Focus Archives - Page 3 of 9 - room

พาส่องงานออกแบบพื้นที่ภายใน “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ใหม่ “จากผ้าไทย สู่ดีไซน์ร่วมสมัยที่แตกต่าง”

“ศูนย์ฯสิริกิติ์” หรือในชื่อเต็ม ๆ ว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center – QSNCC) เป็นศูนย์การประชุมตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก ติดกับสวนเบญจกิติ และโรงงานยาสูบเดิม “ศูนย์ฯสิริกิติ์” นับได้ว่าเป็นศูนย์การประชุมระดับนานาชาติตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร และมีการใช้งานอย่างเนืองแน่นตลอดมากว่า 30 ปี จนกระทั่งได้ปิดปรับปรุงไปในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา เพื่อยกระดับงานออกแบบศูนย์ฯสิริกิติ์ใหม่ทั้งหมด ให้รองรับกับความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป รวมทั้งขยายพื้นที่เพื่อรองรับและเชื่อมโยงกับการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากบริบทเมืองที่เปลี่ยนไป โดยมีพระราชดำรัส “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เป็นคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ในครั้งนี้นั่นเอง วันนี้เราได้รับโอกาสจาก คุณออ-อริศรา จักรธรานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ONION สำนักงานสถาปนิกที่โดดเด่นเป็นอย่างมากในด้านการออกแบบ “ความเป็นไทย” ให้ “ร่วมสมัย” ดังเช่นผลงานที่ผ่านมาอย่าง SALA Ayutthaya หรือร้านอาหารบ้านป้อมเพชร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงผลงานล่าสุด […]

เฟอร์นิเจอร์จากใย กัญชง อัด ทำเองได้ง่ายนิดเดียว สู่การใช้งานใหม่ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]

The Growing Pavilion สถาปัตยกรรมจากเห็ดรา

ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศอับชื้น มองไปที่โต๊ะก็พบว่า ขนมปังที่ซื้อมาวันก่อนราขึ้นไปเสียแล้ว หลังจากนำไปทิ้งก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ในโลกของงานออกแบบเราสามารถนำเห็ดรามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง? แล้วก็ไปเจอผลงานหนึ่งที่เคยจัดแสดงเมื่อปี 2019 ในงาน Dutch Design Week 2019 ซึ่งมีชื่อว่า The Growing Pavilion ความพิเศษของอาคารนี้ไม่ธรรมดาเพราะใช้ “เห็ดรา” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกันเลยทีเดียว เจ้าเห็ดราที่ว่านี้เรียกว่า Mycelium ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เส้นใยเห็ด” เจ้าเส้นใยนี่แหละที่ค่อยช่วยให้เห็ดหรือราสามารถยึดเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นผนังหรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ คล้ายรากของพืชไม้เลื้อย และด้วยการวิจัยกว่า 2 ปีของทีมงาน Company New Heroes ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นพันธุ์ที่มี Mycelium หนาแน่นแข็งแรงคล้ายแผ่นโฟมอย่างที่เห็น เป็นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการวัสดุเพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และในอนาคตอาจจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยาว์อีกด้วย อาคารแห่งนี้มีโครงสร้างหลักเป็นไม้รีไซเคิลที่นำมาทำเป็นโครงรูปทรงกระบอก จากนั้นจึงติดตั้งแผ่น Mycelium ลงไปตามช่องว่างของโครงสร้าง โดยที่แผ่นเห็ดราเหล่านี้ก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายสามารถเลี้ยงต่อให้ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตไม่แน่เราอาจได้เห็นอาคารที่ใช้เห็ดราเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและพื้นผิวอาคารไปพร้อมกันเลยก็เป็นได้ และสำหรับใครที่อยากสัมผัสของจริง เรามีข่าวดีเพราะ The Growing Pavilion จะไปจัดแสดงอีกครั้งที่ Floriade Expo […]

