Focus Archives - Page 4 of 11 - room

เสื้อ “คนเลี้ยงช้าง” ที่บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมโดย RENIM PROJECT

แบรนด์แฟชั่นที่ยั่งยืนอย่าง RENIM PROJECT บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมไทยผ่านเสื้อผ้ามาแล้วหลากหลายคอลเล็กชั่น ไม่ว่าจะเป็นสายไฟในกรุงเทพฯ SS19 คนเก็บขยะรีไซเคิล FW 19 ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง SS20 และล่าสุดสำหรับคอลเล็กชั่น Fall/Winter2020 หรือในชื่อว่า “Dark Forest” ที่ได้ร่วมเดินแฟชั่นโชว์ที่เวียนนาแฟชั่นวีค ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีแรงบันดาลใจจากหนังเรื่อง “คนเลี้ยงช้าง” โดย ม.ล.ชาตรีเฉลิม ยุคล ปี 2533 นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี เป็นคนเลี้ยงช้างชื่อนายบุญส่ง และขี่ช้างป่าชื่อ แตงอ่อน ที่คอยลากไม้จากคนลักลอบตัดไม้ เรื่องราวในหนังเป็นการต่อสู้ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับคนที่ลักลอบตัดไม้ป่า โดยมีนายทุนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ท้ายที่สุดแล้วแตงอ่อนได้คอยขับไล่พวกลักลอบตัดไม้ไปจนพ้น เพื่อปกป้องผืนป่าไว้ โดยเรื่องราวในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อุทิศให้แก่ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติไทย ด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับช้างและป่าไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อคอลเล็กชั่นว่า “Dark Forest” เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงช้างป่าไทยที่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังที่เห็นในข่าวว่า ช้างถูกรถชน ถูกล่างา และต้องตายจากการย้ายแหล่งหาอาหาร เพราะป่าไม้ถูกทำลาย […]

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

ผลงานศิลปะ DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์จัดแสดงในงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ณ BACCข้อมูลเพิ่มเติม : bkkartbiennale.com หากจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าสนใจในงาน BAB 2020 หรือ Bangkok Art Biennale 2020 ก็คงจะต้องบอกว่ามีมากมายดารดาษ แต่ถ้าจะมองหาผลงานศิลปะที่น่าจะเปรียบเปรยและเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้ของไทยได้อย่างดี (แบบที่ไม่ได้ตั้งใจให้จังหวะการแสดงงานมาประจวบเหมาะกันเช่นนี้) ก็คงต้องยกให้ผลงานที่มีชื่อเรียกว่า DRAGONERPANZER โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ กับ รถถังเซรามิกที่กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ศิลปะเคยมีค่ามากกว่ากองทหารม้ากว่า 600 นาย! ผลงานประติมากรรมเซรามิก DRAGONERPANZER (โดย วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์) ชุดนี้ เกิดจากความรู้สึกประทับใจการใช้เครื่องลายครามของจีนจากราชวงศ์หมิงและชิงแลกกองทหารม้า วศินบุรีจึงสร้างรถถังจากเซรามิกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยนมูลค่าและเงินตรา ในขณะที่แจกันมังกรสีน้ำเงินขาวถูกเรียกว่ามูลค่าทางการเงิน รถถังเซรามิกจะเป็นของสะสมล้ำค่า ในขณะที่รถถังทหารจะกลายเป็นขยะโลหะที่จะถูกขายเป็นเศษเหล็ก “ครั้งแรกที่ได้อ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากหนังสือ กระเบื้องถ้วย กะลาแตก ของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ที่กล่าวถึงกษัตริย์ Friedrich August Iเจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนี […]

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]

