room Archives - room

Factory Coffee HQ คาเฟ่สแตนด์อโลน เรียบง่ายด้วยอิฐบล็อก คอนกรีต และเก้าอี้รักษ์โลก

ร้านกาแฟบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม ที่เป็นทั้งพื้นที่ร้านขายกาแฟ โรงคั่ว และออฟฟิศของแบรนด์ Factory Coffee ซึ่งอยู่ภายในอาคารแบบสแตนด์อโลน กับดีไซน์สไตล์อินดัสเทรียลที่ตีความมาจากคำว่า Factory ในพื้นที่เปิดโปร่ง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace   Factory Coffee HQ ออกแบบโดย Tastespace โจทย์ของการดีไซน์ร้านนี้ เริ่มต้นจากการความต้องการสร้างพื้นที่ขายเครื่องดื่ม ที่มีโรงคั่วกาแฟ และเป็นออฟฟิศของแบรนด์อยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยทำอย่างไรให้งานดีไซน์นั้นยังคงความเป็นอินดัสเทรียลตามรูปแบบที่เป็นภาพจำของแบรนด์แต่ดูทันสมัยขึ้น ขณะเดียวกันก็ผสานธรรมชาติเข้ากับตัวร้านให้มีความร่มรื่นด้วยต้นไม้โดยรอบ จนนำมาสู่การออกแบบรีโนเวทอาคารเก่าให้กลายเป็นพื้นที่ร้านกาแฟ นอกจากนั้นภายในร้านยังมีการนำเก้าอี้ Betterism Collection ที่ room ร่วมมือกับ MORE – Waste is More เป็นคอลเล็กชั่นเก้าอี้รักษ์โลก ผลิตจากวัสดุขยะกล่องนม UHT เป็นโปรเจ็คต์ความร่วมมือระหว่างทีมวิจัย และพัฒนาวัสดุ กับทีมออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งที่นี่เป็นคาเฟ่ที่เลือกใช้เก้าอี้ชุดนี้มาเป็นเฟอร์นิเจอร์หลัก จุดเริ่มต้นของ Factory Coffee Factory Coffee เป็นแบรนด์ร้านกาแฟสเปเชียลตี้เจ้าดังที่ตั้งอยู่ติดกับรถไฟฟ้าสถานีพญาไท เป็นร้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องคุณภาพของกาแฟ บาริสต้าฝีมือดี และดีไซน์ที่เป็นที่สนใจเป็นอย่างมากในยุคที่ร้านเปิดขึ้น เมื่อ 10 […]

Simple Art Museum พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย เชื่อมโยงวัฒนธรรมของชาวอานฮุย

พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย ในมณฑลอานฮุย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลงานการออกแบบโดยสองสถาปนิกอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณกุลธิดา ทรงกิตติภักดี แห่ง HAS design and research DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: HAS design and research ผลงานการออกแบบ พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย ครั้งนี้ เปรียบเสมือนการสะท้อนภาพแนวคิดการออกแบบที่มีอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยการนำเสนอวิสัยทัศน์ทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ผ่านการออกแบบที่สร้างสรรคด้วยการนำเสนอแรงบันดาลใจอันมีที่มาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของมณฑลอานฮุยที่สืบทอดมาจากยุคโบราณ โดยสถาปนิกได้ตีความออกมาจนกลายเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นผ่านหลังคา หน้าจั่ว เสา และพื้นที่แลนด์สเคป เพื่อทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อันสำคัญของชาวอานฮุย อันเป็นเครื่องบ่งบอกว่า แม้เมืองจะเติบโตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจตลอดช่วงศตวรรษที่ 21 ที่ผ่านมาสักเพียงใด แต่จีนก็ยังให้คุณค่ากับรากวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สามารถเดินคู่ไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน ที่นี่จึงเปรียบเป็นพื้นที่ร่วมสมัยบอกเล่าจิตวิญญาณและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ที่มาบรรจบกัน โดยการนำแรงบันดาลใจมาจากหมู่บ้านฮุยนำมาต่อยอดสู่งานออกแบบครั้งนี้ เมื่อมองเข้ามาจะพบกับภาพของหลังคาที่ทำมาจากวัสดุทนไฟออกแบบให้มีลักษณะเป็นลอนหยักที่หันเข้าด้านใน ถือเป็นโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อโอบรับสาธารณชน ภายในประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะ ห้องจัดแสดงผลงานศิลปะ ห้องทำงาน ห้องมัลติมีเดีย ห้องออกแบบ และร้านกาแฟ พื้นที่มีความไหลลื่นกลมกลืนไปกับผนังโค้งภายใน ให้ภาพบรรยากาศที่มีทั้งความทันสมัยและสง่างาม ชั้นล่างเป็นพื้นที่สีเทากว้างขวางกระตุ้นจินตนาการและดึงดูดผู้ชมงานให้ดำดิ่งสู่ศิลปะและความงาม อันเกิดจากการผสานความธรรมดาเข้ากับความรู้สึกพิเศษ ด้านบนหลังคาทรงแหลมของพิพิธภัณฑ์สะท้อนให้เห็นพื้นที่จัดนิทรรศการด้านล่าง รองรับด้วยผนังโค้งที่สร้างเส้นทางคดเคี้ยวชวนให้นึกถึงสวนสไตล์จีนที่มีเฉดดิ้งของแสงเงาเป็นธรรมชาติ […]

