room, Author at room - Page 4 of 27

Factory Coffee HQ คาเฟ่สแตนด์อโลน เรียบง่ายด้วยอิฐบล็อก คอนกรีต และเก้าอี้รักษ์โลก

ร้านกาแฟบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม ที่เป็นทั้งพื้นที่ร้านขายกาแฟ โรงคั่ว และออฟฟิศของแบรนด์ Factory Coffee ซึ่งอยู่ภายในอาคารแบบสแตนด์อโลน กับดีไซน์สไตล์อินดัสเทรียลที่ตีความมาจากคำว่า Factory ในพื้นที่เปิดโปร่ง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace   Factory Coffee HQ ออกแบบโดย Tastespace โจทย์ของการดีไซน์ร้านนี้ เริ่มต้นจากการความต้องการสร้างพื้นที่ขายเครื่องดื่ม ที่มีโรงคั่วกาแฟ และเป็นออฟฟิศของแบรนด์อยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยทำอย่างไรให้งานดีไซน์นั้นยังคงความเป็นอินดัสเทรียลตามรูปแบบที่เป็นภาพจำของแบรนด์แต่ดูทันสมัยขึ้น ขณะเดียวกันก็ผสานธรรมชาติเข้ากับตัวร้านให้มีความร่มรื่นด้วยต้นไม้โดยรอบ จนนำมาสู่การออกแบบรีโนเวทอาคารเก่าให้กลายเป็นพื้นที่ร้านกาแฟ นอกจากนั้นภายในร้านยังมีการนำเก้าอี้ Betterism Collection ที่ room ร่วมมือกับ MORE – Waste is More เป็นคอลเล็กชั่นเก้าอี้รักษ์โลก ผลิตจากวัสดุขยะกล่องนม UHT เป็นโปรเจ็คต์ความร่วมมือระหว่างทีมวิจัย และพัฒนาวัสดุ กับทีมออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งที่นี่เป็นคาเฟ่ที่เลือกใช้เก้าอี้ชุดนี้มาเป็นเฟอร์นิเจอร์หลัก จุดเริ่มต้นของ Factory Coffee Factory Coffee เป็นแบรนด์ร้านกาแฟสเปเชียลตี้เจ้าดังที่ตั้งอยู่ติดกับรถไฟฟ้าสถานีพญาไท เป็นร้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องคุณภาพของกาแฟ บาริสต้าฝีมือดี และดีไซน์ที่เป็นที่สนใจเป็นอย่างมากในยุคที่ร้านเปิดขึ้น เมื่อ 10 […]

Simple Art Museum พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย เชื่อมโยงวัฒนธรรมของชาวอานฮุย

พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย ในมณฑลอานฮุย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลงานการออกแบบโดยสองสถาปนิกอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณกุลธิดา ทรงกิตติภักดี แห่ง HAS design and research DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: HAS design and research ผลงานการออกแบบ พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย ครั้งนี้ เปรียบเสมือนการสะท้อนภาพแนวคิดการออกแบบที่มีอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยการนำเสนอวิสัยทัศน์ทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ผ่านการออกแบบที่สร้างสรรคด้วยการนำเสนอแรงบันดาลใจอันมีที่มาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของมณฑลอานฮุยที่สืบทอดมาจากยุคโบราณ โดยสถาปนิกได้ตีความออกมาจนกลายเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นผ่านหลังคา หน้าจั่ว เสา และพื้นที่แลนด์สเคป เพื่อทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อันสำคัญของชาวอานฮุย อันเป็นเครื่องบ่งบอกว่า แม้เมืองจะเติบโตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจตลอดช่วงศตวรรษที่ 21 ที่ผ่านมาสักเพียงใด แต่จีนก็ยังให้คุณค่ากับรากวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สามารถเดินคู่ไปกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน ที่นี่จึงเปรียบเป็นพื้นที่ร่วมสมัยบอกเล่าจิตวิญญาณและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ที่มาบรรจบกัน โดยการนำแรงบันดาลใจมาจากหมู่บ้านฮุยนำมาต่อยอดสู่งานออกแบบครั้งนี้ เมื่อมองเข้ามาจะพบกับภาพของหลังคาที่ทำมาจากวัสดุทนไฟออกแบบให้มีลักษณะเป็นลอนหยักที่หันเข้าด้านใน ถือเป็นโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อโอบรับสาธารณชน ภายในประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะ ห้องจัดแสดงผลงานศิลปะ ห้องทำงาน ห้องมัลติมีเดีย ห้องออกแบบ และร้านกาแฟ พื้นที่มีความไหลลื่นกลมกลืนไปกับผนังโค้งภายใน ให้ภาพบรรยากาศที่มีทั้งความทันสมัยและสง่างาม ชั้นล่างเป็นพื้นที่สีเทากว้างขวางกระตุ้นจินตนาการและดึงดูดผู้ชมงานให้ดำดิ่งสู่ศิลปะและความงาม อันเกิดจากการผสานความธรรมดาเข้ากับความรู้สึกพิเศษ ด้านบนหลังคาทรงแหลมของพิพิธภัณฑ์สะท้อนให้เห็นพื้นที่จัดนิทรรศการด้านล่าง รองรับด้วยผนังโค้งที่สร้างเส้นทางคดเคี้ยวชวนให้นึกถึงสวนสไตล์จีนที่มีเฉดดิ้งของแสงเงาเป็นธรรมชาติ […]

