room Archives - Page 57 of 139 - room

BLACKSMITH เปลี่ยนร้านส้มตำในบ้านไม้อายุกว่า 20 ปี มาเป็นคาเฟ่กึ่งบาร์ลุคดิบเท่

Blacksmith บาร์และคาเฟ่สไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ผสมโคโลเนียล โดยเจ้าของร้านและหุ้นส่วนได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองตีเหล็กในเกม Ragnarok เกมออนไลน์ในตำนานที่ทั้งสองเคยเล่นด้วยกัน ประกอบกับคุณปู่เป็นช่างตีเหล็ก จึงยกบรรยากาศดิบ ๆ ของโรงตีเหล็กมาซ่อนตัวอยู่หลังรั้วเหล็กแบบโค้งกลางอารีย์เสียเลย เดิมทีตัวร้าน Blacksmith มีเพียงอาคารไม้หนึ่งหลัง เมื่อเข้ามาทำการปรับปรุงจึงต่อเติมอาคารเพิ่มด้วยโครงสร้างเหล็กและคอนกรีต แล้วเปลี่ยนลานจอดรถเป็นพื้นที่นั่งกึ่งเอ๊าต์ดอร์สำหรับรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นโดยตอนกลางวันพื้นที่ชั้นบนเปิดเป็นคาเฟ่ เติมเต็มบรรยากาศด้วยการนำผืนหนังมาแขวนกับฝ้าเพดาน ส่วนด้านล่างพร้อมแปลงร่างเป็นร้านอาหารและบาร์ในยามเย็น หัวใจของที่นี่คือการผสานพื้นที่เอ๊าต์ดอร์และอินดอร์เข้าไว้ด้วยกันผ่านสเปซและการใช้วัสดุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนลานจอดรถเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์แบบเปิดโล่งที่คงต้นไม้เดิมไว้ทั้งหมด เสริมด้วยการโรยพื้นด้วยกรวดสีน้ำตาลได้บรรยากาศของโอเอซิสกลางทะเลทราย ทว่ามีหลังคาปกคุลมอยู่ เพิ่มความลื่นไหลของมุมมองไปยังพื้นที่คาเฟ่ชั้นสองด้วยบานหน้าต่างไม้กรุกระจกใสเต็มบาน ในส่วนของการเลือกใช้วัสดุสร้างความกลมกลืนบนความคอนทราสต์ด้วยการนำวัสดุที่นิยมใช้ภายนอกอย่างศิลาแลง เเละอิฐมอญ มาใช้ตกแต่งภายในให้อารมณ์ความลึกลับของห้องเก็บสมบัติในเกม แล้วนำวัสดุตกแต่งภายในอย่าง หนังวัว ที่มีความอ่อนนุ่มมาตกแต่งทั่วทุกบริเวณของร้าน เกิดเป็นส่วนผสมที่มีกลิ่นอายของความดิบเท่ปนหรูอยู่ในตัว เจ้าของ – ออกแบบ คุณก้องภพ กันตถาวร ที่ตั้ง 9/1 อารีย์ซอย3 สามเสนใน พญาไท  กรุงเทพฯ เวลาทำการ วันอังคาร – อาทิตย์ คาเฟ่ 11.00 น. – 18.00 น. ร้านอาหารและบาร์ 17.00 น. – 24.00 น. […]

MISU ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศอินเดียที่ได้แรงบันดาลใจจากโบสถ์โรมัน

