People Archives - Page 12 of 21 - room

DESIGN IN MOTION OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่โชว์ผิววัสดุ โครงสร้าง และสเปซคุณภาพ

ออฟฟิศสถาปนิก ที่โดดเด่นด้วยความโปร่งโล่งทั่วถึงกันตลอดทั้งอาคาร ด้วยการออกแบบ “บันได” เป็นองค์ประกอบหลัก จากการใช้โครงสร้างคอนกรีตโชว์ผิวที่โชว์ความงามของระบบโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา เมื่อถึงโอกาสของการขยับขยายและย้ายที่ทำงานสู่สถานที่ใหม่ บริษัท Design In Motion จึงได้เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งในซอกซอยซับซ้อนของถนนสุขุมวิท 71 ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานมากเอกลักษณ์ ที่รวมทุกคุณสมบัติของสำนักงานคุณภาพ ทั้งเรื่องแสงสว่าง พื้นที่ส่วนกลาง และดีไซน์พิเศษมากฟังก์ชัน ซึ่งผ่านการคิดมาแล้วอย่างเป็นองค์รวม สมกับความเป็น ออฟฟิศสถาปนิก มากประสบการณ์ “เรามีความต้องการที่จำเป็นอยู่ไม่กี่ข้อ” คุณธฤต ทศไนยธาดา หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของสำนักงานแห่งใหม่ “แสงสว่างส่องถึง ให้ออฟฟิสสว่างๆ โล่งๆ ไม่ทึบ แล้วก็อยากมองเห็นกันในระหว่างทำงาน รวมถึงเรื่องงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย” คุณธฤตเล่าว่า สำนักงานของ Design In Motion ก่อนหน้านี้ เป็นเพียงห้องของตึกแถว 1 ห้องในย่านเอกมัย และพนักงานกว่า 10 คนทั้งทีมพาร์ทเนอร์และพนักงาน ก็นั่งทำงานรวมกันอยู่ในห้องเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงพอ และไม่ถึงขั้นแออัดยัดเยียด แต่การขาดพื้นที่ส่วนกลางและความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานของแต่ละคน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องการแก้ไข เมื่อย้ายมาที่ทำงานใหม่ การออกแบบให้สถานที่ทำงานโปร่งโล่ง และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ […]

เปลี่ยนศูนย์อนุรักษ์น้ำ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนเมือง

แม่น้ำ Songyin ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมือง Songyang เมืองที่มีประวัติศาสตร์การอนุรักษ์น้ำ มาเป็นเวลานาน โดยที่นี่เป็นแหล่งกระจายน้ำที่สำคัญของภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรม ทางทิศตะวันตกของเขื่อนและสถานีไฟฟ้าเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์น้ำ ซึ่งเดิมทีที่นี่ตั้งใจให้เป็นศูนย์การจัดการน้ำ ที่มีห้องควบคุม ออฟฟิศ และโรงอาหารรวมอยู่ด้วยกัน แต่ด้วยนโนบายการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นจุดชมวิวแม่น้ำ ที่นี่จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เพื่อการพักผ่อนเเละนันทนาการเเทน โดยพื้นที่ภายในอาคารได้ถูกเปลี่ยนการใช้งานทั้งหมด เช่น ห้องเก็บเอกสารเปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติการอนุรักษ์น้ำ ศูนย์ตรวจสอบเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้คนทั่วไปและนักเรียนได้เข้ามาใช้ทำกิจกรรม และส่วนของโรงอาหารยังคงการใช้งานไว้ โดยเพิ่มหน้าที่เป็นพื้นที่มัลติมีเดียสำหรับวัยรุ่นในพื้นที่ ทีมผู้ออกแบบพยายามเก็บสเปซเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด โดยรูปทรงโค้งของอาคารถูกปรับให้เป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรมเอ๊าต์ดอร์ และทางเดินที่จะนำไปยังสวนดาดฟ้า อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากรูปแบบของพื้นที่เดิมมาสร้างความพิเศษให้กับพื้นที่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นลำดับการเข้าถึง เเละเปิดรับแสงธรรมชาติให้สาดเข้ามายังพื้นที่ภายใน การวางตัวอาคารในลักษณะของคลัสเตอร์ที่มีทางเชื่อมถึงกัน แล้วแทรกด้วยบ่อน้ำ ดูเสมือนคอร์ตน้ำกลางกลุ่มอาคาร อันสื่อถึงเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ทางเดินเชื่อมไปยังแต่ละอาคาร ยังออกแบบให้สอดคล้องไปกับลักษณะของภูมิประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายของการมาเที่ยวชมศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านแถบชานเมืองกับภูเขาโดยรอบ เปิดโอกาสให้ผู้คนจากในเมืองได้มาเรียนรู้ ใกล้ชิด เเละสัมผัสธรรมชาติ ผ่านเรื่องราวการอนุรักษ์น้ำที่สอดเเทรกอยู่ทุกมุม รวมถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตั้งได้เป็นอย่างดี ออกแบบ : DnA_ Design and Architecture ภาพ : Wang Ziling, Han Dan […]

ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]

STUDIOLOGY เปลี่ยนภาพลักษณ์สตูดิโอ ด้วยผนังอิฐที่เปลี่ยนผันตามธรรมชาติ

จากภาพลักษณ์ สตูดิโอ ให้เช่าที่มักมีหน้าตาเป็นโกดัง หรือโครงเหล็กสไตล์อินดัสเทรียล ซึ่งเป็นการออกแบบไม่มากวิธี จนได้รับความนิยมกันอย่างดาษดื่น จะเป็นอย่างไรหากสตูดิโออยากเปลี่ยนโฉมมาเป็นอาคารกรุผนังอิฐสีส้มดูบ้าง ซึ่งให้ทั้งความโดดเด่นเเละงดงามอย่างเป็นธรรมชาติในเวลาเดียวกัน DESIGNER DIRECTORY :  ออกแบบ : Atelier of Architects  ในซอยลึกของถนนประเสริฐมนูกิจ 29 ย่านลาดพร้าว อาคารอิฐ ทรงกล่องขนาดใหญ่ตั้งอยู่อย่างเด่นหรา ดูแปลกแยกจากอาคารบ้านเรือนและสุมทุมพุ่มไม้โดยรอบ กล่องทรงคล้ายลูกบาศก์ที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ “Studiology” สตูดิโอ ให้เช่าสำหรับงานถ่ายทำทุกประเภท สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนภาพจำของสตูดิโอถ่ายทำทั่วไปสามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน ด้วยขนาดของสถานที่ Studiology นั้น นับเป็นสตูดิโอขนาดกลาง ที่มีข้อดีคือการตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองอันสะดวกกับหลายทีมงานกองถ่ายที่มักทำงานอยู่ในตัวเมืองเป็นหลัก ซึ่งนับว่าหาได้ยากสำหรับสตูดิโอในขนาดเดียวกัน นอกจากนั้นความที่ตั้งอยู่ในซอยลึกห่างจากความพลุกพล่านของถนนใหญ่ ยิ่งช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับศิลปินดาราทีมงานกองถ่ายทำ คุณทวีพล ธีระวิชิตชัยนันท์ หนึ่งในหุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งมีประสบการณ์อยู่ในอุตสาหกรรมโปรดักชั่นเฮ้าส์เป็นทุนเดิม เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของโครงการว่า “ไอเดียของเราคืออยากให้เป็นสตูดิโอที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสำหรับลูกค้า เรามีแค่สตูดิโอเดียวเท่านั้น ดังนั้นเวลามาใช้งานทั้งพื้นที่ จะมีแต่ทีมของเรา เหมาะกับกองถ่ายที่มีดนดัง หรือศิลปินที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ตอนที่คุยกับสถาปนิก เราอยากให้มันเป็นแลนด์มาร์ก คือตัวสตูดิโอจริง ๆ จะเป็นแค่กล่องสี่เหลี่ยมที่ฟังก์ชันอยู่ข้างใน แต่ข้างนอกเราก็อยากให้มีความโดดเด่น คนจดจำได้ว่าที่นี่คือ Studology” […]

เรียนรู้จาก Covid19 กับแนวทางวางผังพื้นที่อาหารของเมือง โดย UDDC

Covid19 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน และไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกนั้นต้องบอกเลยว่าทุกๆคนต่างก็รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก อ่าน :  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับงานสถาปัตยกรรมและผังเมือง แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มดีขึ้น  เราก็ได้เห็นว่ามีหน่วยงานหนึ่งได้นำเสนอ “มาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง” ให้ร้านอาหารและแหล่งอาหารได้นำไปใช้ ด้วยรูปแบบและวิธีคิดที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงได้ขอพูดคุยถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ Covid19 โดย คุณปูน ปรีชญา นวราช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่าย urban design and development ของ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center) หรือที่เรามักจะได้ยินในชื่อ UDDC นั่นเอง room : จากตัวอย่างแนวทางมาตรการการออกแบบวางผังพื้นที่อาหารของเมือง 4 รูปแบบนั้น อยากทราบถึงแนวคิดเบื้องหลัง หลักคิด ก่อนที่จะกลายมาเป็นแนวทางทั้ง 4 ของ UDDC UDDC : ต้องเกริ่นก่อนว่า UDDC นั้นมีความสนใจในการออกแบบเมืองอยู่แล้ว  มันคือการออกแบบเพื่อคนที่อยู่อาศัยในนั้นจริงๆ […]