Design Archives - Page 16 of 43 - room

เปลี่ยนศูนย์อนุรักษ์น้ำ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนเมือง

แม่น้ำ Songyin ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมือง Songyang เมืองที่มีประวัติศาสตร์การอนุรักษ์น้ำ มาเป็นเวลานาน โดยที่นี่เป็นแหล่งกระจายน้ำที่สำคัญของภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรม ทางทิศตะวันตกของเขื่อนและสถานีไฟฟ้าเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์น้ำ ซึ่งเดิมทีที่นี่ตั้งใจให้เป็นศูนย์การจัดการน้ำ ที่มีห้องควบคุม ออฟฟิศ และโรงอาหารรวมอยู่ด้วยกัน แต่ด้วยนโนบายการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นจุดชมวิวแม่น้ำ ที่นี่จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เพื่อการพักผ่อนเเละนันทนาการเเทน โดยพื้นที่ภายในอาคารได้ถูกเปลี่ยนการใช้งานทั้งหมด เช่น ห้องเก็บเอกสารเปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติการอนุรักษ์น้ำ ศูนย์ตรวจสอบเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้คนทั่วไปและนักเรียนได้เข้ามาใช้ทำกิจกรรม และส่วนของโรงอาหารยังคงการใช้งานไว้ โดยเพิ่มหน้าที่เป็นพื้นที่มัลติมีเดียสำหรับวัยรุ่นในพื้นที่ ทีมผู้ออกแบบพยายามเก็บสเปซเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด โดยรูปทรงโค้งของอาคารถูกปรับให้เป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรมเอ๊าต์ดอร์ และทางเดินที่จะนำไปยังสวนดาดฟ้า อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากรูปแบบของพื้นที่เดิมมาสร้างความพิเศษให้กับพื้นที่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นลำดับการเข้าถึง เเละเปิดรับแสงธรรมชาติให้สาดเข้ามายังพื้นที่ภายใน การวางตัวอาคารในลักษณะของคลัสเตอร์ที่มีทางเชื่อมถึงกัน แล้วแทรกด้วยบ่อน้ำ ดูเสมือนคอร์ตน้ำกลางกลุ่มอาคาร อันสื่อถึงเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ทางเดินเชื่อมไปยังแต่ละอาคาร ยังออกแบบให้สอดคล้องไปกับลักษณะของภูมิประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายของการมาเที่ยวชมศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านแถบชานเมืองกับภูเขาโดยรอบ เปิดโอกาสให้ผู้คนจากในเมืองได้มาเรียนรู้ ใกล้ชิด เเละสัมผัสธรรมชาติ ผ่านเรื่องราวการอนุรักษ์น้ำที่สอดเเทรกอยู่ทุกมุม รวมถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตั้งได้เป็นอย่างดี ออกแบบ : DnA_ Design and Architecture ภาพ : Wang Ziling, Han Dan […]

หอเก็บน้ำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่พระตะบอง

เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

CASA DE LASESTRELLAS โรงเรียนทางเลือกในคอสตาริกา ที่ออกแบบให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มร้อย

ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]

ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]

เรียนรู้จาก Covid19 กับแนวทางวางผังพื้นที่อาหารของเมือง โดย UDDC

Covid19 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน และไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกนั้นต้องบอกเลยว่าทุกๆคนต่างก็รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก อ่าน :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มดีขึ้น  เราก็ได้เห็นว่ามีหน่วยงานหนึ่งได้นำเสนอ “มาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง” ให้ร้านอาหารและแหล่งอาหารได้นำไปใช้ ด้วยรูปแบบและวิธีคิดที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงได้ขอพูดคุยถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ Covid19 โดย คุณปูน ปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย urban design and development ของ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center) หรือที่เรามักจะได้ยินในชื่อ UDDC นั่นเอง room : จากตัวอย่างแนวทางมาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง 4 รูปแบบนั้น อยากทราบถึงแนวคิดเบื้องหลัง หลักคิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นแนวทางทั้ง 4 ของ UDDC UDDC : ต้องเกริ่นก่อนว่า UDDC นั้นมีความสนใจในการออกแบบเมืองอยู่แล้ว  มันคือการออกแบบเพื่อคนที่อยู่อาศัยในนั้นจริงๆ […]