MISU ร้านอาหารญี่ปุ่น สุดคูล ในเมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย  เกิดขึ้นจากการแปลงโฉมอาคารเก่าโดยได้แรงบันดาลใจจากโบสถ์โรมันที่ยังสร้างไม่เสร็จ ผสานการตีความทั้งความคลาสสิก ความเป็นตะวันตกแบบโคโลเนียล เเละความมินิมัลแบบญี่ปุ่น เมื่อทีมออกแบบได้เห็นไซต์อาคารเก่าที่มีซุ้มโค้งเป็นครั้งแรก ก็รู้ทันทีว่าต้องเก็บกลิ่นอายเดิมไว้ การออกแบบอยู่ภายใต้ซิกเนเจอร์ของร้านโดยใช้พาเล็ตต์สี เช่น สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลืองมัสตาร์ด สีแดงเข้ม เเละสีทองแดง ร่วมกับองค์ประกอบของโบสถ์โรมันโบราณอย่าง กระจกสี ภาพวาดฝาผนัง และทางเดินกึ่งกลาง MISU ร้านอาหารญี่ปุ่น สำหรับผลลัพธ์อันเกิดจากการพบกันของความงามผสมเสน่ห์สไตล์กรันจ์แบบดิบ ๆ ชวนประทับใจตั้งเเต่แวบแรกที่ได้เห็น โดยทันทีที่เข้ามาสู่ภายในร้าน ทางเดินขนาบข้างด้วยเสาตาข่ายทองแดงรูปทรงเรียวยาวและเพดานโค้งมน ดำเนินต่อไปจนจบที่ภาพบนฝาผนังเป็นจุดดึงดูดสายตา ด้วยภาพแอ๊บสแตร็กต์ที่ดูคล้ายใบหน้าของผู้หญิง โดยด้านในเฟรมคือแพตเทิร์นสไตล์ญี่ปุ่น สื่อถึงความเป็นตะวันออกที่ดูทันสมัย ภายในร้านแบ่งพื้นที่ออกเป็นชั้นล่างประกอบด้วยที่นั่งแบบกลุ่มกระจายตามทางเดินและบาร์ ส่วนชั้นบนคือที่นั่งที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น จัดไลท์ติ้งแบบ Indirect Lighting ตามทิศทางส่วนโค้งของเหล็กตาข่ายและผนังสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ในขณะเดียวกันก็ดูขลังราวกับต้องมนต์สะกดในช่วงเวลากลางคืน IDEA ลดทอนความแข็งกระด้างภายในอาคารด้วยซุ้มหน้าต่างโค้ง ก่อผนังเบิ้ลสำหรับทำที่วางจุกจิกของริมหน้าต่าง เจ้าของ      :  AA Hospitality ออกแบบ   : FADD Studio ภาพ    […]

BRITANNICA BRASSERIE รวมสารานุกรมความอร่อยจากเมนูอาหารตะวันตกหลากหลายเชื้อชาติ

BRITANNICA Brasserie ร้านอาหารสไตล์ยุโรปแนว Casual Fine-Dining และ Cafe เกิดจากแนวคิดของเจ้าของที่ได้มาจากการเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก ผนวกเข้ากับการตกแต่งที่ตั้งใจให้ที่นี่เป็นเหมือนห้องสมุด รวบรวมสารานุกรมความอร่อยไว้มากมายจากเมนูอาหารตะวันตกจากหลายประเทศ แม้ว่าที่นี่จะอยู่ในโซนลับตาของ Gaysorn Village ชั้น 1 แต่ BRITANNICA Brasserie กลับสะดุดตากว่าใคร ด้วยเส้นสายโค้งเว้าของเสา ประตู และสีขาวสว่างสะอาดตา  BRITANNICA Brasserie ร้านอาหารสไตล์ยุโรป ร้านอาหาร gaysorn เห็นได้จากการใช้โครงสร้างเสาแบบซุ้มโค้งที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมยุโรปสื่อถึงความเป็นสากล โดยผนวกกับการใช้เส้นสีดำตัดขอบกับพื้นสีขาวซึ่งเป็นสีหลัก เส้นเหล่านี้มาจากเส้นโค้งของตัวอักษร BB อันเป็นตัวย่อของชื่อร้าน อันแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อ ปฏิสัมพันธ์ ความทรงจำ และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สัมผัสได้ภายในร้าน นอกจากการใช้เฟอร์นิเจอร์หรูหราสไตล์ผู้ดีอังกฤษ  ที่นี่ยังใส่ใจรายละเอียดการตกแต่งอื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่มีลายกราฟิก BB ทั่วร้าน รวมถึงโลหะที่ใช้ประกอบในเฟอร์นิเจอร์และพื้น ซึ่งไม่ลืมการใช้เส้นโค้งเพื่อเล่าถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันไปเเบบไม่มีสิ้นสุด นอกจากนี้ยังพบการหยอดสีแดงเบอร์กันดีไปตามจุดต่าง ๆ เช่น ของตกแต่งรูปหนังสือ สารานุกรมตรงส่วนโค้งของบาร์ ขอบผ้ากำมะหยี่ที่บุส่วนบนของบาร์ และส่วนพักแขนตรงโซฟา เสริมให้ภาพรวมของร้านดูหรูหรา สง่างาม […]

