ร้านอาหาร Archives - room

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมน้ำกลืนกับบริบท เด่นด้วยกำแพงกันดินจากกรวด

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแคว สะท้อนแรงบันดาลใจบริบทท้องถิ่น จากกำแพงกันดินหินกรวดที่ผสานไปกับรสอาหารในอาคารที่ถ่อมตนต่อบริบทของจังหวัดกาญจนบุรี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design ท่ามกลางบรรยากาศของป่าไม้ที่เรียงรายอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองกาญจนบุรี จะสังเกตเห็น KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำโครงสร้างสีน้ำตาลที่ได้รับการออกแบบโดย PHTAA living design อันเกิดจากการประกอบขึ้นของเหล็กและไม้จากที่มีในพื้นที่ ชวนต้อนรับแต่ยังซ่อนตัวในบริบทด้วยกรวดสีน้ำตาลซ้อนกันเป็นกำแพงด้านฝั่งริมแม่น้ำ ก่อเกิดภาพลักษณ์อันโดดเด่นแต่ยังอ่อนน้อมต่อสายน้ำที่ไหลผ่านและแมกไม้สีเขียวที่โอบล้อม องค์ประกอบทั้งหมดนั้นเกิดจากการตีความอย่างละเอียดลออโดยสตูดิโอออกแบบที่คอยมองหาและพลิกแพลงวัสดุรอบตัว ให้กลายมาเป็นภาษาการออกแบบอันแปลกใหม่ เช่นเดียวกับร้านอาหารพื้นที่ใช้สอย 800 ตารางเมตร แห่งนี้ ซึ่งก่อร่างจากวัสดุท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของบริบทของที่ตั้งโดยการผสานตัวอาคารให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำแควใหญ่ที่เป็นเส้นทางผ่านด้านหน้า ทำให้อาคารแห่งนี้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าถึงนอกเหนือจากการเข้าถึงที่ถนนจากอีกฝั่ง ที่ตั้งซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ มีลักษณะพื้นดินเป็นตลิ่งไล่ระดับความสูง 3 เมตร สถาปนิกจึงริเริ่มตั้งโจทย์จากตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเป็นทั้งความท้าทาย ในอีกแง่ก็เป็นการใช้ประโยชน์จากทิวทัศน์ธรรมชาติเสริมให้อาคารมีความน่าสนใจ อาคารมีแนวคิดป้องกันการกัดเซาะจากแม่น้ำด้วยกำแพงกันดินที่สร้างด้วยวัสดุท้องถิ่นอย่างกรวดแม่น้ำที่หาได้โดยรอบ จากที่แต่เดิมมักเป็นเพียงกำแพงคอนกรีตหนาหนักไม่เป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นทัศนอุจาดริมฝั่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง สถาปนิกพลิกแพลงกำแพงกันดินนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับสถาปัตยกรรม โดยการใช้กรวดให้เกิดเป็นฟังก์ชันที่น่าสนใจจากคุณสมบัติ อันได้แก่ ความคงทน น้ำซึมได้ยาก และมีสีเฉพาะตัวแต่ยังเป็นเนื้อเดียวกันกับบริบท วางซ้อนสร้างความเป็นส่วนตัวและรองรับน้ำหนักของอาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็นเหล็กและไม้ ในขณะเดียวกันกำแพงก็ถูกออกแบบให้ยังคงความโปร่งโล่งให้กับภายในร้านอาหารเพื่อความเย็นสบาย โอบกอดให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากวัสดุมุงหลังคาแบบโปร่งแสง ทว่ามีแผงระแนงไม้อยู่ใต้หลังคาช่วยกรองปริมาณแสงไม่ให้ภายในร้อนมากเกินไป นอกจากนั้น เพื่อให้อาคารกลืนไปกับผืนป่าโดยรอบจึงออกแบบความสูงของหลังคาให้อยู่ระดับที่พอดี ส่งผลให้มีพื้นที่ระเบียงยื่นออกมาจากแนวหลังคา […]