RANWAS SCHOOL อาคารเรียนกลางป่าที่ออกแบบมาเพื่อสู้กับสภาพอากาศอันโหดร้าย

อาคารเรียน ที่เห็นนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐวานูอาตู ประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ใกล้กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้จัก และด้วยความที่เป็นเกาะ จึงทำให้ที่นี่มักประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดเวลา จนกระทั่งปี 2015 ได้เกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนถล่มหมู่บ้านทำให้ที่นี่สูญเสีย อาคารเรียน ของหมู่บ้านไป เด็ก ๆ ต้องไปเรียนในที่พักพิงชั่วคราว จนกระทั่งองค์กร NGO ที่ให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูอาคารเรียนขึ้นมาใหม่ ให้ควบรวมฟังก์ชันห้องสมุดและออฟฟิศไว้ด้วยกัน โดยมีโจทย์ว่าต้องทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรงของที่นี่ได้ โปรเจ็กต์นี้ถูกส่งต่อให้กับ CAUKIN Studio ทีมนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อสังคม ทำการชักชวนอาสาสมัครเเละสถาปนิกท่านอื่น ๆ จากหลากหลายเชื้อชาติกว่า 15 คน มาทำงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เกิดเป็นความร่วมมือและมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้จนเเล้วเสร็จ โดยใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเท่านั้น ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่บนเกาะกลางหุบเขา ทำให้ที่นี่มีฝนตกแทบตลอดทั้งปี ส่งผลให้การเก็บรักษาหนังสือและอุปกรณ์การเรียนเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ทีมสถาปนิกจึงออกแบบอาคารที่ช่วยลดความชื้นสัมพัทธ์ ด้วยการเก็บหนังสือไว้ในห้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ โดยเป็นห้องปิดที่มุงด้วยเมทัลชีทสีดำช่วยเก็บกักอุณหภูมิภายใน ลดความชื้น ประกอบกับช่องว่างใต้หลังคาที่ช่วยให้อากาศพัดพาความชื้นออกไป รวมไปถึงชั้นวางหนังสือที่เว้นระยะห่างจากผนัง พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็นห้องเรียนแบบโปร่งโล่ง และห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งมีบันไดนำไปสู่ชั้นลอยขนาดกะทัดรัดเหนือห้องสมุด ช่วยให้เด็ก ๆ ได้หยิบหนังสือขึ้นไปนอนอ่านเล่นท่ามกลางแสงธรรมชาติในบรรยากาศสบาย ๆ ในส่วนของวัสดุเลือกใช้โครงสร้างไม้ ผนังไม้ไผ่ แผ่นพอลิคาร์บอเนต และหลังคาเมทัลชีท […]

THINKK STUDIO EBBA

EBBA เก้าอี้พักผ่อนที่เปลี่ยนองค์ประกอบได้ตามใจคนนั่ง

EBBA เก้าอี้พักผ่อนตามใจฉัน ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของไอเดีย และการให้เจ้าของเป็นผู้เลือกชิ้นส่วนประกอบได้เองทั้งหมด เมื่อแบรนด์เฟอร์นิเจอร์น้องใหม่อย่าง KAOI ร่วมกับสตูดิโอออกแบบช่างคิดอย่าง THINKK STUDIO ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของเก้าอี้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีหน้าตาดูสนุก ๆ อย่างที่เห็น นี่คือ EBBA เก้าอี้พักผ่อนที่แบ่งเป็นส่วนที่นั่งผ้า ขาพ่วง เเละส่วนพักแขน ซึ่งเปิดโอกาสให้เจ้าของเก้าอี้สามารถเลือกสลับสับเปลี่ยนเส้นสายของโครงส่วนขาและที่พักแขนลายกราฟิกได้ตามใจชอบ Armrest Series ทั้ง 4 รูปแบบ ประกอบด้วย Han โครงส่วนพักแขนแบบคดเคี้ยว, Somma โครงส่วนพักแขนแบบโค้งและหยัก, Franz โครงส่วนพักแขนแบบเส้นตรงและโค้ง และ Mujoel โครงส่วนพักแขนแบบโค้งและเส้นตรง โดยเจ้าของเก้าอี้สามารถจับคู่ Series ต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะนำ Han มาจับคู่กับ Somma หรือนำ Somma ไปจับคู่กับ Franz หรือ Franz จับคู่กับ Mujoel รวมถึงเลือกสีสันของที่นั่งผ้า และหมอนพิงศีรษะได้ทั้งหมด หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ เก้าอี้เเต่ละตัวนั้นจะบ่งบอกได้ถึงตัวตนของเจ้าของ […]