HOUSE VISION บ้านทดลองที่ให้ “หน้าต่าง” ทำหน้าที่แทน “ประตู”

HOUSE VISION TOKYO คือนิทรรศการงานออกแบบของญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอไอเดียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม สำหรับครั้งนี้มาภายใต้โจทย์ “ Co-Dividual: Split and Connect / Separate and Come Together” โดยมีความมุ่งหวังที่จะเห็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม และจุบรรจบของอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดผลงานออกแบบ HOUSE VISION ที่ถูกสร้างจริงคือผลงานการออกแบบนาม “Between Inside and Outside / Between Furniture and a Room” โดย TOTO · YKK AP × Atsushi Igarashi Taiji Fujimori กับรูปแบบบ้านแปลกตาที่แตกแขนงพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากจุดศูนย์กลาง เวลานึกถึง “หน้าต่าง” เราจะพยายามหาดีไซน์และองค์ประกอบใหม่ ๆ ให้กับความเป็นหน้าต่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับ “ภาพตัดขวาง” ของหน้าต่าง […]

RODAR ซาเล้งดีไซน์โมเดิร์น ที่จะช่วยแก้ปัญหาคนไร้บ้าน

ในยุคที่‘คนไร้บ้าน’ คือหนึ่งในปัญหาที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ชัดเจนที่สุด และเป็นปัญหาสำคัญของเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา Rodar ซาเล้งดีไซน์โมเดิร์น ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นบ้าน (คัน) ใหม่ของคนไร้บ้าน  Andrés Sáenz และ José Alvarez สองนักออกแบบจาก andrés & josé Design Studio ประเทศเม็กซิโก ออกแบบ Rodar รถบ้านขนาดเล็กที่ผลิตง่ายจากวัสดุทั่วไปในท้องถิ่น จึงเข้าถึงง่าย ผลิตได้ทันที และมีความเป็นไปได้สำหรับเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาคนไร้บ้านในเมืองใหญ่ โดยงานต้นแบบนี้คือจุดเริ่มต้นไอเดียที่สามารถพัฒนาปรับประยุกต์ใช้ได้ในบริบทต่างๆ ทั่วโลก คนไร้บ้านคือผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งด้วยสาเหตุต่าง ๆ กันไป ตั้งแต่ปัญหาเศรษฐกิจ ไปจนถึงการลี้ภัยสงคราม ทำให้จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งแยกทางสังคมอย่างชัดเจน และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายกาจในสังคมร่วมสมัย Rodar ใช้รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วของ ‘บ้าน’ ที่ใคร ๆ ก็เข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยสามารถปรับเปลี่ยนสีสันได้เองรถบ้านนี้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่หลบภัยส่วนบุคคล สำหรับกันแดดกันฝน เก็บข้าวของส่วนตัว นอกจากนี้ การเข็นเคลื่อนที่ได้จึงทำให้เกิดการโยกย้าย รวมกลุ่ม เกิดเป็นชุมชน และส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ใช้งาน ช่วยให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น พร้อม ๆ สร้างนิยามใหม่ให้กับการใช้งานพื้นที่สาธารณะ […]

