บ้านไม้ Archives - room
Office-rice-local-chiangmai

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Hanabitate Architect ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ […]

บ้านไม้-หลังเล็ก-บ้านชนบท

BAAN NOI DOI HANG บ้านต่างจังหวัด ฟังก์ชันพอดีสำหรับใช้ชีวิต และทำงานจากบนดอย

BAAN NOI DOI HANG บ้านหลังเล็กแฝงกลิ่นอายสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ฟังก์ชันพอดีสำหรับใช้ชีวิต และทำงานแบบ Work from Home จากบนดอยที่จังหวัดเชียงราย บ้านน้อยดอยฮาง ขนาดพื้นที่ 35 ตารางเมตร ขนาดของบ้านไม่ต่างจากห้องในคอนโดมิเนียมกลางเมืองห้องหนึ่ง แต่สิ่งที่ต่างคือเป็นบ้านตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติบนภูเขาที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เจ้าของบ้านเป็นคู่รักที่ต้องการสร้างบ้านหลังเล็กเพื่อหลีกเร้นจากความวุ่นวาย และเร่งรีบของเมืองหลวง ออกไปสร้างพื้นที่ขนาดย่อมไว้ใช้ชีวิต และทำงานได้จากที่บ้าน โดยเริ่มจากการเลือกรูปแบบวิถีชีวิตที่ต้องการจริงๆ ก่อนออกแบบเป็นพื้นที่ใช้งานที่เรียบง่าย บ้านไม้ ที่ตัดสิ่งไม่จำเป็นออก จนเหลือเพียงพื้นที่ที่ได้ใช้งานจริงในทุกวัน คัดเฉพาะฟังก์ชันที่จำเป็น พื้นฐานของเจ้าของบ้านเป็นคนกรุงเทพฯ มีบ้านหลังอื่นมาก่อนที่จะทำบ้านหลังนี้ที่อยู่ในเมือง จึงตกผลึกความต้องการในการอยู่อาศัยมาระดับหนึ่งว่าฟังก์ชันบ้านที่ต้องการ และพอดีสำหรับตนเองเป็นแบบไหน จึงแลกเปลี่ยนไอเดียกับสถาปนิก จนออกมาเป็นบ้านหลังเล็ก เป็น Tiny House ที่มีห้องพักสำหรับนอน และทำงาน 1 ห้อง ห้องน้ำ 1 ห้อง เคาน์เตอร์ครัวสำหรับทำอาหารต่อเนื่องกับบาร์ชงกาแฟ ตู้เสื้อผ้า และระเบียงสำหรับทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งข้อดีของบ้านเล็ก นอกจากจะเป็นเรื่องการคุมงบไม่ให้บานปลาย ยังดูแลรักษาง่ายทำให้เจ้าของบ้านมีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นในชีวิตอีกด้วย ออกแบบบ้านรับกับบริบท ตัวบ้านตั้งอยู่บนเนินเขา หันมุมมองบ้านเปิดรับวิวไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ใช้ชายคาเป็นตัวช่วยบังแสงแดดในช่วงบ่ายก่อนเข้าสู่พื้นที่ห้องนอน […]

