People Archives - Page 10 of 21 - room
รีโนเวท ตึกเก่า

MAISON826 จากพื้นที่ใต้ตึกที่เคยปล่อยร้าง ถูกปลุกให้ฟื้นเป็นคอนเซ็ปต์สโตร์สุดเท่

ภายใต้โครงสร้างที่เหมือนจะยังสร้างไม่เสร็จดีนัก แท้ที่จริงแล้วนั้นเกิดจากความตั้งใจของ Nuno Ferreira Capa ผู้ออกแบบที่เข้ามา รีโนเวท ฟื้นคืนชีพพื้นที่ใต้ตึกมีอายุ ที่ครั้งหนึ่งเคยปิดเอาไว้โดยไม่ถูกใช้งาน ให้กลับมามีชีวิตใหม่เป็นพื้นที่มัลติฟังก์ชันดีไซน์เรียบเท่ ที่นี่คือ Maison826 ร้านทำผม ส่วนจัดแสดงดนตรี และคอนเซ็ปต์สโตร์ แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับของแฮร์สไตลิสต์หนุ่ม Pedro Remy ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น G ของตึกคอนกรีตอายุหลายสิบปีที่สร้างขึ้นตั้งแต่ยุค 70’s ในย่านใจกลางเมืองบราก้า ประเทศโปรตุเกส ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด 250 ตารางเมตร ที่ได้รับการ รีโนเวท ขึ้นมาใหม่ จนเรียกได้ว่าเปลี่ยนบรรยากาศไปเลยไก้อย่างไม่น่าเชื่อ บ้างถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุปิดผิวให้ดูเรียบร้อย บ้างยังคงปล่อยเปลือยให้ปรากฏร่องรอยกระด้างดิบของเนื้อคอนกรีตบนผิวผนังและโครงสร้าง อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีระดับต่างกันไป คล้ายกับชั้นหนึ่งชั้นถูกแบ่งย่อยออกเป็นชั้นเล็ก ๆ อีก 4 ระดับ จนดูซับซ้อน กลับดูน่าสนใจและมีเสน่ห์ในแบบฉบับของมันเองอย่างน่าประหลาด แม้ว่าในแต่ละสเปซจะมีฟังก์ชันที่ถูกกำหนดการใช้งานออกมาต่างกันก็ตาม เพราะด้วยช่องเปิดอาคารและหน้าต่างแต่ละบานที่มีจำนวนมากพอ ประกอบกับผู้ออกแบบจัดการรื้อผนังที่เป็นส่วนเกินรบกวนสเปซบางส่วนออกไป จึงทำให้สเปซต่างระดับเกิดความต่อเนื่องกันและมองเห็นกันได้ ผู้ออกแบบอธิบายว่า แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของ Maison826 เกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดชะงักไปในระหว่างกระบวนการปรับปรุงรื้อถอน ประกอบกับการคำนึงถึงความเหมาะสมของสเปซกับโปแกรมใหม่ที่จะถูกกำหนดลงบนสเปซเดิมทั้ง 4 ระดับ ซึ่งส่วนแรกถัดจากประตูทางเข้าถูกกำหนดฟังก์ชันเป็นส่วนเซอร์วิส จากจุดนี้สามารถก้าวขึ้นไปสู่ส่วนร้านทำผม ที่มีมุมสระผมและทำสีที่ออกแบบให้เกิดความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า เชื่อมกับห้องทรีตเมนต์ที่มีจุดสังเกตเป็นโต๊ะทำงานไม้ยาว […]

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]

CHEEVA SPA พากลับสู่แก่นแท้ของธรรมชาติในบรรยากาศแบบมินิมัล

จากสปาแบบ Traditional Lanna ที่ให้บริการมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุการณ์สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ Cheeva Spa แห่งนี้ ต้องหยุดให้บริการไป แต่ในวิกฤตนั้นมักมีโอกาสเสมอ ช่วงเวลาที่หยุดให้บริการไปนั้นจึงทำให้คุณกันติชา และคุณกัลยกร สมศักดิ์ ลงมือรีแบรนด์และปรับเปลี่ยนบรรยากาศของสปาใหม่จนหมดจดเลยทีเดียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO คุณกันติชา และคุณกัลยกร เป็นผู้ลงมือเลือกสรรและตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ในสปาใหม่ด้วยตนเอง แต่ในด้านการออกแบบพื้นที่นั้นได้ถูกรังสรรค์โดยทีมสถาปนิกจาก INLY STUDIO โดยมีคอนเซ็ปต์ของการรีแบรนด์หลัก ๆ ก็คือการนำ Cheeva Spa กลับสู่แก่นแท้ของธรรมชาติ ทั้งการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรยากาศภายในแบบมินิมัล ที่สื่อถึงความเป็นธรรมชาติและสุขภาพที่ดีอย่างเด่นชัด การออกแบบพื้นที่ให้สว่างและเปิดโปร่งเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ให้เกิดความสดใสขึ้น เพื่อให้การบริการสปานั้นถูกมองว่าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยขยายกลุ่มลูกค้าให้ไปสู่คนวัยทำงานมากขึ้นด้วย และอีกส่วนหนึ่งคือการเน้นย้ำถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิกในสปา ความสว่างและปลอดโปร่งจึงสื่อถึงสุขภาพที่ดีจากภายใน ตั้งแต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ พื้นที่ส่วนบริการมีกระจกบานใหญ่ที่เปิดวิวออกไปยังสวน เป็นการออกแบบที่ดึงเอาความเป็นสวนเข้ามาในพื้นที่ภายในโดยยังคงไว้ซึ่งความสบายอยู่ วัสดุและโทนสีของสปา เลือกใช้สีที่กลมกลืนกับความเป็นธรรมชาติ เช่น สีไม้ขัดเสี้ยนขาว วัสดุที่เป็นดินเผา และเซรามิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีขาวที่เลือกให้เป็นสีขาวที่หม่น ทั้งนี้เพื่อรับกับการเปิดช่องแสงจะทำให้แสงที่สะท้อนจากผนังยังคงนวลตาไม่เจิดจ้าจนเกินไป ในหลาย […]