Tanatap Wall Garden จิบกาแฟในสวน เป็นส่วนตัวภายใต้วงล้อมกำแพงสีขาว

คาเฟ่อินโดนีเซีย Tanatap Wall Garden ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่และบาร์ในสวน พร้อมผนังสีขาวที่สร้างสุนทรียะและเอกลักษณ์ในงานออกแบบ สอดรับจินตภาพทางความงามของจังหวัด Central Java ในอินโดนีเซีย คลื่นของผนังสีขาวที่สร้างพื้นผิวอย่างมีสุนทรียะดังเช่นบทกวี คือเอกลักษณ์ของ คาเฟ่อินโดนีเซีย ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งได้รับการจัดวางตำแหน่งให้เกิดความเคลื่อนไหวอ่อนช้อยและเป็นเอกลักษณ์ คดโค้งไปตามพุ่มไม้สีเขียวทำให้เกิดมิติของธรรมชาติ ทั้งยังทำหน้าที่ช่วยแบ่งพื้นที่โซนคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ให้เป็นสัดส่วนได้อย่างแยบยล บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 2,500 ตารางเมตร ซึ่งมีต้นไม้สีเขียวปลูกเรียงราย ถูกเสริมด้านฟังก์ชันให้กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่คลุกเคล้าประโยชน์ใช้สอยทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ในแง่ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ สะท้อนมาจากคอนเซ็ปต์ที่ขมวดโดย RAD+ar สถาปนิกผู้รับโจทย์ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งเกิดจากการฟื้นฟูพื้นที่จอดรถเก่าใจกลางย่านพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่หลากหลายประโยชน์ใช้สอยที่กลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติกับภูมิทัศน์ดั้งเดิม โดยการตั้งต้นจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างง่าย คือ ‘ผนัง’ ที่พัฒนามาจากเส้นตรง 3 เส้น นำมาจัดวางให้แยกออกจากกันอยู่กลางสเปซ ย่อขยายให้เกิดความสูง-ต่ำที่ต่างกัน หมุนอย่างมีลูกเล่นไปตามพุ่มไม้เดิมที่แทรกอยู่เป็นหย่อม ๆ จนมีผลต่อการสร้างฟังก์ชันในการปรับแต่งรูปร่างของสเปซและผสมผสานกันกลายเป็นสวนผนังที่เจาะช่องเปิดให้อากาศถ่ายเท นอกจากนั้น สวนผนังยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้ร่มเงาเพื่อลดการใช้พลังงานภายในตัวอาคารที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ร้อนชื้น ขับเน้นให้ร้านอาหารกึ่งบาร์และคาเฟ่แห่งนี้เกิดความสวยงามและฟังก์ชันที่ดำรงไว้ซึ่งความยั่งยืน บริเวณทางเข้ามีสวนสีเขียวต้อนรับและสามารถเดินไปพักผ่อนที่สวนบริเวณด้านหลัง เมื่อลัดเลาะจากสวนด้านหน้าจะมองเห็นเงาสะท้อนของแมกไม้จากบ่อน้ำขนาด 800 ตารางเมตร […]

CUPPA COTTAGE ร้านอาหารสุราษฎร์ธานี ตีความสไตล์คอตเทจใหม่ ให้ทุกมื้อเหมือนมาดินเนอร์ในร้านหรู

ร้านอาหารสุราษฎร์ธานี Cuppa Cottage รีแบรนดิ้งร้านอาหารจากเคยอยู่ในปั๊มน้ำมัน สู่ความพรีเมียมแบบแคชวลไดนิ่งสุดหรูหรา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: party/space/design สำหรับคนในท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช น่าจะคุ้นหูกับร้าน Cuppa Cottage ร้านอาหารสุราษฎร์ธานี ที่เปิดสาขาภายในปั๊มน้ำมันของพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัดเป็นอย่างดี คราวนี้ทางร้านขอพาตัวเองออกมาสู่พื้นที่นอกปั๊มน้ำมันดูบ้าง กับสาขาใหม่กับการเปิดร้านแบบสแตนอโลนตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจอยากรีแบรนดิ้งแบรนด์ Cuppa Cottage Cafe’&Bistro ให้มีความความพรีเมียมมากขึ้น กับบรรยากาศการออกแบบตกแต่งร้านที่ตีความคำว่า “Cottage” ใหม่ สู่ร้านอาหารสไตล์หรูหราแต่เข้าถึงง่าย ผ่านการออกแบบโดย party / space / design จาก Cuppa Coffee คาเฟ่สีขาว-แดง ลูกค้าสามารถเดินเชื่อมถึงกันมายังร้านอาหาร Cuppa Cottage ได้เพียงไม่กี่ก้าว มีสวนเอ๊าต์ดอร์เล็ก ๆ คั่นกลาง เพื่อส่งต่อและรับช่วงบรรยากาศระหว่างกันและกัน เรียกว่าสั่งกาแฟเสร็จแล้ว สามารถมารับประทานอาหารมื้อหนักต่อที่ร้านอาหาร Cuppa Cottage ได้เลย เปลี่ยนผ่านอารมณ์ด้วยโทนสีของอาคารทั้งสองหลังที่แตกต่างกัน จากอาคารสีขาว-แดง สู่อาคารสีดำเข้มขรึม ตีความคำว่าคอตเทจให้ดูไม่เชย […]