ไอเดียมุมนั่งเล่น ริมหน้าต่าง รับวิวธรรมชาติ

เติมมุมสวยให้บ้านด้วย ไอเดียมุมนั่งเล่น ริมหน้าต่างสุดชิลไว้สำหรับใช้นั่งเล่น อ่านหนังสือ พร้อมกับชมวิวธรรมชาติสวย ๆ นอกบ้าน นั่งพักสายตา ทอดอารมณ์ไปกับวิวสวย ๆ นอกบ้าน น่าจะเป็นโมเม้นต์ที่ใคร ๆ ก็ชอบ โดยเฉพาะบ้านพักตากอากาศ หรือบ้านต่างจังหวัด ถ้าสามารถครีเอต ไอเดียมุมนั่งเล่น อย่างมุมนั่งเล่นริมหน้าต่างให้ออกมาสวยงาม รับรองว่าจะช่วยเต็มเติมวันพักผ่อนในบ้านที่แสนสบายได้อย่างดี ส่วนจะมีไอเดียไหนน่าสนใจบ้าง room รวมไอเดียมาฝาก ไอเดียมุมนั่งเล่น แบบยกพื้น ชิดหน้าต่างบานใหญ่บ้านไม้ชั้นเดียวในจังหวัดเชียงรายหลังนี้ ออกแบบห้องนอนและห้องนั่งเล่นให้รวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีมุมนั่งเล่นริมหน้าต่างสำหรับช่วยระบายอากาศ และเปิดมุมมองเพื่อรับวิวผ่านมุมหน้าต่างซึ่งมีถึง 3 ส่วน ทั้งส่วนบนแบบบานติดตาย ส่วนกลางเป็นหน้าต่างบานใหญ่ที่เปิดออกได้ โดยหน้าต่างบานนี้ได้ออกแบบให้มีขอบไม้สักขนาดใหญ่ยื่นลอยออกไป เพื่อให้สามารถออกไปนั่งเล่นด้านนอกได้ มองจากด้านนอกจะคล้ายกรอบไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ เป็นอีกมุมโปรดที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ ผนังด้านล่างมีระแนงฝาไหลพร้อมติดมุ้งลวด เลื่อนเปิดออกให้ลมผ่านได้ ช่วยให้หน้าร้อนอากาศเย็นสบายปลอดโปร่งเจ้าของ : คุณเพียงออ พัทธยากร และคุณทรงธรรม ศรีนัครินทร์ออกแบบ : 1922architectsรับเหมาก่อสร้าง : สล่าบุญทัมม์ โทร.08-2456-5678ภาพ : Songtam Srinakarin มองวิวทิวไม้ผ่านมุมนั่งเล่นแบบเบย์วินโดว์บ้านปูนเปลือยใต้ถุนสูงที่จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในวงล้อมของต้นไม้ มีทั้งแนวไผ่และต้นจามจุรีขนาดใหญ่ช่วยให้ร่มเงา […]

HOLLY WATER CABIN บ้านเคบิน ไซซ์กะทัดรัดกลางทุ่งชนบท

Holly Water Cabin บ้านเคบิน หรือกระท่อมพักตากอากาศ ตั้งอยู่อย่างถ่อมตนและดูสงบงาม กลางทุ่งกสิกรรมขนาดกว้างขวาง บนเกาะเดวอน ประเทศอังกฤษ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศในวันหยุด สำหรับเจ้าของบ้านที่อยากมารับกลิ่นอายและพลังงานบวกจากธรรมชาติรอบตัว บ้านเคบิน ชั้นเดียวกลางทุ่งสีเขียวดูสดชื่นนี้ เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอสัญชาติอังกฤษ Out of the Valley กับโจทย์ของการสร้างบ้านขนาดเล็กที่ช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถอยู่ร่วมและดื่มด่ำกับธรรมชาติอันสวยงามของเกาะเดวอนได้เต็มที่ ด้านการออกแบบตัวบ้านหรือผนังภายในถูกเคลือบด้วยดินเหนียว ซึ่งช่วยระบายอากาศและควบคุมอุณหภูมิของบ้านได้อย่างดี ภายนอกห่อหุ้มด้วยไม้สนซีดาร์ซึ่งมาจากโรงงานในท้องถิ่น ตัวบ้านเป็นแบบยกพื้นเพื่อไม่ให้กระทบกับพื้นดิน หลังคาเป็นเพิงแหงนพร้อมชายคาที่กว้างขวาง ภายในบ้านเป็นพื้นที่แบบเปิดโล่ง มีมุมห้องครัวยาวขนาดตามแนวผนังด้านหนึ่งที่กรุด้านหลังด้วยไม้โอ๊ก มีห้องน้ำและเตียงนอนแสนสบายที่มองเห็นวิวทุ่งกว้าง ฐานเตียงออกแบบให้มีช่องลิ้นชักอยู่ข้างใต้สำหรับใช้เก็บของได้ ช่องเปิดของบ้านเป็นแบบประตูบานเลื่อนที่เปิดออกได้จนสุด ให้สามารถรับอากาศบริสุทธิ์และภูมิทัศน์ทุ่งเกษตรกรรมที่กว้างถึง 4.5 เอเคอร์ หรือจะออกมานอนแช่อ่างน้ำที่นอกชาน ฟังเสียงธรรมชาติ และดื่มด่ำกับวิวสีเขียวชอุ่มก็ชิลแบบสุด ๆ ออกแบบ : Out of the Valley (https://outofthevalley.co.uk/) ภาพ : Rupert McKelvie, Stephanie Osmond เรียบเรียง : Phattaraphon

ADIUVAT COFFEE ROASTER QUINHON ยกบรรยากาศบ้านเวียดนามดั้งเดิม มาไว้ใน คาเฟ่ตึกแถว

