People Archives - Page 8 of 21 - room

BILID ฉากหวายสะท้อนความคิดที่แตกต่าง พลิกด้านต่างอารมณ์

ฉากหวายกั้นพื้นที่ BILID ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการจับคู่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่กับโรงงานผู้ผลิต ภายใต้โปรเจ็กต์ Emerging PLANT พื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบจากประสบการณ์จริง สนามธุรกิจของจริง สำหรับนักออกแบบรุ่นเล็ก ภายใต้การดูแลของรุ่นพี่มืออาชีพ BILID คือฝีมือการออกแบบของคุณศรัณย์พร บุญโต นักออกแบบรุ่นเล็กที่ร่วมมือกับแบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์หวายชั้นนำของไทยอย่าง Corner 43 Decor ภายใต้คำแนะนำด้านการออกแบบจาก คุณธีรพจน์ ธีโรภาส ผู้ก่อตั้ง Kitt-Ta-Khon แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นด้วยงานหัตถกรรมร่วมสมัย หลังจากจบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คุณศรัณย์พรได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Emerging PLANT ที่จัดขึ้นโดย Design PLANT และเริ่มทำงานออกแบบภายใต้โจทย์ DOMESTIC โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดแสดงผลงานร่วมกับนักออกแบบรุ่นพี่อีกหลายสิบสตูดิโอในงาน Bangkok Design Week 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ —- Did you know? – Design PLANT การรวมตัวกันของนักออกแบบจากหลากหลายความเชี่ยวชาญ ตั้งแต่รุ่นเก๋าไปจนถึงรุ่นใหม่ไฟแรง โดยในแต่ละปีจะร่วมกันจัดนิทรรศการงานออกแบบเพื่อนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิดที่น่าสนใจ และตอบโจทย์บริบททางสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ จนกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีพลังการขับเคลื่อนวงการออกแบบไทย – Emerging PLANT คือเวทีรุ่นเล็กที่จัดขึ้นโดย Design […]

ชวน JAIME HAYON คุยเรื่องดีไซน์ วิถีชีวิต และ FRITZ HANSEN

เมื่อปีกลาย Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน) ดีไซเนอร์ระดับโลกสัญชาติสเปน แปลงโฉมบ้านเก่าอายุกว่า 70 ปี ในซอยสมคิด ย่านชิดลม ให้กลายเป็น House of Fritz Hansen Bangkok โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังจากเดนมาร์ก และในโอกาสที่เขาเยี่ยมเยือนไทยเพื่อเปิดนิทรรศการ Jaime Hayon Design Showcase  เราจึงขอชวนคุณไปพูดคุย พร้อมทำความรู้จักกับดีไซเนอร์คนดังแบบเจาะลึก ทั้งแนวคิดงานดีไซน์ การใช้ชีวิตและการทำงานกับ Fritz Hansen (ฟริตซ์ ฮานเซ่น) หากใครได้พูดคุยกับ Jaime Hayon สักครั้ง เชื่อว่าต้องสัมผัสได้ถึงพลังงานแห่งการสร้างสรรค์อันเต็มเปี่ยม สำหรับ room เขาคือนักออกแบบผู้ไม่เคยกลัวที่จะทำทุกอย่างตามความคิด ไม่เคยยินยอมทำอะไรซ้ำสอง ไม่เชื่อเรื่องการหยุดพักเพื่อเฉลิมฉลองกับความสำเร็จ และปัญหาใหญ่สำหรับเขาคือ การมีเวลาที่ไม่เคยเพียงพอสำหรับการออกเดินทางเพื่อเรียนรู้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และใช้ชีวิต “ผมพยายามเป็นผู้กำหนดเทรนด์อยู่เสมอ ผมชอบออกนอกกรอบ เล่นนอกกฎ อย่างงานออกแบบเก้าอี้ดีไซน์แรก ๆ ของผม ผมเลือกใช้พลาสติก ใช้แม่สีอย่างไม่ลังเล เป็นเก้าอี้สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง เพราะตอนผมได้เข้ามาสัมผัสโลกดีไซน์ใหม่ […]

AUA โฉมใหม่ เมื่อ “อิฐ” ถ่ายทอดภาษาสถาปัตยกรรม

อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]

