© Copyright 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Botanist Activity Space & Cafe คาเฟ่มีนบุรี ในรูปแบบของกล่องกระจกท่ามกลางสวน 4 รูปแบบ ทั้ง Desert Garden, Jurassic Garden, Bromeliads Garden และ Tropical Garden
Leilo coffee space (เลโล คอฟฟี่ สเปซ) คาเฟ่เมืองระยอง ที่เกิดจากการปรับร้านใหม่ให้เรียบนิ่งในสไตล์มินิมัล ซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงสีเบจสูงทึบ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว ตัดขาดจากบริบทความวุ่นวายของถนนด้านนอก ชวนทุกคนให้เข้ามาดื่มด่ำกับกาแฟและบรรยากาศเงียบสงบโอบล้อมด้วยสีเขียวจากธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SA-ARD architecture & construction Leilo coffee space เดิมที่นี่มีชื่อว่า Happy Cup หลังจากสั่งสมประสบการณ์การเปิดคาเฟ่มาระยะหนึ่ง เจ้าของมีความต้องการอยากปรับรูปแบบใหม่ทั้งตัวร้านและแนวทางการทำกาแฟ จนเกิดเป็นการรีแบรนด์ดิ้งขึ้นมา โดยได้มีการ Collaboration กับแบรนด์ Cozy Factory ที่เชี่ยวชาญด้านกาแฟและการคั่วกาแฟ เพื่อช่วยชูรสชาติกาแฟของร้านให้เด่นชัดและจัดเต็มยิ่งกว่าเดิม ขณะที่การรีโนเวตร้านเป็นหน้าที่ของ SA-ARD architecture & construction โดยผู้ออกแบบได้นำความต้องการของเจ้าของที่อยากให้ร้านเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นมาคลี่คลายสู่บรรยากาศร้านใหม่ ภายใต้แนวคิด Minimalism เพิ่มความอบอุ่นให้ร้านด้วยสีเอิร์ธโทนและวัสดุธรรมชาติ โดยผู้ออกแบบยังคงเก็บอาคารเดิมไว้ทั้งหมด แต่ปรับให้พิเศษยิ่งขึ้น อาทิ พื้นที่ผนังกระจกหน้าร้าน จากเดิมที่อยู่จนสุดผนังทำให้มิติของร้านดูแบน ได้รับการปรับใหม่ให้ร่นระยะเข้ามาเพื่อให้ด้านหน้ามีสเปซมากขึ้น แล้วทำฐานซีเมนต์ให้ยื่นออกไป สร้างมุมมองให้เหมือนตัวอาคารลอยสูงขึ้นจากพื้น ขณะที่สีของอาคารก็เปลี่ยนเป็นสีคาราเมล หรือสีเบจตามที่เจ้าของชื่นชอบ แล้วแต่งผนังเป็นลายลูกฟูกช่วยสร้างเท็กซ์เจอร์ไม่ให้ผนังดูเรียบจนเกินไป เมื่อมีแสงแดดตกกระทบจะทำให้เห็นมิติของลวดลายที่ชัดเจน […]
Under the Sun คาเฟ่พัทยา เปิดใหม่ โดดเด่นภายใต้สถาปัตยกรรมครึ่งวงกลมสีแดง ที่มาพร้อมแนวคิดสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนผ่านการเล่น ช่วยให้อาคารมีชีวิตชีวา เหมาะพาครอบครัวมาพักผ่อนรับวิวพระอาทิตย์ตกวงกลม ๆ กลางทะเล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: POAR ภาพเด็กเล่นชิงช้า บ้างก็ทิ้งตัวสไลด์ไปตามความโค้งของขอบครึ่งวงกลม เป็นบรรยากาศสนุก ๆ ที่เราได้พบเห็นจากสถาปัตยกรรมซึ่งใช้เป็นอาคารของ Under the Sun คาเฟ่สีแดงดีไซน์โดดเด่นที่ตั้งตระหง่านและมีสีสันสดใสตัดกับสนามหญ้าสีเขียวริมชายหาด พื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงแรม ANA ANAN Resort & Villas Pattaya โจทย์การสร้างสรรค์อาคาร เริ่มมาจากทางโรงแรมต้องการให้พื้นที่สนามหญ้าติดชายหาดนี้ ทำหน้าที่เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ สำหรับจัดอีเว้นต์ต่าง ๆ รวมถึงโปรเจ็กต์ร้านอาหารและคาเฟ่ในลักษณะอาคารแบบชั่วคราว ที่เปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตตามการใช้งานที่ดิน โดยมีสถาปนิกจาก POAR ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ภายใต้ความท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้การมาคาเฟ่ หรือร้านอาหาร ทุก ๆ คนสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้แบบไม่แบ่งโซนเด็กและผู้ใหญ่ ขณะที่มุมมองของเด็ก อาจไม่ได้รู้สึกอิ่มเอมกับการตกแต่งหรือวิวอย่างผู้ใหญ่ สิ่งสำคัญของเขาคือการเล่นและอยากให้พ่อแม่มาเล่นด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกใจคนทั้งสองวัย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มาใช้งานและสนุกด้วยกันได้แบบไม่เขิน “รูปทรงอาคารเป็นได้ทั้งเครื่องเล่น ประติมากรรม และงานศิลปะ ซิกเนเจอร์ของ […]