กลางป่า – Homemade คาเฟ่กะทัดรัด โชว์สัจวัสดุ เชื่อมบริบทธรรมชาติ

คาเฟ่คอนกรีตเปลือย ดีไซน์คล้ายกลาสเฮาส์ ที่ซ่อนตัวอยู่ในผืนป่า กลมกลืนไปกับบริบทด้วยการเลือกใช้วัสดุเรียบง่าย ทนทาน เพื่อรองรับความท้าทายของที่ตั้ง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Context Studio Klang-Pa หรือ กลางป่า มีที่มาจากความต้องการเล่าเรื่องราวการสานต่อที่ดินของคุณพ่อ ก่อนส่งต่อไอเดียให้ Context Studio เป็นผู้ออกแบบ จนกลายเป็นอาคารคอนกรีตเปลือยทรงกล่องกรุกระจกคล้ายกลาสเฮ้าสต์ อันผูกตัวตนของลูกที่เป็นคนรุ่นใหม่กับที่ดินผืนนี้ผ่านงานดีไซน์ โดยยังคงรักษาต้นไม้ดั้งเดิมบนที่ดินของคุณพ่อที่ให้ร่มเงาเขียวชอุ่ม เพื่อให้วิวธรรมชาติรอบ ๆ นั้น ได้กลายเป็นของขวัญสำหรับวันพักผ่อนของผู้คนที่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยือน เล่าย้อนไปถึงที่ดินอันเป็นที่ตั้งของคาเฟ่ แต่เดิมนั้นเป็นสวนที่มีต้นไม้น้อยใหญ่ให้ร่มเงาแก่สถานที่ซึ่งประกอบธุรกิจเล็ก ๆ ของพ่อผู้เป็นศิลปินเจ้าของแกลเลอรี่สอนศิลปะ ซึ่งมีชื่อว่า “Secret Art Garden and Galleries” โดยผู้เป็นลูกอยากเพิ่มความคึกคักและสีสันให้กับพื้นที่แห่งศิลปะนี้ การออกแบบคาเฟ่เพื่อให้คนได้มาดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟและเสพทิวทัศน์ธรรมชาติของที่นี่ไปพร้อมกันจึงเริ่มต้นขึ้น โดยได้รับการออกแบบจาก Context Studio ด้วยการร่างแบบจากเรื่องราวที่เจ้าของต้องการสื่อสาร ผสานแรงบันดาลใจจากคาเฟ่เดิมที่คล้ายกับกลาสเฮาส์ซึ่งตั้งอยู่ในไซต์ ก่อนจะมาลงตัวด้วยการเลือกใช้วัสดุสามัญอย่าง คอนกรีต ที่มีความทนทานเพื่อรองรับความท้าทายของที่ตั้ง ไม่ว่าจะดิน โคลน และฝนในฤดูน้ำหลาก ช่วยให้คาเฟ่เล็ก ๆ แห่งนี้ ตั้งอยู่ได้ยาวนานคู่กับการสืบทอดผืนป่าของผู้เป็นลูก จุดเด่นของคาเฟ่แห่งนี้ คือการทำให้คอนกรีตหล่อเชื่อมต่อกันเพื่อรองรับทุกฟังก์ชันการใช้งานในพื้นที่ขนาดจำกัดได้อย่างลงตัว คล้ายเรื่องราวระหว่างพ่อกับลูกที่ถูกสื่อสารผ่านงานออกแบบได้อย่างแยบยล กรอบอาคารและฝ้าเพดานกรุด้วยกระจก […]

MmD.Cafe & Bar คาเฟ่สีลม ควบรวมบาร์และคลินิกเสริมความงามไว้ในที่เดียว

สร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ กับ 3 รูปแบบธุรกิจ ที่ MmD.Cafe & Bar คาเฟ่สีลม เปิดใหม่ มีความน่าสนใจด้วยการออกแบบฟังก์ชัน ที่ผสมทั้งคาเฟ่ คลินิก และบาร์ไว้ในสถานที่เดียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace MmD.Cafe & Bar คาเฟ่สีลม แห่งนี้ ซ่อนตัวอยู่ในตึกเศรษฐีวรรณ อาคารสำนักงานที่อยู่คู่ย่านธุรกิจอย่างสีลมมาอย่างยาวนาน โดยที่มาของชื่อ MmD. ย่อมาจากคำว่า “Made My Day” ซึ่งมีความหมายว่า “ทำให้วันธรรมดา ๆ กลายเป็นวันดี ๆ ที่น่าจดจำ” การมาที่นี่จึงเป็นเหมือนการเปลี่ยนวันธรรมดาของคุณในทุก ๆ วันให้พิเศษขึ้น ภายใต้การออกแบบโดยทีม Tastespace ซึ่งคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช ขอใช้คำในการออกแบบครั้งนี้ว่า “Co-Exist” สามารถใช้งานพื้นที่อย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงเข้ากับ 3 รูปแบบธุรกิจได้อย่างลงตัว การรีโนเวทพื้นที่ชั้น 1 ของอาคารสำนักงานให้เป็นคาเฟ่แบบ All Day All […]

