Studio Visit Archives - Page 6 of 18 - room

BLU395 อาคารที่ตั้งใจสร้างพลังงานดีๆคืนสู่ย่านและผู้คน

อาคารสีขาวที่ถูกคว้านเป็นทรงกรวยแปลกตาทั้งยังห่อหุ้มไว้ด้วยเหล็กตะแกรงนี้ตั้งอยู่ในย่านสะพานควาย ย่านที่พลุกพล่านที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ เพื่อสร้างให้เกิดภาพจำเชิงสัญญะแก่ผู้สัญจร และเพื่อให้อาคารแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะสร้างพลังงานที่ดีคืนแก่บริบทของย่านและเหล่าผู้คนที่ผ่านไปมาริมถนน การออกแบบความเชื่อมโยงระหว่างภายนอกและภายในจึงเป็นส่วนสำคัญ และผู้ที่เข้ามารับหน้าที่นี้ก็คือ PHTAA สตูดิโอออกแบบที่โดดเด่นในการตีความสร้างนิยามใหม่ๆให้กับงานทุกชิ้นที่ได้ผ่านมือพวกเขา BLU395 เป็นอาคารแบบ Mixed Used ที่มีห้องพัก 84 ห้อง และร้านค้า 3 ร้านผสมเข้าด้วยกัน อาจกล่าวได้ว่าอาคารหลังนี้มีจริตแบบ Modernism อยู่ในตัว ด้วยการแสดงออกอย่างชัดเจนจากภายนอกถึงลักษณะของโครงสร้างและพื้นที่การใช้งาน จากภายนอก ผู้สัญจรจะสามารถมองเห็นตะแกรงเหล็กที่นำมาใช้เป็น Facade ได้อย่างเด่นชัด ทั้งเป็นองค์ประกอบที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขต แต่ก็โปร่งพอที่จะเห็นลักษณะของอาคารได้อย่างชัดเจน พื้นที่พิเศษเพื่อพักสายตาแล้วเดินต่อ ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของอาคาร BLU395หลังนี้คงหนีไม่พ้น ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของโถงบันไดซึ่งวางตัวเป็นทรงกรวยตั้ง ค่อยๆบานออกที่ชั้นบน โถงบันไดนี้มีการขึงผ้าใบสีขาวเรียบเกลี้ยงเอาไว้กั้นระหว่างความเป็นภายนอกและภายใน ทั้งทำหน้ากรองแสง กั้นความเป็นส่วนตัว และทำหน้าที่รับเงาของแสงที่ส่องผ่านโครงสร้างเปลือกอาคารลงมาเกิดเป็นเส้นโค้งที่ล้อไปกับรูปฟอร์มและตำแหน่งของไม้ใหญ่ ขับเน้นให้มุมมองสายตาที่ไล่เรียงจากชั้นพื้นที่ไม้ใหญ่นั้นเหมือนเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับบาทวิถี ค่อยๆไล่เรียงขึ้นไปยังอาคาร และแหงนมองสู่ฟ้าในที่สุด พื้นที่นี้เป็นทั้งพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกพิเศษ ทั้งสำหรับตัวผู้ใช้อาคารเอง และผู้ที่สัญจรผ่านไปมา ได้พักสายตาจากหมู่ตึกและการจราจรที่คับคั่งอีกด้วย แฝงกลิ่นอาย “ตึกแถวไทย” ด้วยรูปแบบการใช้อาคารหลังนี้อาจพาให้นึกไปถึง “ตึกแถวไทย” ได้แต่ทั้งหมดนั้นก็ได้ถูกตีความและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในแบบ PHTAA โดยที่จากชั้นล่างซึ่งเปรียบได้กับพื้นที่หน้าตึกแถวที่มักมีสวนเล็กๆและพื้นที่หย่อนใจ ซึ่งมักเป็นพื้นที่แบบ Semi-Public ก่อนที่จะขึ้นสู่ชั้นบนด้วยโถงบันไดนำพาไปยังพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเป็นห้องพักในที่สุด ประกอบกับพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ชั้นล่าง […]