THE RUNNING BEAN คาเฟ่ร่วมสมัยใจกลางกรุงฮานอย ฝีมือ Red5studio สตูดิโอออกแบบจากเวียดนาม ที่พยายาม “ฟรีซ” อาคารมรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้สะท้อนเรื่องราวในอดีตไปพร้อมๆ กับบอกเล่าไลฟ์สไตล์ของปัจจุบันและอนาคต อาคารโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงฮานอย ยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคสมัย เป็นพื้นที่ของธุรกิจมาแล้วหลากหลายรูปแบบ ตัวอาคารค่อนข้างแคบ ขาดแสงธรรมชาติ และโครงสร้างเดิมก็ใกล้ผุพังเต็มที แต่ที่น่าสนใจคือเปลือกอาคารโดดเด่นด้วยเส้นสายสไตล์กอธิกและมีฝ้าเพดานสูงที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สเปซน่าสนใจได้ ผู้ออกแบบเลือกใช้วัสดุอย่างกระจก และบล็อกแก้ว พร้อมแสงไฟโทนสีน้ำเงิน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อถึงบรรยากาศของภูเขาน้ำแข็งที่กระจายไอเย็นแสนหนาวเหน็บในอาคารโบราณแห่งนี้ เปลือกอาคารลอกชั้นปูนเก่าออกเผยให้เห็นผนังอิฐดั้งเดิม ส่วนลวดลายกอธิกห่อหุ้มด้วยวัสดุสแตนเลสเพื่อให้ดูร่วมสมัยมากขึ้น แทนที่จะเข้าสู่อาคารจากประตูหลักโดยตรง ผู้ออกแบบกำหนดให้ทางเข้าอยู่ลึกเข้าไป กรุด้วยกระจกใส กระจกโปร่งแสง ส่วนพื้นปูบล็อกแก้วเผยให้เห็นพื้นซีเมนต์ด้านล่าง สร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านก่อนเข้าสู่ภายใน หัวใจของชั้นล่างคือเคาน์เตอร์กาแฟ ซึ่งก่อจากอิฐแก้วใสและสแตนเลส เหนือเคาน์เตอร์ครอบไว้ด้วยกล่องโครงสเตนเลสกรุกระจกสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ผนังทั้งสองด้านสกัดปูนฉาบตกแต่งผนังออก แล้วกรุทับด้วยกระจกอีกหนึ่งชั้นเชื่อมต่อไปกับกระจกเงาบนฝ้าเพดานที่ช่วยให้สเปซดูสูงโปร่งขึ้น การออกแบบแสงสว่างเน้นการใช้เลเยอร์ของแสงสีเหลืองเป็นแสงหลัก แต่เพิ่มเลเยอร์ของแสงสีน้ำเงินภายในเพดานเคาน์เตอร์เพื่อสร้างเอฟเฟกต์สีและความรู้สึกของภูเขาน้ำแข็งให้เด่นชัดขึ้น ลึกเข้ามามีพื้นที่นั่งเล่นสำหรับจิบกาแฟเบาๆ พื้นที่นี้ใช้ผนังคอนกรีตและผนังกระจกหลายเลเยอร์ เพื่อซ่อนพื้นที่ห้องครัวและพื้นที่ส่วนเซอร์วิสอื่นๆ ทางเดินหลักและโถงบันไดทำจากผนังกระจกและไฟ LED สีฟ้าให้ความรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในภูเขาน้ำแข็ง เพื่อขยายพื้นที่ให้ได้จำนวนที่นั่งที่วางแผนไว้ ผู้ออกแบบจึงเปลี่ยนโครงสร้างจาก 2 ชั้นเป็นอาคาร 3 ชั้นพร้อมชั้นลอย ฝ้าเพดานเปิดโล่งเพื่อสร้างพื้นที่รับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด พื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยเลเยอร์ของแสงไฟ LED สีฟ้า เพื่อสร้างความรู้สึกของภูเขาน้ำแข็ง […]
