Design Archives - Page 2 of 36 - room

ไอเดียสวน (ลับ) เฉพาะ พักผ่อนแบบเป็นส่วนตัวในบ้านตึกแถว

เพราะบ้านตึกแถว หรือทาวน์เฮ้าส์ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะหน้าแคบ ลึก และยาว ทำให้ไม่เอื้อต่อ ไอเดียสวน หรือการออกแบบให้มีมุมสวนสีเขียวไว้พักผ่อน หรือดื่มด่ำกับธรรมชาติได้อย่างบ้านที่มีเนื้อที่ขนาดใหญ่สักเท่าไหร่นัก เพื่อทลายความคิดที่เป็นไปไม่ได้นั้น วันนี้เรามี ไอเดียสวน ในบ้านตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ตัวช่วยสร้างมุมสวนสีเขียวขนาดเล็กในบ้าน ให้สามารถซ่อนตัวอยู่ ณ มุมใดมุมหนึ่งของบ้าน ช่วยลดความแห้งแล้ง และเพิ่มชีวิตชีวาให้บ้านสดชื่นไปด้วยต้นไม้ สามารถใช้ชีวิตและชื่นชมธรรมชาติได้แบบเป็นส่วนตัว ไร้สายตาเพื่อนบ้านมารบกวน ใครชอบไอเดียไหนที่ room นำมาฝาก สามารถนำไปปรับใช้กับบ้านตึกแถวของคุณได้เลย ปลูกต้นไม้ชั้นดาดฟ้าของบ้านให้ความรู้สึกแบบกึ่งเอ๊าต์ดอร์โดยลมและอากาศสามารถพัดผ่านได้สะดวก ขณะที่ด้านบนมุงด้วยหลังคาทำจากวัสดุโปร่งแสง ซ้อนด้วยคานไม้ระแนงที่ข้างใต้เพื่อช่วยกรองแสงอีกชั้น แสงธรรมชาติจึงส่องลงมาได้อย่างทั่วถึง เหมาะกับการเจริญเติบโตของเหล่าต้นไม้ที่ปลูกอยู่ด้านใน เหมาะมาใช้เวลาพักผ่อนมากที่สุดออกแบบ: VTN Architectsภาพ: Hiroyuki Oki ม่านสีเขียวเลื้อยได้เพื่อกันสายตาจากคนภายนอก ไม่ให้มองเห็นพื้นที่ห้องนอนภายใน ด้วยการออกแบบช่องเปิดด้านหน้า ให้ปกคลุมไปด้วยไม้เลื้อยที่พร้อมเกาะไปตามแนวลวด กลายเป็นม่านธรรมชาติสีเขียวสดที่ช่วยพรางสายตา เมื่อมองจากภายนอกจึงทำให้เห็นช่องหน้าต่างเต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียวที่แข่งกันเติบโต เช่นเดียวกับคนในบ้านที่จะรู้สึกสบายตา แถมยังช่วยให้ภายในห้องไม่ร้อนออกแบบ: VTN Architectsภาพ: Hiroyuki Oki ทำกระบะปลูกต้นไม้รับแสงแดดผ่านผนังบล็อกช่องลมทำโถงสูงด้านหน้าอาคารเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ มีผนังกระจกบานกรอบเหล็กซ้อนอยู่ชั้นในด้านหลังฟาซาดบล็อกช่องลมอีกที ภายในอาคารจึงออกแบบให้มีมุมสวนสีเขียว โดยต้นไม้ทำหน้าที่ช่วยบังแสงแดดที่ลอดผ่านผนังบล็อกช่องลมเข้ามา ให้ทั้งความร่มรื่น และบังแดดไปในตัว […]