เจาะลึกสถานีกรุงเทพ สถาปัตยกรรมหลังคาโค้งกว้างที่สุดเมื่อ 105 ปีก่อน

50 เมตร คือความกว้างของหลังคาโค้งที่พาดช่วงยาวโดยไม่มีเสากลางของสถานีกรุงเทพ คงไม่น่าตื่นเต้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้ แต่เมื่อกว่า 105 ปีก่อนนั้น เป็นที่น่าตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในพระนครเลย และเชื่อไหมว่าโครงสร้างหลังคานี้ยังไม่เคยต้องซ่อมครั้งใหญ่เลยจนปัจจุบัน สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในยุคสร้างเมืองที่เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและศิลปสถาปัตยกรรมจากต่างชาติ จึงมีความผสมผสานและเป็นสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจพอๆกับสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานีต้นทาง เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเส้นทางไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อรักษาเอกราชในยุคล่าอาณานิคม และเป็นอีกจุดเปลี่ยนของเมือง เมื่อเกิดชุมทางการขนส่งขนาดใหญ่ ณ ทุ่งวัวลำพอง แห่งนี้ มารู้จัก สถานีกรุงเทพ ซึ่งมีรหัสสถานี 1001 ในอีกมุมมองกัน ลำดับการก่อสร้างและอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพ สถานีกรุงเทพ มีรูปแบบเป็นทรงประทุนเรือ หรือ อาร์คโค้ง หรือ ทรงกระบอกฝ่าซีกสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง วางผังอาคารเป็นรูปตัวอี (E) มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มีจุดเด่น คือ กระจกสีช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี มีนาฬิกาเรือนใหญ่ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านในเป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องบอกเวลาที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น นาฬิกาทั้งสองเรือนถูกสั่งทำพิเศษให้มีไฟส่องสว่างในตัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าปัด 120 เซนติเมตร และเข็มนาฬิกามีขนาดยาวประมาณ 60 เซนติเมตร อาคารที่มีอายุมากกว่าชั่วอายุคน และมีผู้คนเข้าใช้งานแบบที่เรียกได้ว่า “สมบุกสมบัน” […]

ร้านขายยาจีนเก่า ที่ปรับลุคให้ร่วมสมัย Tai Chang Tang Traditional Medicine Clinic

Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน ผ่าน Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป ร้านขายยาจีนเก่า ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ร่วมสมัย กลิ่นเครื่องยาจีนที่อบอวล และตู้ลิ้นชักไม้เก็บสมุนไพรที่รายล้อมดูเหมือนจะเป็นหัวใจหลักซึ่งเชื่อมโยงบรรยากาศวันวานของ Tai Chang Tang ร้านขายยาและคลินิกแพทย์แผนจีนในกรุงไทเป เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน แม้ที่นี่จะไม่ใช่โรงพยาบาล แต่ก็เป็นหนึ่งในแหล่งบ่มเพาะศาสตร์และองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งฝังรากลึกในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันมาอย่างยาวนาน มาวันนี้ เมื่อผู้ก่อตั้ง Tai Chang Tang ตั้งใจจะวางมือ และส่งต่อกิจการให้กับศิษฎ์ก้นกุฏิ ซึ่งเป็นทีมแพทย์แผนจีนรุ่นใหม่สามคน Curtis Chung จาก Dig Design สตูดิโอออกแบบตกแต่งภายในรุ่นใหม่ของไต้หวันจึงได้เข้ามารับหน้าที่ปรับโฉมร้านขายยาจีนในตึกแถวเก่าย่านจงซาน ให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย และเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานของร้านที่จะสืบสานวิชา และตำรับยาโบราณจากบรรพบุรุษ ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป  เพื่อสร้างบุคลากรที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน งานออกแบบปรับปรุงอาคารนี้เกิดขึ้นจากการตีความแนวคิดข้างต้น เพื่อปรับประยุกต์ใช้กับรูปแบบแบบสมัยนิยม พร้อมกับการสอดแทรกสัญลักษณ์ที่มีความหมาย องค์ประกอบต่าง […]

AUA โฉมใหม่ เมื่อ “อิฐ” ถ่ายทอดภาษาสถาปัตยกรรม

อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]

แม่แจ่มโมเดลพลัส x room หยุดปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ด้วยงานออกแบบ

