Commercial Space Archives - Page 44 of 84 - room
บ้านดงหลง โฮมสเตย์ ที่พักเขาค้อ

The Camping House ชั่วโมงแห่งความสุขที่บ้านดงหลง

ถ้าบ้านพักตากอากาศในจินตนาการของคุณคือบ้านท่ามกลางธรรมชาติที่พร้อมเสิร์ฟความร่มรื่นให้ได้ในทุกช่วงเวลา หุบเขาเทียมเมฆที่พาหมอกบางๆ ลอยมาทักทายคุณในยามเช้า พรรณไม้และผืนป่าเพิ่มความชื่นตาให้คุณในยามบ่าย หรือเสียงหรีดหริ่งเรไรที่คอยส่งเสียงกล่อมให้คุณหลับสบายในยามค่ำ ทุกบรรยากาศเหล่านั้นเกิดขึ้นจริงที่นี่ค่ะ บ้านดงหลง The Camping House บ้านดงหลง The Camping House คือบ้านตากอากาศของตระกูล “ลัดพลี” อีกหนึ่งผลงานการออกแบบของสถาปนิกและนักจัดสวนอารมณ์ดี คุณโจ๊ก-จักษ์ ลัดพลี ที่เคยทำให้นักเดินทางไปเชียงใหม่ หลงใหลความรื่นรมย์ของ Chic 39 ที่อำเภอแม่ริมมาแล้ว ที่นี่จึงเรียกได้ว่าเป็นอีก “ลายเซ็น” ที่คุณโจ๊กตั้งใจให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสกับนิยามคำว่า “บ้านตากอากาศ” ได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกจุดหมายหนึ่ง ความสงบงามเริ่มต้นทักทายเราตั้งแต่รถค่อยๆ ทะยานตัวขึ้นสู่เขาค้อ ถนนสายต้นไม้ที่ลัดเลาะผ่านป่าเบญจพรรณสลับกับเนินทุ่งหญ้าบนเขาไกลๆ อากาศที่ค่อยๆ ลดต่ำลงทำให้เรารู้ว่าเวลาแห่งความสุขกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว ไม่นานก็เห็นป้ายซอยเข้าหมู่บ้านเล็กๆ “บ้านดงหลง” ที่สองข้างทางจะพบเห็นชาวบ้านทำเกษตรกรรม ทั้งแปลงผักและร่องสวนผลไม้ ในที่สุดเราก็ถึงจุดหมายซึ่งมีสถาปัตยกรรมโดดเด่นทักทายเรามาจากที่ไกลๆ และเรียกได้ว่าเป็นงาน “ลายเซ็น” ของคุณโจ๊กอย่างชัดเจน   การต้อนรับของเจ้าบ้านก็ยังคงอบอุ่นเช่นเคย คุณโจ๊กเตรียมรับรองเราด้วยผักผลไม้ที่ได้มาจากสวนของชาวบ้านในละแวกใกล้ๆ ก่อนที่จะพาเราลัดเลาะสำรวจพื้นที่รอบๆ บนที่ดินขนาดกว่า 10 ไร่ พร้อมเล่าประวัติว่าเมื่อ 4 ปีก่อนตรงนี้เคยเป็นโรงไม้ของชาวบ้าน ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ จากโรงไม้เก่าที่เริ่มผุพัง คุณโจ๊กมองเห็นความงามที่ซ่อนอยู่ในความทรุดโทรมนั้น […]