early yuyen คอมมูนิตี้สเปซของคนแนวคิดรักษ์โลก อบอุ่นในบรรยากาศเหมือนอยู่บ้าน

early คือแบรนด์ที่สะท้อนเรื่องราวการนำวัสดุเหลือทิ้งมาชุบชีวิตใหม่ผ่านงานดีไซน์ เป็นที่รู้จักครั้งแรกกับคาเฟ่บริเวณหัวมุมถนน ภายในหมู่บ้านสัมมากร กับร้านขนาดกะทัดรัด แต่กลับเข้มค้นเรื่องแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม จนเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบธุรกิจที่มีแนวคิดผลักดันด้านความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้จริงในชีวิตประจำวันอีกหนึ่งแบรนด์ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: space+craft กระทั่ง early ขอขยับก้าวอีกขั้น กับการก่อตั้งร้านสาขา 2 “early yuyen” ภายในโครงการ My Paws Backyard รามอินทรา 34 (ซอยอยู่เย็น) แยก 12 โดยยังคงคอนเซ็ปต์ “ลดก่อนเริ่ม” เช่นเดียวกับร้านแรก ที่อยากชวนทุกคนมาลดขยะ สร้างประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ร่วมกันใส่ใจโลกจนกลายเป็นกิจวัตร นอกจากจะมีในส่วนของคาเฟ่ที่รีโนเวตจากอาคาร Pets Shop เก่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ Dog Park ยังมีพื้นที่กิจกรรมสำหรับสัตว์เลี้ยงหลายจุดเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อให้น้องหมาได้ทำกิจกรรมมากขึ้น เรียกว่ามีความเฟรนด์ลี่ทั้งกลุ่มของครอบครัว เด็ก ๆ และเหล่าน้องหมา ที่นี่จึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายกลุ่ม ซึ่งเป็นความต้องการของคุณเค-เคฑิตา ชัยศักดิ์ศิริ และคุณกิ๊ฟ-กรัณฑารณ์ ธนะกวินวัจน์ สองหุ้นส่วนที่อยากให้สาขานี้ บอกเล่าอารมณ์ถึงความเป็นบ้าน อบอุ่นเป็นกันเองมากกว่าสาขาแรก พร้อมพื้นที่ให้ครอบครัวได้พักผ่อนทั้งในคาเฟ่และพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ที่กว้างขวางและเป็นอิสระ ต่อยอดคอนเซ็ปต์การเป็นคาเฟ่เพ็ทเฟลนด์ลี่ […]

Phang Nga Origin Hotel บูติกโฮเทลเมืองพังงา กับแนวคิดเชื่อมโยงธรรมชาติสู่การพักผ่อน

นอกจากความสวยงามของท้องทะเล พังงายังมีเสน่ห์อย่างอื่นให้ลองค้นหา และเป็นมากกว่าแค่ทางผ่าน นั่นคือสิ่งที่ Phang Nga Origin Hotel บูติกโฮเทล แห่งนี้ ตั้งใจอยากนำเสนอ เพื่อมอบประสบการณ์การพักผ่อนและการท่องเที่ยวให้ผู้มาเยือนได้ทำความรู้จักพังงาในแง่มุมที่ลึกซึ้ง และมีส่วนช่วยปลุกเมืองเล็ก ๆ ที่สงบให้มีชีวิตชีวา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Eco Architect ความตั้งใจนี้มาจากเจ้าของ Phang Nga Origin Hotel อย่าง คุณเจน-ณัฐธิดา และคุณโชค-โชคชัย มุขแก้ว กับการนำบ้านแถวหน้าแคบครึ่งปูนครึ่งไม้ริมถนนบริรักษ์บำรุงมรดกของครอบครัวอายุกว่า 60 ปี มาชุบชีวิตใหม่ เพื่อเก็บความทรงจำและคุณค่าดั้งเดิมของสถานที่ตั้งไว้ ก่อนนำพาทุกคนไปสัมผัสเสน่ห์ของเมืองพังงาผ่านแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต อาหาร และธรรมชาติด้วยการหลอมรวมทุกอย่างให้ปรากฏอยู่ในสถานที่เดียว ร้อยเรียงและเล่าผ่านภาษาของงานออกแบบโดย Eco Architect ภายใต้แนวทางที่เรียกว่า Design by Climate ด้วยทำเลที่มองเห็นวิวภูเขาโอบกอด และมองเห็นเมืองพังงาได้อย่างสวยงาม สถาปนิกจึงพยายามถ่ายทอดความงามนั้นออกมาอย่างเต็มศักยภาพ ใช้อาคารเก่าครึ่งปูนครึ่งไม้ที่ยังคงสภาพแข็งแรงและดูกลมกลืนกับบริบทชุมชนรอบ ๆ เป็นส่วนต้อนรับ และดัดแปลงอาคารในส่วนของห้องพักจำนวน 6 ห้องพัก ให้เรียงต่อกันไปตามลักษณะที่ดินแคบยาว […]