Harvkind คาเฟ่ย่านพระราม 2 ที่ควบรวมโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ไว้ในหนึ่งเดียว ซึ่งมาพร้อมแนวคิดรักษ์โลกและสุขภาพ คอมมูนิตี้สเปซเล็ก ๆ สำหรับสายรักษ์โลก รักสัตว์ รักสุขภาพ และคนรักการแต่งบ้าน Harvkind เป็นทั้งคาเฟ่ และ Flagship Store ของ Harvbrand แบรนด์เฟอร์นิเจอร์น้องใหม่ที่แตกไลน์ธุรกิจมาจากแบรนด์หลักอย่าง Inhome Furniture ซึ่งเกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเกิลบอร์ด (particleboard) มานานกว่า 39 ปี (since 1983) จนถึงปัจจุบัน ด้วยรูปแบบทางการตลาดและพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนไป ผู้บริหารรุ่นใหม่อย่างคุณเชียร์-ชนน วระพงษ์สิทธิกุล ที่เข้ามาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัว จึงเกิดแนวคิดตั้งแบรนด์ลูกอย่าง HARV ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าคนรุ่นใหม่ ด้วยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เรียบง่ายทันสมัย ผลิตในรูปแบบที่เรียกว่า Micro Lot เพราะสามารถควบคุมคุณภาพเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังช่วยลดปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตและจัดเก็บ ผสมผสานเข้ากับแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่คุณเชียร์สนใจ ด้วยการพยายามให้เหลือเศษวัสดุน้อยที่สุด รวมถึงการนำเศษวัสดุมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แบบ Upcycle ซึ่งเป็นอีกแนวทางการทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน “ส่วนตัวผมสนใจเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงพยายามทำให้ […]
Akha Ama Coffee สาขาพระสิงห์ กับการเปลี่ยนตึกแถวสองคูหาให้กลายเป็นคาเฟ่สาขาใหม่ ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสสุนทรียแห่งรสชาติกาแฟไทย ภายในคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่นด้วยงานอิฐ และโอบรับด้วยเส้นโค้ง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 AKHA AMA COFFEE สาขาพระสิงห์ แห่งนี้ มีแนวคิดการสร้างสรรค์พื้นที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง เพื่อให้ผู้คนในย่าน หรือนักท่องเที่ยวสามารถมาใช้เวลานั่งพักบริเวณด้านหน้าของคาเฟ่ได้ ไม่ต่างจากบรรยากาศคาเฟ่เมืองนอก เนื่องจากที่นี่มีทำเลอยู่ริมถนนซึ่งพุ่งตรงไปยังวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเชียงใหม่ จากจุดประสงค์ดังกล่าวทีมสถาปนิกจาก 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 จึงต้องออกแบบพื้นที่ด้านหน้าของคาเฟ่ให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการนั่งพักผ่อน ต้อนรับทุกคนด้วยสีสันที่อบอุ่นของอิฐ วัสดุธรรมชาติช่วยสะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไร้การปรุงแต่ง เช่นเดียวกับกาแฟอาข่า อ่ามา ที่มีแหล่งปลูกมาจากธรรมชาติ และเกิดจากความใส่ใจของพี่น้องชาวอาข่าเกษตรกรท้องถิ่น “อิฐ” ถือเป็นพระเอกในการออกแบบครั้งนี้ก็ว่าได้ ส่วนหนึ่งมาจากความชอบของเจ้าของ และเพื่อบ่งบอกคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ สถาปนิกจึงนำอิฐมาสร้างสรรค์แพตเทิร์นที่น่าสนใจในหลาย ๆ มุม นอกเหนือจากการก่อโชว์แนวธรรมดา เริ่มตั้งแต่ผนังด้านหน้าทั้งซ้าย-ขวา ซึ่งโดดเด่นด้วยการทำแพตเทิร์นให้แผ่นอิฐยื่นออกมาแบบแรนดอม เพื่อให้เกิดภาพกราฟิกบนผนัง มีเส้นทางการเข้าถึงคาเฟ่แบ่งเป็นสองฝั่ง มีกระบะต้นไม้อยู่ตรงกลาง ด้านขวาเมื่อหันหน้าเข้าคาเฟ่มีทางขึ้นแบบขั้นบันได ส่วนฝั่งซ้ายเป็นทางลาดชัน ฝั่งที่เป็นขั้นบันไดเหมาะกับคนที่มาซื้อกาแฟแล้วไป ส่วนคนที่อยากสัมผัสสเปซก็ให้เดินอ้อมมาทางแลมป์ซึ่งมีที่นั่ง เหมาะมาใช้เวลาชิล ๆ จิบกาแฟ พร้อมชมวิวเมืองตอนเช้า เนื่องจากหน้าอาคารหันไปทางทิศเหนือ […]