คาเฟ่ตึกแถว อบอุ่นเหมือนนั่งจิบกาแฟสบาย ๆ ในบ้านไม้ ชวนให้นึกย้อนรำลึกถึงวันวานที่มีทั้งความเรียบง่ายและเงียบสงบ คาเฟ่ตึกแถว แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตึกแถวริมถนนสายเก่าแก่ของเมืองกวีเญิน (Quy Nhơn) ประเทศเวียดนาม มาพร้อมแนวคิดที่เอาชนะปัญหาพื้นที่แคบและปิดทึบให้มีความรู้สึกปลอดโปร่งผ่านช่องแสงที่ปรับใหม่ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุซึ่งนิยมใช้ในการสร้างบ้านเวียดนามแบบดั้งเดิมมาผสมผสาน ด้านหน้าสะดุดตาด้วยป้ายชื่อร้านทำจากแผ่นเหล็กฉลุลายตัวอักษรขนาดใหญ่ ผนังและประตูเปลี่ยนมากรุกระจกใสขนาดใหญ่สูงจรดเพดาน เพื่อให้แสงส่องเข้ามาด้านในได้เต็มที่ ภายในจัดเรียงลำดับการใช้งานตามฟังก์ชั่นที่ต่อเนื่อง มีเคาน์เตอร์บาร์ขนาดใหญ่ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญโดยก่อขึ้นจากซีเมนต์ และพื้นเป็นกรวดล้างดูแลรักษาง่าย ผนังร้านกรุแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ลวดลายขรุขระสีเทา ตัดกับผนังไม้เก่าในโซนที่นั่งด้านใน เป็นการใช้วัสดุเพื่อแบ่งโซนให้แตกต่างได้อย่างเป็นสัดส่วน ห้องในสุดใช้เป็นห้องคั่วเมล็ดกาแฟที่กั้นด้วยกระจก ทำให้มองเห็นขั้นตอนการคั่วเมล็ดกาแฟสดๆ ได้ชัดเจน รับกับผนังที่ทำผิวขรุขระเหมือนผนังถ้ำ ตกแต่งต้นไม้และออกแบบแสงสว่าง ช่วยขับเน้นบรรยากาศให้สวยสะดุดตา เป็นอีกมุมไฮไลต์ของคาเฟ่นี้ก็ว่าได้ ขึ้นชั้นบนด้วยบันไดไม้ จำลองบรรยากาศเหมือนบ้านไม้สองชั้น พื้นปูด้วยไม้ หรือแม้แต่ฝ้าเพดานก็ยังออกแบบให้เหมือนบ้านไม้มุงหลังคาสังกะสี เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นหลัก มีการเจาะพื้นเดิมออกเพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ ให้แสงที่ผ่านเข้ามาจากผนังกระจกหน้าร้านชั้นสองนี้ สามารถส่องเข้ามายังพื้นที่ด้านในร้านได้ทั่วถึง ลดปัญหาอับทึบของตึกแถวได้อย่างดี ที่นี่จึงเป็นโปรเจ็กต์ที่รวบรวมเทคนิคการก่อสร้างบ้านดั้งเดิมในท้องถิ่นมาหลอมรวมไว้ ให้กลับมาสู่การออกแบบยุคปัจจุบัน เพื่อพาทุกคนคืนสู่ความเรียบง่าย แต่สวยงามถูกใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันเริ่มหาชมบรรยากาศบ้านไม้ท้องถิ่นแบบนี้ได้ยากแล้ว ออกแบบ-ตกแต่ง : A+H architectออกแบบเเสงสว่าง : Ori Lightingก่อสร้าง : Ori Contructionภาพ : Quang […]

PUNTA COLORADA III SHELTER บ้านไม้ชั้นเดียว กับแนวคิด “รบกวนป่าให้น้อย สัมผัสธรรมชาติได้มาก”