8 ประเด็นไม่ควรมองข้าม ดีไซน์ โฮมออฟฟิศ ให้ตอบโจทย์

ไม่ว่าจะเป็นโครงการสร้างใหม่ หรือการปรับปรุงอาคารเก่า การสร้างสรรค์ ออกแบบ โฮมออฟฟิศ หรือโฮมสตูดิโอ ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และมีความต้องการค่อนข้างเฉพาะตัวนั้น ย่อมต้องใส่ใจรายละเอียดเป็นพิเศษ และนี่คือ 8 ประเด็น ออกแบบ โฮมออฟฟิศ ที่ room นำมาฝาก เพื่อช่วยให้การออกแบบพื้นที่ทำงานสามารถควบรวมเข้ากับที่พักอาศัยส่วนตัวได้อย่างลงตัว และใช้พื้นที่แต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 01 Location & Context ทำเลที่ตั้งและบริบทสำหรับโฮมออฟฟิศ แน่นอนว่าตำแหน่งที่ตั้งของสำนักงานย่อมเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งถ้าหากว่ามีพื้นที่ธุรกิจอยู่ด้วย ยิ่งต้องคำนึงถึงทำเลที่เดินทางได้สะดวกสบาย ทั้งสำหรับลูกค้า และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร หลาย ๆ ครั้งเราจึงเห็นโปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์ หรือทาวน์เฮ้าส์ใจกลางเมือง แต่ก็อาจต้องคำนึงถึงพื้นที่จอดรถสำหรับลูกค้า และพนักงาน การออกแบบทางเข้าที่โดดเด่น รวมถึงความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของที่พักอาศัย หากอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่พลุกพล่านก็อาจต้องมีการออกแบบให้กันเสียงเป็นพิเศษ 02 Zoning การแบ่งพื้นที่ใช้สอยการแบ่งพื้นที่ใช้สอยให้เป็นสัดส่วนจะช่วยให้เราจำกัดขอบเขตความเป็นส่วนตัวได้อย่างชัดเจน และเพิ่มความสะดวกปลอดภัยในการใช้งานพื้นที่ต่างๆ ส่วนมากโฮมออฟฟิศ หรืออาคารที่มีพื้นที่ธุรกิจมักมีการแบ่งพื้นที่ใช้งานแบบแนวตั้ง และแบ่งฟังก์ชั่นตามชั้นเพื่อความเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน โดยมักให้ชั้นล่างเป็นพื้นที่สาธารณะ สำหรับลูกค้า และผู้มาติดต่องาน และเพิ่มระดับความเป็นส่วนตัวขึ้นเรื่อยๆ เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะอย่างส่วนสำนักงาน ห้องประชุมสำหรับพนักงาน จนถึงชั้นสูงสุดเป็นที่พักอาศัยส่วนตัว 03 Circulation […]

5 เคล็ดลับ โดย คิริน ชัยชนะ Kirin Design & Living รีโนเวต บ้านเก่า ให้ทวีมูลค่า ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และการดีไซน์

ตึกแถวรีโนเวตใหม่มีให้เห็นมากมายในเมืองใหญ่ ถ้าจะรีโนเวตบ้างสักหลัง ทำอย่างไรให้ขายได้ และไม่ซ้ำใคร! การ รีโนเวต อาคารเก่ากำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น ด้วยทำเลของอาคารเดิมในเมืองที่เป็นที่น่าสนใจ คุ้มค่าต่อการนำกลับมาใช้งานอีกครั้งเพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบธุรกิจ ซึ่งตอนนี้มีให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตามย่านร้านอาหาร ย่านท่องเที่ยว และการรีโนเวตทาวน์เฮ้าส์เก่าเป็นบ้านพักใหม่เพื่อขายหรือปล่อยเช่า ซึ่งหลายคนก็ตั้งใจ รีโนเวต อาคารให้มีมากกว่าหนึ่งฟังก์ชัน ให้ใช้เป็นพื้นที่ธุรกิจได้ด้วย เป็นออฟฟิศหรือเป็นร้านค้า เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน การออกแบบอาคารให้น่าสนใจดึงดูดลูกค้าที่มาใช้งานอาคารเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในยุคที่ใครๆ ต่างรีโนเวต รูปแบบจึงอาจออกมาเหมือนกัน แล้วอะไรล่ะที่จะเป็นไม้เด็ด ที่ทำให้เกิดความแตกต่างในอาคารของคุณ วันนี้ room มี 5 เคล็ดลับไอเดียออกแบบรีโนเวตอาคารเก่า จากเสวนา “เพิ่มมูลค่าอสังหาฯ อย่างไร? ให้ได้ 200%”ร่วมเสวนาโดย คุณคิริน ชัยชนะ Founder & Design Director, Kirin Design & Living จัดขึ้นโดย Amarin Academy ภายใต้ Amarin Media and Event ร่วมกับ Design Talk […]

เผยโฉมศาลาไทยในงาน World Expo 2025 Osaka, Japan Thailand Pavilion ภูมิพิมาน ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน by A49

