Commercial Space Archives - Page 7 of 79 - room

AIMANDA อิ่มเอมในรสอาหารใต้ เคล้ากลิ่นอายอันดามัน

เอมอันดา AimAnda l Southern Thai Cuisine ร้านอาหารอบอุ่น เสิร์ฟรสชาติจัดจ้านจากแดนใต้ เด่นด้วยงานดีไซน์สไตล์ไทยโมเดิร์น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio เอมอันดา ร้านอาหารใต้ระดับพรีเมียมเปิดใหม่ย่านถนนพระยาสัจจา-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ตั้งโดดเด่นอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับโกปี๊ฮับสาขา 2 ร้านติ่มซำซึ่งมีต้นตำรับมาจากหาดใหญ่ จากทำเลดังกล่าวผสานกับความต้องการของคุณณิชา จารุกิตต์ธนา ผู้เป็นเจ้าของ ร้านอาหารใต้แห่งนี้จึงมีกลิ่นอายที่เชื่อมโยงกันไปกับร้านติ่มซำ ได้รับการออกแบบโดย Does studio ทีมสถาปนิกผู้เคยถ่ายทอดเรื่องราวของโกปี๊ฮับมาแล้วทั้ง 2 สาขา สำหรับการออกแบบร้านอาหารครั้งนี้ พวกเขาได้ร่วมกันคิดงานดีไซน์ของร้าน ผ่านชื่อ “เอมอันดา” อันสื่อความหมายถึงความอิ่มเอมที่ทุกคนจะได้รับผ่านมื้ออาหารแสนอร่อย และทะเลอันดามัน แหล่งอาหารรวมถึงทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของผู้คน ก่อนนำมาสู่การออกแบบร้านผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายสไตล์ไทยโมเดิร์น โดยดีไซน์ขึ้นมาจากคอนเซ็ปต์ของอาหาร เพื่อสื่อถึงอาหารไทยพื้นถิ่นภาคใต้ที่ได้รับการยกระดับให้มีความพรีเมียม จนมาลงตัวกับอาคารสีขาวโดดเด่นด้วยหลังคาทรงจั่ว ผสานกับเส้นโค้งที่หมายถึงเกลียวคลื่น ช่วยให้เกิดมุมมองที่ดูสมู้ธลื่นไหล โดยเป็นเส้นโค้งที่ออกแบบให้ยาวต่อเนื่องมาจากหลังคาทรงจั่ว ยาวเรื่อยไปจนรับกับพื้นที่ลานจอดรถ สิ่งที่ท้าทายครั้งนี้ คือตำแหน่งศาลพระพรหมที่ตั้งอยู่ด้านหน้า กลายเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ศาลพระพรหม และอาคารร้านอาหารเป็นเรื่องราวเดียวกัน สถาปนิกจึงเลือกผลักอาคารร้านอาหารเข้าไปด้านใน แล้วใช้แลนด์สเคปมาคั่นกลางให้มุมมองของสวนทำหน้าที่เปรียบเสมือนแบ็กกราวน์ให้แก่ศาลพระพรหม ออกแบบทางเข้าให้ลูกค้าสามารถเดินมาได้ทั้งจากพื้นที่จอดรถด้านหน้า ซึ่งต้องเดินผ่านพื้นที่แลนด์สเคปเข้ามา หรือจะเดินมาจากลานจอดรถด้านข้างของร้านโกปี๊ฮับก็ได้ โดยได้ออกแบบให้มีไฮไลต์ หรือลูกเล่นด้วยการทำช่องทางเดินวางตัวเป็นแนวยาวอยู่หลังศาลพระพรหม […]

