Restaurant Archives - room

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแควกลืนกับบริบท เด่นด้วยกำแพงกันดินจากหินกรวด

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแคว สะท้อนแรงบันดาลใจบริบทท้องถิ่น จากกำแพงกันดินหินกรวดที่ผสานไปกับรสอาหารในอาคารที่ถ่อมตนต่อบริบทของจังหวัดกาญจนบุรี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design ท่ามกลางบรรยากาศของป่าไม้ที่เรียงรายอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองกาญจนบุรี จะสังเกตเห็น KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำโครงสร้างสีน้ำตาลที่ได้รับการออกแบบโดย PHTAA living design อันเกิดจากการประกอบขึ้นของเหล็กและไม้จากที่มีในพื้นที่ ชวนต้อนรับแต่ยังซ่อนตัวในบริบทด้วยกรวดสีน้ำตาลซ้อนกันเป็นกำแพงด้านฝั่งริมแม่น้ำ ก่อเกิดภาพลักษณ์อันโดดเด่นแต่ยังอ่อนน้อมต่อสายน้ำที่ไหลผ่านและแมกไม้สีเขียวที่โอบล้อม องค์ประกอบทั้งหมดนั้นเกิดจากการตีความอย่างละเอียดลออโดยสตูดิโอออกแบบที่คอยมองหาและพลิกแพลงวัสดุรอบตัว ให้กลายมาเป็นภาษาการออกแบบอันแปลกใหม่ เช่นเดียวกับร้านอาหารพื้นที่ใช้สอย 800 ตารางเมตร แห่งนี้ ซึ่งก่อร่างจากวัสดุท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของบริบทของที่ตั้งโดยการผสานตัวอาคารให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำแควใหญ่ที่เป็นเส้นทางผ่านด้านหน้า ทำให้อาคารแห่งนี้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าถึงนอกเหนือจากการเข้าถึงที่ถนนจากอีกฝั่ง ที่ตั้งซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ มีลักษณะพื้นดินเป็นตลิ่งไล่ระดับความสูง 3 เมตร สถาปนิกจึงริเริ่มตั้งโจทย์จากตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเป็นทั้งความท้าทาย ในอีกแง่ก็เป็นการใช้ประโยชน์จากทิวทัศน์ธรรมชาติเสริมให้อาคารมีความน่าสนใจ อาคารมีแนวคิดป้องกันการกัดเซาะจากแม่น้ำด้วยกำแพงกันดินที่สร้างด้วยวัสดุท้องถิ่นอย่างกรวดแม่น้ำที่หาได้โดยรอบ จากที่แต่เดิมมักเป็นเพียงกำแพงคอนกรีตหนาหนักไม่เป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นทัศนอุจาดริมฝั่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง สถาปนิกพลิกแพลงกำแพงกันดินนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับสถาปัตยกรรม โดยการใช้กรวดให้เกิดเป็นฟังก์ชันที่น่าสนใจจากคุณสมบัติ อันได้แก่ ความคงทน น้ำซึมได้ยาก และมีสีเฉพาะตัวแต่ยังเป็นเนื้อเดียวกันกับบริบท วางซ้อนสร้างความเป็นส่วนตัวและรองรับน้ำหนักของอาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็นเหล็กและไม้ ในขณะเดียวกันกำแพงก็ถูกออกแบบให้ยังคงความโปร่งโล่งให้กับภายในร้านอาหารเพื่อความเย็นสบาย โอบกอดให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากวัสดุมุงหลังคาแบบโปร่งแสง ทว่ามีแผงระแนงไม้อยู่ใต้หลังคาช่วยกรองปริมาณแสงไม่ให้ภายในร้อนมากเกินไป นอกจากนั้น เพื่อให้อาคารกลืนไปกับผืนป่าโดยรอบจึงออกแบบความสูงของหลังคาให้อยู่ระดับที่พอดี ส่งผลให้มีพื้นที่ระเบียงยื่นออกมาจากแนวหลังคา […]

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ที่เชียงใหม่ เสิร์ฟอาหารจากวัตถุดิบของดีทั่วไทย