บ้านหลังใหม่ของ NANA Coffee Roasters ที่ซ่อนตัวอย่างสงบเบื้องหลังกำแพงสีขาว ราวกับกำลังตัดขาดตัวเองจากความวุ่นวายของถนนบางนา-ตราดด้านนอก เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ทุกคนได้ตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ ท่ามกลางอ้อมกอดของสวนสีเขียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบสถาปัตยกรรม: IDIN Architects ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: TROP : terrains + open space NANA Coffee Roasters Bangna สาขาใหม่ แห่งนี้ เกิดจากความตั้งใจของคุณกุ้ง-วรงค์ ชลานุชพงศ์ และคุณกุ้ง- กานดา โทจำปา ที่ต้องการให้ที่นี่รวมทุกเรื่องราวของกาแฟมาไว้ในที่เดียวกัน เช่นเดียวกับจุดประสงค์ที่อยากให้ทุกคนมาตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ พร้อมการสร้างบรรยากาศที่ผูกร้อยเรื่องราวกว่าจะมาเป็นกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อพาทุกคนเข้าสู่โลกของกาแฟอย่างแท้จริง การออกแบบคาเฟ่สาขานี้ มาจากไอเดียที่อยากสร้างบรรยากาศของการดื่มกาแฟมากกว่าการมาเพื่อถ่ายรูป กลายเป็นโจทย์ให้คุณเป้-จีรเวช หงสกุล จาก IDIN Architects กับคุณป๊อก-อรรถพร คบคงสันติ จาก TROP : terrains + open space นำความต้องการดังกล่าวมาตีความว่าจะทำอย่างไรให้บรรยากาศการดื่มกาแฟได้รับการเติมเต็มผ่านการสร้างสรรค์ทั้งสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคป โดยใช้ภาษาที่เรียบง่ายและสลายเส้นแบ่งระหว่างงานทั้งสองให้หลอมรวม เปลี่ยนพื้นที่ร้านอาหารเก่าสู่คาเฟ่ของคอกาแฟ จากร้านซีฟู้ด “อบอวน มหาชัย […]
SAWO RONTGEN สาขาล่าสุดของ Sawo Coffee & Roastery แบรนด์คาเฟ่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย สาขาใหม่นี้ตั้งอยู่บนสนามหน้าบ้านหลังกะทัดรัดในย่านพักอาศัยบนถนน Rontgen ซึ่งชื่อถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นที่มาของแนวคิดหลักในการออกแบบ Röntgen หมายถึงการเอ๊กซเรย์ (X-ray) ตามชื่อของศาสตราจารย์เรินต์เกนผู้ค้นพบรังสีเอ๊กซ์ จากชื่อถนนที่ตั้งนำมาสู่แนวคิดการออกแบบคาเฟ่ขนาดเล็กด้านหน้าบ้าน ให้มีรูปลักษณ์โปร่งแสงไม่ต่างจากการเอ๊กซเรย์ หลังจากทีมออกแบบได้ทำการศึกษาค้นคว้าวัสดุโปร่งแสงรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์แนวคิดการออกแบบในที่สุด บล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด จึงถูกใช้เป็นวัสดุหลัก โครงสร้างผนังบล็อกแก้วบนสนามด้านหน้าบ้านดูคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ที่ช่วยกำหนดขอบเขต และสร้างเส้นแบ่งให้ส่วนคาเฟ่โดยเฉพาะ ส่วนกระจกกัดกรดมีผิวสัมผัสซาตินเป็นเหมือนผิวภายนอกของคาเฟ่ที่ห่อหุ้มองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้านเดิมไว้ ทำให้เกิดเลเยอร์ใหม่ดูน่าสนใจบนเปลือกอาคารเก่า โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก วัสดุบล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด สร้างความขัดแย้งอย่างลงตัวกับทั้งโครงสร้างอาคาร และธรรมชาติรอบข้าง นำไปสู่รูปลักษณ์ความโปร่งแสงสลับโปร่งใสในหลากหลายรูปแบบอย่างที่ทีมออกแบบตั้งใจ ส่วนโครงสร้างหลักใช้เหล็ก H-beam ชุบกัลวาไนซ์ ปล่อยเปลือยเปล่าโชว์ผิวสัมผัส เมื่ออยู่เบื้องหลังผิวโปร่งแสงของบล็อกแก้วและกระจก จึงเปรียบได้กับภาพเอ๊กซเรย์ที่ปรากฎเลเยอร์ของผิวหนัง และโครงกระดูก เมื่อเข้ามาภายในคาเฟ่จะพบเคาน์เตอร์กาแฟสีขาวเฉียบเรียบ ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของ Sawo Coffee คอยบริการเสิร์ฟกาแฟก่อนที่ลูกค้าจะเข้ามาโซนที่นั่งด้านใน เซอร์ไพร้ส์กับที่นั่งเอ๊าต์ดอร์วงกลมที่ซ่อนอยู่ในกล่องบล็อกแก้ว รูปทรงวงกลมนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้ของแบรนด์ ซึ่งรูปทรงที่โดดเด่น และสมมาตรนี้ทำให้เกิดบรรยากาศที่สงบ สร้างบทสนทนาเรียบง่ายระหว่างผู้ใช้งานกับสถาปัตยกรรม ส่วนด้านข้างมีบันไดเหล็กที่นขึ้นำไปสู่ห้องชั้นบนที่มีที่นั่งแบบอินดอร์ […]
