room Archives - Page 11 of 58 - room
ประกิจ กัณหา

หลับให้สบาย ประกิจ กัณหา สถาปัตยกรรมที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติจะอยู่ในใจของเราเสมอ

“ผมอยากให้คนที่เข้ามาในพื้นที่นี้ได้ลดอัตตาของตัวเอง ได้อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับปัจจุบันผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตะผืนดินอย่างแผ่วเบา” บทสนทนาช่วงจังหวะหนึ่งของเรากับ คุณบั๊ม-ประกิจ กัณหา สถาปนิกผู้ออกแบบ “บ้านมะขาม” ที่บางน้ำผึ้ง ย่านบางกระเจ้า เกิดขึ้นเมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว แต่ความรู้สึกราวกับว่าเหมือนเราเพิ่งนั่งคุยกันไปเมื่อวาน   ด้วยท่วงท่าที่สบาย ๆ กับการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ทำให้เราสามารถนั่งสัมภาษณ์และพูดคุยกับคุณบั๊มถึงแนวคิดในการทำงานของเขาจนกินเวลาเป็นชั่วโมง ๆ ท่ามกลางสายลมพัดเอื่อย แสงแดดที่ค่อย ๆ อาบไล้ไล่เข้ามา พร้อมกับท่าทีกระตือรือร้นของเขาที่จะพาเราเดินไปดูดีเทลต่าง ๆ ที่เขาออกแบบด้วยความภูมิใจ   หนึ่งในคีย์เวิร์ดที่เรารู้สึกว่าคุณบั๊มต่างจากสถาปนิกคนอื่น คือการออกแบบที่เริ่มจากสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เป็นหลัก การอ่อนน้อมถ่อมตนและให้เกียรติธรรมชาติ ก่อนที่จะคำนึงว่างานที่จะออกแบบนั้นจะสวยแค่ไหน จะหน้าตาเป็นอย่างไร เขามักจะเลือกวางแผนก่อนเสมอว่าจะทำอย่างไรถึงจะเบียดเบียนต้นไม้ ใบหญ้า ทางน้ำเดิม วิถีชีวิตเดิมๆ เรื่อยไปจนถึงวัสดุที่เลือกมาใช้ก็ต้องทำลายธรรมชาติให้น้อยที่สุด   ถึงแม้ว่าครั้งนั้นมันจะเป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พูดคุยกับคุณบั๊ม แต่เราก็เชื่อว่าแนวคิดและความตั้งใจที่เขาพยายามสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติจะยังคงอยู่ และไม่ว่าเมื่อใดที่เรานึกถึง แค่ก้าวไปในสเปซนั้น ๆ ที่คุณบั๊มทิ้งไว้ เราก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงสารเหล่านั้นอย่างแน่นอน คุณบั๊มเป็นสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอมิติ ขึ้นในปี 2553 ด้วยความเชื่อที่ว่า สถาปัตยกรรมสามารถเข้าไปแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ งานออกแบบของพวกเขาจึงสะท้อนไปถึงการพยายามศึกษาและออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำถึงถึงมิติต่างๆ ในการรับรู้ของมนุษย์ รวมถึงบริบททางสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม […]