ศาลาไทย Thailand Pavilion ในงาน world expo 2025 ปีหน้า ณ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น “ภูมิพิมาน – ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน” อาคารทรงร่วมสมัย เลือกใช้องค์ประกอบไทยประยุกต์ นำคตินิยม และอัตลักษณ์ออกแบบร่วมกับแนวคิดสมัยใหม่ผสมผสานลงตัว โดดเด่นด้วยเงาสะท้อนอาคารที่ผสานให้เกิดเป็นทรงจั่ว เพื่อบอกเล่าถึงความเป็นไทยที่แท้ แม้จับต้องไม่ได้ แต่งดงาม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: A49 นี่คืออาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion World Expo 2025) ที่ออกแบบโดย บริษัท สถาปนิก 49 หรือ A49 (ARCHITECTS 49 LIMITED) ที่เราคุ้นเคย ในงาน world expo 2025 ณ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิดหลัก “ภูมิพิมาน ดินแดนแห่งภูมิคุ้มกัน” เชื่อมต่อชาวโลกให้เข้าถึงภูมิปัญญา และอัตลักษณ์แบบไทยผ่านบรรยากาศของดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร และวิถีของผู้คนที่ช่วยสร้างภูมิให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่จะทำให้ประเทศไทยเชื่อมโยงกับทั่วโลกได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืนในอนาคต […]

เริ่มแล้ว นิทรรศการศิลปะ THE SPIRITS OF MARITIME CROSSING : วิญญาณข้ามมหาสมุทร 15 ศิลปินไทย และอาเซียน เผยศักยภาพบนเวทีโลก ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่

เมื่อสายน้ำเจ้าพระยาได้บรรจบกับ Grand Canal แห่งเวนิส เปิดให้เข้าชมแล้วอย่างเป็นทางการ นิทรรศการ ” The Spirits Of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” หนึ่งในกิจกรรมหลักของมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นำเสนอนิทรรศการศิลปะ The Spirits Of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร หนึ่งในกิจกรรมหลักของมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 บอกเล่าเรื่องราวของความสัมพันธ์ 10,000 กิโลเมตร ของเมืองบางกอกและเวนิส ผ่าน 40 ผลงานศิลปะอันโดดเด่นของ 15 ศิลปินจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ภาพวาด ประติมากรรม สื่อผสม และวิดีโอจัดวาง ซึ่งเจาะลึกประเด็นเรื่องการพลัดถิ่น ลัทธิล่าอาณานิคม และการผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นไปที่สัญลักษณ์ของการข้ามน้ำ และการเดินทางทางทะเลเป็นพิเศษ The […]

ผลิตไฟฟ้าใช้เอง รับมือค่าไฟแพง ด้วยแผง โซลาร์เซลล์

การใช้พลังงานทางเลือกที่เหมาะสมกับการใช้งานในครัวเรือนที่สุด คงหนีไม่พ้นพลังงานแสงอาทิตย์จากแผง โซลาร์เซลล์ เพราะเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสะดวกในการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ มากขึ้น และมีราคาที่ถูกลงจากสมัยก่อนอย่างมาก จึงทำให้เข้าถึงง่าย โดยจะมีราคาแปรผันตามขนาด และชนิดของแผงโซลาร์เซลล์ ส่วนจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความพอใจและรูปแบบการใช้ชีวิต ใครเหมาะกับระบบไหนไม่ว่าจะเป็นบ้านในเขตเมือง หรือพื้นที่ห่างไกลในชนบท ลองเอาข้อมูลเบื้องต้นที่ room นำมาฝากนี้ไปศึกษาประกอบการตัดสินใจเพื่อปรับใช้ได้เลย ระบบอิสระ (Off-grid) เป็นระบบที่เหมาะกับพื้นที่ที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง เป็นระบบที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เพราะต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บไฟฟ้า และถ้าใช้ไฟจำนวนมากเกินไป ไฟฟ้าในแบตเตอรี่อาจจะหมดระหว่างวันได้ ระบบแบบต่อกับระบบของการไฟฟ้า (On-grid) ระบบนี้มีต้นทุนที่น้อยกว่าระบบอื่น ๆ เพราะไม่มีแบตเตอรี่ เหมาะกับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าไฟ เพราะไฟที่ผลิตได้สามารถนำมาใช้ได้ทันทีในตอนกลางวัน สำหรับระบบที่ใหญ่ขึ้น ผลิตไฟได้มากขึ้น เจ้าของบ้านสามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้ด้วย การติดตั้งต้องติดต่อที่การไฟฟ้า ทำสัญญาและยื่นเอกสารตามที่กำหนด มีข้อเสียคือระบบนี้หากไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ระบบกริดไทน์อินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงาน เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าดูดเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาซ่อมแซมระบบขณะไฟดับ ใครอยากรู้ว่าต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบ On Grid ขนาดเท่าไหร่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.baanlaesuan.com/264722/ideas/house-ideas/calculate-solar-panels ระบบแบบผสม (Hybrid) เป็นระบบที่นำข้อดีของ 2 ระบบมารวมกัน จึงช่วยลดค่าไฟฟ้าได้อย่างดี ทั้งยังช่วยสำรองไฟฟ้าไว้ใช้ในตอนกลางคืน […]