1+1=1 HOUSE บ้านโมเดิร์น สำหรับครอบครัวขยาย รองรับทุกเจเนอเรชั่น

บ้านโมเดิร์น ในย่านถนนพัฒนาการ กรุงเทพฯ มีพื้นที่ 650 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อครอบครัวขยาย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 3 รุ่น คือ คุณปู่คุณย่า พ่อแม่และหลาน หลากความแตกต่าง หลายเจเนอเรชั่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Poonsook Architects โดย บ้านโมเดิร์น หลังนี้ เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้บ้านสามารถสร้างความเป็นส่วนตัวสำหรับสมาชิกทุกคนให้อยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย แต่ยังคงมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ภายในบ้านที่แสนอบอุ่น จากโจทย์ Poonsook Architects ได้ออกแบบบ้านให้มีฟังก์ชั่น 3 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกเป็นพื้นที่สำหรับพ่อแม่ ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่สำหรับคุณปู่คุณย่า และส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ส่วนกลาง นำมาสู่การจัดวางอาคารเป็นรูปตัวซี (C) โดยมีผนังภายนอกโอบล้อมด้านทิศเหนือ ใต้ ตะวันตกเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ผังอาคารรูปตัวซี (C) ยังทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมเป็นลานตรงกลางใช้สำหรับเป็นระเบียงและสวน ขณะที่ตัวอาคารสามารถใช้บังแดดช่วงเวลาบ่ายได้ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของครัว การวางผังอาคารดังกล่าว ทำให้ในบ้านมีบันไดทางขึ้น 2 จุด สำหรับขึ้นจากห้องนั่งเล่นทั้งสองฝั่ง โดยใช้เชื่อมต่อชั้น 2 ซึ่งเป็นห้องนอนของคุณปู่คุณย่า และห้องนอนของพ่อแม่ลูก […]

Ton Corner ออกแบบคาเฟ่ ใช้พื้นที่คุ้ม เรียบง่ายด้วยวัสดุสามัญ

คาเฟ่แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตรอกเล็ก ๆ ของเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม โดยซ่อนตัวอยู่กลางย่านชุมชนที่เรียงรายไปด้วยบ้านเรือน ออกแบบคาเฟ่ โดย TON Architects เพื่อให้เป็นมิตรและกลมกลืนไปกับบริบทของเพื่อนบ้าน TON Architects จึง ออกแบบคาเฟ่ ที่ตีโจทย์การออกแบบด้วยการนำข้อจำกัดของสถานที่ตั้ง เช่น การเป็นที่ดินให้เช่าระยะสั้น ตั้งอยู่กลางชุมชนเมือง และมีปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ไข พร้อม ๆ กับวิธีการสร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ที่ประทับใจให้แก่ลูกค้า ทีมสถาปนิกจึงออกแบบและสร้างร้านขึ้นด้วยวัสดุเรียบง่าย อย่าง โครงสร้างเหล็ก แผ่นเหล็กลูกฟูก ไม้เก่า และกระจก ซึ่งล้วนแต่เป็นวัสดุสุดสามัญ ถอดประกอบง่ายหากต้องโยกย้ายเมื่อหมดสัญญาในอนาคต สามารถเลือกใช้ขนาดที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดกว้างทั้งผนังและหลังคาได้ นอกจากใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา หรือเป็นวัสดุที่มักใช้ในงานอุตสาหกรรม ยังได้รับการนำเสนอให้เป็นองค์ประกอบสำคัญของร้านที่น่าสนใจ ให้ทั้งความทนทานต่อสภาพอากาศของเมืองเว้ ซึ่งเป็นแบบร้อนชื้นจากสภาพอากาศฝนตกชุก แผ่นเหล็กลูกฟูกจึงป้องกันปัญหาการรั่วซึมได้ดี ติดตั้งและดูแลรักษาง่าย นับเป็นการนำเสนอการใช้งานวัสดุที่เหมาะสมกับร้านกาแฟ ช่วยประหยัดงบประมาณ ใช้งานได้ดีเหมาะสมกับพื้นที่ตั้ง จากวัสดุอุตสาหกรรมอย่าง โครงสร้างเหล็ก และแผ่นเหล็กลูกฟูก สถาปนิกได้นำมาใช้งานร่วมกับไม้เก่า เป็นสองวัสดุที่แตกต่าง หรือคอนทราสต์กันอย่างชัดเจน แต่กลับส่งเสริมซึ่งกันและกันได้อย่างดี ทำให้พื้นที่ของร้านดูอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้าน แต่ก็ไม่ล้าสมัยเกินไปด้วยวัสดุอุตสาหกรรม อีกทั้งวัสดุทั้งสองชนิดยังเหมาะกับสภาพอากาศและความชำนาญของช่างท้องถิ่น ลดกระบวนการและภาระค่าใช้จ่ายได้ทางหนึ่ง แบบแปลนการออกแบบพื้นที่ร้าน […]