Art in the PARQ พางานศิลป์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

ใครที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศฝั่งยุโรปหรือบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวันเอง ก็มักเห็นบ้านเมืองเขาเต็มไปด้วยงานศิลปะจัดวางประดับตกแต่งอยู่ทั่วเมืองให้ได้เสพและเข้าถึงกันจนเป็นเรื่องปกติ จนบางทีก็นึกอิจฉา…แต่วันนี้กรุงเทพฯของเราได้มีโปรเจ็กต์ที่หอบเอา Installation Art เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายกลางเมืองกรุงที่โครงการ The PARQ The PARQ คือโครงการไลต์สไตล์มิกซ์ยูส ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติและไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วย “งานศิลปะ” จึงชวนศิลปินชาวไทย 3 ท่าน ที่มีผลงานโดดเด่นมาสร้างงาน Installation Art ที่จะนำมาวางตามจุดต่าง ๆ ในโครงการ โดยทั้งหมดได้มีการเตรียมการและวางแผนไว้ตั้งแต่แรกพร้อม ๆ กับการก่อสร้าง ผลงานทั้งสามชิ้นจึงถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเจาะจงต่อสเปซนั้น ๆ โดยงานนี้ได้ศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” ประกอบไปด้วย 5 ผลงาน ได้แก่ศิลปินไทย 3 ผลงาน คือ “เกื้อกูล” โดยศิลปิน พงษธัช อ่วยกลาง, “The Cradle” โดยศิลปิน อ้อ สุทธิประภา, “The Cocoon” โดยศิลปิน สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ รวมไปถึงอีก 2 […]

รถขายของเคลื่อนที่ เพื่อไปหาคุณแม้ต้องข้ามเขาหรือฝ่าโควิด โดย Muji(Japan)

รถขายของเคลื่อนที่ แบบกระบะสี่ล้อเล็กแขวนของพะรุงพะรังอาจเป็นภาพชินตาของชาวไทยเรา บ้างก็เรียกรถพุ่งพวง บ้างก็เรียกรถขายผักขายหอย ตามแต่ของที่หามาขาย เมื่อไม่นานมานี้ อ่าน : บ้านมินิมัลในแบบมูจิที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเมือง Sakata ในจังหวัด Yamagata และ Muji แบรนด์มินิมัลขวัญใจคนชอบความน้อยแต่มากสัญชาติญี่ปุ่นได้กำเนิด Sakata Project ขึ้น เพื่อลดภาระการต้องเดินทางไปซื้อหาของใช้จำเป็น ตั้งแต่เดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวเมืองที่เป็นผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ประกอบกับพื้นที่ซึ่งเป็นเขตภูเขาของเมือง การนำรถสี่ล้อเล็กออกไปพบปะชาวเมืองจึงนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่น่ารัก ซึ่งแนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นมาจากการลงพื้นที่ศึกษากลุ่มผู้บริโภคในโครงการ “Lifestyle Organizing School” นั่นเอง มากกว่านั้น ด้วยภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นก็ยังไม่ใคร่ปลอดภัยนัก การมีข้าวของเครื่องใช้และสินค้าต่างๆมาจำหน่ายถึงหน้าบ้านก็เป็นสิ่งดีๆที่ทำให้ผู้คนยิ้มแย้มได้มากกว่าเดิม และมากกว่านั้น จากปากคำของพนักงานที่ขับรถพุ่มพวงเหล่านี้ “มันทำให้เราได้เชื่อมโยงเข้าหาผู้คนมากขึ้น เราได้รู้จักพวกเขา ได้เห็นบ้านเรือนและชีวิตของพวกเขา เราไม่ใช่แค่พนักงานขายอีกต่อไป” ก็เป็นมุมน่ารักที่รถคันเล็กๆเหล่านี้ทำให้เกิดขึ้น แม้ว่าจะดูเชยๆไปบ้างกับการขับรถเร่ขายของ แต่จริงๆแล้วเราสามารถเช็คได้ตลอดว่ารถเหล่านี้กำลังมุ่งหน้าไปที่ใดบ้าง ตารางการเดินทางเป็นอย่างไร หรือแม้แต่รีเควสได้เสียด้วยซ้ำกับสินค้าที่ต้องการก็เป็นสิ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานความสะดวกให้กับวิธีการเดิมๆได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างน่าสนใจ อยากให้มีรถ Muji วิ่งขายของในไทยตามต่างจังหวัดบ้างเหมือนกันนะ อาจเป็นของ OTOP ปลาเค็ม หม่ำ แหนม อะไรก็ว่าไป […]

TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย

TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย Best of Residential Design “Twisted House “ by Architect 49 House Design (A49HD) บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา […]

หอเก็บน้ำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่พระตะบอง

เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

CASA DE LASESTRELLAS โรงเรียนทางเลือกในคอสตาริกา ที่ออกแบบให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มร้อย

ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]

VARIVANA RESORT KOH PHANGAN สถาปัตยกรรมปูนเปลือยกลางป่ามะพร้าว

VARIVANA (วารี-วานา) แปลตรงตัวว่า สายน้ำและผืนป่า ซึ่งกลายเป็นชื่อของ โรงแรมเกาะพะงัน ระดับสี่ดาวกลางป่ามะพร้าวบนเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งในจุดหมายปลายทางสถานที่ท่องเที่ยวของเหล่าคนรักทะเล DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: POAR  แต่ด้วยความที่ขึ้นชื่อเรื่องทะเล เหล่าผู้ประกอบการ โรงแรมเกาะพะงัน จึงต่างพากันจับจองที่ดินติดทะเล หรือใกล้ทะเลให้ได้มากที่สุดเพื่อดึงดูดเหล่านักท่องเที่ยว และนั่นทำให้ที่นี่แตกต่าง ไม่ใช่แค่เพราะเป็นโรงแรมที่อยู่ท่ามกลางป่ามะพร้าวเท่านั้น แต่งานดีไซน์ของที่นี่เขาตั้งใจมอบประสบการณ์ให้แขกผู้เข้าพักในรูปแบบใหม่ โดยมีสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างน่าสนใจ จากข้อจำกัดด้านที่ตั้งที่ไม่ได้อยู่ติดทะเล ผู้ออกแบบจาก บริษัท Patchara + Ornnicha Architecture นำโดย คุณพัชระ วงศ์บุญสิน และ คุณอรณิชา ดุริยะประพันธ์ จึงตั้งใจสร้างจุดเด่นให้โรงแรมด้วยการนำความเรียบง่ายมาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่แขกผู้เข้าพัก เริ่มตั้งแต่ค้นหาศักยภาพของที่ตั้งซึ่งเต็มไปด้วยป่ามะพร้าว และลักษณะความชันของพื้นที่ที่ดูคล้ายกับภูเขา หลังจากทำการสำรวจอย่างละเอียดแล้ว ทีมสถาปนิกพบว่าบนที่ดินของโครงการยังมีจุดที่สามารถมองเห็นวิวทะเลได้อย่างสวยงาม จากศักยภาพที่เหมาะสมตำแหน่งที่ดินนี้จึงเป็นที่ตั้งของโรงแรมทั้ง 4 อาคาร โดยวางไว้ด้านหลังของที่ดินที่อยู่บนเนินเขา สร้างประสบการณ์การเข้าถึงที่แปลกใหม่ราวกับที่นี่ถูกซ่อนตัวไว้ โดยแขกที่เข้าพักจะต้องเดินผ่านป่ามะพร้าว ก่อนจะเข้าถึงส่วนต้อนรับของโรงแรม อีกทั้งตำแหน่งที่สร้างอาคารยังเอื้อให้ห้องพักสามารถมองเห็นวิวทะเลที่สุดขอบฟ้าได้ ส่วนฟังก์ชันการใช้งานของโรงแรม ประกอบด้วยอาคารส่วนกลาง และอาคารห้องพัก 3 อาคาร มีห้องพักให้บริการทั้งหมด 40 […]