จาก Soft Power สู่ Craft Power ติดอาวุธให้หัตถศิลป์ไทย ก้าวไกลสู่สากล กับ 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 จัดงาน 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 𝐂𝐫𝐚𝐟𝐭 𝐏𝐨𝐰𝐞𝐫 อัพเดตแนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัย เสริมแกร่งสินค้าศิลปหัตถกรรมไทย สู่เวทีตลาดโลก สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit หนุนนโยบาย Soft Power ติวเข้มผู้ผลิตสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยปรับตัวรับแนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัยของโลก ผ่านการจัดงาน “sacit Craft Power : แนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัย” ตั้งเป้าเจาะลึกแนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัยในอนาคต เพื่อปรับปรุงสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่ เผย ปี 66 สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 3.4 แสนล้านบาท นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit กล่าวว่า ที่ผ่านมาสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยเป็นหนึ่งในสินค้า Soft Power ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติและชุมชนอย่างมหาศาล ซึ่งจากการส่งเสริมสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2566 ยอดการส่งออกสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยมีมูลค่าสูงถึง 340,820 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด 5 […]

อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง

อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]

มีอะไรใน Villa Savoye? พาตามรอยข้ามโลกไปชมบ้านหนึ่งหลังที่สถาปนิกทุกคนต่างรู้จักดี

9,444 กิโลเมตร คือระยะห่างของกรุงเทพฯ – ปารีส ทำไม? ใคร ๆ ต่างเดินทางค่อนโลก เพื่อไปพบ “บ้านหนึ่งหลัง” ที่ชื่อ Villa Savoye และเราจะพาทุกคนออกเดินทางไปเพื่อไปพบกับวิลล่าซาวอย บ้านที่ทรงอิทธิพลที่สุดหลังหนึ่งในวงการสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น นี่คือบ้านที่ในชีวิตสถาปนิก และเด็กถาปัตย์ฯ คนไหนก็ตาม ต้องเคยได้ยินชื่อ เพราะเป็นชื่อที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในชั้นเรียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตลอดเวลา แม้จะผ่านเวลามากว่า 95 ปีแล้ว “วิลล่าซาวอย” (Villa Savoye) ก็ยังเป็นบ้านที่เป็นหมุดหมายสำคัญให้ต้องไปเยือนสักครั้งในชีวิต บ้านหลังนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1931 หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของสถาปนิกชาวสวิส-ฝรั่งเศส เลอ กอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier 1887-1965) แม้จะเป็นเพียงบ้านหลักเล็กขนาด 480 ตารางเมตร แต่วิลล่าซาวอยกลับทำหน้าที่ต้อนรับแขกผู้มาเยือนประมาณปีละ 40,000 คน โดยอยู่ใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลฝรั่งเศสที่เปิดให้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ #อะไรที่ทำให้บ้านหลังนี้เป็นหมุดหมายของคนทั่วโลก ดูจากแค่รูปบ้าน บ้านหลังนี้มีรูปลักษณ์ภายนอกที่อาจดูไม่ได้พิเศษอะไรไปกว่าบ้านหลังอื่น ๆ ที่เราเห็นทั่วไปในยุคปัจจุบัน เรียกว่าธรรมดาเสียจนอาจรู้สึกว่าเหมือนบ้านหน้าปากซอยในยุคนี้ แต่สิ่งที่ทำให้เราต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาดูเป็นเพราะถ้าเราลองจินตนาการเพื่อพาตัวเองย้อนกลับไปเมื่อ 95 ปี ที่แล้ว […]

Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง เป็นสถานแห่งงานศิลป์แบบเต็มพิกัด!