SPIRULINA SOCIETY ระบบเพาะปลูกอาหารแห่งโลกอนาคต

ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ ระบบนิเวศของเราก็กำลังตกอยู่ในอันตราย และหนึ่งในสาเหตุสำคัญก็มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกว่า 1 ใน 4 ของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสำหรับประชากรทั่วโลก ดังนั้น ในฐานะพลเมืองโลกคนหนึ่ง Spirulina Society เชื่อว่าเราสามารถมีส่วนช่วยดูแลโลกได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต และการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ตามคำแนะนำของสหประชาชาติ (UN) และองค์การอนามัยโลก (WHO) สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สไปรูลิน่า (Spirulina) ถือเป็นอาหารชั้นยอด เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ นับเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น Spirulina Society สไปรูลิน่า ยังสามารถเพาะเลี้ยงในบ้านได้ในต้นทุนต่ำ ใช้น้ำและพื้นที่น้อย เพียงแค่มีการสังเคราะห์แสงในสภาวะที่เหมาะสม เราก็สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวัน ถือเป็นอาหารทางเลือกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ ชุดอุปกรณ์เพาะเลี้ยงสไปรูลิน่าของ Spirulina Society ออกแบบโดย อัญญา เมืองโคตร มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการเพาะปลูกที่ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพสำหรับวิถีชีวิตคนเมือง ให้ทุกคนสามารถผลิตอาหารได้ด้วยตัวเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการผลิตของเสีย และผลกระทบต่อระบบนิเวศ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์โมเดล 3 มิติ และติดต่อกับผู้ผลิตในท้องถิ่น […]

MONTE HOUSE บ้านเม็กซิโกดื่มด่ำธรรมชาติกลางผืนป่าอย่างเต็มอิ่ม

บ้านเม็กซิโก สีแดงดูร้อนแรงหลังนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ตากอากาศ ท่ามกลางราวป่าในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก โดยเกิดขึ้นจากความต้องการของคู่สามีภรรยาที่อยากอยู่อาศัยในธรรมชาติ พร้อม ๆ การได้ใช้ชีวิตในวันหยุดอย่างเรียบง่ายและเป็นส่วนตัว ทีมสถาปนิกจาก TACO taller de arquitectura contextual จึงเน้นการออกแบบที่ช่วยสร้างประสบการณ์การพักผ่อนอย่างเต็มที่ แม้ตัวบ้านจะมีขนาดเล็กกะทัดรัดเพียง 42 ตารางเมตร (452 ตารางฟุต) แต่กลับจุฟังก์ชันเพื่อความรีแลกซ์ไว้ภายในได้อย่างตอบโจทย์ ที่สำคัญยังดึงประโยชน์ของแสงและลมเข้ามาช่วยเติมเต็มการพักผ่อนให้น่าอภิรมย์ยิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่กลางป่า สถาปนิกจึงออกแบบอาคารให้ยกสูงจากพื้นดินราว 2 เมตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก และสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนผนังสีแดงที่เห็นนั้นเกิดจากการฉาบปูนที่ผสมกับแร่ธรรมชาติในท้องถิ่น ขณะที่ประตูเเละหน้าต่างบานเฟี้ยมแบบบานเกล็ด ก็ทำมาจากไม้ซีดาร์ซึ่งหาได้ในท้องถิ่นเช่นกัน ทั้งยังลดความน่าเบื่อของอาคารทรงกล่องด้วยเส้นสายซิกแซกของลูกตั้งและลูกนอนบันได เมื่อเข้ามาด้านในตัวบ้านจะพบกับบรรยากาศที่ดูอบอุ่นและชวนผ่อนคลาย ด้วยการเลือกฉาบผนังปูนดิบที่มีส่วนผสมของปูนขาว ผสานไปกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ และของตกแต่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานทำมือจากวัสดุธรรมชาติ ดูเป็นเรื่องราวเดียวกันกับตัวอาคารและบริบทรอบ ๆ ผังพื้นที่ใช้งานชั้นล่างประกอบด้วยมุมที่เก็บของเล็ก ๆ ตรงข้ามกันคือห้องน้ำที่มีฝักบัวกลางแจ้ง มีห้องครัว และมุมรับประทานอาหารที่เปิดโล่งออกสู่ระเบียงพร้อมสระว่ายน้ำ ให้สามารถชื่นชมวิวและดื่มด่ำกับธรรมชาติรอบ ๆ ได้เต็มที่ นอกจากความชิลแบบสุด ๆ แล้วยังมีข้อดีอีกอย่างคือเมื่อลมพัดผ่านจะหอบนำความเย็นสบายเข้ามาสู่พื้นที่ภายในบ้านด้านในด้วย ส่วนพื้นที่ของห้องนอนได้รับการออกแบบให้อยู่บนชั้นลอยที่ต้องก้าวบันไดขั้นเล็ก ๆ ขึ้นไป หัวเตียงคือช่องหน้าต่างบานเฟี้ยมที่เปิดออกรับลมได้จนสุดในวันอากาศดี หรือจะปิดเข้ามาทั้งหมดเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยที่ยังยอมให้ลมและแสงสว่างลอดผ่านเข้ามาด้านในได้ […]