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ กับร้านบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนมากินข้าวที่บ้านเชฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 โปรเจ็กต์รีโนเวตร้านอาหารกลางเมืองเชียงใหม่ กับร้าน Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงทำอาหาร ด้วยชื่อเสียงและความถนัดด้านการนำวัตถุดิบท้องถิ่นทั่วไทยมาสร้างสรรค์เป็นเมนูพิเศษ กับเชฟเบียร์-อโณทัย พิชัยยุทธ เชฟทำขนมหวาน หลังจากที่ร้านอาหารของทั้งคู่เป็นที่รู้จักและเป็นขวัญใจของเหล่านักชิมมาระยะหนึ่ง เชฟทั้งสองท่านจึงตัดสินใจรีโนเวตร้านของตนเองใหม่ โดยมอบหน้าที่ให้สตูดิโอออกแบบ 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 มาช่วยถ่ายทอดบรรยากาศและความเป็นตัวตนของเชฟลงไปในพื้นที่ กับการเปลี่ยนโฉมร้านอาหารที่แม้จะอยู่ในตึกแถวขนาด 3 ชั้น แต่กลับโดดเด่นกว่าร้านอื่นในละแวกใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ดูคล้ายกับกล่องสีขาว ติดป้ายชื่อร้านสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีตัวแทนประจำร้านให้เห็นเด่นชัด ร่วมกับองค์ประกอบงานไม้เพื่อสื่อถึงบรรยากาศที่น่าเชื้อเชิญ ไม่ต่างจากกำลังเดินเข้ามาในบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นธีมที่เจ้าของร้านอยากให้มีมู้ดราวกับกำลังเข้ามากินข้าวที่บ้านของเชฟแบบเป็นกันเอง ฉีกแนวเหมือนไม่ได้เดินเข้ามาในตึกแถว อย่างประตูทางเข้าที่ไม่ใช่ประตูทางเข้าตึกแถวทั่วไป แต่เป็นประตูที่ให้อารมณ์เหมือนเดินเข้าบ้าน ขณะที่ด้านข้างมีช่องหน้าต่างไม้กรุกระจกเล็กมีความเป็นไทยผสมญี่ปุ่น ชั้น 1 เป็นพื้นที่เคาน์เตอร์ทำขนมของเชฟเบียร์ ในวันที่มีคอร์สทำขนม ลูกค้าสามารถนั่งชมการทำขนมของเชฟ และรับประทานขนม พร้อมพูดคุยกับเชฟได้ เดินถัดเข้ามาจะพบกับส่วนที่เปรียบเสมือนพื้นที่แสดงผลงานการถนอมอาหารและโชว์วัตถุดิบที่เชฟแบล็กทำเอง ซึ่งถูกตีความว่าเป็นงานคราฟต์ของการทำอาหาร โดยทุกคนจะได้เห็นโถหมักดองเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มีที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นหลากหลาย ก่อนนำมาใช้ประกอบอาหารจนเป็นเอกลักษณ์ จากพื้นที่โชว์ผลงานผ่านโหลเครื่องปรุงที่ชั้น 1 ขึ้นสู่ชั้น […]

Navan Navan ประสบการณ์แปลกใหม่ ในร้านฟีลถ้ำ

“เชฟแวน” เจ้าของร้าน Escapade Burgers & Shakes, ราบ และ DAG ผู้มีคาแร็กเตอร์ชัดเจน ดูแข็งแกร่ง กำยำ ดุดัน รวมทั้งเมนูอาหารที่จัดจ้านในความ Creative นั่นจึงทำให้ร้านเห็นนี้ มีภาพลักษณ์ที่ดูลึกลับ คล้ายถ้ำ เผื่อชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ว่าภายในนั้นจะรังสรรค์อาหารแบบไหนให้กับลูกค้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Godmother Studio ร้านแห่งนี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาของการเลือกที่จะกลับสู่บ้านที่แม่ริมของเชฟแวน ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ก็เป็นบริเวณบ้านชองครอบครัวอยู่แล้ว ที่มีทั้ง Homestay ร้านกาแฟ สวนดอกไม้ ในทุ่งที่ชื่อ “Amaze l at Themyth ” ซึ่งตั้งในอยู่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ล้อมรอบด้วยทุ่งนา และทิวเขา มีวิวอาทิตย์ตกอันงดงาม เพราะแก่การยกถ้ำส่วนตัวมาตั้งไว้อย่างเหมาะเจาะ การเลือกใช้วัสดุที่แสดงออกถึงสัจวัสดุไร้การเติมแต่งคือหัวใจของการออกแบบในครั้งนี้ ภายนอกนั้นเป็นการก่ออิฐฉาบปูนโดยทำผิวด้วยเทคนิคโบราณอย่างการ “สลัดดอกปาดเรียบ” ซึ่งก่อให้เกิดเท็กซ์เจอร์ที่ดูเหมือนธรรมชาติมากกว่าเทคนิคสมัยใหม่ ส่วนภายในนั้นใช้การฉาบเรียบ เคลือบใส โดยไม่ใช้การทาสี และใช้ไม้เป็น Subroog ให้กับฝ้า เพื่อลดความดิบของปูน แต่ยังโชว์ถึงโครงสร้างไว้อย่างชัดเจน จากภายนอกนั้นออกแบบให้เดินเข้าสู่ภายในด้วยความสูงที่ค่อยๆลดหลั่นลงไปยังบาร์ และส่วนประกอบอาหาร เพื่อเน้นถึงจุดสนใจบริเวณบาร์อาหาร […]

The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์

โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]