หอศิลป์เปิดใหม่! รีโนเวทจากอาคาร โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันดีในย่านเยาวราช ซอยนานา (ถ้าไม่คุ้นก็ดรุณศึกษาที่เราเคยอ่านกันนั่นไง) วันนี้ ตึกเก่าอายุกว่า 60 ปี ทั้ง 3 หลังจะได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษสำหรับการจัดแสดงงานศิลปะ และอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายในอนาคต ในนาม Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) โดยผู้ขับเคลื่อนโปรเจ็กต์นี้ก็คือคุณ มาริษา เจียรวนนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์ศิลปะมากมาย เช่น การพา “เจ๊ไฝ” ไปแสดงศิลปะการทำอาหารในต่างประเทศ แผนขั้นสมบูรณ์ของ Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) นั้นจะกลายเป็นพื้นที่ศิลปะขนาดหลายพันตารางเมตร โดยมีงานศิลปะใหญ่ 4 ครั้งต่อปี มีสเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา อดีตผู้อำนวยการแกลเลอรี Hauser & Wirth จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาเป็นภัณฑารักษ์ แม้ว่าโครงการทั้งหมดยังไม่แล้วเสร็จ แต่วันนี้ทุก ๆ คนก็สามารถแวะไปชมนิทรรศการพิเศษที่ชั้นล่างของอาคารได้แล้วกับงานแรกนี้ Nine Plus Five โดยศิลปินมิเชล โอแดร์ […]

Accent Lighting แสงสร้างมิติ ไอเดีย ออกแบบแสงสว่าง ในบ้าน

หากต้องการสร้างบรรยากาศให้มุมใช้งานภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียมมีความพิเศษโดดเด่นขึ้น หรือแค่อยากเน้นบางมุมให้มีความรู้สึกถึงการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง วันนี้ room ได้รวบรวม การออกแบบแสงสว่าง เพิ่มมิติด้วยแสงไฟมาฝาก โดยเป็นวิธีการใช้แสงไฟเพื่อเน้นจุดสนใจ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Accent Lighting นับเป็นไอเดีย การออกแบบแสงสว่าง ในการช่วยสร้างความพิเศษ และความสวยงามให้กับมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน หรือคอนโดมิเนียมให้มีมิติสวยงามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคแบบซ่อนไฟที่ทำได้ทั้งบนฝ้าเพดาน และเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน ไฟซ่อนฝ้าหลืบ มีลักษณะเป็นหลืบฝ้าติดผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยส่วนมากมักซ่อนไฟเพื่อเน้นพื้นที่ผิวผนัง หรือเน้นผลงานศิลปะและยังสามารถทำเป็นหลืบไฟซ่อนรางม่าน โดยเพิ่มไฟให้แสงส่องลงมาที่ม่านช่วยให้ดูไม่ทึบ สามารถเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ LED T8 แทน LED Stripe Light ได้ โดยวางหลอดให้เหลื่อมกันเพื่อไม่ให้เกิดเงาระหว่างหลอด เพิ่มมิติให้มุมนั่งเล่น ด้วยการตกแต่งไฟเพิ่มแสงสว่างบริเวณรางม่าน และผนังด้านข้างขับบรรยากาศให้ยิ่งอบอุ่นเจ้าของ : คุณกฤษณะพันธ์ วกิณิยะธนีออกแบบ : Ham Architects โทร. 09-1829-6356ภาพ : W Workspace เนื้อหาฉบับเต็ม https://www.baanlaesuan.com/241364/design/living/aree-condo ไฟซ่อนในเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน นอกจากแสงไฟที่เฟอร์นิเจอร์จะช่วยทำให้ห้องดูมีมิติสวยงามแล้ว ยังช่วยเรื่องการมองเห็นในเวลากลางคืนอีกด้วย เช่น การติดตั้งไฟซ่อนบริเวณหัวเตียง หรือการติดตั้งไฟหลืบใต้เตียงที่เอื้อประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ […]