FAN WORKING BEIJING ร้านขายและพื้นที่เวิร์คชอป “พัด”

ร้านขายพัดพร้อมพื้นที่เวิร์กชอปแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนเฉียนเหมิน ถนนที่ถูกขนานนามว่าถนนสายวัฒนธรรมในกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นี่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมพัดจีนที่มีมาอย่างยาวนานให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จึงวางใจให้สถาปนิกจาก Golucci Interior Architects เข้ามา รีโนเวตตึกแถว ขนาด 2 ชั้นให้ดูเรียบง่าย สวยงาม และใช้งานได้จริงเหมือนกับ “พัด” ถนนเฉียนเหมินเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นย่านที่มีบ้านแบบหูตง หรือบ้านแบบดั้งเดิมของจีนที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้แวะเวียนมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยปัจจุบันพื้นที่ย่านนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป กลายเป็นพื้นที่ผสมผสานระหว่างความเก่ากับความใหม่ รวมไปถึงการ รีโนเวตตึกแถว เป็นร้านพัดแห่งนี้เช่นกัน พัดพกพานี้นับเป็นสิงประดิษฐ์เก่าแก่ที่มีถิ่นกำเนิดจากทั้งจีนและญี่ปุ่น อาจพูดได้ว่าต่างคนต่างเป็นแรงบันดาลซึ่งกันและกันก็คงไม่ผิดนัก ผู้ออกแบบจึงนำประวัติศาสตร์นี้มาประยุกต์ลงไปในการออกแบบสเปซ โดยแทรกกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นลงไปในอาคารเก่าแบบสถาปัตยกรรมจีน ผ่านการตกแต่งภายใน จากลักษณะของพื้นที่อาคารขนาดสองชั้นที่ไม่ได้มีพื้นที่เต็มตลอดทั้งตึก จึงแบ่งโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ชั้นล่างที่มีขนาดเพียงหนึ่งคูหาเป็นส่วนของหน้าร้าน แล้วชั้นบนเป็นพื้นที่เวิร์กชอปให้บุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้การทำพัดแบบดั้งเดิมด้วยมือของคุณเอง สำหรับการตกแต่งภายในนอกจากความสวยงามแล้ว ยังออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย พื้นหินขัดเข้าคู่กับผนังสีขาวโพลน เสริมด้วยตู้เครื่องมือไม้สีอ่อนที่ใช้งานได้จริงพร้อมเป็นตัวแบ่งสเปซภายในไปในตัว ช่วยสะท้อนอัตลักษณ์ของพัดที่ว่าเรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง  ออกแบบ: Golucci International Design 古魯奇建築諮詢公司 ภาพ: : Lulu Xi เรียบเรียง: Woofverine QISHER COURTYARD รีโนเวตบ้านจีนโบราณ […]