JARUN 69 บ้านหลังเล็ก ดีเทลลึก

บริบทร่วมสมัยของย่านฝั่งธนฯ ขับเน้นให้ บ้านหลังเล็ก เส้นสายเฉียบเรียบดูโดดเด่นเป็นพิเศษ ประตูรั้วเหล็กฉีกสีขาวโปร่ง เป็นเหมือนเลเยอร์บางๆ ที่ช่วยกรองสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา โดยไม่ทำให้พื้นที่ด้านหน้าดูอึดอัดจนเกินไป แม้ตัวบ้านจะดูเรียบง่าย แต่กว่าจะออกมาเหมาะเจาะลงตัวทั้งรูปลักษณ์ และการใช้งาน ย่อมผ่านการคิดออกแบบมาอย่างลงลึกในทุกดีเทล เมื่อสองปีก่อน คุณปิยะบุตร ซุ่นทรัพย์ วางแผนสร้างเรือนหอหลังใหม่บนที่ดินขนาด 47 ตารางวาในซอยเล็กๆ บนถนนจรัญสนิทวงศ์ จึงปรึกษาเพื่อนสถาปนิกอย่าง คุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ จาก Physicalist ผู้รับหน้าที่ถ่ายทอดทุกความละเอียดความต้องการให้ บ้านหลังเล็ก หลังนี้กลายเป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์           “ตอนแรกเจ้าของบ้านทำโมเดลสามมิติมาเรียบร้อยเพื่อให้ดูรูปแบบที่อยากได้ แต่ด้วยความที่ที่ดินแปลงนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก และเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แบบร่างเบื้องต้นเลยมีหลายจุดที่ผิดกฎหมายควบคุมอาคาร จึงต้องนำฟังก์ชั่นที่ต้องการทั้งหมดมาจัดวางใหม่” เมื่อโจทย์หลักคือการจัดสรรสเปซภายในให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในพื้นที่จำกัด โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย สถาปนิกจึงเริ่มต้นจากการกำหนด “แนวผนังทึบ” ที่เว้นระยะจากแนวเขตที่ดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโดยรอบด้านละ 50 เซนติเมตร* เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้สอยภายใน บ้านหลังเล็ก ให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้   ในกรณีนี้  ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ให้ก่อสร้างผนังทึบห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 50 […]

ผ่ามุมมองทิศทางงานคราฟต์ของ 8 ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา จากเวทีเสวนา CRAFT INNOVATION GURU PANEL

เป็นประจำทุก ๆ ปี ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT จะมีการจัดงานเสวนา Craft Innovation GURU Panel ขึ้นเพื่อหาแนวทางการทำงานและวางนโยบายส่งเสริมงานหัตถกรรมระหว่างประเทศ งานเสวนา Craft Innovation GURU Panel “Today Life’s Craft” ประจำปี 2561 ครั้งนี้จัดขึ้นที่ช่างชุ่ย โดยมีคุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) คุณแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) และคุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นโมเดอร์เรเตอร์ ซึ่งยังคงอัดแน่นไปด้วยสาระ วาทะ และทรรศนะที่เข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา สำหรับกูรูทั้ง 8 ท่าน ที่มารวมตัวกันที่ช่างชุ่ย ประกอบด้วย คุณดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ PDM, คุณวุฒิชัย หาญพานิช ผู้ก่อตั้งแบรนด์ HARNN, คุณธนพัฒน์ บุญสนาน สถาปนิกเจ้าของบริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด, คุณศรัณย์ เย็นปัญญา ผู้ก่อตั้ง 56th Studio, คุณวิสุทธิ์ […]