EI TERRENO COMMUNAL GARDEN ศาลาในสวน ดอกไม้ แหล่งเรียนรู้ของเด็กในชุมชนเมือง

ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน   ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน ในไอเดียแบบ “ด่านเก็บค่าผ่านทาง” เพื่อการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน เริ่มเป็นพื้นที่จำเป็นในช่วงนี้ของไทยเราอย่างมาก เพราะจากกรณีที่รัฐบาลไทย นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหมตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 100 ล้านโดส ครอบคลุมคนไทยจำนวน 50 ล้านคน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ให้สำเร็จภายในปี 2564 นั้น ทำให้เมื่อคำนวญถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้วจะพบว่า จากวันนี้ไปจนถึงสิ้นปีซึ่งก็คือ 200 กว่าวัน การฉีดวัคซีนจะต้องมีผู้รับวัคซีนถึงวันละ 450,000 โดสขึ้นไป จึงจะสำเร็จได้ ซึ่งปัจจุบันก็เรียกได้ว่ายังถือว่าห่างไกลอยู่หลายเท่านัก แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันไปเพราะยังมีอีกหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้ในที่สุด NBBJ บริษัทออกแบบชั้นนำที่มีออฟฟิสกระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ได้นำเสนอวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถกระจายการให้วัคซีนได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ด้วยการปรับช่องการจราจรหรือพื้นที่จอดรถ ให้กลายเป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนแบบ “Drive-through” หรือก็คือการขับรถเข้าไปรับวัคซีนแบบไม่ต้องลงมาติดต่อเลย ด้วยโครงสร้างผนังที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ออกแบบมาให้ปรับใช้กับลักษณะการจราจรโดยทั่วไปได้ทันที ขนส่งด้วยรถเทรลเลอร์และประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ผนังโค้งเหล่านี้จะมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับแพทย์และพยาบาลในการแจกจ่ายวัคซีนโดยง่าย สามารถนำไปติดตั้งตามพื้นที่สัญจรหรือลานจอดรถในทุกพื้นที่ของเมืองเมื่อผู้ต้องการรับวัคซีนขับรถมาถึงจุดจอด ด้วยระบบการลงทะเบียนออนไลน์ที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในรถสามารถเข้ารับวัคซีนได้แล้วนั้น ผู้รับวัคซีนก็เพียงแค่แสดง QR ยืนยันการอนุมัติการรับวัคซีนจากระบบ และเข้ารับวัคซีนในพื้นที่ใดก็ได้ที่มีศูนย์ “Vaccine Drive-through” เมื่อพยาบาลได้ฉีดวัคซีนให้แล้ว ก็นั่งดูวิดีทัศน์เพื่อสอบอาการ ก่อนจะขับออกไปสู่จุดหมายปลายทางในที่สุด และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวได้รับการปูพรมวัคซีนจนครบแล้วก็สามารถรื้อถอนโครงสร้างไปยังพื้นที่ต่อไปได้โดยง่าย การรับวัคซีนในรถเช่นนี้ ช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากการชุมนุมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน เอาเข้าจริง ถ้าคำนวญจากปริมาณรถที่วิ่งเข้า “ด่านเก็บค่าผ่านทางด่วน” […]