แหลมเจริญซีฟู้ด เอกมัย พักใจด้วยอาหารทะเลสดใหม่ ในบรรยากาศท่าเรือทะเลระยอง

ยกบรรยากาศท่าเรือแบบไทย ๆ แต่ใส่ความเป็นสากลลงไป ให้กลายเป็น Everyday Dinning ที่ไม่ว่าจะมากับครอบครัว หรือนั่งพักผ่อนในยามเย็นก็เหมาะสม ออกแบบด้วยฟีลไม้คล้ายสะพานปลา และท่าเรือโบราณ แต่งเติมด้วยรูปแบบ Tectonic ที่สื่อถึงความรายละเอียดคล้ายงานของช่างต่อเรือ ท่ามกลางเนินหญ้าที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเกลียวคลื่นของแหลมเจริญ จังหวัด ระยอง โครงการ Ekkamai Dining Neighborhood เป็นพื้นที่ Life Style Mall แห่งใหม่ ในย่านเอกมัย ซึ่งใส่ใจกับการออกแบบที่ประสานวิถีการใช้ชีวิต สู่พื้นที่สีเขียวในบรรยากาศสบาย ๆ คล้ายความเป็นย่านการค้าในรูปแบบร้าน Stand Alone เหมือนย่านสยามสแควร์ หรืออินทราสแควร์ในอดีตก่อนการมาของความนิยมโครงการแบบ ห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน จากภายนอก แหลมเจริญซีฟู้ด เอกมัย จะตั้งอยู่ด้านหน้าของโครงการ มองเห็นเป็นอาคารไม้อย่างเด่นชัด แต่แท้จริงแล้วอาคารหลังนี้ใช้การรีโนเวตอาคารเก่าในพื้นที่โดยเลือกใช้การปิดผิวเปลือกอาคารทั้งหมดด้วยไม้เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้กลายเป็นร้านอาหารที่ดูอบอุ่น และเชื้อเชิญ พื้นที่โดยรอบนั้น ออกแบบให้เป็นทางเดินที่เลี้ยวลัดไปกับเนินหญ้าที่มองคล้ายเกลียวคลื่นน้อยใหญ่ สร้างความรู้สึกที่เป็นพลวัตรให้กับบรรยากาศ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเกริ่นนำบรรยากาศของท้องทะเล ประกอบไปกับโคมไฟเสาไฟที่ดูคล้ายกับไม้หลักผูกเรือที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ก่อนที่ทุก ๆ คน จะได้เดินเข้าไปสู่ท่าเรือแห่งนี้ เมื่อเดินเข้าสู่ภายใน พื้นที่แรกที่พร้อมต้อนรับทุกๆคนคือบาร์ ในบรรยากาศ Seaside […]

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion จุดผสมที่ลงตัวของร้านไฟน์ไดนิ่ง และBed & Breakfast

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion คือบ้าน ร้านอาหาร และที่พักแบบ Bed and Breakfast ของเชฟแทน-ภากร โกสิยพงษ์ กับนิยาม Off–beat Asian ที่นำมาใช้ในแง่สถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายแบบชิโน-โปรตุกีส ผสมผสานความร่วมสมัยจากประสบการณ์การเดินทางในหลากหลายประเทศ แต่งแต้มเอกลักษณ์อย่างอาคารย่านเอกมัย-ทองหล่อให้โดดเด่นและแตกต่าง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Storage Studio จากจุดเริ่มต้นของการมุ่งหน้าสู่อาชีพ “เชฟ” คุณแทน-ภากร โกสิยพงษ์ เจ้าของร้าน The GOAT Greatest Of All Time และร่วมกับพี่น้องอีก 2 ท่านในการบริหาร Wanyu mansion ร่วมกัน ที่นี่เปรียบเสมือนบทใหม่ของการทำงานเลยทีเดียว เพราะก่อนหน้านี้คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งในการไปทำงานในต่างประเทศ การได้ร่วมกับเพื่อนเปิดร้านอาหาร “Ekamian” และการได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาร้านอาหารให้กับร้าน One Ounce for Onion และ OOOBKK จนวันนี้รูปแบบสไตล์ได้ลงตัวพร้อมนำเสนออย่างชัดเจนในชื่อของ […]