“ที่ว่างอาคาร” และ “ระยะร่น” เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเขตเมือง หรือบ้านต่างจังหวัด ก่อนสร้างบ้านเราต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะข้อกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องระยะร่น และที่ว่างอาคารที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างจากบ้านของเพื่อนบ้าน ระยะร่นจากถนน และแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัยที่ดี การสร้างอาคารให้มีระยะร่น หรือที่ว่างระหว่างอาคาร จะช่วยให้อากาศและลมถ่ายเทได้สะดวก สร้างสุขอนามัยที่ดี ทั้งยังง่ายต่อการซ่อมแซมตัวบ้าน ไปจนถึงการต่อเติมอาคาร โดยไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้านและมีความเป็นส่วนตัว ที่สำคัญยังช่วยป้องกันเหตุอันไม่คาดฝันได้หลายเหตุการณ์ อาทิ เหตุอัคคีภัย คลื่นเซาะแนวตลิ่ง ฯลฯ ส่วนจะมีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องคำนึงถึงนั้น room มีข้อมูลมาฝากดังนี้ สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 อาคารอยู่อาศัยและอาคารอยู่อาศัยรวมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% และบ้านสามารถใช้พื้นที่ 70 % ของผืนที่ดินทั้งหมด ในลักษณะใดก็ได้ ระยะห่างที่เหมาะสมภาพบน – ช่องเปิดต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 2 เมตร และสำหรับบ้าน 3 ชั้น หรือสูง 9 เมตร ขึ้นไป ต้องห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตรภาพล่าง – สามารถสร้างบ้านชิดที่ดินได้ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ถ้าชิดกว่านั้นต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้าน […]

ถอดบทเรียน 10 ข้อจากเสวนา BACC circle หัวข้อ “20 ปีแห่งการเดินทาง การสร้างเขตวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก  WEST KOWLOON ให้อะไร?” ต่อคุณและวงการศิลปะไทย

West Kowloon Cultural District Authority พื้นที่สำหรับประชาชน และความเป็นไปได้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ ในการที่ศิลปินท้องถิ่นจะไม่ถูกทอดทิ้ง และการขยับเข้าสู่ระดับโลกคือสิ่งเป็นไปได้ นี่คือ 10 บทเรียนที่ คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ มาร่วมถ่ายทอดให้เราฟัง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 นอกจากการพูดคุยที่สนุกสนาน คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร […]

เยือน TAIWAN DESIGN WEEK เปิดชุมชนนักสร้างสรรค์ อัปเดตดีไซน์ไต้หวันทศวรรษนี้

ตาม room ไปเยือน TAIWAN DESIGN WEEK ครั้งแรก เข้าใจความเป็นไต้หวันในทศวรรษนี้ผ่านแง่มุมดีไซน์ เยี่ยมชุมชนนักสร้างสรรค์ พร้อมร่วมพิธีมอบรางวัลด้านการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ระดับเอเชีย Taiwan Design Week ครั้งแรกจัดขึ้นที่ Songshan Cultural and Creative Park กลางกรุงไทเป มาในธีม Elastic Bridging นำเสนอแนวโน้มงานออกแบบของนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่ล้วนบอกเล่าเรื่องราวการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง และการร่วมมือระหว่างไต้หวัน และสากลได้อย่างยืดหยุ่น และมีสมดุล เพื่อนำไปสู่การก้าวข้ามกรอบจำกัด เปิดความเป็นไปได้ใหม่ และสร้างแพลตฟอร์มรองรับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในแวดวงสร้างสรรค์ เนื่องจากไต้หวันเป็นเกาะ จึงมีลักษณะภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศเฉพาะ รวมถึงมีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน แต่เมื่อมองจากภาพรวมงานออกแบบยุคนี้จะพบว่า นักออกแบบไต้หวันรุ่นใหม่ต่างปรับตัวอย่างยืดหยุ่น และพยายามเชื่อมโยงภูมิปัญญาเข้ากับงานออกแบบหลากหลายสาขา เพื่อมุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมในภาพรวม โดยยังคงสอดแทรกเอกลักษณ์ทางความคิด หรือวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ Theme Exhibition นิทรรศการภายใต้ธีมหลักของงาน Elastic Bridging จัดแสดงผลงานการออกแบบของนักออกแบบไต้หวันรุ่นใหม่ 54 ทีม รังสรรค์ขึ้นโดย curator ไฟแรงอย่าง […]