เจาะลึกสถานีกรุงเทพ สถาปัตยกรรมหลังคาโค้งกว้างที่สุดเมื่อ 105 ปีก่อน

50 เมตร คือความกว้างของหลังคาโค้งที่พาดช่วงยาวโดยไม่มีเสากลางของสถานีกรุงเทพ คงไม่น่าตื่นเต้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้ แต่เมื่อกว่า 105 ปีก่อนนั้น เป็นที่น่าตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในพระนครเลย และเชื่อไหมว่าโครงสร้างหลังคานี้ยังไม่เคยต้องซ่อมครั้งใหญ่เลยจนปัจจุบัน สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในยุคสร้างเมืองที่เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและศิลปสถาปัตยกรรมจากต่างชาติ จึงมีความผสมผสานและเป็นสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจพอๆกับสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานีต้นทาง เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเส้นทางไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อรักษาเอกราชในยุคล่าอาณานิคม และเป็นอีกจุดเปลี่ยนของเมือง เมื่อเกิดชุมทางการขนส่งขนาดใหญ่ ณ ทุ่งวัวลำพอง แห่งนี้ มารู้จัก สถานีกรุงเทพ ซึ่งมีรหัสสถานี 1001 ในอีกมุมมองกัน ลำดับการก่อสร้างและอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพ สถานีกรุงเทพ มีรูปแบบเป็นทรงประทุนเรือ หรือ อาร์คโค้ง หรือ ทรงกระบอกฝ่าซีกสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง วางผังอาคารเป็นรูปตัวอี (E) มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มีจุดเด่น คือ กระจกสีช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี มีนาฬิกาเรือนใหญ่ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านในเป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องบอกเวลาที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น นาฬิกาทั้งสองเรือนถูกสั่งทำพิเศษให้มีไฟส่องสว่างในตัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าปัด 120 เซนติเมตร และเข็มนาฬิกามีขนาดยาวประมาณ 60 เซนติเมตร อาคารที่มีอายุมากกว่าชั่วอายุคน และมีผู้คนเข้าใช้งานแบบที่เรียกได้ว่า “สมบุกสมบัน” […]

MAYDAY ผู้รังสรรค์ป้ายรถเมล์เปลี่ยนเมือง

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหนึ่งของคนเมืองในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ก็มีมากมายหลากรูปแบบ บ่อยครั้งที่การเดินทางเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่างง! จะขึ้นรถไปต่อเรือ หรือหาสายรถเมล์ที่ถูกต้องช่างยากเหลือเกิน MAYDAY ทีมนักออกแบบที่เรียกได้ว่าเป็น “นักสื่อสาร” จึงลุกขึ้นมาทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งยังเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านงานออกแบบ และ room ก็ได้มีโอกาสในการพูดคุยกับพวกเขาถึงมุมมองและวิธีคิดเพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น MAYDAY นักสื่อสารระบบขนส่งสาธารณะ room : MAYDAY คืออะไร? MAYDAY : “จริง ๆ คนชอบมองว่า เราเป็นนักออกแบบ แต่มากกว่านั้น เราทำเรื่องการพัฒนาสิ่งที่เป็นสาธารณะของสังคมมากกว่า ผ่านการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจ เก็บข้อมูล และทำวิจัย จนปลายทางมันออกมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ “สาธารณะ” ดีขึ้นได้ ในที่นี้พอเป็นป้ายรถประจำทาง จึงเป็นการพัฒนาให้กับ “ระบบขนส่งสาธารณะ” นั่นเอง” ระบบขนส่งสาธารณะแบบเชียงใหม่ room : ล่าสุดที่เห็นป้ายรถประจำทางใหม่ของเชียงใหม่ที่ทาง MAYDAY ได้ไปออกแบบไว้ ส่วนตรงนี้คิดว่า ต่างกับกรุงเทพฯ มากน้อยแค่ไหน MAYDAY : “อย่างในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ […]

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน

Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]

Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”

Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]