BLESSING SHOPHOUSE รีโนเวตตึกแถวสู่ค็อกเทลบาร์ หรูหราร่วมสมัยในสไตล์โลกตะวันออก

ท่ามกลางตึกแถวเก่าและความพลุกพล่านของสังคมเมือง Blessing Shophouse หยิบยกเรื่องราวของโชค พร และมงคลตามวิถีจีน มานำเสนอผ่านซิกเนเจอร์ค็อกเทลทั้ง 9 เมนู ทั้งยังถ่ายทอดสัญลักษณ์แห่งความโชคดี และพรประทาน (Blessing) ผ่านบรรยากาศการตกแต่งออกแบบที่ผสมผสานระหว่างมนต์เสน่ห์ของโลกเก่า กับกลิ่นอายสมัยใหม่อย่างลงตัว ชุบชีวิตตึกเก่าด้วยการรีโนเวตจากตึกแถวเก่าที่รายล้อมไปด้วยห้างร้านธุรกิจรายย่อยและที่พักอาศัยในซอยสุขุมวิท 14 ย่านอโศก ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจของประเทศ ทายาทของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้สืบทอดแบรนด์ Royaltique ธุรกิจค้าขายเฟอร์นิเจอร์เก่าจากเมืองจีน ได้ชุบชีวิตตึกแถวของครอบครัวให้กลับมามีสีสันอีกครั้ง และเนื่องด้วยความชอบจิบค็อกเทลเป็นทุนเดิม ประกอบกับการเป็นสถาปนิก จึงลงมือออกแบบและเนรมิต Blessing Shophouse ให้พื้นที่ตึกแถวแปรสภาพเป็นถ้ำค้างคาวที่มีค็อกเทลบาร์ด้านล่าง โดยมีพื้นที่สังสรรค์สำหรับผู้ต้องการความเป็นส่วนตัวบนชั้น 2 ค็อกเทลบาร์แห่งนี้ ยึดโยงกับคอนเซ็ปต์ Ancient Modernism ซึ่งหยิบยกการออกแบบ และภูมิปัญญาตะวันออกของคนรุ่นก่อน มาจับคู่เข้ากับความร่วมสมัย ขณะเดียวกันก็สัมผัสได้ถึงความโมเดิร์นในองค์ประกอบของบาร์ ตั้งแต่ประตูทางเข้าที่ย้ายมาหลังบ้าน โดดเด่นด้วยสัญลักษณ์บาร์ที่มีลักษณะเงาค้างคาวทั้งสี่มุม ผสมผสานกับลวดลายดอกบ๊วยแบบดั้งเดิม มองผิวเผินอาจเห็นแค่ลายดอกบ๊วยทั่วไป แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบค้างคาวซึ่งค่อย ๆ เผยตัวออกมา ยังไม่รวมถึงแสงเงารูปค้างคาวบริเวณมุมขวาบน เปรียบดังการพุ่งทะยานไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง สัญลักษณ์นำโชคของชาวจีนล้วนแต่แฝงไว้ด้วยคติและกุศโลบาย เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ค้างคาวทั้ง 4 มุม สื่อถึงพร 4 ประการของชาวจีน […]

ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม สู่ช็อปเฮ้าส์ร่วมสมัย

โปรเจ็กต์ รีโนเวทตึกแถว กับการคงเอกลักษณ์อาคารโคโลเนียลในประเทศกัมพูชา สู่พื้นที่ร้านอาหารและบ้านพักอาศัย รีโนเวทตึกแถว สไตล์โคโลเนียล ซึ่งตั้งอยู่ในย่านการค้าเก่าแก่ริมแม่น้ำในเมืองกำปอต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา จากที่เคยปิดร้างและมีสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็นช็อปเฮ้าส์ เปิดทำธุรกิจร้านอาหารที่ชั้นล่าง และทำพื้นที่พักอาศัยที่ชั้นบน ออกแบบและรีโนเวตโดย Bloom Architecture สะท้อนถึงแนวคิดการให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และอีกด้านหนึ่งยังถือเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เล่าย้อนไปที่นี่เคยเป็นร้านค้าดำเนินกิจการของครอบครัวของเจ้าของมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อความเจริญของเมืองท่าเริ่มลดความสำคัญลง อาคารแห่งนี้ได้ทิ้งร้างมานานหลายปี ก่อนได้รับการฟื้นคืนชีวิตชีวาอีกครั้งในฐานะที่กลายเป็นร้านอาหารและบ้านพักอาศัย เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก และรักษาความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่กัมพูชาเคยเป็นเมืองอาณานิคมฝรั่งเศส จากการรู้คุณค่าดังกล่าวสถาปนิกจึงมุ่งเน้นที่การรักษาลักษณะดั้งเดิมของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขั้นตอนของการนำพาอาคารเก่าข้ามเวลาสู่ยุคสมัยใหม่ สถาปนิกเน้นแผนการปรับปรุงอาคารโดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของอาคารไว้ เริ่มจากภายนอกที่คงเก็บช่องเปิดโค้งขนาดใหญ่ที่ระเบียงชั้นสอง ลายปูนปั้นวิจิตรบรรจง ร่องรอยและคราบสีเก่าบนผิวอาคาร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของวันเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ผสมกับไม้รีไซเคิลที่รื้อถอนจากตัวบ้านบางส่วน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่วนหน้าต่างของบ้านเป็นการสั่งทำขึ้นมาใหม่ แสดงถึงการเข้ากันได้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ได้อย่างลงตัว พื้นที่ภายในมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 319 ตารางเมตร แม้รูปลักษณ์ของอาคารจะเป็นอาคารพาณิชย์สไตล์โคโลเนียล แต่ฟังก์ชันภายในกลับบรรจุด้วยความสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบัน ชั้นล่างเปิดโล่งมีที่นั่งให้เลือกหลากหลาย จัดวางโต๊ะและเก้าอี้ไม้หลายรูปทรงสำหรับเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร ฝ้าเพดานดูสูงโปร่งเผยให้เห็นคานไม้ ผนังอิฐโชว์ลายเผยให้เห็นเท็กซ์เจอร์วัสดุดั้งเดิม ประดับตกแต่งบรรยากาศด้วยภาพศิลปะแอ๊บสแตร็กต์สีสันสดใส ส่วนพื้นเป็นกระเบื้องลายโบราณที่โดดเด่นเป็นเอกลัษณ์และนิยมใช้กันในสมัยก่อน รับแสงและอากาศให้ไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ผ่านการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดซึ่งมีบันไดวนโลหะขนาดใหญ่สีขาวทอดผ่านลานตรงกลางนี้ สูงขึ้นไปจนถึงห้องนั่งเล่นส่วนตัวที่อยู่ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้าน โดยบันไดวนนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบอย่างมาก ใช้ในการนำพาแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงระดับพื้นที่ใช้งานชั้นล่าง และช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายแม้ในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนระอุ […]

161 CAFETERIA AND CRYPT ร้านอาหารและคาเฟ่เอกมัย อบอุ่นในบ้านหลังใหญ่ยุค70’s

161 Cafeteria and Crypt ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน บรรยากาศเหมือนพาตัวเองมานั่งกินข้าวในบ้านอบอุ่นยุคเจ็ดศูนย์ ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน พร้อมบาร์ลับที่ซ่อนตัวอยู่ในชั้นใต้ดิน กับร้านที่มีชื่อว่า 161 Cafeteria and Crypt โดยมีที่มาจากเลขที่บ้าน ต่อด้วยคำว่า Cafeteria ซึ่งแปลว่า “โรงอาหาร” เปรียบเสมือนสถานที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มาพร้อมกับความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมบ้านโมเดิร์นรูปทรงเรขาคณิตหลังใหญ่ที่ผ่านกาลเวลามานาน ซึ่งนับเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคแรกของกรุงเทพฯ ที่เริ่มหาดูยาก เมื่อบ้านรุ่นเดียวกันหลาย ๆ หลังในย่าน เริ่มทยอยถูกแทนที่ด้วยอาคารสมัยใหม่ และตึกสูงระฟ้า การนำพาสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคเก่าย่านเอกมัยให้คืนชีพกลับมาครั้งนี้ มาจากเจ้าของร้าน คุณส้ม-กัญญ์ณพัชร์ นุ่มประสิทธิ์ ที่อยากให้สถานที่นี้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาพักผ่อน ปรับอารมณ์ลงจากความเร่งรีบภายนอก เพื่อมาพบกับบรรยากาศสงบภายใน ชวนให้รู้สึกเหมือนได้กลับมากินข้าวที่บ้าน หลังจากที่ตัวบ้านไม่มีคนอยู่อาศัย และถูกปล่อยให้เช่า เมื่อคุณส้มมาพบกับทำเลนี้ เธอรู้สึกชอบในบรรยากาศ และสตอรี่ของบ้าน จึงตัดสินใจเช่า และรีโนเวตบ้านนี้ใหม่ โดยไม่ต้องการทุบอาคารออก แต่เลือกที่จะเก็บรักษาอาคารนี้ไว้ เพื่อดึงเสน่ห์ และความงดงามของสถาปัตยกรรมยุคเก่า ให้คนยุคใหม่ได้รู้จัก และเข้ามาใช้งานพื้นที่ จากถนนภายในซอยเมื่อมองเข้ามาจะเจอกับภาพอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ กั้นพื้นที่สวนข้างบ้าน และลานจอดรถด้วยแนวกำแพงอิฐที่ทำขึ้นมาใหม่ ให้กลายเป็นผนังอิฐจัดเรียงแพตเทิร์นสวยงาม ล้อไปกับแนวขอบอาคารที่ทาสีใหม่เป็นสีส้มอิฐ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในร้านที่ได้รับการแบ่งเป็นโซนคาเฟ่ด้านหน้า มีเคาน์เตอร์บาร์ทำกาแฟ […]

