครื่องดื่มสูงจรดฝ้าเพดาน โดยแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมที่กรุด้วยกระจกลอนใสแล้วซ่อนไฟไว้ด้านหลัง ดูเสมือนลักษณะของโพรงกระต่าย ต่อเนื่องไปยังส่วนของฝ้าเพดานกับไฟสลัวรูปวงกลมให้อารมณ์ของโคมไฟติดเพดานยุคก่อน ขับบรรยากาศกลางเก่ากลางใหม่ เพิ่มประสบการณ์ทางอารมณ์ที่มากกว่าด้วยการออกแบบไลท์ติ้งเฉพาะจุดไปยังเคาน์เตอร์ ขับให้เครื่องดื่มดูพิเศษยิ่งขึ้น ผสานกับความซ้อนซ้ำของบรรยากาศภายในร้าน เรียกว่าเติมเต็มความสนุกสนานภายในโพรงกระต่ายได้อย่างเต็มเปี่ยม ออกแบบ: pommballstudio ภาพ: Tanachat Sooksawasd เรียบเรียง: BRL […]

รีโนเวตอาคารเก่า เป็น 10 โฮสเทลใหม่น่านอน

ตึกเก่าหลายแห่งมีความน่าทึ่งตรงที่เป็นสิ่งปลูกสร้างยุคเริ่มแรกของเมือง หรือแม้กระทั่งเป็นสถานที่เริ่มต้นของธุรกิจรุ่นบุกเบิก แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปแน่นอนว่าธุรกิจอาจต้องถูกโยกย้าย หรือถึงคราวต้องเปลี่ยนมือ นำมาสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การใช้งานใหม่ ดังเช่น 10 โฮสเทลที่เกิดจากการ รีโนเวตอาคารเก่า ให้กลับฟื้นคืนชีวิตชีวาอีกครั้งภายใต้บทบาทใหม่ในฐานะ “ที่พักนักเดินทาง” การ รีโนเวตอาคารเก่า ผสานเข้ากับการออกแบบตกแต่งที่สร้างสรรค์ สามารถช่วยชูบรรยากาศให้สถาปัตยกรรมเก่าแก่มีเอกลักษณ์ ทำให้นักเดินทางผู้เข้าพักได้ซึมซับประวัติศาสตร์และกลิ่นอายวัฒนธรรมของเมือง ผ่านเรื่องราวที่ซุกซ่อนอยู่ภายใน และโดยเฉพาะหากโครงสร้าง หรือองค์ประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี อย่างร่องรอยบนแผ่นไม้ หรือรอยลอกร่อนบนกำแพงปูน ยิ่งเสริมเสน่ห์ให้โฮสเทลไม่ได้มีดีแค่ที่พักสวย แต่ยังสามารถสร้างประสบการณ์พิเศษขณะมาพักผ่อนซึ่งหาไม่ได้จากที่ไหน 1905 HERITAGE CORNER บูทีคเกสต์เฮ้าต์ขนาดย่อมที่มีห้องพักเพียง 3 ห้อง ภายในตึกแถวสไตล์โคโลเนียล 2 คูหาบริเวณหัวมุมรูปใบพัด ซึ่งอยู่ในย่านแพร่งภูธร ย่านการค้าเก่าแก่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 กระทั่งจนถึงปัจจุบันในฐานะอาคารอนุรักษ์ โดยภายในยังคงเก็บโครงสร้างและบรรยากาศความเป็นช็อปเฮ้าส์ในวันวานไว้ แล้วผสมผสานกลิ่นอายของไทย จีน และแขกซึ่งมีที่มาจากบริบทชุมชนรอบ ๆ มาใช้ในการตกแต่ง เพิ่มรูปแบบของซุ้มโค้ง (Arch) เข้ากันดีกับเฟอร์นิเจอร์เส้นสายโค้งมน เพื่อให้ดูล้อไปกับรูปลักษณ์ของตัวอาคาร สำหรับวัสดุส่วนใหญ่เน้นใช้ไม้เนื้อแข็งสีเข้ม ช่วยขับลุคและดึงเสน่ห์ของบรรยากาศในอดีตให้ยิ่งแจ่มชัดและคลาสสิกขึ้น ที่ตั้ง 68 […]

AZURE HOSTEL จากโรงงานผลิตน้ำอัดลมยุคคุณปู่ สู่โฮสเทลสไตล์โอเรียนทัลย่านผ่านฟ้าลีลาศ

อาคารสีเหลืองรูปทรงมีเอกลักษณ์ตัดกับสีครามของท้องฟ้าแห่งนี้ คือ AZURE HOSTEL ตั้งอยู่ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ จากบริบทของที่ตั้งจึงเป็นที่มาของชื่อที่สอดคล้องกัน โดยคำว่า AZURE นั้น แปลว่า สีฟ้าของท้องฟ้า ให้ความรู้สึกอิสระ ปลอดโปร่ง อันเป็นบรรยากาศที่นักเดินทางหลายคนแสวงหา พื้นที่ด้านหน้าต้อนรับทุกคนด้วยบันไดเวียนที่เลาะขึ้นไปตามตัวอาคารขนาด 3 ชั้น อายุกว่า 80 ปี โดยที่นี่เดิมเคยเป็นสำนักงานและบ้านพักของเจ้าของบริษัท ยูเนียน โซดา ยี่ห้อน้ำอัดลมรุ่นเก๋าสมัยคุณปู่ แต่เมื่อต้องปิดกิจการลง ที่นี่ก็ถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งคุณโอ๋และเพื่อนผู้รักการเดินทางท่องเที่ยว และหลงใหลเสน่ห์ของโฮสเทลในย่านเมืองเก่า อยากหันมาเปิดโฮสเทลเป็นของตนเองบ้าง ทั้งคู่จึงเช่าอาคารและทำการรีโนเวตเพื่อปลุกที่นี่ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยยังคงเอกลักษณ์ของอาคารซึ่งเป็นสไตล์โมเดิร์นยุคเริ่มแรกและโครงสร้างที่ยังแข็งแรงไว้ เปลี่ยนแปลงแค่การทาสีอาคารและเปลี่ยนโลโก้บนช่องแสงวงกลมใหม่ จากรูปช้างสามเศียร (โลโก้ของยูเนียน โซดา) เป็นอักษรย่อตัวเอ (A) บนเหล็กฉลุลาย รวมถึงทำการทุบผนังและต่อเติมพื้นที่ใช้งานให้มีฟังก์ชันเหมาะกับการเปิดเป็นที่พัก จัดเรียงลำดับพื้นที่ใช้สอย เริ่มจากล็อบบี้ที่ออกแบบเหมือนเคาน์เตอร์ขายตั๋วหนังสมัยเก่า ถัดมาคือ First Kitsch Bistro คาเฟ่ในห้องโถงสีเขียวขนาดใหญ่ที่ยังคงเก็บรักษาร่องรอยของสีผนังเดิมไว้ รวมถึงเหล็กดัด กรอบประตู-หน้าต่างที่กรุกระจกลายพิกุล ตกแต่งพื้นที่ด้วยสไตล์ที่เรียกว่า Kitsch เก็บเล็กผสมน้อยระหว่างหลากหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นโอเรียลทัล ไทย […]