Jinyù cafe and eatery คาเฟ่เชียงราย ที่เกิดจากการรีโนเวตอาคารพาณิชย์ขนาด 1 คูหา ให้อบอวลไปด้วยกลิ่นอายจีนทั้งการตกแต่งภายในและสวนด้านข้าง
OtW.cnx คาเฟ่แม่ริม กับคอนเซ็ปต์นำถนนในแผนที่มาตีความใหม่ เหมาะกับที่ตั้งบนถนนสายท่องเที่ยว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: pommballstudio คาเฟ่สวยเปิดใหม่ ที่ไม่อยากให้คุณพลาด หรือขับรถเลยผ่านไป กับ OtW.cnx คาเฟ่สวยสไตล์มินิมัล ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนทางกลับจากแม่ริมก่อนเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ OtW.cnx ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงแรม Nakronping Boutique ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการรีโนเวต โดยขอจัดเสิร์ฟคาเฟ่นี้ ก่อนที่โรงแรมจะรีโนเวตเสร็จสมบูรณ์ โดยเจ้าของมีจุดประสงค์ให้บริการทั้งแขกของโรงแรม ผู้คนทั่วไป และนักเดินทางได้แวะมาพักผ่อน ด้านหน้ามีรายละเอียดการออกแบบที่น่าสนใจ คือ กำแพงโปร่งลายตาราง ตีเป็นเส้นกริดจากเหล็กสีดำ ตกแต่งด้วยแผ่นไม้ เสมือนการมาร์กจุดเป็นพ้อยท์แบบแรนดอม เปรียบเทียบเหมือนการปักหมุดในแผนที่บนเส้นทางการท่องเที่ยว สมกับพิกัดของที่ตั้ง และชื่อของคาเฟ่ ซึ่งย่อมาจาก “On the Way” จากพิกัดของที่ตั้งดังกล่าว pommballstudio ได้ตีความจนออกมาเป็นงานออกแบบอย่างน่าสนใจ “ไอเดียของที่นี่ เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยว เราจึงเลือกใช้ธีมนี้มาเป็นโจทย์ของการออกแบบ โดยเฉพาะภาพถนน หรือทางแยกตัดกันในแผนที่ ที่ถูกนำมาเป็นไอเดียของแพตเทิร์นต่าง ๆ แปลงเป็นเส้นกริด ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ ส่วน เช่น ฟาซาดที่เป็นเส้นกริดจากกระบื้อง และการตกแต่งไฟแอลอีดีเป็นเส้นสีขาวตัดกันคล้ายเส้นถนนในแผนที่ ทั้งโคมไฟเพดาน ไฟตกแต่งข้างผนัง […]
Bite and Bond คาเฟ่น้องใหม่ ที่อยากชวนคุณมานั่งชิล พร้อมชมย่านเก่า “เสาชิงช้า” ภายใน double b hostel โฮสเทลที่เกิดจากการรีโนเวตพื้นที่ตึกแถวเก่าให้อบอุ่นด้วยงานไม้ สร้างประสบการณ์แห่งการพักผ่อนอย่างผ่อนคลาย ภายในตรอกนาวาหลังโบสถ์พราหมณ์ คือที่ตั้งของคาเฟ่ Bite and Bond ที่ซ่อนอยู่ที่ชั้นล่างของ double b hostel โฮสเทลที่เกิดจากการรีโนเวทตึกแถวเก่าและโรงจอดรถของครอบครัว คุณเบ้น-ปริญ จิวารุ่งเรือง เจ้าของโฮสเทลและคาเฟ่ที่พามาเยือนแห่งนี้ เธอเล่าว่าเดิมที่นี่เป็นตึกแถวเก่าของอากง ใช้สำหรับเก็บของและเป็นที่จอดรถของครอบครัว ซึ่งทำธุรกิจหล่อพระในย่านเสาชิงช้า แต่เนื่องจากตัวอาคารและพื้นที่ด้านในได้ผ่านการใช้งานมานาน โครงสร้างส่วนใหญ่ที่มีอายุกว่าร้อยปีเริ่มผุพังไม่แข็งแรง ทางบ้านจึงต้องการแก้ไขดัดแปลงอาคารใหม่ เธอจึงปรึกษากับคุณพ่อและขออนุญาตรีโนเวตตึกแถวนี้ เพื่อเปิดเป็นคาเฟ่และโฮสเทล จุดเริ่มต้นธุรกิจใหม่ของครอบครัว โดยมีโจทย์ว่า ภายในโฮสเทลจะต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเยอะ ๆ สำหรับแขกของโฮสเทล หรือคนทั่วไปสามารถเข้ามาพบปะเจอะเจอกันในฐานะที่มีคาเฟ่ซ่อนอยู่ด้านใน ตรงตามชื่อ Bite and Bond ที่เจ้าของอยากให้คนได้มาพบปะและนั่งกินขนมอร่อย ๆ ด้วยกัน ผสมกับความต้องการอยากดึงความเป็นธรรมชาติเข้ามาใช้ในพื้นที่ โดยผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ให้ความรู้สึกถึงความอบอุ่น สร้างความใกล้ชิดกับธรรมชาติ แม้จะอยู่ในตึกแถวแบบปิดทึบก็ตาม ด้านหน้าโดดเด่นด้วยฟาซาดทำจากไม้พาสวูดซึ่งมีคุณสมบัติทนแดดและฝน นำมาออกแบบคล้ายไม้ระแนงสูงขึ้นไปจนถึงปลายสุด โดยออกแบบให้มีลักษณะคล้ายรูปอักษรดับเบิ้ลยู (W) […]