SON LA RESTAURANT ร้านอาหารสถาปัตยกรรมไม้ไผ่สุดอลังการ

Son La Restaurant  ตัวอย่างการออกแบบ สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ ให้เป็นหนึ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยังจังหวัดห่างไกล กับการเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอย่าง ไม้ไผ่ และหิน สอดคล้องกลมกลืนไปกับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอันเป็นธรรมชาติ จังหวัดซอนลา (Son La) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมีภูมิทัศน์ภูเขาที่สวยงาม แม้จะมีความงดงามทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ แต่ที่นี่กลับไม่ได้รับการพัฒนาสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบากต่อการเดินทาง โดยต้องใช้เวลานั่งรถจากฮานอยนานถึง 7 ชั่วโมง ไปตามถนนที่มีหน้าผาสูงชัน แต่ด้วยศักยภาพอันงดงามของภูมิประเทศ ทำให้ที่นี่กำลังจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติดังกล่าว โปรเจ็กต์ร้านอาหาร Son La Restaurant ที่เด่นด้วย สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ จึงเริ่มต้นขึ้น ด้วยสภาพภูมิประเทศที่จำกัด ทำให้การขนส่งวัสดุที่ใช้ก่อสร้างร้านอาหารนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยากลำบาก สถาปนิกผู้ออกแบบ Vo Trong Nghia (VTN Architects) จึงเลือกที่จะใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นทีมช่าง คนงาน และวัสดุในท้องถิ่นที่มีราคาไม่แพงอย่าง “ไม้ไผ่” และ “หิน” มาเป็นวัสดุหลักของอาคาร นอกจากเหตุผลสำคัญดังกล่าวอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ออกแบบมองเห็นก็คือวัสดุจากธรรมชาติเหล่านั้น มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนอย่างเวียดนามได้อย่างดี ที่นี่ประกอบด้วยอาคารหิน 8 หลัง ที่แยกจากกัน […]

CENTRAL: THE ORIGINAL STORE ย้อนตำนานร้านค้าปลีกแห่งแรกของเซ็นทรัล

CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  กับการชุบชีวิตอาคารหลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ให้กลับมาบอกเล่าเรื่องราวของเซ็นทรัล เมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจร้านค้าปลีกเล็ก ๆ  เพื่อให้ที่นี่เป็นดังไทม์แมชชีนพาย้อนเวลาไปยังตำนานก้าวแรกของเซ็นทรัล เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่21 นับเป็นเวลากว่า 73 ปี ที่เซ็นทรัลกรุ๊ปดำเนินกิจการในฐานะห้างสรรพสินค้าชั้นนำของเมืองไทย โดยในระหว่างทางหากย้อนไปในช่วงปีพ.ศ.2493 ความรุ่งเรืองของเซ็นทรัลเริ่มก่อรูปร่างขึ้นภายในอาคาร 2 ชั้น 1 คูหา ริมถนนเจริญกรุง กับกิจการร้านขายหนังสือและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งใช้ชื่อว่า “ห้างเซ็นทรัล เทรดดิ้ง” ก่อนปีพ.ศ.2499 จะขยายธุรกิจก่อตั้งห้างสรรพสินค้าในชื่อ “เซ็นทรัล” ขึ้นในย่านวังบูรพา ซึ่งนับเป็นห้างสรรพสินค้าที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในไทยเวลานั้น พร้อมยกระดับการบริการลูกค้าแบบเป็นสากล ซึ่งมีทั้งการติดป้ายราคา การทำบาร์โค้ด รวมถึงการทำโฆษณา พร้อมปรัชญาการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร จนครอบครัวจิราธิวัฒน์สามารถขยายสาขาครอบคลุมทั่วทั้งประเทศในทุกวันนี้ CENTRAL : THE ORIGINAL STORE  และสำหรับปี พ.ศ.2563 สินทรัพย์ชิ้นแรกของกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลอย่างบ้านเลขที่ 1266 หลังเก่าริมถนนเจริญกรุง ได้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในรูปแบบดีไซน์ที่ร่วมสมัย บนโครงสร้างของตัวอาคารเก่าดั้งเดิม ในนาม CENTRAL: THE ORIGINAL STORE […]