Nusara ร้านอาหารไทยไฟน์ไดนิ่ง เล่าความทรงจำถึงคุณยายนักตัดเสื้อ

Nusara – นุสรา ร้านอาหารไทยไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร ที่ขอย้ายทำเลใหม่จากร้านนุสราเดิม เพื่อนำเสนอประสบการณ์การรับประทานอาหารรูปแบบใหม่ พร้อมเสพบรรยากาศวิวที่แสนอลังการสวยงามของวัดโพธิ์ฯ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace.co ร้านอาหารไทยโมเดิร์น นามว่า “Nusara – นุสรา” กับชื่อที่ตั้งขึ้นเกิดจากการนำความทรงจำ และความรักที่มีต่อคุณยาย “นุสรา” คุณยายของเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร และคุณตาม-ชัยสิริ ทัศนาขจร น้องชาย มาถ่ายทอดผ่านบรรยากาศที่เล่าเรื่องราว และคาแร็กเตอร์สนุกสนานของคุณยายช่างตัดเสื้อ มีทีมออกแบบจาก Tastespace.co นำโดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช รับหน้าที่นำเสนอประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารผ่านการใช้สอยพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การออกแบบที่คลี่คลายมาจากคาแร็กเตอร์ และอาชีพของคุณยายในบรรยากาศแบบ Fabric Library รีโนเวทโฮสเทลเก่าสู่ร้านอาหารไทยเสิร์ฟวิววัดโพธิ์ จากร้านนุสราเดิมที่อยู่ในซอยท่าเตียน ได้ย่านทำเลใหม่มาอยู่ที่ปากซอย ติดถนนมหาราช กับความพิเศษของวิววัดโพธิ์ฯ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามพอดี ย้อนกลับไป อาคารนี้เคยเป็นโฮสเทลปิดร้างมานานกว่า 3 ปี ก่อนได้รับการรีโนเวทใหม่ในครั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่การเปลี่ยนดีไซน์ของโฮสเทลเดิม จากที่ต้องมีความเป็นส่วนตัว มีหน้าต่าง และผนังเปิดบ้าง-ทึบบ้าง ให้กลายเป็นร้านอาหารเน้นวิวอลังการของวัดโพธิ์ฯ รวมถึงต้องทุบห้องพักที่ถูกซอยเป็นห้องย่อย ๆ […]

TIN TIN ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร สร้างประสบการณ์ใหม่คล้ายอยู่ในถ้ำมรกต

TIN TIN ตัวอย่างการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ในประเทศอินเดีย กับคอนเซ็ปต์ที่มุ่งให้เกิดประสบการณ์แปลกใหม่ คล้ายกำลังเดินลัดเลาะอยู่ในเขาวงกต โอบล้อมด้วยเส้นโค้ง และโมเสกสี่เหลี่ยมสีเขียวมรกต ที่นี่ตั้งอยู่ที่เมืองจัณฑีครห์ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย มีความโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุเรียบง่าย สร้างดีไซน์โค้งมนพลิ้วไหว เป็นผลงานการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ของสถาปนิกอินเดีย Renesa Architecture Design Interiors สตูดิโอออกแบบที่มีแนวคิดการเลือกใช้วัสดุพื้นเมืองมาสร้างให้เกิดเอกลักษณ์ได้อย่างน่าสนใจ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นเสมือนการออกแบบเชิงทดลองของพวกเขา ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจในการเล่นสนุกไปกับการสร้างมุมมองและประสาทสัมผัสที่แตกต่างจากร้านทั่วไป เพราะมีทั้งพื้นที่ซอกแซก และเส้นโค้งโอบรับ ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือการสร้างเท็กซ์เจอร์ผิวสัมผัสของวัสดุที่แตกต่าง อันเกิดขึ้นจากการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นของอินเดียเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องโมเสกสีเขียวมรกต น้ำตาล ขาว และเทา ร่วมกับหินขัด ซึ่งเป็นเทคนิคและมีวิธีการทำมือทุกขั้นตอน ใช้เวลานานกว่า 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ กล่าวได้ว่าเป็นเสมือนงานคราฟต์ที่ช่วยเติมเต็มชีวิตชีวาให้แก่สถานที่ได้มีเรื่องราวน่าสนใจ ผ่านเทคนิคและวิธีการก่อสร้างโดยช่างผู้ชำนาญในพื้นที่ การผสมผสานกันระหว่างส่วนของผนัง ซุ้มทางเดินโค้ง เพดานโค้งมน ประกอบกับเส้นเลย์เอ๊าต์ ที่คดโค้งสลับไปมา สิ่งเหล่านี้คือการบ่งบอกถึงความต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ ให้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แม้จะมองเห็นแพตเทิร์นซ้ำ ๆ หรือคล้าย ๆ กัน […]