TNOP House บ้านตากอากาศ เสพวิวลดหลั่นในชนบทเชียงราย

บ้านต่างจังหวัด ใช้ตากอากาศหลังนี้ เป็นของกราฟิกดีไซเนอร์ที่มีความต้องการสร้างบ้านพักตากอากาศเป็นของตนเอง เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการทำงาน และสำหรับไว้ใช้พักผ่อนหนีความวุ่นวายจากเมืองใหญ่ สู่อ้อมกอดของธรรมชาติในเมืองแห่งขุนเขา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: IS Architects โดยเจ้าของได้เลือกทำเลสร้าง บ้านต่างจังหวัด ที่ค่อนข้างท้าทายอยู่ไม่น้อย กับสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ติดกับทางหลวง และมีลักษณะเป็นเนินเขาลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปตะวันตก กับวิวที่มองเห็นทุ่งนาสีเขียวในฤดูฝนก่อนจะเปลี่ยนเป็นรวงข้าวสีทองในฤดูหนาวเพื่อรอการเก็บเกี่ยว เปรียบเสมือนภาพวาดศิลปะแนวธรรมชาติที่มีชีวิต แม้สถานที่จะเป็นทำเลน่าประทับใจ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีอุปสรรคให้สถาปนิกจาก IS Architects ในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อลดอุปสรรคด้านการใช้งานอาคารที่ต้องมาพร้อมกับความสวยงาม ความปลอดภัย สอดประสานการอยู่อาศัยในรูปแบบสมัยใหม่เข้ากับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เนื่องจากตัวบ้านต้องตั้งอยู่ตามลักษณะของเนินดินที่มีความลาดชันสูง แนวอาคารจึงต้องขนานไปกับระดับความลาดชัน เพื่อควบคุมงานโครงสร้างไม่ให้เกิดความซับซ้อนในด้านวิศวกรรม แล้วจัดเรียงฟังก์ชันตามลำดับความสำคัญ จากทางเข้าหลักสิ่งแรกที่จะได้พบเห็น ก็คือสวนเล็ก ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการอยู่ติดกับถนนทางหลวง การวางตำแหน่งของอาคารจึงต้องออกแบบให้เว้นระยะห่างประมาณ 1 เท่าของความสูงอาคาร แล้วเว้นพื้นที่ไว้ให้กับงานออกแบบภูมิทัศน์และการปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยกรองมลภาวะทางเสียงและฝุ่นควัน และทำหน้าที่ยืดระยะทางการเดินเข้าสู่ตัวบ้าน ปรับสภาวะจิตใจก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน พร้อมกันนั้นยังสร้างกำแพงแนวยาวช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวจากภายนอก และบังคับทิศทางลมในการนำพากลิ่น หรือควันจากการทำอาหารให้พัดออกไปตามทิศทางลมประจำถิ่น ช่วยไม่ให้รบกวนพื้นที่อยู่อาศัย นับเป็นการใช้ลมธรรมชาติให้เป็นประโยชน์เกิดสุขภาวะที่ดี ด้านการออกแบบทางสัญจรของบ้าน มีทั้งบันไดด้านนอกที่สามารถเดินลงมายังพื้นที่สวนหลังบ้านได้เลยโดยไม่ต้องเดินผ่านภายในบ้าน สำหรับทางสัญจรในบ้านสถาปนิกได้วางตำแหน่งเส้นทางสัญจรทั้งทางราบและทางสัญจรทางตั้งให้สัมพันธ์กัน โดยมีบันไดทอดยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ แล้วขึ้นไปยังชั้น 2 โดยมีการออกแบบพื้นที่ไว้เพื่อให้ความรู้สึกคล้ายกับทางเดินในห้องจัดแสดงงานศิลปะ เป็นพื้นที่สำหรับพักความรู้สึกต่าง ๆ สู่การพักผ่อนที่ต้องการความสงบนิ่ง […]

OiER (OOO) MAKEUP SHOP แสร้งว่ากำลังอยู่ในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์

Plainoddity ขอนำความคลุมเครือมาเล่นสนุก ชักชวนผู้คนที่มองเข้ามาจากภายนอกให้เกิดความสงสัยว่าที่นี่เปิดกิจการอะไรกันนะ!? ดู ๆ ไปก็คลับคล้ายคลับคลาว่าอาจจะเป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ เพราะที่นี่แท้จริงแล้วเปิดเป็น ร้านแต่งหน้า (Makeup Shop) รับแต่งหน้า ต่อขนตา ที่เสิร์ฟความงามให้กับเหล่าสาว ๆ ในย่าน Gunja Station ของเขต Gwangjin-gu กลางกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่มาของชื่อร้าน OiER (OOO) MAKEUP SHOP เริ่มต้นจากการผสมผสานตัวอักษรภาษาเกาหลีที่เรียบง่าย มีโจทย์จากเจ้าของที่อยากให้ร้านดูไม่เหมือนร้านเมคอัพทั่วไป พัฒนาแนวคิดมาจากคำว่า ‘shepherd’ ในเชิงการใช้งานพื้นที่ที่โชว์การตกแต่งภายในกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของลูกค้า แม้แต่ในยามค่ำคืนที่ร้านปิดอยู่ ที่นี่ก็ตั้งใจเปิดไฟทิ้งไว้คล้ายคำโกหกของคนเลี้ยงแกะ แสร้งว่าที่นี่คือโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ แต่กลับไม่ใช่ ทำให้เกิดประสบการณ์เชิงพื้นที่ที่ไม่ซ้ำใคร ตัวร้านมีขนาดพื้นที่เพียง 23.89 ตารางเมตร ภายในมีเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่ที่จำเป็นสำหรับแต่ละบริการ โดยได้รับการจัดวางไว้บนพื้นหลังโทนสีขาว แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่บริการหลัก คือ 1.พื้นที่นั่งรอและที่นั่งสำหรับคลาสเรียนแต่งหน้า 2. พื้นที่ทำผมและแต่งหน้าลูกค้า และ 3. พื้นที่ต่อขนตา ผนังและพื้นของพื้นที่บริการแต่ละจุดโดดเด่นด้วยสีเทาเพื่อสร้างพื้นหลังให้แกเฟอร์นิเจอร์ดูโดดเด่นขึ้น เฟอร์นิเจอร์มีทั้งรูปแบบของโต๊ะ โต๊ะเครื่องแป้ง […]