“Coffee Ngeggee” จากร้านกาแฟเล็ก ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกตามชื่อของอาม่า ที่คนในละแวกอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่อยู่ใกล้เคียงต่างติดใจ มาวันนี้ถึงคราวต้องย้ายจากคาเฟ่บ้านไม้ สู่พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นภายในโกดังเก็บสินค้าเก่าของครอบครัว เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำเบเกอรี่และอาหารที่จริงจังขึ้น พร้อมกับช่วยสะท้อนตัวตนและเรื่องราวความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนได้อย่างตรงตัวและชัดเจน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: pommballstudio โดยทีม pommballstudio ยังคงรักษารูปทรงของโครงสร้างโกดังเก่า ขนาด 240 ตารางเมตร นี้ เอาไว้ ไม่รื้อหลังคา หรือโครงสร้างใด ๆ ก่อนจะบรรจุงานออกแบบที่สะท้อนถึงกลิ่นอายความเป็นจีนเข้าไป สร้างสรรค์ให้โกดังเก่ากลายเป็นคาเฟ่สไตล์จีนที่น่ามาเยือน โดยได้วางใจให้ pommballstudio เป็นผู้ออกแบบ โดยทีมออกแบบยังคงรักษารูปทรงของโครงสร้างโกดังเก่า ขนาด 240 ตารางเมตร นี้ เอาไว้ ไม่รื้อหลังคา หรือโครงสร้างใด ๆ ก่อนจะบรรจุงานออกแบบที่สะท้อนถึงกลิ่นอายความเป็นจีนเข้าไป สร้างสรรค์ให้โกดังเก่ากลายเป็นคาเฟ่สไตล์จีนที่น่ามาเยือน แนวคิดการออกแบบ สถาปนิกหยิบไอเดียภาพวาดพู่กันจีนโบราณ มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลัก เริ่มตั้งแต่ทางเข้าคาเฟ่ ที่หากสังเกตดี ๆ ที่พื้นจะพบกับกราฟิกตัวหนังสือภาษาจีน ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ยินดีต้อนรับ” เป็นเสมือนพรหมแดงนำทางทุกคน มุ่งเดินจากลานจอดรถเพื่อมายังตัวอาคาร ที่ถูกขนาบข้างทั้งซ้าย-ขวาด้วยสวนหิน ซึ่งทำจากแผ่นหินที่นำมาเรียงต่อกันเป็นรูปก้อนหินในลักษณะของแผ่นแบน ๆ […]
Basecamp Trail Provision ที่นี่คือคำตอบ! สำหรับขาใหม่ ขาจร ขาประจำ รวมทั้งคอกาแฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab Basecamp ชื่อนี้คนรักการวิ่งเทรลน่าจะคุ้นหู แต่ถ้าใครไม่คุ้นเราจะขอเล่าให้ฟัง เดิมที Basecamp Trail Provision นั้นเป็นคาเฟ่เล็ก ๆ ที่เกิดจากคุณเค้ก-ภาวิดา โวเวลส์ ผู้มีใจรักในกีฬาวิ่งเทรล จนผ่านวันเวลามาเรื่อย ๆ ที่นี่ถือเป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งที่เหล่านักวิ่งเทรล หรือปั่นจักรยานที่เชียงใหม่ จะต้องแวะเวียนมาเยี่ยมเยือน จากร้านเล็ก ๆ ในวันวาน จึงเติบใหญ่กลายเป็นร้านกาแฟและร้านอุปกรณ์วิ่งกึ่งเอ๊าต์ดอร์อย่างที่เห็น สำหรับร้านใหม่นี้ ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 2 ไร่ จึงสามารถรองรับกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย โดยที่อาคารหลังนั้นจะแบ่งออกเป็นสองปีก คือพื้นที่ร้านกาแฟ และพื้นที่ร้านอุปกรณ์การวิ่งที่โดดเด่น เน้นอุปกรณ์วิ่งเทรล และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น เต็นท์แบบ Ultra Light หรือ อุปกรณ์เดินป่าพื้นฐาน – ออกแบบเพื่อกลมกลืนกับธรรมชาติ – งานออกแบบนั้นได้ Housescape […]