North รีโนเวทบ้านเป็นร้านอาหาร ล้านนาในประสบการณ์ใหม่

North Restaurant นำเสนอประสบการณ์แห่งรสสัมผัสใหม่ของอาหารล้านนา ณ เรือนไม้สีเขียวสไตล์โคโลเนียลใจกลางสุขุมวิท DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Bangkok Day Group บ้านไม้อายุเกือบศตวรรษของ หม่อมหลวงนวม สนิทวงศ์ ได้รับการปรับปรุง-ต่อเติมใหม่ให้กลายเป็นร้านอาหารสองชั้นขนาด 80 ที่นั่ง เพื่อบอกเล่าความงดงาม และรุ่งเรืองของมรดกวัฒนธรรมล้านนาในแบบร่วมสมัย พร้อมตอบโจทย์การสร้างประสบการณ์ใหม่สำหรับไฟน์ไดนิ่งอาหารเหนือแห่งแรกของกรุงเทพฯ ที่รับรองว่าไม่เหมือนใครด้วยสูตรพิเศษจากเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟคนดังผู้ขึ้นชื่อเรื่องอาหารไทย บ้านไม้อายุกว่า 80 ปีหลังนี้ยืดหยัดผ่านร้อนหนาวมาหลายยุคสมัย และก่อนหน้าที่คุณปิยพัทธ์ อรรถวิภัชน์ และครอบครัว จะตั้งใจเข้ามาสร้างความหมายใหม่ให้กับบ้านหลังนี้ในฐานะเจ้าของร้าน North ที่นี่ก็เคยเป็นร้านอาหารมาก่อน การปรับปรุงต่อเติมจึงตั้งอยู่บนโจทย์ของการสร้างสรรค์บรรยากาศแบบล้านนาร่วมสมัย ในขณะเดียวกันก็ให้ความเคารพต่อตัวบ้านดั้งเดิม ด้วยการปรุงแต่งหรือปรับเปลี่ยนให้น้อยที่สุด ผู้ออกแบบจึงรื้อถอนส่วนต่อเติมเก่าออกทั้งหมด เผยให้เห็นสนามกว้างด้านหน้า ช่วยขับเน้นความสง่างามของบ้านให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมออกแบบโครงสร้างผนังกระจกชั้นล่างให้สอดประสานไปกับตัวบ้าน สร้างภาพลักษณ์ที่สะดุดตา และประสบการณ์การเข้าถึงที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ยังต่อเติมบริเวณพื้นที่ห้องอาหารด้านหลังให้เป็นดับเบิ้ลสเปซสูงโปร่งสอดคล้องไปกับตัวบ้านเดิม ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่ห้องอาหารส่วนตัว เพื่อรองรับหลากหลายฟังก์ชั่นในการให้บริการ บรรยากาศภายในโปร่งสบาย สอดแทรกกลิ่นอายล้านนาผ่านองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่นำมาตีความใหม่ให้เกิดเซอร์ไพร์ส์ในหลายๆ จุด อาทิ โคมยี่เป็ง ร่มบ่อสร้าง ผ้าซิ่น แหย่ง ขนมจอก ฯลฯ กลายเป็นรายละเอียดการตกแต่งที่ละเมียดละไม เสริมด้วยความโดดเด่นของงานศิลปะหลากหลายรูปแบบทั้งภาพวาด […]