A Conversation with TIDA สนทนากับนายกสมาคมมัณฑนากรฯ คุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล

วันนี้ บ้านและสวน ได้มีโอกาสสนทนากับมัณฑนากรมากฝีมือผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการมานาน นั่นคือคุณเป้า-วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท P49 Deesign and Associates และนายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) ในปัจจุบัน โดยสิ่งที่ได้พูดคุยนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพของวงการที่คุณเป้าได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงมาตลอด เรื่องของรางวัล TIDA Awards ที่ได้กลับมาจัดอีกครั้งในรอบ 10 ปี ไปจนถึงเรื่องของผลกระทบจาก Covid-19 ที่มีต่อวงการมัณฑนากร รวมไปถึงบทบาทของ TIDA ว่าอะไรคือสิ่งที่สมาคมมัณฑนากรฯ ตั้งใจพัฒนาและผลักดันต่อไปในอนาคต อ่าน : TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย “สำหรับ TIDA Awards ในอนาคต  เราได้ขยายสาขารางวัลขึ้นมาเพิ่มเติม เพราะอยากให้ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็ตาม อยากให้เขามีเป้าหมาย ได้รับการพูดถึงมากขึ้น มีรางวัลให้กับเขา ในทางกลับกันพอประเภทของรางวัลมีเยอะขึ้น ความหลากหลายของงานที่จะเข้ามาและความน่าสนใจดี ๆ ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน” Q. อยากให้พี่เป้าช่วยเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการมัณฑนากรที่มองเห็นจากสายตาของพี่ ว่ามีอะไรที่แตกต่างไปบ้างจากอดีตจนถึงปัจจุบัน? คุณเป้า […]

we!park

we!park แพลทฟอร์มที่ชวนให้ทุกคนเป็นเจ้าของสวนในเมือง

we!park องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวด้วยการหยิบพื้นที่ว่าง หรือยกพื้นที่รกร้างในเมืองกรุงมาพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่าพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่า เมืองนั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่?  แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก หรือ Pocket Garden ได้ในทุก ๆ 400 เมตร โดยแพลตฟอร์มนี้เกิดจาก คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า หากเรามีองค์ความรู้เรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และความรู้สึกอยากช่วยเหลือหน่วยงานรัฐในการสร้างสวน หรือพื้นที่สาธารณะ จะต้องมีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร หรือหากองค์กรไหนมีเงินทุนที่สนใจจะสร้างสวนสาธารณะ เขาต้องเดินเข้าไปติดต่อหน่วยงานไหน  นำมาสู่การสร้างสรรค์แพลตฟอร์มเพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเชื่อม “หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน” เข้าหากัน โดยปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหลัก wepark “เราทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการเชื่อม เช่น ใครมีที่ดินว่างเอามา เดี๋ยวเราเชื่อมกับหน่วยงานรัฐให้ หานักออกแบบมาให้ หรือใครมีเงินอยากบริจาคเพื่อทำสวน เราก็ดูว่าทางกทม.กำลังมีโครงการแบบนี้อยู่ไหม กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการช่วยดึงทรัพยากร โดยเราใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคือคุยกับชุมชน คุยกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อนำความรู้กลางมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมจริง ๆ” เริ่มต้นจากสวนขนาดเล็ก “ตอนนี้เราเน้นขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่สวนขนาดเล็ก หรือ Pocket Park […]

HOUSE VISION บ้านทดลองที่ให้ “หน้าต่าง” ทำหน้าที่แทน “ประตู”

HOUSE VISION TOKYO คือนิทรรศการงานออกแบบของญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอไอเดียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม สำหรับครั้งนี้มาภายใต้โจทย์ “ Co-Dividual: Split and Connect / Separate and Come Together” โดยมีความมุ่งหวังที่จะเห็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม และจุบรรจบของอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดผลงานออกแบบ HOUSE VISION ที่ถูกสร้างจริงคือผลงานการออกแบบนาม “Between Inside and Outside / Between Furniture and a Room” โดย TOTO · YKK AP × Atsushi Igarashi Taiji Fujimori กับรูปแบบบ้านแปลกตาที่แตกแขนงพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากจุดศูนย์กลาง เวลานึกถึง “หน้าต่าง” เราจะพยายามหาดีไซน์และองค์ประกอบใหม่ ๆ ให้กับความเป็นหน้าต่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับ “ภาพตัดขวาง” ของหน้าต่าง […]