Nam House บ้านอิฐเย็นสบาย ด้วยสเปซช่วยดึงลมธรรมชาติ

Nam House บ้านอิฐสี่เหลี่ยมในสภาพอากาศร้อนชื้นของเมืองโฮจิมินห์ ที่อยู่สบายด้วยการใช้วัสดุอิฐ เสริมด้วยสเปซช่วยดึงลมธรรมชาติ บ้านอิฐชั้นเดียวบนพื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตรหลังนี้ ได้รับการออกแบบโดย CTA (Creative Architects) สถาปนิกจากเวียดนาม เพื่อให้ตอบสนองต่อสภาพอากาศของเมืองโฮจิมินห์ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอุณหภูมิจะสูงกว่า 8 – 11 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับพื้นที่ชนบท นำมาสู่การออกแบบบ้านหลังนี้เพื่อรองรับกับสภาพอากาศดังกล่าวให้ผู้อาศัยได้อยู่สบาย และมีส่วนเชื่อมต่อกับบ้านของแม่ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน มีแนวคิดหลัก คือ การเลือกอิฐดินเผามาเป็นวัสดุหลักที่ใช้เป็นกรอบอาคาร แล้วออกแบบผังให้ปรับตัวไปตามทิศทางของแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วง เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญกับอากาศร้อน ก้อนอิฐดินเผาวางก่อเชื่อมต่อกันกลายเป็นบ้านอิฐที่มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 บล็อก ตรงกลางเป็นพื้นที่ส่วนรวมประกอบด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว โดยบล็อกกลางนี้มีการออกแบบผังให้เป็นโอเพ่นสเปซ มีช่องเปิดรับบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่นำพาอากาศเย็นสบายเข้ามาจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และช่วยให้มองเห็นบ้านของแม่ที่อยู่ติดกันด้วย จากบล็อกกลางนี้ ได้มีการเชื่อมสเปซกับบล็อกอีกสองฝั่ง ได้แก่ บล็อกหน้าเป็นทางเข้าตัวบ้านตรงกลาง ประกอบด้วยปีกซ้ายแยกเป็นโรงจอดรถ มีห้องนอนและห้องอ่านหนังสืออยู่ในปีกขวา ซึ่งเพิ่มความเป็นส่วนตัวด้วยกำแพงหนา ส่วนบล็อกหลังเป็นพื้นที่ของห้องนอนอีก 2 ห้อง และห้องซักรีด จุดเด่นของบ้านอิฐ Nam House คือ โครงสร้างผนังอิฐหนา 250 มิลลิเมตรล้อมรอบอาคาร ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ช่วยกันความร้อนจากภายนอก โดยก่อผนังอิฐ […]

กลางป่า – Homemade คาเฟ่กะทัดรัด โชว์สัจวัสดุ เชื่อมบริบทธรรมชาติ

คาเฟ่คอนกรีตเปลือย ดีไซน์คล้ายกลาสเฮาส์ ที่ซ่อนตัวอยู่ในผืนป่า กลมกลืนไปกับบริบทด้วยการเลือกใช้วัสดุเรียบง่าย ทนทาน เพื่อรองรับความท้าทายของที่ตั้ง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Context Studio Klang-Pa หรือ กลางป่า มีที่มาจากความต้องการเล่าเรื่องราวการสานต่อที่ดินของคุณพ่อ ก่อนส่งต่อไอเดียให้ Context Studio เป็นผู้ออกแบบ จนกลายเป็นอาคารคอนกรีตเปลือยทรงกล่องกรุกระจกคล้ายกลาสเฮ้าสต์ อันผูกตัวตนของลูกที่เป็นคนรุ่นใหม่กับที่ดินผืนนี้ผ่านงานดีไซน์ โดยยังคงรักษาต้นไม้ดั้งเดิมบนที่ดินของคุณพ่อที่ให้ร่มเงาเขียวชอุ่ม เพื่อให้วิวธรรมชาติรอบ ๆ นั้น ได้กลายเป็นของขวัญสำหรับวันพักผ่อนของผู้คนที่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยือน เล่าย้อนไปถึงที่ดินอันเป็นที่ตั้งของคาเฟ่ แต่เดิมนั้นเป็นสวนที่มีต้นไม้น้อยใหญ่ให้ร่มเงาแก่สถานที่ซึ่งประกอบธุรกิจเล็ก ๆ ของพ่อผู้เป็นศิลปินเจ้าของแกลเลอรี่สอนศิลปะ ซึ่งมีชื่อว่า “Secret Art Garden and Galleries” โดยผู้เป็นลูกอยากเพิ่มความคึกคักและสีสันให้กับพื้นที่แห่งศิลปะนี้ การออกแบบคาเฟ่เพื่อให้คนได้มาดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟและเสพทิวทัศน์ธรรมชาติของที่นี่ไปพร้อมกันจึงเริ่มต้นขึ้น โดยได้รับการออกแบบจาก Context Studio ด้วยการร่างแบบจากเรื่องราวที่เจ้าของต้องการสื่อสาร ผสานแรงบันดาลใจจากคาเฟ่เดิมที่คล้ายกับกลาสเฮาส์ซึ่งตั้งอยู่ในไซต์ ก่อนจะมาลงตัวด้วยการเลือกใช้วัสดุสามัญอย่าง คอนกรีต ที่มีความทนทานเพื่อรองรับความท้าทายของที่ตั้ง ไม่ว่าจะดิน โคลน และฝนในฤดูน้ำหลาก ช่วยให้คาเฟ่เล็ก ๆ แห่งนี้ ตั้งอยู่ได้ยาวนานคู่กับการสืบทอดผืนป่าของผู้เป็นลูก จุดเด่นของคาเฟ่แห่งนี้ คือการทำให้คอนกรีตหล่อเชื่อมต่อกันเพื่อรองรับทุกฟังก์ชันการใช้งานในพื้นที่ขนาดจำกัดได้อย่างลงตัว คล้ายเรื่องราวระหว่างพ่อกับลูกที่ถูกสื่อสารผ่านงานออกแบบได้อย่างแยบยล กรอบอาคารและฝ้าเพดานกรุด้วยกระจก […]