Art in the PARQ พางานศิลป์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

ใครที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศฝั่งยุโรปหรือบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวันเอง ก็มักเห็นบ้านเมืองเขาเต็มไปด้วยงานศิลปะจัดวางประดับตกแต่งอยู่ทั่วเมืองให้ได้เสพและเข้าถึงกันจนเป็นเรื่องปกติ จนบางทีก็นึกอิจฉา…แต่วันนี้กรุงเทพฯของเราได้มีโปรเจ็กต์ที่หอบเอา Installation Art เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายกลางเมืองกรุงที่โครงการ The PARQ The PARQ คือโครงการไลต์สไตล์มิกซ์ยูส ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติและไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วย “งานศิลปะ” จึงชวนศิลปินชาวไทย 3 ท่าน ที่มีผลงานโดดเด่นมาสร้างงาน Installation Art ที่จะนำมาวางตามจุดต่าง ๆ ในโครงการ โดยทั้งหมดได้มีการเตรียมการและวางแผนไว้ตั้งแต่แรกพร้อม ๆ กับการก่อสร้าง ผลงานทั้งสามชิ้นจึงถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเจาะจงต่อสเปซนั้น ๆ โดยงานนี้ได้ศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” ประกอบไปด้วย 5 ผลงาน ได้แก่ศิลปินไทย 3 ผลงาน คือ “เกื้อกูล” โดยศิลปิน พงษธัช อ่วยกลาง, “The Cradle” โดยศิลปิน อ้อ สุทธิประภา, “The Cocoon” โดยศิลปิน สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ รวมไปถึงอีก 2 […]

รถขายของเคลื่อนที่ เพื่อไปหาคุณแม้ต้องข้ามเขาหรือฝ่าโควิด โดย Muji(Japan)

รถขายของเคลื่อนที่ แบบกระบะสี่ล้อเล็กแขวนของพะรุงพะรังอาจเป็นภาพชินตาของชาวไทยเรา บ้างก็เรียกรถพุ่งพวง บ้างก็เรียกรถขายผักขายหอย ตามแต่ของที่หามาขาย เมื่อไม่นานมานี้ อ่าน : บ้านมินิมัลในแบบมูจิที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเมือง Sakata ในจังหวัด Yamagata และ Muji แบรนด์มินิมัลขวัญใจคนชอบความน้อยแต่มากสัญชาติญี่ปุ่นได้กำเนิด Sakata Project ขึ้น เพื่อลดภาระการต้องเดินทางไปซื้อหาของใช้จำเป็น ตั้งแต่เดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวเมืองที่เป็นผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ประกอบกับพื้นที่ซึ่งเป็นเขตภูเขาของเมือง การนำรถสี่ล้อเล็กออกไปพบปะชาวเมืองจึงนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่น่ารัก ซึ่งแนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นมาจากการลงพื้นที่ศึกษากลุ่มผู้บริโภคในโครงการ “Lifestyle Organizing School” นั่นเอง มากกว่านั้น ด้วยภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นก็ยังไม่ใคร่ปลอดภัยนัก การมีข้าวของเครื่องใช้และสินค้าต่างๆมาจำหน่ายถึงหน้าบ้านก็เป็นสิ่งดีๆที่ทำให้ผู้คนยิ้มแย้มได้มากกว่าเดิม และมากกว่านั้น จากปากคำของพนักงานที่ขับรถพุ่มพวงเหล่านี้ “มันทำให้เราได้เชื่อมโยงเข้าหาผู้คนมากขึ้น เราได้รู้จักพวกเขา ได้เห็นบ้านเรือนและชีวิตของพวกเขา เราไม่ใช่แค่พนักงานขายอีกต่อไป” ก็เป็นมุมน่ารักที่รถคันเล็กๆเหล่านี้ทำให้เกิดขึ้น แม้ว่าจะดูเชยๆไปบ้างกับการขับรถเร่ขายของ แต่จริงๆแล้วเราสามารถเช็คได้ตลอดว่ารถเหล่านี้กำลังมุ่งหน้าไปที่ใดบ้าง ตารางการเดินทางเป็นอย่างไร หรือแม้แต่รีเควสได้เสียด้วยซ้ำกับสินค้าที่ต้องการก็เป็นสิ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานความสะดวกให้กับวิธีการเดิมๆได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างน่าสนใจ อยากให้มีรถ Muji วิ่งขายของในไทยตามต่างจังหวัดบ้างเหมือนกันนะ อาจเป็นของ OTOP ปลาเค็ม หม่ำ แหนม อะไรก็ว่าไป […]

TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย

TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย Best of Residential Design “Twisted House “ by Architect 49 House Design (A49HD) บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา […]

หอเก็บน้ำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่พระตะบอง

เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