CHEEVIT CHEEVA คาเฟ่ที่มีชีวิตมีชีวาสมชื่อ ด้วยรูปทรงออแกนิค

หากพูดถึงสถานที่แฮ้งค์เอ๊าต์ใจกลางเมือง สยามสแควร์คงเป็นจุดหมายที่ใครหลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก ด้วยความครบครันไม่ว่าจะเป็นแหล่งช็อปปิ้ง ร้านอาหาร คาเฟ่ หรือแม้กระทั่งสถานที่กวดวิชา รวมไปถึงร้าน Cheevit Cheeva Cheevit Cheeva คาเฟ่ขนาดเล็กกะทัดรัดที่แทรกตัวอยู่ในสยามสแควร์ อีกหนึ่งสาขาที่เหินฟ้ามาไกลจากเชียงใหม่ มีเจ้าของคือ คุณกันติชา สมศักดิ์ ผู้รักการทานของหวาน และอยากมีร้านเป็นของตัวเอง โดยมีครอบครัวเป็นผู้สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเมนูที่ช่วยกันคิดช่วยกันชิม หรือตัวร้านที่คุณกันติชาเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบเอง สำหรับสาขาสยามสแควร์ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ จึงทำให้ไม่สามารถตกแต่งร้านด้วยพรรณไม้นานาพรรณได้อย่างในสาขาต่างจังหวัด แต่เพื่อให้ยังคงคอนเซ็ปต์เดียวกันไว้นั่นคือความมี ‘ชีวิตชีวา’ ตามชื่อร้าน ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้รูปทรง Organic Form ซึ่งเป็นรูปทรงที่เกิดขึ้นอย่างอิสระเข้ามาช่วย โดยแทรกลงไปตามจุดต่าง ๆ เช่น ทางเข้าด้านหน้า ไปจนถึงกระจกแต่ละบานที่มีรูปทรงต่างกันบนผนัง นอกจากจะเป็นไอเดียสนุก ๆ แล้ว ยังช่วยเปลี่ยนบรรยากาศให้ร้านดูไม่อึดอัด และมีชีวิตชีวาสมความตั้งใจ เมื่อเดินผ่านทางเข้าที่มีรูปทรงโค้งเว้าสะดุดตาเชื้อเชิญให้เข้าไปด้านใน ทุกคนจะพบกับบรรยากาศภายในที่แสนอบอุ่น ตกแต่งด้วยโทนสีเขียวตุ่นของเก้าอี้และโต๊ะ ตัดกันดีกับส่วนเซอร์วิสโค้งมนสีคอปเปอร์ มีลูกเล่นที่ประตูบานเลื่อน สำหรับกั้นพื้นที่ครัวออกจากมุมให้บริการ ถือเป็นการช่วยประหยัดพื้นที่เปิด-ปิดได้อย่างดี  เรียกว่าลงตัวและกลมกล่อมเหมือนรสชาติของหวานที่ทางร้านเน้นให้เป็นอะไรที่ง่าย รวดเร็ว เหมาะกับชีวิตคนเมือง หากได้มาลองชิมแล้วรับรองต้องติดใจ จนอยากกลับมาที่นี่อีกแน่นอน   ที่ตั้ง สยามสแควร์วัน […]

COMMON ROOM X ARI กล่องกาแฟสีขาวสไตล์มินิมัลกลางอารีย์

แม้จะอยู่ในย่านที่ขึ้นชื่อว่ามีคาเฟ่เยอะที่สุดอย่างซอยอารีย์ แต่ร้าน Common Room X Ari นี้ก็ยังคงเป็นคาเฟ่ที่ถูกพูดถึงและเป็นจุดหมายของคอกาแฟอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงกับความตั้งใจของเจ้าของร้านและสถาปนิกที่เข้ามารีโนเวตร้านเดิม เพื่อให้เกิดภาพจำและความประทับใจใหม่  โดยใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น จนออกมาเป็นคาเฟ่ทรงกล่องสีขาวดูสะดุดตาแม้มองจากที่ไกล           เพื่อสร้างภาพจำให้แก่คาเฟ่ Common Room X Ari ที่มีพื้นที่เพียง 30 ตารางเมตรนี้ แน่นอนว่างานดีไซน์ทั้งภายในและภายนอกจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งขนาดพื้นที่ที่เล็กเช่นนี้ ทุกจุดจึงเต็มไปด้วยรายละเอียด โดยเฉพาะเรื่องของฮวงจุ้ย และความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่แฝงไว้ สำหรับทำหน้าที่สื่อสารบอกเล่าตัวตนแบบไม่ยัดเยียด แถมยังให้ความรู้สึกถึงงานดีไซน์ที่เรียบง่าย สะอาดตา เชิญชวนให้อยากเข้ามาเยี่ยมเยือน                 ที่นี่เด่นด้วยการออกแบบช่องเปิดขนาดใหญ่ สำหรับใช้เป็นวินโดว์ดิสเพลย์ที่สามารถมองเห็นทุกความเคลื่อนไหวภายในร้านได้ สร้างบรรยากาศให้ดูอบอุ่นจากไลท์ติ้งโทนสีวอร์มไวท์ และการเลือกใช้ไม้สีอ่อนเข้ามาเป็นส่วนประกอบในงานตกแต่งตามมุมต่าง ๆ โดยทุกฟังก์ชันล้วนมีความต่อเนื่องกันทั้งภายในและภายนอก ช่วยส่งเสริมให้พื้นที่ขนาดเล็กแห่งนี้แสดงศักยภาพออกมาได้สูงสุด ที่ตั้ง 5 ซอย พหลโยธิน 7 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท โทร.06-2416-7746 Fb.commonroomxari เจ้าของ : คุณนรฤทธิ์ หอมรังสฤษดิ์ ออกแบบ : […]