Koff and Bun at Song Wat คาเฟ่ทรงวาด การเจอกันระหว่างซาลาเปากับกาแฟ

Koff and Bun at Song Wat คาเฟ่ทรงวาด แห่งนี้ เกิดจากการรีโนเวทตึกแถวเก่าสไตล์คลาสสิกบนถนนทรงวาดของแบรนด์ Koff and Bun โดยมีเจ้าของเป็นถึงแชมป์นักคั่วจากรายการแข่งขันคั่วกาแฟระดับประเทศ “Thailand National Roasting Championship 2018” และเป็นทายาทร้านขนมจีบซาลาเปา “ไต้แป๊ะ” ตำนานความอร่อยที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 (Since 1932) ที่นี่จึงมีดีทั้งกาแฟและซาลาเปาขนมจีบ อันเป็นอัตลักษณ์ของ Koff and Bun DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: party/space/design ก่อนหน้านี้ คุณสิทธิ์ – พรประสิทธิ์ ไพศาลสินสกุล เจ้าของ คาเฟ่ทรงวาด ที่นี่ ประสบความสำเร็จมาแล้วกับร้าน Koff & Bun Coffee Roasters สาขาบางแค โดยใช้เวลากว่า 8 ปี จนกระทั่งพร้อมขยายสู่สาขาที่ 2 ด้วยการมองหาทำเลใกล้กับเยาวราช จนมาลงตัวที่ถนนทรงวาด แล้วลงมือรีโนเวทตึกแถวเก่าขนาดหนึ่งห้องแถวครึ่งให้กลายเป็นคาเฟ่ เพื่อบอกเล่าความถนัดด้านกาแฟและซาลาเปา […]

Lasalle House ออกแบบบ้านแคบให้น่าอยู่ เรียบง่าย สไตล์โมเดิร์น

ออกแบบ บ้านแคบ ให้น่าอยู่ บนที่ดินแค่ 37 ตารางวา หรือ 17X8 เมตร ในย่านลาซาล หลังนี้ ได้รับการออกแบบโดยสตูดิโอ VILAA ที่มาพร้อมโจทย์ด้านฟังก์ชันและการสร้างบรรยากาศที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เจ้าของบ้าน เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตที่ยืดหยุ่นและสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้ในพื้นที่จำกัด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: STUDIO VILAA บ้านโมเดิร์นดีไซน์เรียบง่ายทรงกล่องสีขาว 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตร กับวางตำแหน่งพื้นที่อยู่อาศัยตามฟังก์ชัน โดยชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่พับลิคเชื่อมต่อกันระหว่างห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหารและครัวในลักษณะโอเพ่นแปลน สามารถรองรับกลุ่มเพื่อน ๆ นักดนตรีที่มักแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับถนนใหญ่ แต่ยังต้องการความเป็นส่วนตัว จึงออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตขนาดเล็กตรงกลางบ้าน โดยอยู่ตรงตำแหน่งหลังแนวรั้วที่สร้างจากอิฐลอนวัสดุธรรมดาแบบบ้านสมัยก่อน เพื่อสร้างความรู้สึกแตกต่างจากฟอร์มของบ้านสีขาวที่เรียบคลีน การออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตเป็นอีกวิธีหนึ่งทีช่วยเพิ่มความโปร่งให้บ้านแล้ว แถมยังช่วยให้พื้นที่ภายในได้รับแสงจากมุมที่เป็นส่วนตัว โดยที่หน้าต่างและช่องเปิดของบ้านออกแบบให้หันเข้าหาคอร์ตพอดี มีไม้ยืนต้นคอยสร้างร่มเงาและลดความร้อนจากแสงแดดในทิศตะวันตกที่กระทบกับบ้านในช่วงบ่าย แถมยังช่วยเสริมความเป็นส่วนตัวให้กับห้องนอน ตัวบ้านดูแปลกตาตัดขอบชั้นบนด้วยแนวโค้งขนาดใหญ่ ทำให้บ้านมีความนุ่มนวล ไม่เป็นรูปทรงกล่องแข็งกระด้างเกินไป แถมยังเสริมมิติของแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของวัน เมื่อก้าวเข้าสู่ภายในจะพบว่าได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง คือส่วนพื้นที่นั่งเล่น และส่วนรับประทานอาหารกับครัวที่จัดแบบโอเพ่นแปลน โดยไม่มีผนังกั้นระหว่างพื้นที่ดังกล่าว การใช้พื้นที่แบบนี้ช่วยให้บ้านดูโล่งและใช้งานได้หลากหลาย ในส่วนของครัวมีเพียงแพนทรี่เล็ก ๆ และโต๊ะรับประทานอาหารที่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนพื้นที่ด้านข้างบ้านได้ขยับผนังไปชนขอบ […]

Halfway – Brunch & Roastery จิบกาแฟชิมบรันซ์ ซ่อนความโคซี่ไว้หลังนั่งร้านเหล็ก

Halfway – Brunch & Roastery คือการโคจรมาเจอกันระหว่าง Unfinished Coffee Roaster คาเฟ่ย่านลาดพร้าว กับ PEPE’ Bangkok ร้านอาหารสไตล์ Casual Dining ย่านสุขุมวิท จนกลายเป็นคาเฟ่บรันซ์ ที่ใช้แนวคิด Borderless Cuisine ในการออกแบบและสร้างสรรค์เมนู ที่เกิดจากการรวมตัวกันของสองทีมงาน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A คาเฟ่นี้ตั้งอยู่ใต้ถุนหอพักหญิงธรรมศาสตร์ อาคารเก่าสไตล์ Brutalist ในซอยงามดูพลี ตรงข้ามกับสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งถูกทิ้งร้างมานานกว่า 30 ปี แต่ด้วยโครงสร้างที่ยังแข็งแรงและมีคุณค่า พื้นที่ทั้งหมดของหอพักฯ จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี Halfway Brunch & Roastery เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟู ตัวร้านอยู่ติดกับฟุตบาท มีจุดสังเกตง่าย ๆ ด้วยโครงสร้างนั่งร้านเหล็กสีส้มตัดกับสีเขียวของต้นไม้ในซอยดูร่มรื่น ความโดดเด่นที่เหมือนไซต์ที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้ คือเป็นความตั้งใจของผู้ออกแบบ […]