ฯลฯ SARAPAD THAI สารพัดไทย แหล่งชอปสารพัดอย่าง ดีไซน์ไทยร่วมสมัย

จากสารพัดสิ่งของในร้าน Medium and More สู่การตีความใหม่ใน “ร้านสารพัดไทย” ณ ศูนย์การค้า Parade at One Bangkok เกิดจากความต้องการให้เป็นพื้นที่ชูผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าไทยที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์การใช้งาน และมีเรื่องเล่าที่น่าสนใจแบบไทย ๆ จึงเป็นที่มาของ SARAPAD THAI สารพัดไทย ฯลฯ ร้านค้าที่ตีความและรวบรวมสารพัดสินค้าไทยดีไซน์โมเดิร์น เข้าถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของไทยในบริบทปัจจุบัน ผ่านมุมมองที่ฉีกกรอบและสนุกสนาน ในที่นี้ คำว่า “สารพัดไทย” ไม่ใช่เป็นเพียงแต่สิ่งของ แต่คือสารพัดอย่างของความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งของมากมายภายในร้านที่รวบรวมมามากกกว่าหนึ่งสิ่ง แนวคิดนี้ได้รับการสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ไปยาลใหญ่ หรือ “ฯลฯ” ซึ่งแทบจะใช้กันน้อยมากในปัจจุบัน แต่ครอบคลุมการสื่อความหมายได้อย่างตรงไปตรงมา เมื่อว่าด้วยความเป็นไทยอื่น ๆ อีกมากมายได้มากที่สุด การตกแต่งตั้งแต่ทางเข้าใช้ดีไซน์ความเป็นไทยในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงที่มีติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตก และยังได้รับอิทธิพลด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมเข้ามาด้วย ทางเข้าหน้าร้านยาวกว่า 40 เมตร จึงได้กลิ่นอายสถาปัตยกรรมยุคนั้นผสมผสานผ่านการออกแบบที่คู่กับสีน้ำเงิน เพื่อให้ความเป็นไทยดูโมเดิร์นขึ้น อีกทั้งพื้นยังเลือกใช้หินขัดซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนความนิยมที่มักใช้กันในยุคสมัยก่อน ในร้านเน้นใช้สีน้ำเงินและสีเหลือง คู่สีที่ใช้ในการออกแบบทั้งสี CI โลโก้ และโทนสีของการออกแบบตกแต่งภายในร้าน โดยเป็นสีคู่ตรงข้ามที่มีความป๊อป […]

MmD.Cafe & Bar คาเฟ่สีลม ควบรวมบาร์และคลินิกเสริมความงามไว้ในที่เดียว

สร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ กับ 3 รูปแบบธุรกิจ ที่ MmD.Cafe & Bar คาเฟ่สีลม เปิดใหม่ มีความน่าสนใจด้วยการออกแบบฟังก์ชัน ที่ผสมทั้งคาเฟ่ คลินิก และบาร์ไว้ในสถานที่เดียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace MmD.Cafe & Bar คาเฟ่สีลม แห่งนี้ ซ่อนตัวอยู่ในตึกเศรษฐีวรรณ อาคารสำนักงานที่อยู่คู่ย่านธุรกิจอย่างสีลมมาอย่างยาวนาน โดยที่มาของชื่อ MmD. ย่อมาจากคำว่า “Made My Day” ซึ่งมีความหมายว่า “ทำให้วันธรรมดา ๆ กลายเป็นวันดี ๆ ที่น่าจดจำ” การมาที่นี่จึงเป็นเหมือนการเปลี่ยนวันธรรมดาของคุณในทุก ๆ วันให้พิเศษขึ้น ภายใต้การออกแบบโดยทีม Tastespace ซึ่งคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช ขอใช้คำในการออกแบบครั้งนี้ว่า “Co-Exist” สามารถใช้งานพื้นที่อย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงเข้ากับ 3 รูปแบบธุรกิจได้อย่างลงตัว การรีโนเวทพื้นที่ชั้น 1 ของอาคารสำนักงานให้เป็นคาเฟ่แบบ All Day All […]

Little Ground Common Spaces Cafe คาเฟ่ไม้ ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ พื้นที่พบปะกลางแจ้งในเมืองอุดร

เปลี่ยนที่ดินรกร้างให้กลายเป็นที่พบปะกลางแจ้งของชาวเมืองอุดร กับ คาเฟ่ไม้ หลังเล็ก Little Ground Common Spaces Cafe สถานที่ที่จะทำให้ทุกคนได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศแสนร่มรื่น ท่ามกลางสนามหญ้าและต้นไม้ใหญ่ที่ผสานตัวอาคารเข้ากับพื้นที่สวนให้บรรยากาศแสนผ่อนคลาย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Poonsook Architects Little Ground Common Spaces Cafe คือ คาเฟ่ไม้ ที่สร้างขึ้นบนที่ดินขนาด 2 ไร่ ในเขตเมืองอุดรธานี ที่เจ้าของตั้งใจเปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าอันรกครึ้มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะกลางแจ้ง หรือที่นิยามว่าเป็น “Public Play Space” ที่เปิดให้คนอุดรได้เข้ามาใช้งานและทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกัน โดยมีอาคารในร่มคือคาเฟ่ไม้ขนาดพอเหมาะสำหรับนั่งพัก หรือคุยงาน ออกแบบโดย Poonsook Architects และพื้นที่สวนออกแบบโดยคุณวัชรพงศ์ พาดี จาก PAD ที่ดินของคาเฟ่อยู่ใกล้กับสวนสาธารณะหนองบัว กลางอำเภอเมืองอุดรธานี อันเป็นที่ดินที่ถูกทิ้งร้าง มีลักษณะเป็นแนวยาวลึก ด้านหน้าที่ติดกับถนนมีความกว้างประมาณ 5 เมตร และลึกเข้าไป 45 เมตร ภายในที่ดินมีต้นไม้ใหญ่ของเดิมตั้งอยู่ ด้านหน้าทางเข้าเป็นซุ้มอุโมงค์ต้นไม้ อันเป็นจุดเด่นของโครงการ […]

Phang Nga Origin Hotel บูติกโฮเทลเมืองพังงา กับแนวคิดเชื่อมโยงธรรมชาติสู่การพักผ่อน

นอกจากความสวยงามของท้องทะเล พังงายังมีเสน่ห์อย่างอื่นให้ลองค้นหา และเป็นมากกว่าแค่ทางผ่าน นั่นคือสิ่งที่ Phang Nga Origin Hotel บูติกโฮเทล แห่งนี้ ตั้งใจอยากนำเสนอ เพื่อมอบประสบการณ์การพักผ่อนและการท่องเที่ยวให้ผู้มาเยือนได้ทำความรู้จักพังงาในแง่มุมที่ลึกซึ้ง และมีส่วนช่วยปลุกเมืองเล็ก ๆ ที่สงบให้มีชีวิตชีวา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Eco Architect ความตั้งใจนี้มาจากเจ้าของ Phang Nga Origin Hotel อย่าง คุณเจน-ณัฐธิดา และคุณโชค-โชคชัย มุขแก้ว กับการนำบ้านแถวหน้าแคบครึ่งปูนครึ่งไม้ริมถนนบริรักษ์บำรุงมรดกของครอบครัวอายุกว่า 60 ปี มาชุบชีวิตใหม่ เพื่อเก็บความทรงจำและคุณค่าดั้งเดิมของสถานที่ตั้งไว้ ก่อนนำพาทุกคนไปสัมผัสเสน่ห์ของเมืองพังงาผ่านแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต อาหาร และธรรมชาติด้วยการหลอมรวมทุกอย่างให้ปรากฏอยู่ในสถานที่เดียว ร้อยเรียงและเล่าผ่านภาษาของงานออกแบบโดย Eco Architect ภายใต้แนวทางที่เรียกว่า Design by Climate ด้วยทำเลที่มองเห็นวิวภูเขาโอบกอด และมองเห็นเมืองพังงาได้อย่างสวยงาม สถาปนิกจึงพยายามถ่ายทอดความงามนั้นออกมาอย่างเต็มศักยภาพ ใช้อาคารเก่าครึ่งปูนครึ่งไม้ที่ยังคงสภาพแข็งแรงและดูกลมกลืนกับบริบทชุมชนรอบ ๆ เป็นส่วนต้อนรับ และดัดแปลงอาคารในส่วนของห้องพักจำนวน 6 ห้องพัก ให้เรียงต่อกันไปตามลักษณะที่ดินแคบยาว […]