KOPIHUB PRIME ARI รีโนเวทบ้านเก่า สู่ร้านติ่มซำกลิ่นอายไทย-จีน

โกปี๊ฮับ l KopiHub ร้านติ่มซำเจ้าดังจากชลบุรีที่ขยายสาขามายังอารีย์ซอย 2 กับสาขาที่ให้ชื่อว่า KopiHub Prime Ari เด่นด้วยการดึงเสน่ห์บ้านเก่ามาตกแต่งให้มีบรรยากาศหรูหราสมฐานะร้านอาหารใจกลางเมือง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio KopiHub Prime Ari ได้รับการออกแบบโดย Does studio ที่ยังคงเก็บรายละเอียดและโครงสร้างของบ้านเก่าไว้เกือบทั้งหมด ก่อนปรับพื้นที่บางส่วนเพื่อให้รับกับฟังก์ชั่นใหม่ ต่อเติมบางส่วนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงไปพร้อมกับองค์ประกอบที่ถือเป็น Corporate Identity หรือเอกลักษณ์ประจำของแบรนด์โกปี๊ฮับ l KopiHub เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับอีก 2 สาขาที่ชลบุรี กลายเป็นการเจอกันระหว่างงานดีไซน์เก่ากับใหม่แบบลงตัว คืนชีพบ้านเก่าปรับพื้นที่สู่ฟังก์ชันใหม่การทำให้บ้านเก่ากลับคืนมาสู่ฟังก์ชันใหม่เป็นร้านอาหาร ทีมสถาปนิกและวิศวกรต้องประเมิณความแข็งแรงด้านโครงสร้างเพื่อคงเสน่ห์ของบ้านเดิมไว้ให้มากที่สุด โดยมีบางส่วนที่ต้องต่อเติมและเสริมโครงสร้างเพื่อความแข็งแรง จากบ้านสีเขียวหลังคาทรงจั่วครึ่งปูนครึ่งไม้ วันนี้จึงกลายมาเป็นบ้านไม้สีเข้มตัดแดง เอกลักษณ์ของแบรนด์โกปี๊ฮับ การรีโนเวทมีความยากหลายส่วน อาทิ การรื้อไม้เดิมออกแล้วนำมาขัดหน้าไม้ใหม่ ปรับโทนไม้ให้เป็นสีเข้ม ก่อนประกอบคืนกลับคืนไป ขณะที่โครงสร้างที่โดนปลวกกัดกินต้องทำการเสริมโครงสร้างเหล็กอย่างโครงเหล็กรัดเสาไม้ให้แข็งแรง ขณะที่คานเดิมบนชั้นสองได้ทำคานไขว้เพื่อรับน้ำหนักพื้นชั้น 2 ไว้ และเพิ่มระบบกันปลวกไว้ใต้ดิน องค์ประกอบของบ้านเก่าที่ตั้งใจเก็บไว้นี้ สามารถเข้ากันดีกับดีไซน์ใหม่ได้อย่างไม่เขิน เช่น เสาปูนทรงโรมันหน้าบ้าน บันไดไม้เก่าตำแหน่งหน้าต่างของบ้านที่ยังคงอยู่ที่เดิม เพิ่มเติมคือเปลี่ยนให้ช่องหน้าต่างมีขนาดกว้างและสูงขึ้น เพื่อดึงแสงและรับวิวเต็มที่ ชั้นบนเก็บระเบียงบ้านไว้ […]

KABOCHA SUSHI LADPRAO 19 รีโนเวทร้านอาหารให้มีเสน่ห์ดั่งงานคราฟต์ญี่ปุ่น

Kabocha Sushi Ladprao 19 เมื่อศิลปะการทำซูชิไม่ต่างไปจากการรังสรรค์งานศิลปะ ที่นี่จึงเปรียบซูชิทุกคำดั่งงานคราฟต์ กับบรรยากาศร้านอาหารญี่ปุ่นที่ออกแบบเหมือนได้มากินข้าวที่บ้านเชฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Storage Studio จากสโลแกน “Crafting the Day with Sushi Happiness” ของ Kabocha Sushi Ladprao 19 ร้านซูชิเจ้าอร่อยที่เปิดมาแล้ว 11 สาขา และสำหรับสาขานี้ซึ่งเป็นสาขาแรก และเป็นสาขาเดียวที่เปิดในรูปแบบสแตนอโลน เมื่อถึงคราวต้องรีโนเวตร้านใหม่จึงต้องการบอกชัดถึงเรื่องราวความพิถีพิถันของเชฟทำซูชิ ที่ต้องใช้ความใส่ใจ ไม่ต่างจากการรังสรรค์งานศิลป์ เพื่อให้ซูชิมีความหมายมากกว่าแค่คำว่าอิ่มท้อง . ฉลุลายไม้ญี่ปุ่นตกแต่งผ่านฟาซาดไม้ซีดาร์ Storage Studio จึงตีความคำว่างานคราฟต์ตามความต้องการของร้าน Kabocha Sushi ที่ต้องการสื่อถึงเทคนิคการแกะสลักไม้ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า Yozegi & Kumiko ศิลปะการนำไม้หลากสีรูปทรงเรขาคณิตมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ผ่านฝีมือวิจิตรของช่างไม้ชาวญี่ปุ่นที่สื่อถึงงานศิลป์ชั้นสูง เช่นเดียวกับร้านคาโบฉะที่เน้นการนำวัตถุดิบหลากหลายมารังสรรค์เป็นเมนูอาหารแสนอร่อย ไม่ต่างไปจากการทำงานคราฟต์ จากชื่อ “คาโบฉะ” ที่แปลว่า ฟักทอง ทีมงานออกแบบจึงเน้นนำลายฟักทอง ซึ่งมีลวดลายคล้ายการแกะสลักไม้ญี่ปุ่นมาใช้เป็นลายกราฟิกฉลุลงบนฟาซาดไม้ซีดาร์ย้อมสี ที่โดดเด่นด้วยหลังคาทรงจั่วหน้าปากซอยลาดพร้าว 19 […]

CUPPA COTTAGE ร้านอาหารสุราษฎร์ธานี ตีความสไตล์คอตเทจใหม่ ให้ทุกมื้อเหมือนมาดินเนอร์ในร้านหรู