“บ้านแม่น้ำ” จากโกดังสู่เกสต์เฮ้าส์ที่อยากเป็นบ้านและไม่ต้องการความโดดเด่นอื่นใด

บ้านแม่น้ำ “ไม่น่าจะเรียกว่าบ้าน” นั่นคือคำตอบที่ออกมาจากปากของนักออกแบบ เมื่อพูดถึงอาคารไม้ใต้ถุนสูงริมแม่น้ำซองกาเรีย  จวบจนได้รู้ว่าอาคารไม้เก่าที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์พื้นถิ่นนี้เคยเป็นโรงงานผลิตไม้ขีดไฟเก่าแก่ของเมืองสังขละบุรี ต่อมาถูกปล่อยเช่าเป็นโกดังเก็บของ จนในที่สุดก็ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง ทั้งที่ที่ตั้งอยู่ในทำเลริมแม่น้ำ ไม่ไกลจากสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) และเจดีย์พุทธคยา สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรี “บ้านแม่น้ำ” คือเกสต์เฮ้าส์หลังเล็กที่เกิดจากความตั้งใจของ คุณเรืองกิตติ์ รักกาญจนันท์ ผู้เป็นเจ้าของ เขายังเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ผจญภัย ด้วยความที่คลุกคลีอยู่กับหนังสือมาตลอดชีวิต จึงไม่แปลกที่ห้องรับรองแขกทั้ง 4 ห้อง จะมีชื่อเสียงที่เรียงร้อยอย่างเสนาะหูตามชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ ได้แก่ บ้านแม่น้ำ แดดเช้า หัวใจห้องที่ห้า และเพียงความเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดสามารถรองรับผู้เข้าพักได้ไม่เกิน 20 คนเท่านั้น ท่ามกลางทำเลที่ถือว่ามีทัศนียภาพของคุ้งน้ำอันงดงาม สามารถชื่นชมวิถีชีวิตอันเนิบช้าของทั้งชาวไทยและชาวมอญในย่านนี้ได้อย่างใกล้ชิด สภาพเดิมของบ้านแม่น้ำเป็นอาคารไม้หลังเก่าอายุกว่า 70 ปี ที่ผ่านการซ่อมแซมในบางส่วนอย่างไม่ถูกต้อง จนสภาพที่เห็นนั้นไม่สามารถคาดเดาถึงรูปแบบอาคารได้ แต่ คุณพิศิษฐ์ ทองดา นักออกแบบจาก SMO Design Studio ก็ได้ชุบชีวิตอาคารเก่าหลังนี้ให้กลับมาสดชื่นและแข็งแรงอีกครั้งภายใต้แนวคิด “อยากรีโนเวตให้ตรงนี้เป็นเหมือนที่เคยเป็น” คุณพิศิษฐ์เล่าให้ฟังว่า “สิ่งที่ยากคือนาทีแรกที่ได้เห็นอาคารหลังเดิม  เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าที่ตรงนี้จะเรียกว่าอะไร ที่แน่ๆไม่น่าจะเรียกว่าบ้าน ดูคล้ายๆกับโกดังเก็บของ แต่ก็ไม่เหลือเค้าโครงใดๆ ให้เดาได้  อีกทั้งวัสดุก็ล้วนเสื่อมสภาพ  จึงต้องตัดสินใจรื้ออาคารออกทั้งหมด เหลือไว้เพียงแค่คาน […]