THE MUSTANG BLU ย้อนศตวรรษสู่เบื้องหลังความเจ็บปวดที่งดงาม

อาคารโคโลเนียลอายุมากกว่าศตวรรษบนถนนไมตรีจิตต์ ย่านเยาวราชได้รับการชุบชีวิตพร้อมประโยชน์ใช้สอยใหม่ในฐานะโรงแรม ที่จะพาทุกคนย้อนเวลาสู่บรรยากาศความงามเมื่อครั้งอดีตผ่านการเปิดเปลือยร่องรอยแห่งกาลเวลา The Mustang Blu คือสาขาใหม่ล่าสุดของ The Mustang Nero โรงแรมสุดเท่ย่านพระโขนงซึ่งได้รับการกล่าวขวัญถึงมาโดยตลอด “ตอนแรกตั้งใจให้ที่นี่ชื่อ The Mustang Blues สื่อถึงเพลงบลูส์ที่บอกเล่าความเศร้าและความเจ็บปวดที่งดงามของชาวผิวสี เชื่อมโยงกับ The Mustang Nero ด้วย แต่ด้วยความที่อาคารนี้มีอายุร้อยกว่าปี จึงถือเป็นโปรเจ็คต์ที่ยากมากจนบางทีเราก็ท้อ เลยเปลี่ยนมาตั้งชื่อว่า The Mustang Blu ซึ่งแปลว่าสีฟ้าในภาษาอิตาเลียน ให้ฟังดูสดใสขึ้น” ตลอดหลายปีที่ผ่านมา คุณจอย-อนันดา ฉลาดเจริญ ตามหาทำเลใหม่สำหรับขยับขยายโรงแรมแห่งที่สอง จนมาพบอาคารแห่งนี้ ซึ่งเดิมใช้ประกอบการสถานบันเทิงชื่อดังของย่านนี้มาหลายทศวรรษ มาถึงวันนี้อาคารถูกเปลี่ยนมืออีกครั้ง และด้วยสายตาอันเฉียบคมที่มองทะลุสู่ความงามภายใต้คราบความทรุดโทรม กอปรกับปณิธานแรงกล้าที่จะอนุรักษ์อาคารเก่าจากการรื้อทำลาย คุณจอยจึงทำให้ The Mustang Blu เผยโฉมใหม่อย่างสง่างามเพื่อพลิกฟื้นมุมมืดของย่านนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง “เป้าหมายในการทำอาคารนี้คือการเติมคำว่า “สุด” ในทุกเรื่อง ทั้งดีที่สุดต่ออาคาร สวยที่สุด ประหยัดที่สุดเพราะเราไม่มีการระดมทุนมากมาย คำนึงถึงใช้ทรัพยากรและแรงงานคนให้มีประสิทธิภาพที่สุด ปรับพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ลดการก่อสร้างใหม่ให้น้อยที่สุด และรักษาเวลาให้มากที่สุด ดังนั้น อาคารนี้จึงใช้เวลาในการปรับปรุงไม่ถึง […]

THE SHOPHOUSE 1527 เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัยผ่านร่องรอยในความดิบ