LUNE AT MOANE RESORT ที่พักสไตล์โมเดิร์น แปลกใหม่ ในบรรยากาศบนขุนเขา

LUNE AT MOANE RESORT ที่พักเขาค้อ ที่มาพร้อมห้องพักสไตล์โมเดิร์น เลือกใช้วัสดุอย่างเมทัลชีทมาหุ้มเปลือกอาคารหรือฟาซาดทั้งหมด ทั้งในส่วนของผนังและหลังคา ด้วยข้อจำกัดของ LUNE AT MOANE RESORT ที่พักเขาค้อ ที่ตั้งซึ่งอยู่บนเขาค้อที่มีลมพัดแรงตลอดทั้งปี ทั้งยังต้องปะทะกับแดดฝน เมทัลชีทจึงเป็นทางเลือกแรกที่เจ้าของและผู้ออกแบบเลือกนำมาใช้ เพื่อตอบโจทย์ดั่งกล่าว  โดยที่เจ้าของรีสอร์ทเจาะจงเลือกใช้ COLORBOND® steel จากบลูสโคป เพราะมั่นใจกว่าเรื่องความทนทานและสีไม่ซีดจางเร็ว  MOANE RESORT คือรีสอร์ตที่ตั้งอยู่บนเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ จากจุดเริ่มต้นของเจ้าของที่พักที่ต้องการสร้างรีสอร์ตบรรยากาศดี เน้นให้แขกที่มาพักได้สัมผัสกับธรรมชาติโดยรอบและทะเลหมอกอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาค้อ ที่สำคัญคือมีความเป็นส่วนตัว ด้วยการมีบ้านพักเพียง 4 หลังเท่านั้น และสำหรับหลังที่ห้านี้ที่ต้องการสร้างความแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ซึ่งเป็นช่วงที่เทรนด์การพักผ่อนสไตล์แคมปิ้งกำลังเป็นที่นิยม จึงเป็นที่มาของบ้าน LUNE กับคอนเซ็ปต์ Shelter And Camping ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Cabin ท่ามกลางป่าสนตอนเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่ออกแบบห้องพักขนาดเล็ก ดูอบอุ่น พร้อมหน้าต่างบานใหญ่ไว้สำหรับชมวิวทิวทัศน์ภายนอกได้อย่างเต็มตา LUNE มาในดีไซน์โฉบเฉี่ยวที่แฝงไว้ด้วยการออกแบบที่ตอบสนองต่อลักษณะของพื้นที่ตั้งอย่างเขาค้อ ซึ่งเป็นพื้นที่เชิงเขาที่มีแรงลมค่อนข้างมาก  ผู้ออกแบบจึงต้องการรูปทรงอาคารที่มีความแข็งแรง สามารถรับลมได้ และมีน้ำหนักเบา เกิดเป็นอาคารรูปทรงแปลกตาที่มีการลดทอนส่วนปลายทั้งสองข้างให้บีบเข้าหากัน  ช่วยลดแรงปะทะของลมที่พัดมายังตัวอาคารให้เบาบางลง […]

Miss Grand International Headquarters นวัตกรรมสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความงามอย่างมีเอกลักษณ์

วิสัยทัศน์และแนวคิดการออกแบบของ Miss Grand International Headquarters อาคารนี้ถูกออกแบบให้สะท้อนวิสัยทัศน์ของ Miss Grand International ในการเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นใจ ความงาม และความเป็นเอกลักษณ์ การสร้างสรรค์ที่ผสมผสานนวัตกรรมและศิลปะ โครงการ Miss Grand International Headquarters ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ทำงาน แต่ยังเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ การออกแบบฟาซาดโดยใช้วัสดุนวัตกรรม Spectra composite panel ซึ่งทนทานต่อสภาพอากาศและประหยัดพลังงาน รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงด้าน 3D Modeling และ Advanced Visualization ช่วยให้ทีมสามารถจำลองทุกรายละเอียดของโครงการได้อย่างสมจริง พร้อมวิเคราะห์พฤติกรรมของแสงและเงาที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ทำให้การออกแบบมีความแม่นยำและสามารถปรับแต่งรายละเอียดได้ก่อนการก่อสร้างจริง และทำให้มั่นใจว่าโครงการจะเป็นไปตามแผนและตรงตามวิสัยทัศน์ของลูกค้า การออกแบบอาคารนี้ถูกสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการออกแบบฟาซาดที่เน้นการใช้แสงธรรมชาติให้เข้าสู่ภายในได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคารและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมการใช้งานอาคารอย่างยั่งยืน โดยลดการพึ่งพาแสงสว่างจากพลังงานไฟฟ้าในช่วงกลางวัน การรีโนเวตและออกแบบ Miss Grand International Headquarters ถูกขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างอาคารที่ไม่เพียงสวยงาม แต่ยังสะท้อนถึงตัวตนของแบรนด์อย่างชัดเจน โดยอาคารนี้ต้องเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นใจ ความสง่างาม และความทันสมัย ซึ่งเป็นคุณค่าหลักของ Miss Grand International ทุกเส้นสายและทุกรายละเอียดของการออกแบบ […]