Banyakart Khao Yai คาเฟ่สีขาวคลีนกลางเขาใหญ่ที่ขอวางตัวให้เรียบง่าย มินิมัล แล้วเป็นแบ็กกราวนด์ให้กับธรรมชาติและงานศิลปะแทน จากสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น ผู้คนต่างโหยหาพื้นที่ที่สามารถออกมาสูดอากาศได้อย่างเต็มปอดโดยไม่ต้องกังวลเรื่องระยะห่างมากนัก จึงเป็นที่มาของ Landmark แห่งใหม่ของเขาใหญ่แห่งนี้ คาเฟ่ ” Banyakart Khao Yai ” ที่เจ้าของอย่าง คุณแบม-ญาณิศา นำสิ่งที่ชื่นชอบและสื่อสารได้ดีอย่าง “งานศิลปะ” มาใส่ไว้ท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติอย่างเขาใหญ่นี่เอง โดยพื้นที่แห่งนี้มีคอนเซ็ปต์คือ Horizontal Hangout หรือแหล่งแฮงก์เอ๊าต์ในแนวราบให้คนเมืองได้หนีเมืองออกมาหายใจในพื้นที่กว้างแบบ “New Luxury after Covid” เกิดเป็นพื้นที่แบบมัลติฟังก์ชันบนที่กว่า 5 ไร่ที่ตอนนี้มีเพียงพื้นที่คาเฟ่ และเตรียมเสริมทั้งฟั่งก์ชั่น F&B อื่นๆ และพื้นที่ขายของในอนาคตอันใกล้ จากแนวคิดดังกล่าวพื้นที่จึงสามารถแบ่งออกได้หลายโซนแล้วแต่ชอบไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อินดอร์กับที่นั่งแบบโซฟาพร้อมสตูลชิลๆ ลงไปด้านหลังร้านจะพบกับโซนเอ๊าต์ดอร์ที่โรยด้วยหินกรวดกับที่นั่งแบบก่อพร้อมแสงเงาสวยๆ หรือจะเดินอ้อมไปด้านหลังกับโซนที่นั่งเอกเขนกแบบมีระแนงหลังคาคลุมได้ฟีลอาบแดดริมนอนมองวิวเขาใหญ่ และสุดท้ายกับโซนสวนยอดนิยมกับงาน Installation Art อย่างกระจกรูปทรงฟรีฟอร์มมาเป็นท็อปโต๊ะเพื่อสะท้อนธรรมชาติโดยรอบของพื้นที่ ในส่วนของการออกแบบอาคาร คุมโทนด้วยสีขาวตั้งแต่ซุ้มโค้งทางเข้าและตัวอาคาร เพื่อให้ความรู้สึกสบายตา เรียบง่าย แล้วชูให้ธรรมชาติเป็นพระเอก ราวกับชิ้นงานศิลปะ โดยซุ้มโค้งมาจากฟอร์มของภูเขาที่ลดทอนให้ดูโมเดิร์นขึ้น นำมาซ้อนเกิดเป็นเลเยอร์ที่น่าสนใจ หรืออีกนัยหนึ่งความโค้งที่เห็นนั้นมาจากตัวอักษร B ในภาษาอังกฤษ […]
Found cafe ค้นพบนิยามความสุขในคาเฟ่ทรงกลม ที่เกิดจากการทดลองใช้วัสดุ ภายใต้แนวคิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ กับการกลายพันธุ์ของวัสดุ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: PHTAA Living Design คาเฟ่เปิดใหม่ตั้งอยู่ภายในโครการ Found Venue สถานที่จัดงานแต่งงานย่านถนนนวลจันทร์ โดย Found cafe มีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารทรงกลม สดชื่นสบายตาไปกับพรรณไม้สีเขียวและหญ้าน้ำพุที่แข่งกันอวดดอกสีขาวฟูฟ่อง พร้อมกับมีแบ็กกราวน์เป็นอาคารเวดดิ้ง ฮอลล์ สีขาว เสา และบัวรูปทรงคลาสสิก ที่ไม่ต่างจากงานประติมากรรมซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ช่วยเติมเต็มบรรยากาศให้ทุกมุมดูลงตัวสวยงาม โดยเฉพาะยามที่แสงแดดทำหน้าที่ไล่เฉดทาบลงไปในทุกส่วน รอทุกคนมาค้นพบ และเอ็นจอยไปกับเครื่องดื่มรสชาติคัดสรร เป็นความใส่ใจที่ไม่ต่างจากการออกแบบ ซึ่งคิดมาอย่างดีโดยทีมสถาปนิกจาก PHTAA living design ภายใต้แนวคิด “Authentic Fake” กับการทดลองใช้วัสดุอย่าง บัวซีเมนต์ ที่เราคุ้นเคย เพื่อบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทางสถาปัตยกรรม เดิมที่นี่เคยเป็นปั๊มน้ำมันร้าง แต่ด้วยศักยภาพของทำเลที่ติดถนนใหญ่ จึงเป็นที่มาให้เจ้าของตัดสินใจเช่าและปรับปรุงพื้นที่ครั้งใหญ่ หนึ่งในโปรเจ็กต์ Found Venue นี้ ก็คือ […]
Unfinished Coffee Roaster คาเฟ่ย่านวังหิน ที่พร้อมโชว์ความไม่สมบูรณ์ของวัสดุผ่านโครงสร้าง การตกแต่ง ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์