SAI SAI CAFE คาเฟ่กลางมหาวิทยาลัย ที่พรางตัวไปกับธรรมชาติ

ใสใส วัยเรียนชอบ ก็ แน่นอนเพราะคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่กลางคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั่นเอง และคาเฟ่แห่งนี้ก็ใสสมชื่อ เพราะทั่วทั้งร้านมีการตกแต่งด้วยกระจกเงา ทำให้ผนังภายนอกสะท้อนภาพของธรรมชาติ และแมกไม้ที่สวยงามดั่งคาเฟ่นั้นพรางตัวหายไป ความน่าสนใจคือคาเฟ่แห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่กลุ่มบ้านพักบุคลากรของสถาบันฯ ที่ก่อสร้างมาพร้อมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อคณะฯ มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องขยับขยายพื้นที่ มายังบริเวณนี้ กลุ่มบ้านพักจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยอาคารเรียนต่างๆ จนหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงสองหลัง พื้นที่โดยรอบบ้านพักทั้งสองหลังนี้มีสภาพเป็นพื้นที่รกร้างที่ถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ขนาดใหญ่ อยู่ท่ามกลางกลุ่มอาคารเรียนที่มีนักศึกษาใช้งานจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยและการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมออกแบบจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นพื้นสาธารณะ แห่งใหม่ของนักศึกษา ไปเสียเลย เพื่อช่วยสร้างให้เกิดพื้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจประมูลอาคารหลังนี้เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ร่วมเสนอแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการคัดเลือก ในการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนการรับรู้ของผู้ใช้จากพื้นที่ที่ถูกมองว่าเป็นด้านหลัง ของคณะฯ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อให้ผู้คนเข้าไปใช้งาน จากอาคารเดิมที่ถูกออกแบบมาสำหรับพักอาศัยจึงต้องการการแบ่งพื้นที่ระหว่างภายในกับภายนอกที่ชัดเจน ทำให้เกิดพื้นที่ข้างหน้ากับพื้นที่ข้างหลังของอาคารที่แยกขาด เป็นอุปสรรคสำคัญในการเชื่องโยงพื้นที่รอบๆ เข้าด้วยกัน การออกแบบอาคารร้านกาแฟใสใสจึงเป็นเพียงการหาวิธีทำให้อาคารเลือนหายไปในหมู่ต้นไม้ และเปิดเผยพื้นที่ร่มรื่นด้านหลังอาคารออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นำไปสู่การถอดผนังอาคารออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางมุมมองจากถนนหลักไปยังพื้นที่ว่างหลังอาคาร เปลี่ยนหลังคาเป็นวัสดุโปร่งใสให้แสงที่ส่องทะลุยอดไม้ตกกระทบพื้นเกิดเป็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ใช้การลวงตาด้วยกระจกสะท้อนเงาต้นไม้กับระนาบที่จำเป็นต้องปิดทึบ คงเหลือไว้แต่เส้นสายของโครงสร้างเพื่อระลึกถึงรูปลักษณ์เดิมที่เคยเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ การจัดพื้นที่ใช้งานโดยจำกัดพื้นที่ที่จำเป็นต้องปิดล้อมให้มีขนาดเล็กที่สุดชั้นล่าง ซึ่งจะเป็นร้านค้า พื้นที่นั่ง พื้นที่เอนกประสงค์ที่รองรับความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะด้วยเช่นกัน ออกแบบ: Studio of Architecture and […]

LITTLE STOVE & LITTLE STUMP คาเฟ่และเพลย์กราวด์บรรยากาศราวกับอยู่ในโลกนิทาน

Little Stove & Little Stump อีกสถานที่พักผ่อนดี ๆ ในย่านพระราม 2 ซอย 33 หรือวัดยายร่ม ที่มีทั้งคาเฟ่และสถานที่เล่นของเด็ก ๆ ตอบโจทย์คนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่กำลังมองหาพื้นที่สำหรับมาใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในวันหยุด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: NITAPROW Architects คุณพราว-พราว พุทธิธรกุล สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Little Stove & Little Stump จาก NITAPROW Architects และคุณพีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ สองพาร์ตเนอร์จากทั้งหมด 5 ท่าน เล่าถึงที่มาของที่นี่ให้ฟังว่า เริ่มต้นมาจากครอบครัวของทั้งคุณพราวและคุณพีชที่ต่างก็เป็นคุณแม่ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีพื้นที่สาธารณะที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัวที่มีลูกเล็ก ๆ จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำมาคุยกันในกลุ่มพาร์ตเนอร์ว่า เมื่อเด็ก ๆ อ่านหนังสือ พวกเขามักจินตนาการเป็นเรื่องราวต่าง ๆ จึงเห็นว่า “นิทาน” เป็นการสื่อสารที่ดีสำหรับเด็ก เกิดเป็นแนวคิดการสร้างนิทานที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ ด้วยการติดต่อไปยังสำนักพิมพ์สานอักษร แล้วเล่าไอเดียให้แก่นักเขียนนิทานและนักวาดภาพประกอบฟัง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากสถานที่จริง จนเกิดหนังสือนิทานเรื่อง “บ้านตอไม้กับสหายนักซ่อม” […]