มาเก๊า เมืองมรดกโลกที่ผสานวัฒนธรรมโปรตุเกส – จีน

ใกล้สิ้นปี ฤดูกาลท่องเที่ยวและพักผ่อนหวนกลับมาพร้อมอากาศเย็นอย่างเป็นใจ room พาส่องเมืองเล็ก ๆ อย่าง “ มาเก๊า ” ในปี 2024 ที่มีสถาปัตยกรรมและการผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์จนถูกยกให้เป็นเมืองมรดกโลก มาเก๊า มีพื้นที่เพียง 115.3 ตารางกิโลเมตร หากมองไม่เห็นภาพคือเล็กกว่าจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทยเสียอีก แต่มาเก๊าพัฒนาเมืองจนถูกขนานนามว่า “ลาสเวกัสแห่งโลกตะวันออก” โดยยังคงกลิ่นอายการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมที่โปรตุเกสปกครองมานานกว่า 400 ปี มาเก๊าเมืองมรดกโลกผสานวัฒนธรรมโปรตุเกส – จีน เริ่มการเดินทางด้วยสายการบินประจำชาติด้วย Air Macau เพียงไม่เกิน 3 ชั่วโมงก้าวแรกจะพบกับความแปลกใจตั้งแต่สนามบินนานาชาติด้วยว่าการใช้ภาษาทางการของที่นี่เป็น “ภาษาโปรตุเกส” มากกว่าการใช้ภาษาอังกฤษหรือจีน เพราะแผ่นดินมาเก๊าแห่งนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกสมานานกว่า 400 ปี และเพิ่งคืนให้จีนในปี ค.ศ. 1999 และด้วยนโยบายเศรษฐกิจของจีน มาเก๊าจึงถูกตั้งเป็นเขตปกครองตนเองพิเศษเป็นต้นมา  จากสนามบินเดินทางไปยังโรงแรมในย่านโคไทแผ่นดินที่เกิดจากการถมทรายสร้างเมืองขึ้นมาใหม่เพื่อรับรองการเติบโตของเศรษฐกิจ Grand Lisboa Palace Resort Macau คือโรงแรมของเราในทริปนี้ ที่นี่ออกแบบจากแนวคิดนำสิ่งที่ดีที่สุดของทั้งตะวันออกและตะวันตกมาผสมผสานกันอย่างลงตัว สถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนของ Grand Lisboa Palace Resort Macau เชื่อมโยงลวดลายจีนดั้งเดิมเข้ากับองค์ประกอบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมยุโรปในช่วงยุคนนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) และเบลล์เอโปค (Belle Époque) โดยการตกแต่งอ้างอิงสไตล์ชิโนอิเซอรี่ (Chinoiserie) ที่เป็นที่นิยมในยุโรปในศตวรรษที่ 17 และ 18 ซึ่งผสมผสานสัญลักษณ์จีน เช่น มังกร นกฟีนิกซ์ และบัว ทั้งหมดล้วนเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายสูงในวัฒนธรรมจีน โดยสัญลักษณ์เหล่านี้ก็ปรากฏในทุกมุมของรีสอร์ทและหอคอยโรงแรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และความโดดเด่น นอกจากโรงแรมแห่งนี้ ยังปรากฏสถาปัตยกรรมอื่นๆ ในตัวเมืองมาเก๊าที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีนและตะวันตกอย่างกลมกลืน เห็นได้จากย่านท่องเที่ยวต่างๆ ในสถานที่สำคัญและสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกโลกของมาเก๊า เช่น Ruins of St. Paul’s,Senado Square, A-Ma Temple, และ St. Dominic’s Church และนอกเหนือไปจากสถาปัตยกรรม การผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและโปรตุเกสยังปรากฏในอาหารการกินที่เรียกกันว่า “แมคกานีส (Macanese)” หมายถึง อาหารมาเก๊า หรือ คนมาเก๊า อาหารแมคกานีสมีลักษณะเด่นในการนำเสนอการผสมผสานระหว่างเครื่องเทศจากโปรตุเกส จีน และประเทศอื่น […]

1+1=1 HOUSE บ้านโมเดิร์น สำหรับครอบครัวขยาย รองรับทุกเจเนอเรชั่น

บ้านโมเดิร์น ในย่านถนนพัฒนาการ กรุงเทพฯ มีพื้นที่ 650 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อครอบครัวขยาย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 3 รุ่น คือ คุณปู่คุณย่า พ่อแม่และหลาน หลากความแตกต่าง หลายเจเนอเรชั่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Poonsook Architects โดย บ้านโมเดิร์น หลังนี้ เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้บ้านสามารถสร้างความเป็นส่วนตัวสำหรับสมาชิกทุกคนให้อยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย แต่ยังคงมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ภายในบ้านที่แสนอบอุ่น จากโจทย์ Poonsook Architects ได้ออกแบบบ้านให้มีฟังก์ชั่น 3 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกเป็นพื้นที่สำหรับพ่อแม่ ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับคุณปู่คุณย่า และส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ส่วนกลาง นำมาสู่การจัดวางอาคารเป็นรูปตัวซี (C) โดยมีผนังภายนอกโอบล้อมด้านทิศเหนือ ใต้ ตะวันตกเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ผังอาคารรูปตัวซี (C) ยังทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมเป็นลานตรงกลางใช้สำหรับเป็นระเบียงและสวน ขณะที่ตัวอาคารสามารถใช้บังแดดช่วงเวลาบ่ายได้ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของครัว การวางผังอาคารดังกล่าว ทำให้ในบ้านมีบันไดทางขึ้น 2 จุด สำหรับขึ้นจากห้องนั่งเล่นทั้งสองฝั่ง โดยใช้เชื่อมต่อชั้น 2 ซึ่งเป็นห้องนอนของคุณปู่คุณย่า และห้องนอนของพ่อแม่ลูก […]