บ้านไม้ชั้นเดียว กลางผืนป่าใกล้ชายหาดที่เปิดออกสู่มหาสมุทรในประเทศอุรุกวัย โดดเด่นด้วยคอนเซ็ปต์การออกแบบบ้านให้อยู่ร่วมกับป่าแบบได้ไม่เบียดเบียนของทีมสถาปนิก TATÚ Arquitectura โดย บ้านไม้ชั้นเดียว หลังนี้ มาพร้อมกับความท้าทาย เพราะมีลักษณะเป็นเนินดินลาดเทลงไป และเพื่อเอาชนะปัญหานี้ ทีมสถาปนิกจึงได้ออกแบบโครงสร้างโดยเฉพาะระบบฐานรากอาคารได้อย่างน่าสนใจ พร้อมกับแนวคิดความพยายามรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด และจากความตั้งใจที่จะรักษาระบบนิเวศรอบ ๆ บ้านให้สมบูรณ์ที่สุด ด้วยสภาพของที่ตั้งดังกล่าว ทีมสถาปนิกจึงตัดสินใจว่า จะใช้ระบบฐานรากแบบไม้ค้ำถ่อที่ประกอบด้วยเสาเข็มคอนกรีตรองรับบนพื้น ปล่อยให้โครงสร้างทั้งหมดแขวนอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบของพื้นดินนั้น โดยไม่ต้องใช้วิธีการปรับหน้าดิน หรือรบกวนธรรมชาติใด ๆ เลย รูปทรงของตัวบ้านมีความเรียบง่าย สร้างขึ้นในตำแหน่งตามแนวยาว พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน แบ่งพื้นที่ใช้งานด้วยการบรรจุส่วนของห้องนอนให้อยู่ทางทิศเหนือ ไล่ลำดับการใช้งานจากส่วนที่ไพรเวทที่สุด ไปยังพื้นที่ครัว มุมพักผ่อนนั่งเล่น จนไปจบที่ระเบียงเปิดโล่งทางทิศใต้ ที่ออกแบบให้ยื่นออกไป เพื่อสัมผัสกับภูมิทัศน์ของราวป่าได้เต็มอิ่ม แม้จะเป็นบานทรงกล่องที่ทำจากไม้ดีไซน์เรียบง่ายขนาดเล็ก แต่ก็สร้างความเซอร์ไพร้ส์ให้ เพราะภายใต้หลังคาทรงจั่วที่ครอบอยู่นั้น ผู้ออกแบบยังออกแบบพื้นที่เผื่อไว้สำหรับเป็นห้องนอนอีกหนึ่งห้องบนชั้นสอง ซึ่งมีช่องหน้าต่างกระจกเล็ก ๆ ให้สามารถมองออกไปสัมผัสวิวสีเขียวได้จากมุมสูง สำหรับในวันที่อากาศปลอดโปร่ง หากโชคดีก็สามารถมองเห็นวิวทะเลได้ด้วย ออกแบบ : TATÚ Arquitectura (https://en.tatuarq.com/) ภาพ : Marcos Guiponi เรียบเรียง : Phattaraphon […]

บ้านไม้มินิมัลออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ

บ้านไม้ ภายใต้ในแนวคิด Passive Design ที่สถาปนิกออกแบบให้อยู่สบายด้วยการพึ่งพาแสงและลมธรรมชาติ ตั้งอยู่บนที่ดินติดถนนสายหลัก กลางย่านที่มีบ้านพักอาศัยสร้างขึ้นเพื่อปล่อยขายตลอดแนวถนนในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น Mushono House คือผลงานการออกแบบของสถาปนิก Yoshitaka Kuga ด้วยการนำแนวคิด Passive Design มาใช้ออกแบบ บ้านไม้ หลังนี้ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยรวม 119.529 ตารางเมตร ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อม โดยวางผังอาคารให้ด้านหน้าของบ้านหันออกสู่ทางทิศใต้ ส่วนด้านหลังออกแบบให้ตั้งอยู่ติดกับถนนสายหลัก เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้หน้าบ้านดูกว้างเเละโปร่งโล่งยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กับสร้างแนวป้องกันความร้อนด้วยการปลูกต้นไม้เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้าน ด้วยความตั้งใจที่อยากให้เจ้าของบ้านอยู่สบายด้วยการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก สถาปนิกจึงสร้างห้องนั่งเล่นให้เกิดบรรยากาศโล่งกว้างขนาดใหญ่ เด่นด้วยพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซ และออกแบบช่องเปิดให้เกิดแสงและเงา ช่วยสร้างความละมุนให้กับพื้นที่ทั้งสองชั้น เเถมยังมีมุมมองเปิดออกไปสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวนอกบ้านผ่านหน้าต่างบานใหญ่ทางทิศใต้ เเละสร้างพื้นที่นั่งเล่นเป็นชานเล็ก ๆ โดยออกแบบให้ชายคามีระยะยื่นคลุมพื้นที่ชานทั้งหมดไว้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันแสงแดดยามออกมานั่งเล่น สถาปนิกยังระบุอีกว่าด้วยวิธีการออกแบบนี้จะช่วยให้ภายในบ้านเย็นในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว ซึ่งผู้อาศัยจะสามารถเพลิดเพลินไปกับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายจากฟังก์ชันต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ได้พักผ่อนสายตาไปกับวิวสวน พร้อมร่มเงาและความสดชื่นจากเหล่าไม้ใบสีเขียว เปิดรับอากาศดี ๆ ได้ในทุกวัน ออกแบบ: Yoshitaka Kuga HEARTH ARCHITECTS http://hearth-a.com ภาพ: Yuta […]