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ได้นำพาให้ทีมงานของ “บ้านและสวน” ไปลงพื้นที่ถึงอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิของชาวบ้านในการจัดการป่าไม้และที่ดิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ และเฟอร์นิเจอร์ที่น่าสนใจ ที่ทุก ๆ คนจะได้พบใน บ้านและสวนแฟร์ select 2021 เริ่มต้นด้วยการ “ทำความเข้าใจ” วันแรกของการเดินทาง เราหมดไปกับการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นที่แม่แจ่ม ผ่าน “คนทำงาน” ที่อยู่ในพื้นที่ นำทีมโดยคุณ เดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ที่มาอธิบายให้เราฟังถึง ต้นตอของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นที่นี่ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ปัญหาหมอกควันเหล่านี้ จะไปโทษเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดว่าบุกรุกผืนป่าก็ไม่ได้ เพราะรากของปัญหานี้มันลึกลงไปกว่านั้น “ปัญหาเรื่องสิทธิในการจัดการป่าไม้และที่ดิน” ของชาวบ้านนั้นเกิดข้อจำกัดขึ้นหลังการประกาศกฎหมายป่าสงวน พวกเขายังอาศัยทำกินอยู่บนที่ดินเดิม แต่สิทธิของพวกเขาได้หายไป กาลเวลาผ่านไป การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ไม่ทันโลก และไม่ทันปากท้อง การเลือกปลูกพืชที่ขายได้อย่างแน่นอนจึงเป็นทางออกของพวกเขา และข้าวโพดอาหารสัตว์ พืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกแล้วแทบไม่ต้องดูแลเป็นคำตอบของสิ่งที่เกิดขึ้น สุดท้ายทางออกของหนึ่งปัญหาก็กลายเป็นปัญหาใหม่เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นเสื่อมสลายไป การใช้สารเคมีต่าง ๆ จึงเป็นคำตอบ รวมถึงการแผ้วถางเตรียมพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกเช่นกัน และนั่นคือปลายทางที่เรา ๆ ต่างรู้กันในชื่อของ “ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ” การแก้ปัญหาที่ถูกต้องจึงต้องลงไปที่ต้นตอ […]

B2S THINK SPACE สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของร้านหนังสือ

B2S Think Space เซ็นทรัล ชิดลม พลิกโฉมร้านหนังสือและเครื่องเขียน พร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ ด้วยฝีมือการออกแบบของ THINKK Studio สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทย ที่ทำให้สเปซสำหรับการคิดสร้างสรรค์แห่งนี้ พร้อมต่อยอดจินตนาการของทุกคนได้ไม่รู้จบ ถ้าจะซื้อหนังสือสักเล่ม “ร้านหนังสือ” อาจไม่ใช่ทางเลือกแรกเสมอไปในยุคนี้ ในเมื่อการแข่งขันของร้านหนังสือส่วนใหญ่ขยับขยายสมรภูมิไปอยู่บนโลกออนไลน์ ดังนั้น หากจะมองในมุมธุรกิจยุคดิจิทัล การคงอยู่ของพื้นที่ “ร้านหนังสือ” (รวมไปถึงร้านค้าอื่น ๆ ) ในเชิงกายภาพย่อมต้องตอบสนองฟังก์ชั่นที่มิใช่แค่เพียงการเป็นพื้นที่สำหรับการวางจำหน่ายสินค้า แต่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่มอบประสบการณ์บางอย่าง ซึ่ง “ชักชวน” และ “ดึงดูด” ให้ผู้คนก้าวเท้าออกจากบ้านมาเยี่ยมเยือน และ B2S Think Space คือตัวอย่างหนึ่งของการสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่าน “ดีไซน์” NEW SPACE, NEW LOOK พื้นที่ 800 ตารางเมตร บนชั้น 6 ของเซ็นทรัล ชิดลม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโซนสินค้าแม่และเด็ก ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นแฟลกชิปสโตร์โฉมใหม่ของ บีทูเอส ธิงค์สเปซ โดยงานนี้ได้ THINKK Studio สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทยมารับหน้าที่พลิกโฉม และเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับพื้นที่ร้านหนังสือใจกลางเมืองแห่งนี้ […]

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา สถาปัตย์+กสิกรรม อาคารโมเดิร์นผสานโคกหนองนาโมเดล

งานออกแบบอาคารของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียง ที่มีโจทย์ทางด้านการเกษตรเข้ามาเป็นหลักการใช้งานได้อย่างโดดเด่น และยังเกื้อหนุนต่อบริบทโดยรอบได้อย่างน่าชื่นชมผ่านสถาปัตยกรรมแบบ Tropical Modern ที่มีอิฐมอญเป็นองค์ประกอบหลัก สถาปนิก : VIN VARAVARN ARCHITECTS Ltd. ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เป็น อาคารที่มีหลังคาทรงแปลกตา โดยอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เขาใหญ่ เพื่อรองรับกิจกรรมอบรมที่เกิดขึ้นภายในศูนย์ โดยคุณผึ้ง-พรรณราย พหลโยธิน เป็นผู้ก่อตั้ง จากแนวคิดของอ.ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร ซึ่งเมื่อสามปีกว่าก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดวิกฤตขึ้น จึงควรมีสถานที่ที่สามารถรองรับผู้คนประมาณหนึ่งพันคน โดยคุณผึ้งนั้นต้องการให้ผู้ที่เข้ามาภายในศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตรนี้ มีความสะดวกสบายมากขึ้นไม่อยู่อย่างลำบากจนเกินไป แต่ต้องอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน มีความทันสมัยได้ไม่ได้จำกัดรูปแบบจากภาพเดิม คุณวิน-ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกแห่ง Vin Varavarn Architects ผู้ออกแบบอาคารนี้เล่าถึงโจทย์ครั้งนี้ว่า คุณผึ้งต้องการอาคารที่มีความเรียบง่าย แต่ด้วยโปรแกรมการใช้งานอาคารที่ค่อนข้างมาก อาคารหลังนี้จึงต้องใหญ่พอควร และพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของโครงการก็ใหญ่มาก จึงต้องการอาคารสักหลังที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับผู้คน ส่วนแนวคิดด้านความพอเพียงก็อาจไม่ต้องตีกรอบว่าต้องอยู่บ้านไม้ไผ่ กระท่อมไม้ที่ดูลำบาก เพราะว่าการดูแลรักษาในระยะยาวก็เป็นสิ่งสำคัญ โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตผสมกับเหล็ก ปกคลุมด้วยหลังคาขนาดใหญ่ กรุด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่เรียงเป็นตับ โดยมีการศึกษาเรื่องการระบายอากาศ แสง และความโปร่งของโครงสร้างทั้งหมดก่อนก่อสร้างจริง ไม้ไผ่ที่เห็นดังกล่าวในอนาคตทางศูนย์ก็สามารถซ่อมแซมได้เองตามอายุการใช้งาน เนื่องจากมีปลูกเพื่อรองรับเอาไว้แล้ว จากการที่หลังคาเป็นหลังคาขนาดใหญ่ จึงเป็นเสมือนพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ยามฝนตกไปด้วยในตัว ช่วงแรกสถาปนิกได้คิดถึงระบบท่อและถังในการเก็บน้ำ แต่เมื่อได้มีการพูดคุยกับคุณผึ้ง […]

KPIS KINDERGARTEN แปลงโฉมพื้นที่เล่น ยกระดับการเรียนรู้

ห้องเรียนสำหรับเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียนถึงชั้นอนุบาลของ KPIS International School ได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ โดยเน้นการกระจายพื้นที่ “เล่น” ให้กว้างขวาง และมีรูปแบบที่หลากหลาย พร้อมกับแก้ไขปัญหาการจัดเก็บของในพื้นที่จำกัด เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Please Feel Invited KPIS International School หรือโรงเรียนนานาชาติกีรพัฒน์ นำเสนอโครงการปรับปรุงห้องเรียนสำหรับเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียนถึงชั้นอนุบาล โดยเป็นการเปลี่ยนโฉมห้องเรียน 2 ชั้น ขนาดรวมราว 1,400 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิดการสร้างพื้นที่ “เล่น” ให้กับเด็กวัยกำลังเรียนรู้ เน้นกระจายพื้นที่เล่นให้เด็ก ๆ ให้มากที่สุด “เวลาที่เราทำงานออกแบบ เราจะใช้หลักเหตุผลต่าง ๆ มากมายใช่ไหมครับ แต่สำหรับเด็ก ๆ เขาไม่ได้สนใจหลักเหตุผลที่เราใช้หรอก เขาเพียงแค่อยากเล่น อยากสนุก อยากเรียนรู้” คุณธัชพล ธนบุญชัย และ คุณมนุเชษฐ์ ไชยโย จากสตูดิโอออกแบบ Please Feel Invited กล่าวถึงแนวคิด “การกระจาย” พื้นที่เล่นให้เด็ก ๆ ให้มากที่สุด […]