lei ơi càphê ร้านกาแฟตึกแถว เวียดนาม สัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน

lei ơi càphê บ้านกึ่ง ร้านกาแฟตึกแถว สีส้มอิฐ ที่ชวนทุกคนทิ้งความวุ่นวายไว้ภายนอก เพื่อมาสัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน ท่ามกลางย่านชุมชนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่ห้อมล้อมไปด้วยบ้านตึกแถว หรือบ้านหน้าแคบ นับเป็นบริบทที่ท้าทายนักออกแบบจาก TRAN TRUNG Architects ในการออกแบบพื้นที่ ร้านกาแฟตึกแถว ให้ผสมผสานไปกับพื้นที่พักอาศัยที่อยู่ชั้น 2 และ3 มีมุมมองจากภายในที่ดูเปิดโปร่ง ชักนำแสงและลมให้สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงทุกชั้น เมื่อมองเข้ามาจากพื้นที่หน้าร้าน นับเป็นโชคดีของที่นี่ที่มีต้นไม้ใหญ่จากฟุตบาทคอยช่วยสร้างร่มเงาดูร่มรื่น โดยสีเขียวของต้นไม้ดูตัดกันดีกับผนังอาคารสีส้ม และฟาซาดสังกะสีสีสนิมที่นำมาใช้ปิดบังมุมมองเพื่อความเป็นส่วนตัว ชักชวนให้อยากละทิ้งจังหวะที่เร่งรีบของเมืองภายนอก ก่อนจะค่อย ๆ ชะลอจังหวะให้ช้าลง จนสัมผัสได้ถึงความนิ่ง สงบ และกลิ่นกาแฟอันหอมกรุ่น รอต้อนรับอยู่ภายใน การออกแบบมาจากแนวคิดที่ต้องการเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เปิดทะลุถึงด้านบน โดยมีเส้นทางสัญจรอย่างบันไดเหล็กเจาะรูที่ดูโปร่งเบาทำหน้าที่แจกจ่ายผู้คนไปยังแต่ละชั้น แถมยังยอมให้แสงและลมลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่าง ซึ่งมีคอร์ตยาร์ด หรือพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เขียวชอุ่มสดชื่น เคล้าไปกับกลิ่นหอมหวนของกาแฟ ตัวอาคารไม่เพียงแต่ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถรับรู้ได้ของการเคลื่อนไหวของลมและแสงที่ปรับทิศทางไปตามช่วงเวลา สังเกตได้จากการตกกระทบของแสงเงาที่ปรากฏบนผนัง นอกจากนี้ การออกแบบของสถาปนิกยังสะท้อนถึงแนวคิด “Reviving the Life Cycle” จากการก่อสร้างและใช้วัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองข้ามให้ได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นแผงสังกะสีลอนลูกฟูก […]

Odeum Cafe คาเฟ่ระยอง เชื่อมโยงความหลงใหลในดนตรีและกาแฟเข้าด้วยกัน

คาเฟ่ระยอง ย่านมาบตาพุด ที่มีแรงบันดาลใจมาจากเจ้าของผู้หลงใหลในดนตรี Alternative Rock DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction Odeum Cafe ที่นี่เริ่มต้นมาจากความหลงใหลในกาแฟและเสียงดนตรีของเจ้าของคาเฟ่ จนนำมาสู่การตั้งชื่อร้านว่า “Odeum” ซึ่งหมายถึง “โรงแสดงดนตรี” มาใช้ตั้งชื่อคาเฟ่ระยองแห่งนี้ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบร้านโดย SA-ARD architecture & construction ที่ตีความภาษาดนตรีสู่ภาษางานออกแบบ จนกลายเป็นอาคารโมเดิร์นลอยโดดเด่นจากบริบท ใช้บันไดที่นำพาผู้คนจกระดับถนนไปสู่ทางเข้าอาคารด้านบน สร้างภาพจำให้แก่งานออกแบบในแนวทางที่เรียกว่า Modern Retro มีเอกลักษณ์ด้วยเปลือกอาคาร หรือฟาซาด ที่มีไอเดียมาจาก Piano Keyboard Diagram เพิ่มความเชื้อเชิญในการเข้าถึงภายในอาคาร สถาปนิกเลือกใช้วัสดุปิดผิวอาคารจากแผ่นเมทัลชีทผิวด้าน สามารถช่วยลดการสะท้อนของแสง และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมให้กับพื้นที่โดยรอบ นอกจากนี้ยังทำการเพิ่มช่องแสงด้านหน้าอาคาร เพื่อให้เกิดการเชื่มต่อของพื้นที่ทางสายตาระหว่างนอกกับในอาคาร การวางผังใช้งานเป็นไปตามแนวยาวของอาคาร แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน Café และ Back of house ออกจากกันด้วยห้องน้ำที่กั้นอยู่ตรงกลาง และเชื่อมต่อกับหลังอาคารและห้องพักพนักงาน โดยจัดให้ห้องน้ำสามารถเข้าถึงได้จากภายในคาเฟ่ โดยตรง โดยไม่ทำลายบรรยากาศภายในร้าน การตกแต่งภายในของ Odeum […]