CASA COVA สวรรค์บนดินริมมหาสมุทรแปซิฟิก

ที่พักริมทะเล บรรยากาศสุดชิลแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ประเทศเม็กซิโก รัฐฮาวากาซึ่งเป็นเขตพื้นที่พัฒนาที่กำลังเป็นหมุดหมายของนักเดินทางทั่วโลก ผืนที่ดินนี้ติดกับทะลที่ขนาบด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและภูเขาฮาวากา โดยมีจุดเริ่มต้นของการออกแบบคือบ้านพักตากอากาศสำหรับสองครอบครัวที่มีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตัวเองและเชื่อมกันผ่านพื้นที่ทำกิจกรรมกลาง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Anonymous ที่พักริมทะเล หลังนี้จึงประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 ส่วนหลัก ๆ คือพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่และบ้านพักสองหลังที่เเยกออกจากกันเป็นปีกซ้าย-ขวา ขนานกัน ด้วยพื้นที่ส่วนกลางที่ค่อนข้างใกญ่ทำให้บ้านทั้งสองมีทางเข้าหลักหลังละ 2 ทาง ซึ่งการแยกพื้นที่พับลิกและไพรเวตออกจากกันนั้น สถาปนิกเลือกออกแบบกำแพงคอนกรีตทึบที่ทำการเว้นช่วงสลับกัน เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเททะลุทั่วถึงทุกพื้นที่ ทั้งยังสร้างให้เกิดเอ็ฟเฟ็กต์ของแสงและเงาที่น่าสนใจตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดค่ำ พื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญในบรรยากาศแบบดับเบิ้ลสเปซที่เกิดจากระดับฝ้าเพดานที่สูงของหลังคาทรงจั่วปกคลุมด้วย “palapa” เทคนิคพื้นถิ่นที่ทำจากใบปาล์มแห้งซึ่งช่วยในการลดความร้อนของอากาศภายนอกที่สูงถึง 850F ให้เหลือเพียง 730F ได้ เหมาะแก่การเป็นพื้นที่พักผ่อน ส่วนนี้ประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหารและบาร์ รวมไปถึงส่วนบริการต่าง ๆ เช่น ห้องครัว ห้องซักรีด และห้องเครื่องที่ถูกวางซ่อนไว้ไม่ให้รบกวนและบังสายตาได้อย่างแนบเนียน เบื้องหลังผนังคอนกรีตที่ตั้งขนานไปกับพื้นที่ส่วนกลางเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับห้องนอนนั้น เป็นส่วนของบ้านพักทั้งสองฝั่งประกอบไปด้วย 3 ห้องนอน ได้แก่ ห้องนอนหลัก 1 ห้องในฝั่งด้านหน้าติดกับทะเล และห้องนอนลูก 2 ห้องโดยแต่ละห้องมีห้องน้ำในตัวทั้งหมด ซึ่งทั้งสามห้องเชื่อมต่อกันไว้ด้วยพื้นที่คอร์ตยาร์ดภายใน ทำให้แต่ละห้องมีพื้นที่ให้ลมทะเลได้พ้ดผ่าน ช่วยนำความเย็นมาพร้อม ๆ […]