MAYDAY ผู้รังสรรค์ป้ายรถเมล์เปลี่ยนเมือง

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหนึ่งของคนเมืองในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ก็มีมากมายหลากรูปแบบ บ่อยครั้งที่การเดินทางเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่างง! จะขึ้นรถไปต่อเรือ หรือหาสายรถเมล์ที่ถูกต้องช่างยากเหลือเกิน MAYDAY ทีมนักออกแบบที่เรียกได้ว่าเป็น “นักสื่อสาร” จึงลุกขึ้นมาทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งยังเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านงานออกแบบ และ room ก็ได้มีโอกาสในการพูดคุยกับพวกเขาถึงมุมมองและวิธีคิดเพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น MAYDAY นักสื่อสารระบบขนส่งสาธารณะ room : MAYDAY คืออะไร? MAYDAY : “จริง ๆ คนชอบมองว่า เราเป็นนักออกแบบ แต่มากกว่านั้น เราทำเรื่องการพัฒนาสิ่งที่เป็นสาธารณะของสังคมมากกว่า ผ่านการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจ เก็บข้อมูล และทำวิจัย จนปลายทางมันออกมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ “สาธารณะ” ดีขึ้นได้ ในที่นี้พอเป็นป้ายรถประจำทาง จึงเป็นการพัฒนาให้กับ “ระบบขนส่งสาธารณะ” นั่นเอง” ระบบขนส่งสาธารณะแบบเชียงใหม่ room : ล่าสุดที่เห็นป้ายรถประจำทางใหม่ของเชียงใหม่ที่ทาง MAYDAY ได้ไปออกแบบไว้ ส่วนตรงนี้คิดว่า ต่างกับกรุงเทพฯ มากน้อยแค่ไหน MAYDAY : “อย่างในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ […]

แม่แจ่มโมเดลพลัส x room หยุดปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ด้วยงานออกแบบ

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ได้นำพาให้ทีมงานของ “บ้านและสวน” ไปลงพื้นที่ถึงอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิของชาวบ้านในการจัดการป่าไม้และที่ดิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ และเฟอร์นิเจอร์ที่น่าสนใจ ที่ทุก ๆ คนจะได้พบใน บ้านและสวนแฟร์ select 2021 เริ่มต้นด้วยการ “ทำความเข้าใจ” วันแรกของการเดินทาง เราหมดไปกับการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นที่แม่แจ่ม ผ่าน “คนทำงาน” ที่อยู่ในพื้นที่ นำทีมโดยคุณ เดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ที่มาอธิบายให้เราฟังถึง ต้นตอของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นที่นี่ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ปัญหาหมอกควันเหล่านี้ จะไปโทษเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดว่าบุกรุกผืนป่าก็ไม่ได้ เพราะรากของปัญหานี้มันลึกลงไปกว่านั้น “ปัญหาเรื่องสิทธิในการจัดการป่าไม้และที่ดิน” ของชาวบ้านนั้นเกิดข้อจำกัดขึ้นหลังการประกาศกฎหมายป่าสงวน พวกเขายังอาศัยทำกินอยู่บนที่ดินเดิม แต่สิทธิของพวกเขาได้หายไป กาลเวลาผ่านไป การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ไม่ทันโลก และไม่ทันปากท้อง การเลือกปลูกพืชที่ขายได้อย่างแน่นอนจึงเป็นทางออกของพวกเขา และข้าวโพดอาหารสัตว์ พืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกแล้วแทบไม่ต้องดูแลเป็นคำตอบของสิ่งที่เกิดขึ้น สุดท้ายทางออกของหนึ่งปัญหาก็กลายเป็นปัญหาใหม่เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นเสื่อมสลายไป การใช้สารเคมีต่าง ๆ จึงเป็นคำตอบ รวมถึงการแผ้วถางเตรียมพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกเช่นกัน และนั่นคือปลายทางที่เรา ๆ ต่างรู้กันในชื่อของ “ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ” การแก้ปัญหาที่ถูกต้องจึงต้องลงไปที่ต้นตอ […]

B2S THINK SPACE สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของร้านหนังสือ

B2S Think Space เซ็นทรัล ชิดลม พลิกโฉมร้านหนังสือและเครื่องเขียน พร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ ด้วยฝีมือการออกแบบของ THINKK Studio สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทย ที่ทำให้สเปซสำหรับการคิดสร้างสรรค์แห่งนี้ พร้อมต่อยอดจินตนาการของทุกคนได้ไม่รู้จบ ถ้าจะซื้อหนังสือสักเล่ม “ร้านหนังสือ” อาจไม่ใช่ทางเลือกแรกเสมอไปในยุคนี้ ในเมื่อการแข่งขันของร้านหนังสือส่วนใหญ่ขยับขยายสมรภูมิไปอยู่บนโลกออนไลน์ ดังนั้น หากจะมองในมุมธุรกิจยุคดิจิทัล การคงอยู่ของพื้นที่ “ร้านหนังสือ” (รวมไปถึงร้านค้าอื่น ๆ ) ในเชิงกายภาพย่อมต้องตอบสนองฟังก์ชั่นที่มิใช่แค่เพียงการเป็นพื้นที่สำหรับการวางจำหน่ายสินค้า แต่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่มอบประสบการณ์บางอย่าง ซึ่ง “ชักชวน” และ “ดึงดูด” ให้ผู้คนก้าวเท้าออกจากบ้านมาเยี่ยมเยือน และ B2S Think Space คือตัวอย่างหนึ่งของการสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่าน “ดีไซน์” NEW SPACE, NEW LOOK พื้นที่ 800 ตารางเมตร บนชั้น 6 ของเซ็นทรัล ชิดลม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโซนสินค้าแม่และเด็ก ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นแฟลกชิปสโตร์โฉมใหม่ของ บีทูเอส ธิงค์สเปซ โดยงานนี้ได้ THINKK Studio สตูดิโอออกแบบชั้นนำของไทยมารับหน้าที่พลิกโฉม และเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับพื้นที่ร้านหนังสือใจกลางเมืองแห่งนี้ […]