ร้านอาหารสุราษฎร์ธานี Cuppa Cottage รีแบรนดิ้งร้านอาหารจากเคยอยู่ในปั๊มน้ำมัน สู่ความพรีเมียมแบบแคชวลไดนิ่งสุดหรูหรา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: party/space/design สำหรับคนในท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช น่าจะคุ้นหูกับร้าน Cuppa Cottage ร้านอาหารสุราษฎร์ธานี ที่เปิดสาขาภายในปั๊มน้ำมันของพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัดเป็นอย่างดี คราวนี้ทางร้านขอพาตัวเองออกมาสู่พื้นที่นอกปั๊มน้ำมันดูบ้าง กับสาขาใหม่กับการเปิดร้านแบบสแตนอโลนตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจอยากรีแบรนดิ้งแบรนด์ Cuppa Cottage Cafe’&Bistro ให้มีความความพรีเมียมมากขึ้น กับบรรยากาศการออกแบบตกแต่งร้านที่ตีความคำว่า “Cottage” ใหม่ สู่ร้านอาหารสไตล์หรูหราแต่เข้าถึงง่าย ผ่านการออกแบบโดย party / space / design จาก Cuppa Coffee คาเฟ่สีขาว-แดง ลูกค้าสามารถเดินเชื่อมถึงกันมายังร้านอาหาร Cuppa Cottage ได้เพียงไม่กี่ก้าว มีสวนเอ๊าต์ดอร์เล็ก ๆ คั่นกลาง เพื่อส่งต่อและรับช่วงบรรยากาศระหว่างกันและกัน เรียกว่าสั่งกาแฟเสร็จแล้ว สามารถมารับประทานอาหารมื้อหนักต่อที่ร้านอาหาร Cuppa Cottage ได้เลย เปลี่ยนผ่านอารมณ์ด้วยโทนสีของอาคารทั้งสองหลังที่แตกต่างกัน จากอาคารสีขาว-แดง สู่อาคารสีดำเข้มขรึม ตีความคำว่าคอตเทจให้ดูไม่เชย […]

แหลมเจริญซีฟู้ด เอกมัย พักใจด้วยอาหารทะเลสดใหม่ ในบรรยากาศท่าเรือทะเลระยอง

ยกบรรยากาศท่าเรือแบบไทย ๆ แต่ใส่ความเป็นสากลลงไป ให้กลายเป็น Everyday Dinning ที่ไม่ว่าจะมากับครอบครัว หรือนั่งพักผ่อนในยามเย็นก็เหมาะสม ออกแบบด้วยฟีลไม้คล้ายสะพานปลา และท่าเรือโบราณ แต่งเติมด้วยรูปแบบ Tectonic ที่สื่อถึงความรายละเอียดคล้ายงานของช่างต่อเรือ ท่ามกลางเนินหญ้าที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเกลียวคลื่นของแหลมเจริญ จังหวัด ระยอง โครงการ Ekkamai Dining Neighborhood เป็นพื้นที่ Life Style Mall แห่งใหม่ ในย่านเอกมัย ซึ่งใส่ใจกับการออกแบบที่ประสานวิถีการใช้ชีวิต สู่พื้นที่สีเขียวในบรรยากาศสบาย ๆ คล้ายความเป็นย่านการค้าในรูปแบบร้าน Stand Alone เหมือนย่านสยามสแควร์ หรืออินทราสแควร์ในอดีตก่อนการมาของความนิยมโครงการแบบ ห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน จากภายนอก แหลมเจริญซีฟู้ด เอกมัย จะตั้งอยู่ด้านหน้าของโครงการ มองเห็นเป็นอาคารไม้อย่างเด่นชัด แต่แท้จริงแล้วอาคารหลังนี้ใช้การรีโนเวตอาคารเก่าในพื้นที่โดยเลือกใช้การปิดผิวเปลือกอาคารทั้งหมดด้วยไม้เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้กลายเป็นร้านอาหารที่ดูอบอุ่น และเชื้อเชิญ พื้นที่โดยรอบนั้น ออกแบบให้เป็นทางเดินที่เลี้ยวลัดไปกับเนินหญ้าที่มองคล้ายเกลียวคลื่นน้อยใหญ่ สร้างความรู้สึกที่เป็นพลวัตรให้กับบรรยากาศ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเกริ่นนำบรรยากาศของท้องทะเล ประกอบไปกับโคมไฟเสาไฟที่ดูคล้ายกับไม้หลักผูกเรือที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ก่อนที่ทุก ๆ คน จะได้เดินเข้าไปสู่ท่าเรือแห่งนี้ เมื่อเดินเข้าสู่ภายใน พื้นที่แรกที่พร้อมต้อนรับทุกๆคนคือบาร์ ในบรรยากาศ Seaside […]