12 FEB HOMEY CAFE คาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่น ฟีลลิ่งอบอุ่นเหมือนบ้านน้อยริมธาร

12 Feb Homey Café คาเฟ่เชียงใหม่ ที่พาเราหวนนึกถึงวัยเด็ก เมื่อคุณครูให้วาดภาพ หลายคนเลือกวาดภาพบ้านหลังเล็กหลังคาทรงจั่ว มีธารน้ำไหลผ่านข้าง ๆ บ้าน ก่อนเพิ่มเติมด้วยต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์เลี้ยงตัวน้อย และรูปของพ่อ แม่ ลูก จากภาพที่แสนอบอุ่นนั้น ได้กลายเป็นที่มาของการออกแบบคาเฟ่แห่งนี้ ที่ให้บรรยากาศราวกับเป็นบ้านไม้หลังน้อย โดยมีงานแลนด์สเคปเข้ามาเติมเต็มให้เรื่องราวยิ่งสวยงามดุจภาพวาด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: pommballstudio 12 Feb Homey Café ตั้งอยู่ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มต้นมาจากคู่สามีภรรยาเจ้าของร้านที่ฝันอยากมีคาเฟ่เป็นของตัวเองไว้นั่งจิบกาแฟชิล ๆ ในบรรยากาศที่แสนอบอุ่น โดยตั้งชื่อคาเฟ่ให้จดจำง่าย และมีความหมายลึกซึ้งตามวันเกิดของภรรยา มาพร้อมโจทย์การออกแบบที่ทั้งคู่อยากได้คาเฟ่ไซซ์เล็ก มีมู้ดแอนด์โทนแบบโฮมมี่ สถาปนิกจาก pommballstudio จึงนำความต้องการนั้น มาต่อยอดสู่คาเฟ่ที่ดีไซน์ให้เหมือนบ้านสไตล์ Japandi โดยผสมสไตล์ญี่ปุ่นและนอร์ดิกเข้าด้วยกัน ตัวอาคารของคาเฟ่ตั้งอยู่ในที่ดินที่มีลักษณะลึกยาว โดยออกแบบให้ตัวอาคารอยู่ด้านในสุดของที่ดิน เลี่ยงที่จะสร้างแบบเต็มพื้นที่เพราะต้องการเผื่อสเปซด้านหน้าไว้สำหรับสร้างอาคาร หรือแลนด์สเคปเพิ่มเติมในอนาคต ดีไซน์ของอาคารมีรูปทรงเป็นแนวยาวตรงกับทิศเหนือ มีโครงสร้างทำจากคอนกรีตและเหล็ก ผนังด้านนอกกรุด้วยไม้เทียมเพราะทนทานต่อสภาพอากาศ แสงแดด และความชื้น โดยเลือกใช้ไม้เทียมไบโอวู้ดผ่านการขัดผิวหน้าให้มีสีอ่อนลง ส่วนหลังคามุงด้วยเมทัลชีทลอนเรียบ พื้นที่ส่วนที่เป็นระเบียงโรยกรวดล้าง-ทรายล้าง เพื่อให้มู้ดความเป็นพื้นที่พับลิกที่ไม่ใช่บ้านเสียทีเดียว […]

โกปี๊ฮับ ร้านติ่มซำ-ชาชัก กับบรรยากาศใหม่ในร้านเก่า ตกแต่งสไตล์จีน-ไทยอย่างลงตัว

โกปี๊ฮับ l KopiHub คาเฟ่ติ่มซำ-ชาชักเจ้าดังสาขาบางแสน กับการพลิกโฉมร้านเก่าในอาคารพาณิชย์อายุกว่า 40 ปี ให้กลับมาเล่าเรื่องราวผ่านงานดีไซน์ที่สื่อถึงความพิเศษของสาขาออริจินัลที่เปิดมานานกว่า 6 ปี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio หลังจากเปิดกิจการมานานกว่า 6 ปี สำหรับสาขาแรกที่บางแสน หรือต้นตำรับของ โกปี๊ฮับ ก็ถึงคราวต้องรีโนเวตใหม่ เปลี่ยนบรรยากาศบ้านไม้สไตล์แอนทีคผสมสภากาแฟในอาคารพาณิชย์อายุกว่า 40 ปี ให้กลายเป็นร้านใหม่ที่สะดุดตาด้วยฟาซาดอาร์กโค้ง (Arch) จัดเต็มด้วยเรื่องราวการสร้างแบรนด์ดิ้งผ่านงานดีไซน์ ที่กลายเป็น Corporate Identity หรือ Ci ของร้านอย่างชัดเจน โดยมีสถาปนิกจาก Does studio มารับหน้าที่ออกแบบ เพื่อให้ทุกสาขาของโกปี๊ฮับเป็นที่น่าจำจด ขยับลุคร้านติ่มซำให้เป็นมากกว่าแค่ร้านอาหาร จากที่ Does studio เคยฝากผลงานไว้กับการออกแบบโกปี๊ฮับสาขา 2 พระยาสัจจา-อ่างศิลา กับอาคารรูปแบบสแตนอโลนเด่นด้วยสถาปัตยกรรมทรงโค้งที่ถอดแบบมาจากเข่งติ่มซำ มาคราวนี้พวกเขาได้รับหน้ารีโนเวตร้านสาขา 1 ซึ่งถือเป็นสาขาออริจินอล โดยเจ้าของร้านมีโจทย์ว่าอยากให้โกปี๊ฮับไม่ใช่ร้านติ่มซำทั่วไป แต่อยากเล่าเรื่องผ่านงานดีไซน์ที่สะท้อนถึงท้องถิ่นภาคใต้ ต้นตำรับติ่มซำของร้านที่มีสูตรมาจากหาดใหญ่ โดยมีความเป็นจีนเข้ามาผสมแต่ไม่ใช่สไตล์จีนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่อยากให้เป็นร้านอาหารของครอบครัวเหมาะกับคนทุกวัย โดยมี Ci […]