NOKU PHUKET บูติกรีสอร์ต ผสานธรรมชาติเข้ากับงานสถาปัตยกรรมแบบวิถีโนกุ

Noku Phuket บูติกรีสอร์ตภายใต้การออกแบบในเครือ Noku แห่งที่ 4 ที่นี่ตั้งอยู่บนเชิงเขาใกล้อ่าวฉลองจังหวัดภูเก็ตต่อยอดวิถีของ Noku (Noku Way) จากโรงแรมแรก Noku Kyoto ประเทศญี่ปุ่น ที่เปิดในปี 2015 บูติกรีสอร์ต Noku Phuket แห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดของโรงแรมที่ให้สัมผัสประสบการณ์ความหรูหราแบบสงบเรียบง่ายสะดวกสบายควบคู่ไปกับกลิ่นอายที่เคารพในวัฒนธรรมท้องถิ่นบริบทของที่ตั้งและสิ่งแวดล้อม โดดเด่นด้วยภูมิประเทศ ที่แม้ไม่ติดทะเลแต่ตั้งอยู่เชิงเขารายล้อมด้วยธรรมชาติอันเขียวชอุ่ม เปิดรับวิวอ่าวฉลองแบบ Panoramic ไร้สิ่งใดบดบัง กับการรักษาการให้ประสบการณ์ความหรูหราที่เรียบง่ายตามแบบฉบับวิถีของ Noku โดยออกแบบให้สถาปัตยกรรมกลมกลืนไปกับธรรมชาติให้มากที่สุด ด้วยอาคารรูปฟอร์มออร์แกนิกรบกวนบริบทและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด สร้างสเปซของทั้งส่วนกลางและห้องพักที่ให้ความรู้สึกแบบไร้รอยต่อ นอกจากนี้การกำหนดผิวสัมผัสวัสดุและงานตกแต่งต่าง ๆ ของอาคารทั้งภายในและภายนอก ยังช่วยเน้นให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ พร้อม ๆ กับให้ความเคารพในวัฒนธรรมพื้นถิ่น ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมงานฝีมือควบคู่กันไปอีกด้วย ภายในโรงแรมยังเน้นสร้างบรรยากาศเพื่อสร้างความรู้สึกประทับใจแรกที่น่าจดจำให้กับแขกผู้เข้าพักทันทีที่มาถึงโรงแรม อาคารล็อบบี้และสระว่ายน้ำหลักแบบ Infinity Edge โดยวางให้อยู่ในจุดสูงสุดของพื้นที่ เพื่อเปิดรับวิวอลังการของอ่าวฉลอง ตัวอาคารออกแบบให้มีรูปทรงออร์แกนิก รูปลักษณ์หลังคาเสมือนพลิ้วไหวไปกับสายลม และอาคารนี้ยังมีส่วนของร้านอาหาร “Embrace” ที่เปิดสเปซรับวิวอ่าวฉลองแบบ 180 องศา ห้องพักออกแบบหลากหลายสไตล์เพื่อตอบโจทย์แขกผู้เข้าพัก ได้แก่ Hill […]

Ton Corner ออกแบบคาเฟ่ ใช้พื้นที่คุ้ม เรียบง่ายด้วยวัสดุสามัญ

คาเฟ่แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตรอกเล็ก ๆ ของเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม โดยซ่อนตัวอยู่กลางย่านชุมชนที่เรียงรายไปด้วยบ้านเรือน ออกแบบคาเฟ่ โดย TON Architects เพื่อให้เป็นมิตรและกลมกลืนไปกับบริบทของเพื่อนบ้าน TON Architects จึง ออกแบบคาเฟ่ ที่ตีโจทย์การออกแบบด้วยการนำข้อจำกัดของสถานที่ตั้ง เช่น การเป็นที่ดินให้เช่าระยะสั้น ตั้งอยู่กลางชุมชนเมือง และมีปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ไข พร้อม ๆ กับวิธีการสร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ที่ประทับใจให้แก่ลูกค้า ทีมสถาปนิกจึงออกแบบและสร้างร้านขึ้นด้วยวัสดุเรียบง่าย อย่าง โครงสร้างเหล็ก แผ่นเหล็กลูกฟูก ไม้เก่า และกระจก ซึ่งล้วนแต่เป็นวัสดุสุดสามัญ ถอดประกอบง่ายหากต้องโยกย้ายเมื่อหมดสัญญาในอนาคต สามารถเลือกใช้ขนาดที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดกว้างทั้งผนังและหลังคาได้ นอกจากใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา หรือเป็นวัสดุที่มักใช้ในงานอุตสาหกรรม ยังได้รับการนำเสนอให้เป็นองค์ประกอบสำคัญของร้านที่น่าสนใจ ให้ทั้งความทนทานต่อสภาพอากาศของเมืองเว้ ซึ่งเป็นแบบร้อนชื้นจากสภาพอากาศฝนตกชุก แผ่นเหล็กลูกฟูกจึงป้องกันปัญหาการรั่วซึมได้ดี ติดตั้งและดูแลรักษาง่าย นับเป็นการนำเสนอการใช้งานวัสดุที่เหมาะสมกับร้านกาแฟ ช่วยประหยัดงบประมาณ ใช้งานได้ดีเหมาะสมกับพื้นที่ตั้ง จากวัสดุอุตสาหกรรมอย่าง โครงสร้างเหล็ก และแผ่นเหล็กลูกฟูก สถาปนิกได้นำมาใช้งานร่วมกับไม้เก่า เป็นสองวัสดุที่แตกต่าง หรือคอนทราสต์กันอย่างชัดเจน แต่กลับส่งเสริมซึ่งกันและกันได้อย่างดี ทำให้พื้นที่ของร้านดูอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้าน แต่ก็ไม่ล้าสมัยเกินไปด้วยวัสดุอุตสาหกรรม อีกทั้งวัสดุทั้งสองชนิดยังเหมาะกับสภาพอากาศและความชำนาญของช่างท้องถิ่น ลดกระบวนการและภาระค่าใช้จ่ายได้ทางหนึ่ง แบบแปลนการออกแบบพื้นที่ร้าน […]