Brew Fact คาเฟ่เชียงใหม่ อบอุ่นดีต่อใจ กับรูปแบบร้านรีโนเวตใหม่ เอาใจทั้งคอกาแฟและคนรักขนมปัง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 ร้านกาแฟเล็ก ๆ กับการเช่าพื้นที่ข้างบ้านดั้งเดิมในย่านศิริมังคลาจารย์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ให้เป็นจุดนัดพบของคอกาแฟ รวมถึงเหล่าคนทำงานอิสระที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศได้เข้ามาใช้งาน โดย คาเฟ่เชียงใหม่ แห่งนี้ มีจุดเด่นอยู่ที่ความเป็นกันเองของเจ้าของร้านและบาริสต้า จนกระทั่งเป็นที่รู้จักและมีลูกค้าประจำจำนวนมาก เพื่อให้ร้านสามารถรองรับลูกค้าได้มากขึ้นในบรรยากาศที่ดีขึ้น เจ้าของร้านจึงตัดสินใจปรับปรุงร้านใหม่ให้มีบรรยากาศอบอุ่นน่านั่งและดูกว้างขวางมากกว่าเดิม คุณศตวัชร ขัตลิวงศ์ จาก 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 ผู้ออกแบบเล่าว่า เขาก็เป็นหนึ่งในลูกค้าประจำของ Brew Fact เช่นกัน เมื่อได้รับความไว้วางใจให้รีโนเวตร้าน จึงหยิบคาแรกเตอร์ของคาเฟ่ บวกกับโปรดักต์ใหม่อย่าง “ขนมปัง” ที่มีหลากหลายรสชาติให้เลือก มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ต่าง ๆ เห็นเด่นชัดคือเคาน์เตอร์บาร์ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ เพดานเหนือเคาน์เตอร์ใช้ไม้อัดมาดัดโค้ง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากรูปทรงความโค้งของก้อนขนมปัง เช่นเดียวกันกับสีสันของไม้อัดที่เหมือนสีขนมปังที่เพิ่งอบใหม่ ๆ จากเตา สร้างบรรยากาศให้คาเฟ่ดูอบอุ่น ต่างจากบรรยากาศร้านเก่าที่ค่อนข้างมืดและแคบ อีกหัวใจของงานดีไซน์ครั้งนี้ นั่นก็คือ […]
The Rubberer คาเฟ่ดีไซน์เรียบง่าย แต่โดดเด่นด้วยการนำเสนอเรื่องราวของยางพารา อีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง ผ่านการออกแบบคาเฟ่ที่มีแรงบันดาลใจจากอาคารโรงงานยางพารา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: SA-ARD architecture & construction ที่นี่มีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจของครอบครัวเจ้าของคาเฟ่ ซึ่งอยู่ในระบบอุตสาหกรรมยางพาราแบบครบวงจร ทั้งการทำสวนยางพารา และโรงงานรีดแผ่นยางฯ ของตนเอง สำหรับ The Rubberer จึงเสมือนเป็นการต่อยอดธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่ในฐานะของร้านกาแฟ แต่ยังเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ ที่เก็บรวบรวมเรื่องราวและความทรงจำ สะท้อนถึงบริบทที่ตั้ง และความเป็นมาของธุรกิจครอบครัว ซึ่งมีประวัติมาอย่างยาวนาน ริมถนนหมายเลข 4040 ภายในพื้นที่กว้างขวางของโรงงานแปรรูปและตากยางพารา ส่วนหนึ่งได้รับการจัดสรรให้เป็นที่ตั้งของคาเฟ่ ซึ่งมีรูปทรงเป็นอาคารชั้นเดียวยาว 20 เมตร ได้ไอเดียมาจากโรงงานยางพาราหลังเดิมที่ตั้งอยู่ไม่ไกล ทั้งยังเลือกใช้แมททีเรียลในการก่อสร้างที่คล้ายกันเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถูกนำมาจัดเรียงเป็นองค์ประกอบใหม่ ภาษาใหม่ ดัดแปลงเข้ากับการตกแต่งสไตล์ญี่ปุ่น ตามความชื่นชอบของเจ้าของ เพื่อให้มีรายละเอียดน่าสนใจและอบอุ่นมากขึ้น “สถาปัตยกรรมในยุคเดียวกับการ์ตูนเรื่องอิคคิวซังถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร เกิดจากการสังเกตความชอบของเจ้าของคาเฟ่ว่า เขาเป็นคนชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นยุค 80’s ผมเลยนำสิ่งนั้นมาตีความ และใส่รายละเอียดให้อาคารมีกลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่น เช่น การออกแบบหลังคาให้มีความลาดต่ำลง ดึงเชิงชายข้างอาคารให้กว้างขึ้น แล้วเลือกใช้กระเบื้องแบบลอนคู่มามุงหลังคา ลักษณะคล้ายวัด […]