Arpo Pool Villa Riverside พูลวิลล่า ริมน้ำ หมุดหมายใหม่ staycation ย่านฝั่งธนฯ

พักผ่อน ณ พูลวิลล่า ริมน้ำ Arpo Pool Villa Riverside สถาปัตยกรรมซุ้มโค้งอย่างยุโรป เด่นตระหง่านริมคลองบางกอกใหญ่ บ้านสีขาวโดดเด่นไปด้วยซุ้มโค้งติดริมคลอง จนใคร ๆ ที่ผ่านไปผ่านมาต้องหยุดมอง! คือที่พักบรรยากาศดีที่เปิดบริการแบบ Staycation ให้เช่าทั้งหลัง กับชื่อ Arpo (อาโป) ซึ่งแปลว่า "น้ำ" สอดคล้องกับทำเลซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง โดยสามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวกสบาย เดินเพียงแค่ 3 นาที จากรถไฟฟ้า BTS สถานีบางไผ่ คุณก็จะได้สัมผัสกับประสบการณ์การพักผ่อนที่หาได้ยากในกรุงเทพฯ พร้อมกับชื่นชมวิถีชีวิตชุมชนที่เงียบสงบ ให้ความรู้สึกถึงการมาพักผ่อนแบบไพรเวต เหมือนที่นี่เป็นบ้านพักส่วนตัวอย่างแท้จริง

InJoy Snow Hotel Bangkok วิลล่ากลางม่านหมอกหิมะในบรรยากาศทรอปิคัล

แปลงโฉมบ้านหลังเก่าสู่โรงแรมกลางกรุง InJoy Snow Hotel Bangkok นำเสนอความงามแห่งสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่แฝงตัวหลังม่านหมอกหิมะและธรรมชาติเมืองร้อน เนื่องจากเจ้าของโครงการใช้ชีวิตในกรุงปารีสมายาวนาน และด้วยความหลงใหลในสภาพอากาศ และภูมิประเทศอันสวยงามของฝรั่งเศส เมื่อมีโอกาสสร้างสรรค์โปรเจ็คต์โรงแรมแห่งใหม่ InJoy Snow Hotel Bangkok จึงตั้งใจถ่ายทอดแรงบันดาลใจของทิวทัศน์ท่ามกลางหิมะของฝรั่งเศส ผสานกับองค์ประกอบของธรรมชาติเขตร้อน ภายใต้แนวคิดการบูรณะสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืน งานออกแบบนำเสนอแนวคิดที่แตกต่างเฉพาะตัวของ “หิมะ” ในบริบทไทย เพื่อเชื่อมต่องานสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์โดยรอบเข้าด้วยกัน รวมถึงตอบรับกับลักษณะสภาพภูมิอากาศของที่ตั้งโครงการ เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง แยกตัวจากความหนาแน่นจอแจของเมืองใหญ่ จากภายนอก แผงอะลูมิเนียมเจาะรูพับที่สลับลดหลั่นต่อเนื่องกันไปมาได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนรั้ว ที่แบ่งกั้นความวุ่นวายของบริบทภายนอกออกจากพื้นที่ภายใน ขณะเดียวกันช่องเปิดที่เกิดจากการเจาะรูจำนวนมากบนแผงอะลูมิเนียมก็ได้สร้างภาพความงามอันเลือนลางของสถาปัตยกรรมคล้ายกับแฝงตัวอยู่ท่ามกลางหมอกยามเช้า คลื่นแผงอะลูมิเนียมที่พับบิดไปมาหลายร้อยชุดนั้น นอกจากจะมีขนาดสัดส่วนเชื่อมโยงกับผู้คนที่สัญจรไปมาบนท้องถนนของกรุงเทพฯ แล้ว ยังช่วยกรองแสงแดด และเปิดรับลมธรรมชาติ เพื่อให้บรรยากาศภายในอาคารสดชื่น และโปร่งสบายตลอดวันด้วย จากแผงอะลูมิเนียมภายนอก เชื่อมต่อสู่พื้นที่ภายในผ่านการพลิ้วไหวของม่านเส้นด้ายสีขาวบริเวณโถงทางเข้า สร้างการรับรู้ให้นึกถึงหิมะที่โปรยปราย ช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับสเปซ เส้นด้ายกว่าพันเส้นยังเชื่อมต่อสเปซแนวตั้งของชั้นบนและชั้นล่าง และในขณะเดียวกันก็แบ่งกั้นพื้นที่ต่างๆ ในแนวราบด้วย แต่ละห้องพักมีการใช้สิ่งทอเป็นองค์ประกอบในรูปแบบ และความหนาแน่นที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เปิดรับปริมาณของแสงธรรมชาติได้พอดีกับการใช้งานในพื้นที่นั้นๆ และเพื่อให้ตอบรับกับแนวคิดของ “ห้องพักตามฤดูกาล” จึงเน้นการใช้สิ่งทอแทนผนังเพื่อแบ่งกั้นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ และพื้นที่ที่มีการสัญจร ช่วยให้สามารถจัดวางห้องพักได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนให้เปิด-ปิดได้ตามสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล นอกจากนี้ […]