CHERNYI บาร์ที่ใช้แสงไฟในการดึงดูดใจคุณประหนึ่งเป็นแมงเม่าตัวน้อย

บาร์ CHERNYI ตั้งอยู่ยังจุดศูนย์กลางของเมืองคาร์คิฟ ประเทศยูเครน โดยวางตัวอยู่ในชั้นล่างของอาคารที่พักอาศัย โดยก่อนตัดสินใจรีโนเวตพื้นที่นี้ เจ้าของได้ทำการรื้อพาร์ทิชั่นเดิมออกทั้งหมด แล้วขยายช่องแสงด้วยการทลายหน้าต่างให้มีความสูงเพิ่มขึ้นจากพื้นจรดฝ้าเพดาน ก่อนจะแทนที่ด้วยกระจกสี รวมถึงทำประตูทางเข้าให้สามารถเข้าถึงได้จากถนนหลัก สำหรับความท้าทายในการรีโนเวตร้าน CHERNYI ครั้งนี้ นั่นก็คือโครงสร้างเสา 2 ต้น ที่ยังคงอยู่กลางพื้นที่ สถาปนิกจึงแบ่งการใช้งานทั้งหมดออกเป็นโซนเล็ก ๆ โดยแต่ละโซนจะมีฟังก์ชันที่ต่างกันออกไป โดยมีแนวคิดที่มาจากการสังเกตพฤติกรรมของแมงเม่าที่มักหลงเพริดไปกับแสงสี มาใช้ในการออกแบบพื้นที่ที่มีทั้งมืดและสว่างในการดึงดูดผู้คน “Chernyi” ถูกออกแบบสเปซให้มีแสงและเงาซึ่งเป็นที่มาของสีดำ สะดุดตาด้วยการเพิ่มพื้นผิวสะท้อนแสงเรียบลื่นในส่วนของเคาน์เตอร์เพื่อเสริมลุคให้ดูหรูหราและสร้างมิติที่หลากหลายลุ่มลึก โดยเท็กซ์เจอร์ที่เห็นเกิดจากความร่วมมือกับ TSEKH ในการสร้างผนังใหม่กับผิวสัมผัสทรายควอตซ์สีดำ ซึ่งเกิดจากการทดลองสัดส่วนระหว่างผนังทรายกับผนังแบบทาสี จนเกิดเป็นภาพในอุดมคติในที่สุด และเพื่อลดทอนความแข็งกระด้างของพื้นผิวทราย จึงได้เพิ่มสเตนเลสขัดเงาลงไป ซึ่งต้องใช้มืออาชีพและความชำนาญในการทำเป็นพิเศษ ทีมผู้ออกแบบจึงตัดสินใจสะท้อนความเป็นมืออาชีพในการชงกาแฟและค็อกเทลผ่านผิวสัมผัสนี้ เราจึงเห็นผิวสัมผัสดังกล่าวปรากฏอยู่บนทั้งพื้นผิวของเฟอร์นิเจอร์ ผนัง และฝ้าเพดาน เพื่อสร้างการสะท้อนที่น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ โดยการทำฝ้าเพดานซ้อนอีกชั้นในระดับที่ต่ำลงมานั้น ก็ยังช่วยให้เกิดช่องว่างสำหรับใช้ซ่อนท่อระบายอากาศและหลอดไฟ ก่อให้เกิดเอ็ฟเฟ็กต์ดึงดูดใจให้หลงใหลเข้าไปกับแสงสีแบบไม่รู้ตัว ออกแบบ: Ponomarenko bureau ภาพ: Ivan Avdeenko photography เรียบเรียง: BRL ESCAPE BANGKOK เติมอารมณ์ให้สายปาร์ตี้ไปกับบีชบาร์สไตล์บาหลี CACTUS BANGKOK […]