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา สถาปัตย์+กสิกรรม อาคารโมเดิร์นผสานโคกหนองนาโมเดล

งานออกแบบอาคารของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียง ที่มีโจทย์ทางด้านการเกษตรเข้ามาเป็นหลักการใช้งานได้อย่างโดดเด่น และยังเกื้อหนุนต่อบริบทโดยรอบได้อย่างน่าชื่นชมผ่านสถาปัตยกรรมแบบ Tropical Modern ที่มีอิฐมอญเป็นองค์ประกอบหลัก สถาปนิก : VIN VARAVARN ARCHITECTS Ltd. ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณา เป็น อาคารที่มีหลังคาทรงแปลกตา โดยอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เขาใหญ่ เพื่อรองรับกิจกรรมอบรมที่เกิดขึ้นภายในศูนย์ โดยคุณผึ้ง-พรรณราย พหลโยธิน เป็นผู้ก่อตั้ง จากแนวคิดของอ.ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร ซึ่งเมื่อสามปีกว่าก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดวิกฤตขึ้น จึงควรมีสถานที่ที่สามารถรองรับผู้คนประมาณหนึ่งพันคน โดยคุณผึ้งนั้นต้องการให้ผู้ที่เข้ามาภายในศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตรนี้ มีความสะดวกสบายมากขึ้นไม่อยู่อย่างลำบากจนเกินไป แต่ต้องอยู่กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน มีความทันสมัยได้ไม่ได้จำกัดรูปแบบจากภาพเดิม คุณวิน-ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกแห่ง Vin Varavarn Architects ผู้ออกแบบอาคารนี้เล่าถึงโจทย์ครั้งนี้ว่า คุณผึ้งต้องการอาคารที่มีความเรียบง่าย แต่ด้วยโปรแกรมการใช้งานอาคารที่ค่อนข้างมาก อาคารหลังนี้จึงต้องใหญ่พอควร และพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของโครงการก็ใหญ่มาก จึงต้องการอาคารสักหลังที่เป็นแลนด์มาร์คให้กับผู้คน ส่วนแนวคิดด้านความพอเพียงก็อาจไม่ต้องตีกรอบว่าต้องอยู่บ้านไม้ไผ่ กระท่อมไม้ที่ดูลำบาก เพราะว่าการดูแลรักษาในระยะยาวก็เป็นสิ่งสำคัญ โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตผสมกับเหล็ก ปกคลุมด้วยหลังคาขนาดใหญ่ กรุด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่เรียงเป็นตับ โดยมีการศึกษาเรื่องการระบายอากาศ แสง และความโปร่งของโครงสร้างทั้งหมดก่อนก่อสร้างจริง ไม้ไผ่ที่เห็นดังกล่าวในอนาคตทางศูนย์ก็สามารถซ่อมแซมได้เองตามอายุการใช้งาน เนื่องจากมีปลูกเพื่อรองรับเอาไว้แล้ว จากการที่หลังคาเป็นหลังคาขนาดใหญ่ จึงเป็นเสมือนพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ยามฝนตกไปด้วยในตัว ช่วงแรกสถาปนิกได้คิดถึงระบบท่อและถังในการเก็บน้ำ แต่เมื่อได้มีการพูดคุยกับคุณผึ้ง […]

KPIS KINDERGARTEN แปลงโฉมพื้นที่เล่น ยกระดับการเรียนรู้

ห้องเรียนสำหรับเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียนถึงชั้นอนุบาลของ KPIS International School ได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ โดยเน้นการกระจายพื้นที่ “เล่น” ให้กว้างขวาง และมีรูปแบบที่หลากหลาย พร้อมกับแก้ไขปัญหาการจัดเก็บของในพื้นที่จำกัด เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Please Feel Invited KPIS International School หรือโรงเรียนนานาชาติกีรพัฒน์ นำเสนอโครงการปรับปรุงห้องเรียนสำหรับเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียนถึงชั้นอนุบาล โดยเป็นการเปลี่ยนโฉมห้องเรียน 2 ชั้น ขนาดรวมราว 1,400 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิดการสร้างพื้นที่ “เล่น” ให้กับเด็กวัยกำลังเรียนรู้ เน้นกระจายพื้นที่เล่นให้เด็ก ๆ ให้มากที่สุด “เวลาที่เราทำงานออกแบบ เราจะใช้หลักเหตุผลต่าง ๆ มากมายใช่ไหมครับ แต่สำหรับเด็ก ๆ เขาไม่ได้สนใจหลักเหตุผลที่เราใช้หรอก เขาเพียงแค่อยากเล่น อยากสนุก อยากเรียนรู้” คุณธัชพล ธนบุญชัย และ คุณมนุเชษฐ์ ไชยโย จากสตูดิโอออกแบบ Please Feel Invited กล่าวถึงแนวคิด “การกระจาย” พื้นที่เล่นให้เด็ก ๆ ให้มากที่สุด […]

สนทนากับ รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ถึงเรื่อง ‘อาคารเขียว’ จากเทรนด์สู่วิถีชีวิตยุคใหม่

อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]