ร่องรอยเก่าที่สุดที่พอจะระบุความเป็นมาของ อาร์ตสเปซ ในห้องแถวหมายเลข 1527 ภายใน “ชุมชนสามย่าน” ย่านชุมชนการค้าเก่าแก่กลางกรุงเทพฯ ได้ คือรอยโบกปูนรอยหนึ่งซึ่งอุดปิดทับช่องโหว่ขนาดใหญ่ที่กว้างมากพอจนสามารถมองทะลุเห็นผู้ใหญ่ได้แบบครึ่งตัวบนผนังชั้นล่าง เหนือรอยโบกปูนนั้นมีตัวเลขสลักไว้ตามลำดับคือ “31, 1, 2513” ซึ่งไม่ใช่เลขบอกใบ้ให้โชค หรือเลขเดาสุ่มไร้ที่มาประสาคนมือบอน แต่มันคือตัวเลขบอกวัน – เดือน – ปี ที่เจ้าของบ้านสร้างช่องโหว่บนผนังนี้ขึ้นอย่างไม่ตั้งใจเมื่อราว 50 ปีก่อน แล้วทำการซ่อมแซมอุดช่องโหว่นั้นเสีย จนกระทั่งปัจจุบันมันได้กลายเป็นหนึ่งในจุดไฮไลต์ให้แก่ “The Shophouse 1527” พื้นที่ทดลองชั่วคราวสำหรับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์หรือ อาร์ตสเปซ แห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวขึ้นได้ไม่นาน   “ตอนที่เข้ามารีโนเวตเราพบร่องรอยความเก่าแก่ในแต่ละจุดของห้องแถวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ” คุณนัฐพงษ์ พัฒนโกศัย หนึ่งในผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Cloud-Floor ผู้เป็นทั้งเจ้าของโครงการและผู้ออกแบบพัฒนาห้องแถวนี้ ร่วมกับอีกสำนักงานออกแบบ IF (Integrated Field) เล่าให้ฟังถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงอาคาร “พอเริ่มตั้งใจสังเกต เราจะพบเห็นร่องรอยต่าง ๆ ปรากฏอยู่บนผนังมากมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นร่องรอยของการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นรอยเขม่า รอยสี และคราบเปื้อน รวมถึงรอยที่เกิดจากการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือแขวนข้าวของ เรารู้สึกว่ารอยเหล่านี้ไม่ต่างอะไรจากประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัย […]

RED DIAMOND SPECIALTY LAB อาณาจักรดิบเท่ของผู้คลั่งไคล้กาแฟ

Red Diamond Specialty Lab คาเฟ่สีสนิมดิบเท่ที่รีโนเวตจากอู่รถเก่า เป็นเหมือนอาณาจักรกาแฟแบบครบวงจร บอกเล่าตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นจนกลายมาเป็นหยดกาแฟหอมกรุ่น ผ่านวัสดุเปลือยผิวอย่างเหล็ก อิฐและไม้หมอนรถไฟ หลังจากได้รับผลตอบรับอย่างล้นหลามจากสาขาลาดพร้าว 71 มาวันนี้ทางร้านตัดสินใจขยายสาขาเพิ่มเติมมายังซอยโยธินพัฒนา 3 ที่ครบวงจรและมากด้วยความหมายยิ่งกว่าเคย กับ Red Diamond Specialty Lab ร้านกาแฟที่เป็นมากกว่าร้านกาแฟทั่วไป เพื่อพาทุกคนจมดิ่งไปกับเรื่องราวของกาแฟ ตั้งแต่กระบวนการแรกจนออกมาเป็นกาแฟรสเยี่ยมที่อยู่ในแก้วตรงหน้า บนพื้นที่กว่า 1 ไร่ จากเดิมที่เคยเป็นอู่รถเก่ามานานกว่า 8 ปี มาวันนี้ได้รับการเปลี่ยนโฉมให้กลายเป็นอาณาจักรแห่งใหม่ของคนรักกาแฟ โดยใช้เวลาถึง 9 เดือนในการออกแบบและตกแต่ง ประกอบด้วย 4 โซนสำคัญ ได้แก่ โรงคั่วกาแฟ พื้นที่ผลิตสินค้ากาแฟ ห้องแห่งการเรียนรู้ของบาริสต้าเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบ Black glove test การันตีคุณภาพก่อนรับหน้าที่ชงกาแฟให้ลูกค้า และส่วนร้านกาแฟที่ลดทอนเส้นสายจากเพชรมาเป็นอาคารดีไซน์เท่ ๆ พร้อมกับสวนสวยรอบร้านที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ช่วยสร้างร่มเงาและความร่มรื่น มีต้นกาแฟจากเชียงใหม่และเชียงรายเป็นพระเอกกว่า 300 ต้น โดยในฤดูกาแฟออกดอกจะพร้อมใจกันส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วบริเวณ ทั้งนี้ก็เพื่อสื่อถึงต้นกำเนิดของกาแฟจากธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการคัดสรรสายพันธุ์ การคั่วอย่างพิถีพิถัน ไปจนถึงการชงกาแฟจากบาริสต้ามากฝีมือ นอกจากเรื่องของกาแฟแล้ว เรด […]