Sanctuary Villa บ้านโมเดิร์นเปิดโปร่งรับธรรมชาติ

Sanctuary Villa คือที่พักอาศัยของเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมในกรุงพนมเปญ ที่มีข้อจำกัดคือสถานที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่โรงงานของตัวเอง จึงกลายเป็นโจทย์ที่ต้องการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อหลบเลี่ยงจากเขตโรงงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้มีพื้นที่เปิดออกสู่ธรรมชาติภายนอกเพื่อคุณภาพของการอยู่อาศัย จากโจทย์ดังกล่าว สถาปนิกจาก BLOOM Architecture ได้คลี่คลายและสร้างสรรค์ให้เป็นบ้านโมเดิร์นที่หลีกหนีจากความวุ่นวายของชีวิตการทำงาน เป็นเหมือนพื้นที่ซี่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นแบ่งของโลกคู่ขนาน ตั้งใจออกแบบให้สมาชิกในบ้านรู้สึกเชื่อมโยงกับวิวธรรมชาติ แม้ที่ตั้งจะอยู่ใกล้เขตโรงงานก็ตาม ตัวอาคารมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 600 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนเนินดินถมเตี้ย ๆ ปิดล้อมด้วยกำแพงให้แยกตัวจากโรงงานด้านหลัง ด้านหน้าได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่ลานหญ้าและลานจอดรถไว้คั่นจังหวะก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน สถาปนิกตั้งใจสร้างบรรยากาศให้อยู่สบายและเป็นส่วนตัวแตกต่างจากบริบทภายนอก เน้นการใช้องค์ประกอบของบ้านดึงให้ธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมกับการอยู่อาศัยให้มากที่สุด ตั้งแต่ห้องนั่งเล่นกลางบ้านที่เปิดโล่งเชื่อมต่อภายนอกด้วยประตูบานกระจกสูง สอดคล้องกับการออกแบบพื้นที่ภายในที่เน้นความยืดหยุ่นด้วยการจัดผังแบบโอเพ่นแปลน (Open Plan) เสริมคุณภาพการอยู่อาศัยด้วยแสงแดดที่ลอดผ่านกันสาดระแนงไม้ภายนอกที่ปกคลุมเฉลียงยื่นยาวต่อจากพื้นที่ส่วนกลาง ส่งผลให้เกิดลวดลายของแสงเงาเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นคอนกรีตขัดมัน ปีกซ้ายและขวาของบ้านเป็นพื้นที่ส่วนตัว ออกแบบให้เป็นห้องนอนหลัก ห้องนอนแขก และห้องอเนกประสงค์ แต่ละห้องมีระเบียงยื่นออกมาเชื่อมกับพื้นที่สีเขียว นอกจากจะเป็นพื้นที่กลางแจ้งให้คนได้ผ่อนคลายแล้ว ยังเปิดโล่งเพื่อสัมผัสธรรมชาติและช่วยสร้างการไหลเวียนของลมในวันที่ไม่ได้ใช้งานเครื่องปรับอากาศ บ้านในชานเมืองของกรุงพนมเปญหลังนี้ จึงสะท้อนให้เห็นถึงที่อยู่อาศัยในบรรยากาศของธรรมชาติที่เป็นความพยายามสร้างบรรยากาศแห่งการพักผ่อนแยกขาดจากโรงงาน ทำให้บ้านซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ทำงานกลายเป็นโลกอันแสนสงบของครอบครัว โดยมีธรรมชาติและงานออกแบบเป็นเครื่องมือนั่นเอง ออกแบบสถาปัตยกรรม: BLOOM Architectureออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: Tropi-green Landscapingภาพ: Robert Kleinerเรียงเรียง: Kangsadan K. อ่านเพิ่มเติม ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม […]

Rimkhobfa Bookstore & Black and Milk Café ร้านหนังสือพ่วงคาเฟ่รีโนเวตเพื่อคนรักการอ่าน

Rimkhobfa Bookstore & Black and Milk Café ร้านหนังสือสแตนด์อโลนพร้อมคาเฟ่ในตัวแห่งย่านบางพลัด เกิดจากอาคารเก่าที่ได้รับการชุบชีวิตกลับมาให้เป็นบ้านแสนอบอุ่นแก่หนอนหนังสือ พร้อมร้อยเรียงเรื่องราวของกาแฟควบคู่ไปกับการอ่าน เพื่อดึงดูดนักอ่านรุ่นใหม่ในเวลาเดียวกัน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: BodinChapa Architects ร้านหนังสือริมขอบฟ้า คือแหล่งรวมหนังสือเนื้อหาเข้มข้นเรื่องเมืองไทยอันเป็นที่คุ้นเคยของนักอ่านอยู่แต่เดิม อดีตร้านซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินได้ย้ายทำเลใหม่มายังย่านบางพลัด ในอาคารเก่ารีโนเวตใหม่ให้เล่าถึงแก่นของ “ริมขอบฟ้า” จากมุมของคู่หูนักออกแบบแห่ง BodinChapa Architects ที่ได้รับโจทย์มาสื่อสารให้ร้านกลายเป็นพื้นที่ของนักอ่านสอดแทรกคาเฟ่ให้คนรุ่นใหม่แวะมาเลือกหนังสือและนั่งจิบกาแฟในบรรยากาศเป็นกันเอง อาคาร 3 ชั้น แห่งนี้ อดีตเคยเป็นสำนักงานหลายฟังก์ชันมีทำเลอยู่ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ ในตำแหน่งที่เป็นจุดอับสายตาจากสะพานข้ามแยก ต่อมาได้รับการปรับปรุงโดยเน้นให้ภายในโปร่งโล่งจากแสงธรรมชาติที่ดึงผ่านช่องเปิดต่าง ๆ เปลี่ยนภาพลักษณ์จากอาคารทึบสู่ภาพลักษณ์คล้ายบ้าน พร้อมร้านกาแฟในตัว ภายในจึงอบอวลไปด้วยกลิ่นหนังสือและกาแฟ การรีโนเวตเริ่มจากการทุบพื้นชั้น 2 ของอาคารออกบางส่วน และขยายให้พื้นที่ชั้น 1 มีสเปซมากขึ้นเพื่อลดความแออัด จากนั้นกั้นพื้นที่ให้เป็นร้านหนังสือและคาเฟ่ในสัดส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อรองรับลูกค้าทั้งกลุ่มคนอ่านหนังสือและกลุ่มคนดื่มกาแฟ นอกจากนี้ พื้นที่ชั้น 2 แต่เดิมมีปัญหาฝ้าเพดานเตี้ยกว่าปกติ ได้แก้ไขด้วยการเปิดฝ้าเพดานเดิมออกให้เป็นโถงดับเบิลสเปซ พื้นที่ของชั้นนี้ใช้รองรับฟังก์ชันการใช้งานที่ยืดหยุ่นอย่างการจัดอีเวนต์และงานเสวนาได้ด้วย ในขณะเดียวกันก็เหลือสเปซอีกส่วนให้เพียงพอต่อการจัดเก็บหนังสือบนชั้นวางแบบถาวรของร้าน ส่วนพื้นที่ชั้น 3 จัดให้เป็นห้องประชุมอันมีหน้าต่างบานใหญ่ให้สามารถมองลงมายังชั้น 2 […]