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ที่เชียงใหม่ เสิร์ฟอาหารจากวัตถุดิบของดีทั่วไทย

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ กับร้านบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนมากินข้าวที่บ้านเชฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 โปรเจ็กต์รีโนเวตร้านอาหารกลางเมืองเชียงใหม่ กับร้าน Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงทำอาหาร ด้วยชื่อเสียงและความถนัดด้านการนำวัตถุดิบท้องถิ่นทั่วไทยมาสร้างสรรค์เป็นเมนูพิเศษ กับเชฟเบียร์-อโณทัย พิชัยยุทธ เชฟทำขนมหวาน หลังจากที่ร้านอาหารของทั้งคู่เป็นที่รู้จักและเป็นขวัญใจของเหล่านักชิมมาระยะหนึ่ง เชฟทั้งสองท่านจึงตัดสินใจรีโนเวตร้านของตนเองใหม่ โดยมอบหน้าที่ให้สตูดิโอออกแบบ 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 มาช่วยถ่ายทอดบรรยากาศและความเป็นตัวตนของเชฟลงไปในพื้นที่ กับการเปลี่ยนโฉมร้านอาหารที่แม้จะอยู่ในตึกแถวขนาด 3 ชั้น แต่กลับโดดเด่นกว่าร้านอื่นในละแวกใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ดูคล้ายกับกล่องสีขาว ติดป้ายชื่อร้านสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีตัวแทนประจำร้านให้เห็นเด่นชัด ร่วมกับองค์ประกอบงานไม้เพื่อสื่อถึงบรรยากาศที่น่าเชื้อเชิญ ไม่ต่างจากกำลังเดินเข้ามาในบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นธีมที่เจ้าของร้านอยากให้มีมู้ดราวกับกำลังเข้ามากินข้าวที่บ้านของเชฟแบบเป็นกันเอง ฉีกแนวเหมือนไม่ได้เดินเข้ามาในตึกแถว อย่างประตูทางเข้าที่ไม่ใช่ประตูทางเข้าตึกแถวทั่วไป แต่เป็นประตูที่ให้อารมณ์เหมือนเดินเข้าบ้าน ขณะที่ด้านข้างมีช่องหน้าต่างไม้กรุกระจกเล็กมีความเป็นไทยผสมญี่ปุ่น ชั้น 1 เป็นพื้นที่เคาน์เตอร์ทำขนมของเชฟเบียร์ ในวันที่มีคอร์สทำขนม ลูกค้าสามารถนั่งชมการทำขนมของเชฟ และรับประทานขนม พร้อมพูดคุยกับเชฟได้ เดินถัดเข้ามาจะพบกับส่วนที่เปรียบเสมือนพื้นที่แสดงผลงานการถนอมอาหารและโชว์วัตถุดิบที่เชฟแบล็กทำเอง ซึ่งถูกตีความว่าเป็นงานคราฟต์ของการทำอาหาร โดยทุกคนจะได้เห็นโถหมักดองเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มีที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นหลากหลาย ก่อนนำมาใช้ประกอบอาหารจนเป็นเอกลักษณ์ จากพื้นที่โชว์ผลงานผ่านโหลเครื่องปรุงที่ชั้น 1 ขึ้นสู่ชั้น […]

SHER GA SHAW FARMSTAY ฟาร์มสเตย์ เชียงใหม่ กลางขุนเขา แรงบันดาลใจจากโรงนาดีไซน์ประยุกต์

จากพื้นที่สวนมะขามเก่าขนาด 10 ไร่ ในตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้กลายเป็นฟาร์มสเตย์เล็ก ๆ ที่เจ้าของตั้งชื่อว่า เฌอกะฌอ ฟาร์มสเตย์ ซึ่งมีที่มาจากลูก ๆ ทั้งสองคนของเจ้าของโครงการที่ชื่อว่า น้องฌอ และน้องเฌอ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Homesook Studio โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของ เฌอกะฌอ ฟาร์มสเตย์ ได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตร เพาะปลูก มีนาข้าว บ่อน้ำ สวนผัก และสวนป่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเที่ยวชมและพักผ่อน ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ โอบล้อมไปด้วยภูเขาทั้งด้านหน้าและหลัง การออกแบบตัวอาคาร ทีมผู้ออกแบบจาก Homesook Studio มีแนวคิดมาจาก “โรงนา” ที่ภายในตัวอาคารมักจะมีการยกพื้นไว้สำหรับนอนพักผ่อนยามฤดูเพาะปลูก ฤดูเก็บเกี่ยว มีที่หุงหาอาหารเล็ก ๆ และพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ จากวิถีชีวิตในการทำการเกษตรของเจ้าของ จึงเป็นเหตุผลในการต่อยอดแนวคิดฟาร์มสเตย์ โดยโรงนาหลังนี้ทำหน้าที่เชื่อมพื้นที่ในโครงการ สภาพแวดล้อม และบริบทของนาขั้นบันได และเป็นส่วนต้อนรับของโครงการไปในตัว ตัวอาคารได้รับการประยุกต์ให้มีความทันสมัย ในขณะเดียวกันก็มีความกลมกลืนเข้ากับบริบทสังคมชนบท วัสดุที่เลือกใช้มีทั้ง ไม้ เหล็ก คอนกรีต กระจก […]