RANWAS SCHOOL อาคารเรียนกลางป่าที่ออกแบบมาเพื่อสู้กับสภาพอากาศอันโหดร้าย

อาคารเรียน ที่เห็นนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐวานูอาตู ประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ใกล้กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้จัก และด้วยความที่เป็นเกาะ จึงทำให้ที่นี่มักประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดเวลา จนกระทั่งปี 2015 ได้เกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนถล่มหมู่บ้านทำให้ที่นี่สูญเสีย อาคารเรียน ของหมู่บ้านไป เด็ก ๆ ต้องไปเรียนในที่พักพิงชั่วคราว จนกระทั่งองค์กร NGO ที่ให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูอาคารเรียนขึ้นมาใหม่ ให้ควบรวมฟังก์ชันห้องสมุดและออฟฟิศไว้ด้วยกัน โดยมีโจทย์ว่าต้องทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรงของที่นี่ได้ โปรเจ็กต์นี้ถูกส่งต่อให้กับ CAUKIN Studio ทีมนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อสังคม ทำการชักชวนอาสาสมัครเเละสถาปนิกท่านอื่น ๆ จากหลากหลายเชื้อชาติกว่า 15 คน มาทำงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เกิดเป็นความร่วมมือและมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้จนเเล้วเสร็จ โดยใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเท่านั้น ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่บนเกาะกลางหุบเขา ทำให้ที่นี่มีฝนตกแทบตลอดทั้งปี ส่งผลให้การเก็บรักษาหนังสือและอุปกรณ์การเรียนเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ทีมสถาปนิกจึงออกแบบอาคารที่ช่วยลดความชื้นสัมพัทธ์ ด้วยการเก็บหนังสือไว้ในห้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ โดยเป็นห้องปิดที่มุงด้วยเมทัลชีทสีดำช่วยเก็บกักอุณหภูมิภายใน ลดความชื้น ประกอบกับช่องว่างใต้หลังคาที่ช่วยให้อากาศพัดพาความชื้นออกไป รวมไปถึงชั้นวางหนังสือที่เว้นระยะห่างจากผนัง พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็นห้องเรียนแบบโปร่งโล่ง และห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งมีบันไดนำไปสู่ชั้นลอยขนาดกะทัดรัดเหนือห้องสมุด ช่วยให้เด็ก ๆ ได้หยิบหนังสือขึ้นไปนอนอ่านเล่นท่ามกลางแสงธรรมชาติในบรรยากาศสบาย ๆ ในส่วนของวัสดุเลือกใช้โครงสร้างไม้ ผนังไม้ไผ่ แผ่นพอลิคาร์บอเนต และหลังคาเมทัลชีท […]

SACICT CRAFT TREND GURU PANEL 2021 ระดมสมองผ่านเทรนด์ใหม่ของงานคราฟต์

FLUIDITY แนวโน้มการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ว่าด้วย การถ่ายเท และสอดประสานกันขององค์ความรู้แห่งของหัตถศิลป์อย่างไร้เส้นแบ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย และไร้กรอบจำกัด เมื่อเรามององค์ความรู้แห่งหัตถศิลป์ให้เปรียบเสมือนหยดน้ำโปร่งใสที่พร้อมเคลื่อนไหล หลอมรวม และเปลี่ยนแปรสีสันรูปทรงอย่างอิสระไปตามสิ่งรองรับ ไร้ซึ่งกรอบและกฎเกณฑ์ ไร้ซึ่งข้อจำกัดแห่งการประยุกต์สร้างสรรค์ เมื่อนั้นช่างฝีมือก็ย่อมปฏิบัติตนดุจธารน้ำใส ที่รินไหลสู่แหล่งความรู้ใหม่ ๆ และย่อมเกิดการต่อยอดพัฒนาขององค์ความรู้ได้อย่างไม่รู้จบ