TNOP House บ้านตากอากาศ เสพวิวลดหลั่นในชนบทเชียงราย

บ้านต่างจังหวัด ใช้ตากอากาศหลังนี้ เป็นของกราฟิกดีไซเนอร์ที่มีความต้องการสร้างบ้านพักตากอากาศเป็นของตนเอง เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการทำงาน และสำหรับไว้ใช้พักผ่อนหนีความวุ่นวายจากเมืองใหญ่ สู่อ้อมกอดของธรรมชาติในเมืองแห่งขุนเขา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: IS Architects โดยเจ้าของได้เลือกทำเลสร้าง บ้านต่างจังหวัด ที่ค่อนข้างท้าทายอยู่ไม่น้อย กับสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ติดกับทางหลวง และมีลักษณะเป็นเนินเขาลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปตะวันตก กับวิวที่มองเห็นทุ่งนาสีเขียวในฤดูฝนก่อนจะเปลี่ยนเป็นรวงข้าวสีทองในฤดูหนาวเพื่อรอการเก็บเกี่ยว เปรียบเสมือนภาพวาดศิลปะแนวธรรมชาติที่มีชีวิต แม้สถานที่จะเป็นทำเลน่าประทับใจ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีอุปสรรคให้สถาปนิกจาก IS Architects ในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อลดอุปสรรคด้านการใช้งานอาคารที่ต้องมาพร้อมกับความสวยงาม ความปลอดภัย สอดประสานการอยู่อาศัยในรูปแบบสมัยใหม่เข้ากับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เนื่องจากตัวบ้านต้องตั้งอยู่ตามลักษณะของเนินดินที่มีความลาดชันสูง แนวอาคารจึงต้องขนานไปกับระดับความลาดชัน เพื่อควบคุมงานโครงสร้างไม่ให้เกิดความซับซ้อนในด้านวิศวกรรม แล้วจัดเรียงฟังก์ชันตามลำดับความสำคัญ จากทางเข้าหลักสิ่งแรกที่จะได้พบเห็น ก็คือสวนเล็ก ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการอยู่ติดกับถนนทางหลวง การวางตำแหน่งของอาคารจึงต้องออกแบบให้เว้นระยะห่างประมาณ 1 เท่าของความสูงอาคาร แล้วเว้นพื้นที่ไว้ให้กับงานออกแบบภูมิทัศน์และการปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยกรองมลภาวะทางเสียงและฝุ่นควัน และทำหน้าที่ยืดระยะทางการเดินเข้าสู่ตัวบ้าน ปรับสภาวะจิตใจก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน พร้อมกันนั้นยังสร้างกำแพงแนวยาวช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวจากภายนอก และบังคับทิศทางลมในการนำพากลิ่น หรือควันจากการทำอาหารให้พัดออกไปตามทิศทางลมประจำถิ่น ช่วยไม่ให้รบกวนพื้นที่อยู่อาศัย นับเป็นการใช้ลมธรรมชาติให้เป็นประโยชน์เกิดสุขภาวะที่ดี ด้านการออกแบบทางสัญจรของบ้าน มีทั้งบันไดด้านนอกที่สามารถเดินลงมายังพื้นที่สวนหลังบ้านได้เลยโดยไม่ต้องเดินผ่านภายในบ้าน สำหรับทางสัญจรในบ้านสถาปนิกได้วางตำแหน่งเส้นทางสัญจรทั้งทางราบและทางสัญจรทางตั้งให้สัมพันธ์กัน โดยมีบันไดทอดยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ แล้วขึ้นไปยังชั้น 2 โดยมีการออกแบบพื้นที่ไว้เพื่อให้ความรู้สึกคล้ายกับทางเดินในห้องจัดแสดงงานศิลปะ เป็นพื้นที่สำหรับพักความรู้สึกต่าง ๆ สู่การพักผ่อนที่ต้องการความสงบนิ่ง […]

OiER (OOO) MAKEUP SHOP แสร้งว่ากำลังอยู่ในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์

Plainoddity ขอนำความคลุมเครือมาเล่นสนุก ชักชวนผู้คนที่มองเข้ามาจากภายนอกให้เกิดความสงสัยว่าที่นี่เปิดกิจการอะไรกันนะ!? ดู ๆ ไปก็คลับคล้ายคลับคลาว่าอาจจะเป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ เพราะที่นี่แท้จริงแล้วเปิดเป็น ร้านแต่งหน้า (Makeup Shop) รับแต่งหน้า ต่อขนตา ที่เสิร์ฟความงามให้กับเหล่าสาว ๆ ในย่าน Gunja Station ของเขต Gwangjin-gu กลางกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่มาของชื่อร้าน OiER (OOO) MAKEUP SHOP เริ่มต้นจากการผสมผสานตัวอักษรภาษาเกาหลีที่เรียบง่าย มีโจทย์จากเจ้าของที่อยากให้ร้านดูไม่เหมือนร้านเมคอัพทั่วไป พัฒนาแนวคิดมาจากคำว่า ‘shepherd’ ในเชิงการใช้งานพื้นที่ที่โชว์การตกแต่งภายในกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของลูกค้า แม้แต่ในยามค่ำคืนที่ร้านปิดอยู่ ที่นี่ก็ตั้งใจเปิดไฟทิ้งไว้คล้ายคำโกหกของคนเลี้ยงแกะ แสร้งว่าที่นี่คือโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ แต่กลับไม่ใช่ ทำให้เกิดประสบการณ์เชิงพื้นที่ที่ไม่ซ้ำใคร ตัวร้านมีขนาดพื้นที่เพียง 23.89 ตารางเมตร ภายในมีเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่ที่จำเป็นสำหรับแต่ละบริการ โดยได้รับการจัดวางไว้บนพื้นหลังโทนสีขาว แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่บริการหลัก คือ 1.พื้นที่นั่งรอและที่นั่งสำหรับคลาสเรียนแต่งหน้า 2. พื้นที่ทำผมและแต่งหน้าลูกค้า และ 3. พื้นที่ต่อขนตา ผนังและพื้นของพื้นที่บริการแต่ละจุดโดดเด่นด้วยสีเทาเพื่อสร้างพื้นหลังให้แกเฟอร์นิเจอร์ดูโดดเด่นขึ้น เฟอร์นิเจอร์มีทั้งรูปแบบของโต๊ะ โต๊ะเครื่องแป้ง […]