ฟื้นซากตึกแถวเก่าให้กลายเป็นบ้านพักอาศัยที่กลมกลืนไปกับบริบทเมืองสงขลา

เสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองเก่าสงขลาคือบรรดา ตึกแถวเก่า หลากหลายยุคที่เรียงรายอยู่ตลอดสองฟากฝั่งของถนนสายเก่าแก่เริ่มตั้งแต่ยุคจีนโบราณ จีนผสมไทย ชิโน -ยูโรเปียน อาร์ตเดโค และโมเดิร์นยุคแรกจึงเป็นเมืองที่น่าศึกษาวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Pakorn Architect เมื่อเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง “ร้านข้าวสตูเกียดฟั่ง” ต้องการหาที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับครอบครัว บรรดา ตึกแถวเก่า เหล่านี้จึงเป็นที่หมายตา ก่อนจะตัดสินใจซื้อตึกแถวไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปีบนหัวมุมหนึ่งของถนนนางงาม ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่อยู่เดิม เพื่อปรับปรุงเป็นบ้านพักอาศัยใหม่และเผื่อเป็นร้านขายข้าวสตูในอนาคต “ด้วยสภาพที่ทรุดโทรมมาก บ้านหลังนี้ได้ถูกรื้อทิ้งไป ซึ่งขณะนั้นสถาปนิกคนแรกพยายามจะสร้างกลับมาใหม่แต่ไม่สำเร็จ ความยากอยู่ที่ถ้าสร้างใหม่ เทศบาลมีข้อกำหนดให้เว้นระยะจากถนน 2 เมตร ทำให้พื้นที่ก่อสร้างไม่เพียงพอกับพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการ” คุณเป้ – ปกรณ์ เนมิตร-มานสุข สถาปนิกแห่ง PakornArchitect สถาปนิกรายที่ 3 ที่เข้ามารับผิดชอบออกแบบบ้านโบราณอันทรงคุณค่า กับความท้าทายของระยะร่น 2 เมตรตลอดความยาว 2 ด้านที่ติดถนนที่ทำให้พื้นที่ก่อสร้างหายไป จนดูเหมือนว่าบ้านหลังนี้จะไม่สามารถรื้อฟื้น หรือที่เรียกว่า “Reconstruction” กลับมาได้ “ไอเดียที่ปิ๊งขึ้นมาก็คือทำตึกปูนครึ่งหนึ่งและตึกไม้ครึ่งหนึ่ง โดยส่วนที่เป็นตึกปูนจะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมเต็ม และมีพื้นที่มากกว่าส่วนที่เป็นชั้น 2 ของบ้านไม้สามารถใส่ฟังก์ชันห้องนอนและห้องน้ำที่ต้องปิดทึบให้อยู่ในตึกปูนทั้งหมด […]

JUMBO ดีไซน์สตูดิโอใหม่เปรี้ยวจี๊ดน่าจับตา

ดีไซน์สตูดิโอ JUMBO สุดเปรี้ยวของสองสถาปนิกเพื่อนซี้ Justin Donnelly และ Monling Lee จากมหานครนิวยอร์ค ที่สะท้อนความสนุกสดใส และคาแรกเตอร์เฉพาะตัว อีกหนึ่งดีไซน์สตูดิโอหน้าใหม่ที่ห้ามพลาดจับตา Justin Donnelly ดีไซเนอร์หนุ่มจากย่านบรู๊กลินในนิวยอร์ค เขาจบการศึกษาด้านศิลปะจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเล็คชั่นผลงานของเขาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในนิวยอร์คอย่าง High End Luxury Furniture Fair (ICFF) รวมถึงงานอีเว้นท์ด้านดีไซน์อย่าง Sight Unseen ใน New York Design Week และ Wanted Design นอกจากนี้ยังได้รับเลือกเป็นดีไซเนอร์ไฟแรงจาก NYCxDesign Awards ในปี 2016 อีกด้วย แม้จะคว้าปริญญาด้านสถาปัตยกรรมมาหลายใบ แต่ความสนใจของเขากลับมุ่งไปที่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์และไลท์ติ้งอย่างไม่รู้ตัว เมื่อเขาพบว่าตัวเองถนัดการวาดภาพแบบ แอกโซโนเมตริก (Axonometric) หรือการวาดภาพโดยมีแกนหลักตั้งฉากกับเส้นแนวนอน และมีอีกสองแกนจะมีมุมเอียงลึกลงไปทั้งสองข้าง เช่น ภาพไอโซเมตริก ซึ่งมักใช้ในการแสดงภาพสิ่งของ มากกว่าที่จะวาดภาพทัศนียภาพ (Perspective) เพื่อแสดงแนวคิดตามแบบฉบับสถาปนิกทั่วไป และกระบวนการคิดที่แตกต่างนี้เองที่พาให้เขาเริ่มออกแบบชุดเฟอร์นิเจอร์ […]