ABALANCE INTERIOR DESIGN รีโนเวทตึกแถวเก่าเป็นโฮมออฟฟิศ ช่วยบาลานซ์ชีวิตและงานให้สมดุล

โฮมออฟฟิศของ ABALANCE INTERIOR DESIGN ที่เกิดจากการ รีโนเวทตึกแถวเก่า 4 ชั้น อายุ 40 ปี ย่านถนนจันทน์ ให้ตัวอาคารกลับมามีฟังก์ชันใหม่ที่ตอบโจทย์ทั้งการทำงานและการพักอาศัย ตัวอาคารมีหน้ากว้างเพียง 3.50 เมตร แต่ด้วยปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับพื้นที่ใช้สอยไม่ตรงตามความต้องการ เจ้าของและผู้ออกแบบจึงต้อง รีโนเวทตึกแถวเก่า หลังนี้ โดยการปรับผังการใช้งานใหม่ทั้งหมด โดยจัดสรรให้พื้นที่ชั้นล่างเป็นส่วนสำนักงาน และชั้นบนสุดเป็นที่พักอาศัย จากทางเข้าประกอบด้วยพื้นที่ส่วนต้อนรับ แพนทรี่ของออฟฟิศ และด้านในเป็นห้องประชุมที่มีตู้เก็บของอยุ่ตลอดแนวผนัง ส่วนชั้น 2 เป็นห้องทำงานส่วนตัวของผู้บริหาร มีช่องเปิดกระจกสูงเปิดรับแสงธรรมชาติตลอดวัน ชั้น 3 เป็นพื้นที่ที่ทำงานของพนักงาน จัดวางยูนิตโต๊ะทำงานไว้กลางห้องเรียงต่อกันเป็นแนวยาว โดยมีชั้นวางของสูงขึ้นไปในแนวตั้ง ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ห้องที่มีผังในแนวยาว ส่วนบริเวณโถงบันไดที่ไปสู่ชั้น 4 ออกแบบให้ดูโปร่งด้วยโครงสร้างเหล็กและกระจก เพื่อนำแสงสว่างไปสู่ชั้นอื่นด้านล่าง พร้อมกับปลูกพืชสวนครัวในรูปแบบไม้กระถางและไม้แขวนช่วยสร้างความสดชื่น บนชั้นนี้เป็นพื้นที่พักอาศัยมีพื้นที่ใช้สอยครบถ้วนไม่ต่างจากคอนโดมิเนียม พร้อมระเบียงเล็ก ๆ สำหรับปลูกต้นไม้ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว ภายนอกอาคารจัดสรรพื้นที่ระเบียงด้านหน้าสำหรับวางคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ โดยทำโครงอะลูมิเนียมฉีกสีดำเป็นเปลือกอาคารช่วยพรางสายตา แต่ยังคงความรู้สึกกลมกลืนกับบริบทโดยรอบข้อมูลเจ้าของ – ออกแบบ : คุณวัฒนา โกวัฒนาภรณ์ aBalance Interior […]