ARMARAPA ร้านนวดไทยแผนใหม่ เปิดประสบการณ์นวดแบบร่วมสมัย

Armarapa ร้านนวดไทยย่านประดิพัทธ์ ที่เปลี่ยนทุกภาพจำของร้านนวดแผนโบราณได้อย่างหมดจด เติมเต็มประสบการณ์แห่งสุนทรียภาพผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในบรรยากาศเรียบง่าย มีสไตล์ ตามสมัยนิยม หลังจากเปิดตัวอาร์มา (ARMA) ‘ยาดม’ ดีไซน์เท่ที่นำเสนอรูปลักษณ์ใหม่ของยาดมดั้งเดิมไปเมื่อไม่นานมานี้ ที่นี่คือ อาร์มาราภา (Armarapa) แฟล็กชิปสโตร์ล่าสุดในรูปแบบของ ‘ร้านนวดไทย’ ที่จะขยายขอบเขตประสบการณ์ด้าน ‘กลิ่น’ ของแบรนด์ให้ครอบคลุมวิถีชีวิตของผู้คนยุคใหม่ยิ่งขึ้น “จริง ๆ แล้วสมุนไพรไทยเป็นองค์ความรู้พื้นฐานของเรา แต่คนไทยอาจจะไม่ได้ให้คุณค่ามากนัก เราเลยพยายามเปิดมุมมองใหม่ในแง่ของผลิตภัณฑ์กับประสบการณ์ เป็นการดึงองค์ความรู้แบบพื้นบ้านมาประยุกต์ใหม่เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมสมัย ซึ่งก็หมายถึงรูปแบบสมัยนิยม หรือตามความนิยมในยุคนี้” กฤษณ์ พุฒพิมพ์ แห่ง Dots Design Studio รับหน้าที่แปลงโฉมอาคารตึกแถวย่านประดิพัทธ์ให้กลายเป็นร้านนวดเพื่อสุขภาพ ภายใต้คำถามว่าร้านนวดไทยจำเป็นต้องคงรูปแบบดั้งเดิมเสมอไปหรือไม่ และเพื่อตอบคำถามนั้น อาร์มาราภาจึงเปิดตัวในลุคมินิมัล เรียบง่าย นำเสนอร้านนวดไทยในรูปแบบที่อยู่ระหว่างความดั้งเดิม และความร่วมสมัยของสปายุคใหม่ คอร์ตเล็ก ๆ กลางอาคารช่วยสร้างสเปซที่โปร่งโล่ง สว่างด้วยแสงธรรมชาติจากช่องแสงสกายไลท์ ความเรียบง่ายยิ่งขับเน้นเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งชิ้นไฮไลต์ให้โดดเด่นกว่าเดิม พื้นที่ร้านเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นลอยขึ้นไป ประกอบด้วยห้องส่วนตัวเล็ก 2 ห้อง ห้องใหญ่ 1 ห้อง และห้องสำหรับการนวดเท้า โดยมีคอร์สนวดไทยให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่คอร์สนวดน้ำมันแบบซิกเนเจอร์ […]

สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไรในวันนี้ คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ คุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]

THE LANTERN – NANOCO SHOWROOM โชว์รูมอิฐช่องลมที่เปล่งแสงยามค่ำคืนราวกับโคมไฟกลางเมือง

ที่นี่เป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่ของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ตั้งอยู่ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดูโดดเด่นด้วยอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สร้างจาก อิฐช่องลม ลายดอกไม้ทั้งหลัง ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก VTN Architects (Vo Trong Nghia Architects)ที่ต้องการบอกเล่าความเป็นเวียดนามใส่ลงไปในสถาปัตยกรรมทรงเรขาคณิตดีไซน์เรียบง่าย เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะอาคารหลังนี้จะกลายเป็นกล่องไฟขนาดใหญ่ ดูสว่างไสวกว่าใคร ๆ ในย่าน สมกับเป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่จำหน่ายหลอดไฟฟ้านั่นเอง สำหรับไซต์ที่ตั้งของอาคารถือว่าสร้างความท้าทายให้ไม่น้อย เพราะมีขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 72 ตารางเมตร และอยู่ติดกับถนนที่พลุกพล่าน การนำเสนอตัวเองให้เป็นที่น่าจดจำจึงสำคัญ ภายใต้ความเรียบง่ายของวัสดุอย่าง “อิฐช่องลม” ด้วยการนำมาทำเป็นเปลือกอาคารโดยรอบ โดยกรุกระจกใสเป็นผนังซ้อนอยู่ภายในอีกที ด้วยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดนี้ เป็นวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศใช้ เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อน สามารถระบายอากาศได้ดี ช่วยกรองแสงไม่ให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในโดยตรง แถมมีราคาไม่แพง หรือชิ้นละประมาณ 0.42 ปอนด์ สำหรับที่นี่สถาปนิกบอกว่าเขาใช้จำนวนบล็อกช่องลมราว ๆ 5,625 ชิ้น เป็นเงิน จำนวน 2,350 ปอนด์ นอกจากนี้ขั้นตอนการก่อสร้างสามารถสร้างเสร็จได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ไม่เพียงเป็นการใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สถาปนิกยังให้ความสนใจกับภูมิทัศน์รอบ ๆ […]