โรงพยาบาลผู้สูงอายุ

โรงพยาบาลผู้สูงอายุ ที่ออกแบบสอดรับกับบริบทชายทะเล

DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ : Dymaxion Studio Co., Ltd. และ Architects 110 โรงพยาบาลผู้สูงอายุ สถานพยาบาลกายภาพและบำบัดแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า “โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน” ก่อตั้งโดย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ 35 ไร่ ริมถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสำหรับบริการบุคคลทั่วไปแล้ว ยังเป็นโรงพยาบาลที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการพักฟื้นของผู้สูงอายุ พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเเพทย์ที่ทันสมัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลเเละให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักเวชศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงโรงพยาบาล หลาย ๆ ท่านอาจนึกถึงสถานที่ที่เป็นอาคารซึ่งแน่นขนัดไปด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ กลิ่นยาคละคลุ้ง และบรรยากาศที่ตึงเครียด แต่สำหรับโรงพยาบาลแห่งนี้ได้มีการออกแบบให้สอดประสานไปกับบริบทลมทะเลของพื้นที่บางขุนเทียน เปิดรับธรรมชาติและสร้างพื้นที่ซึ่งเอื้อต่อการหย่อนใจ เพื่อให้การมาโรงพยาบาลเหมือนการได้มาพักผ่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่พวกท่านจะได้เปลี่ยนบรรยากาศมาพบเจอคนวัยเดียวกัน ไม่ใช่การมาเพราะความป่วยไข้อีกต่อไป รวมแนวทางการสร้าง “บ้านเพื่อผู้สูงอายุ” ปัจจุบันจากการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เราจึงพบเห็นการบริการ ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับประชากรกลุ่มวัยดังกล่าว เช่นเดียวกับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับความต้องการเหล่านั้น นอกจากความพิเศษของงานออกแบบเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะแล้ว งานออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาลฯยังมีพิเศษไม่แพ้กัน เพราะได้คุณเหวิ่น – ปฤษฐ ชุมสาย ณ อยุธยา แห่ง Dymaxion Studio Co., Ltd. […]

SACICT CRAFT TREND GURU PANEL 2021 ระดมสมองผ่านเทรนด์ใหม่ของงานคราฟต์

FLUIDITY แนวโน้มการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ว่าด้วย การถ่ายเท และสอดประสานกันขององค์ความรู้แห่งของหัตถศิลป์อย่างไร้เส้นแบ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย และไร้กรอบจำกัด เมื่อเรามององค์ความรู้แห่งหัตถศิลป์ให้เปรียบเสมือนหยดน้ำโปร่งใสที่พร้อมเคลื่อนไหล หลอมรวม และเปลี่ยนแปรสีสันรูปทรงอย่างอิสระไปตามสิ่งรองรับ ไร้ซึ่งกรอบและกฎเกณฑ์ ไร้ซึ่งข้อจำกัดแห่งการประยุกต์สร้างสรรค์ เมื่อนั้นช่างฝีมือก็ย่อมปฏิบัติตนดุจธารน้ำใส ที่รินไหลสู่แหล่งความรู้ใหม่ ๆ และย่อมเกิดการต่อยอดพัฒนาขององค์ความรู้ได้อย่างไม่รู้จบ